หน้าเว็บ

ความรู้เกี่ยวกับ วิธีป้องกัน ตลิ่งพัง


      พื้นดินที่อยู่ริมแม่น้ำนั้น ปกติจะคงสภาพอยู่ได้โดยไม่มีการพังทลายลงมา แต่หากมีน้ำหนักไปวางเพิ่มที่บนตลิ่ง ก็อาจทำให้เกิดการพังทลายลงมาได้ หรืออย่างในช่วงที่หน้าแล้ง และมีการลดลงของระดับน้ำอย่างมากทำให้ตลิ่งขนาดเสถียรภาพ และพังทลายลงมาเช่นกัน

      เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการพังทลายของตลิ่ง เราสามารถทำการป้องกันได้หลายวิธี และมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไปโดยในบทความนี้ เรายกตัวอย่างมาให้สี่แบบด้วยกันคือ

แบบที่หนึ่ง  ในรูปเราได้แสดง failure plane ของตลิ่งไว้ด้วย โดย failure จะเป็นรูปโค้งวงกลม หากการพังทลายเริ่มเกิดขึ้นแล้ว เราอาจสามารถเห็นรอยแยกของดินได้ และถ้าเห็นรอยแยกของดิน เราก็พอจะทราบได้ว่าต้องทำการเสริมกำลังป้องกันการพังทลายไปเป็นระยะเท่าไร

ในรูปแบบที่หนึ่ง  เราใช้เข็มไม้ ยาวหกเมตร ตอกลงไปให้ผ่าน failure plane ของตลิ่ง ซึ่งวิธีนี้เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านในกาป้องกันตลิ่ง มักจะใช้ได้ โดยเฉพาะกรณีที่เห็นรอยแยกของดินแล้ว และก็ทราบตำแหน่ง failure plane หรือนอกจากจะเป็นเข็มไม้แล้ว เราอาจใช้เป็น Jet grout pile ก็ได้ ข้อดีของวิธีนี้คือทำงานได้รวดเร็ว, ราคาไม่แพง


รูปการใช้เข็มไม้ตอกลงไปผ่าน Failure plane

รูปแบบที่สอง คือการใช้หินถม หรือ หินถมแบบใส่อยู่ในตาข่าย (Rock Gabion)  วิธีนี้ นอกจากจะป้องกันตลิ่งแล้ว ยังลดการกัดเซาะของตลิ่งจากน้ำได้ด้วย  ข้อดีคือ สามารถทำได้ง่ายไม่ต้องใช้แรงานมีฝีมือมาก และมีความยืดหยุ่นความทนทานสูง และเมื่อเวลาผ่านไปต้นไม้ขึ้นริมตลิ่งจะช่วยประสานทำให้แผงหินถมของเราแข็งแกร่งขึ้นอีก และหากจะทำให้แข็งแรงดีมาก ควรบดอัดดินริมตลิ่ง ก่อนที่จะนำหินไปถม

หินถมแบบใส่อยู่นอกตาข่าย


 หินถมแบบใส่อยู่ในตาข่าย (Rock Gabion)
แบบสุดท้ายนี้ เป็นกำแพงกันดิน ( Retaining Wall) วิธีนี้ป้องกันน้ำใต้ดินไม่ให้ซึมเข้าไปในดินได้ด้วย ข้อดีของวิธีนี้คือสามารถป้องกันการพังทลายของดินได้ ค่อนข้างแน่นอน หากคำนวณมาอย่างดี ส่วนข้อเสีย คือไม่ประหยัด


กำแพงกันดิน (Retaining Wall)

ระบบการก่อสร้างแบบ Precast


ในปัจจุบันระบบการก่อสร้างแบบ Precast ถูกนำมาใช้ในการก่อสร้างอาคาร คอนโดมากขึ้นโดยเฉพาะโครงการบ้านจัดสรร ที่มีรูปแบบอาคารเหมือนกันในจำนวนมาก ซึ่งในการก่อสร้างแบบเดิมๆ ปัญหาหน้างานเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้งานไม่เป็นไปตามที่วางแผนไว้ โอกาสที่งานจะมีความผิดพลาดก็สูง แต่ระบบการก่อสร้างแบบ Precast มีโอกาสที่จะผิดพลาดน้อยกว่า มีความสะดวกรวดเร็วในการทำงาน และยังช่วยลดปัญหาการขาดแคลนช่างผู้ชำนาญการอีก คนเลยหันมานิยมใช้ระบบ Precast กันมากขึ้นในปัจจุบัน


Series รอยร้าว : ตอนที่ 4 ลักษณะของรอยร้าวของโครงสร้าง ที่เกิดจากฐานรากทรุดตัว


ดังที่ทราบในตอนก่อนๆแล้ว ว่า รอยร้าวของโครงสร้าง  อาจเกิดได้จาก ความเสื่อมโทรมของวัสดุเอง  หรือเกิด จากการที่โครงสร้างรับน้ำหนักมากเกินไป  ในตอนนี้ เราจะพูดถึง รอยร้าวของโครงสร้าง ที่เกิดขึ้น จากการที่โครงสร้างรับน้ำหนักมากเกินไป กว่าที่ออกแบบไว้ เช่นกัน  แต่เป็นการับน้ำหนักมากเกินไปจากการเคลื่อนตัวของโครงสร้างเอง โดยเกิดจากฐานรากที่ทรุดตัว ทำให้รอยร้าวที่เกิดจากสาเหตุนี้ มี รูปแบบ เฉพาะ

โดยทั่วไปโครงสร้าง ไม่ว่าจะวางอยู่บนฐานรากชนิดใด จะต้องมีการทรุดตัวเสมอ จากการใช้งาน ด้วยน้ำหนักตัวโครงสร้างเอง แต่การทรุดตัวนั้นจะต้องเกิดในปริมาณที่ไม่มากนัก 
การทรุดตัวที่ทำให้ฐานรากร้าว มักมีสองแบบคือ

       ฐานรากทรุดตัวไม่เท่ากัน 
การที่ฐานรากทรุดตัวไม่เท่ากัน จะเกิดรอยแตกที่โครงสร้างด้านบน เป็นรอยเฉียงที่ผนัง บางครั้งที่ไม่เกิดที่ผนัง ก็อาจไปเกิดรอยร้าวบริเวณขอบเสา ซึ่งรอยร้าวด้านบน จะอ้ามากกว่ารอยร้าวด้านล่าง

รอยแตกร้าวในผนังในรูปแสดงว่าฐานรากขวามือทรุดตัว
ส่วนการแตกร้าวที่คาน ในกรณีที่แตกร้าวจากฐานรากทรุดตัวไม่เท่ากัน จะเกิดคานแตกร้าวในแนวดิ่ง แตกที่ปลายคานทั้งสองข้าง  ด้านที่ฐานรากทรุดตัวมากกว่า จะเกิดรอยร้าวจากล่างขึ้นบน ส่วนคานด้านที่ฐานรากเกิดการทรุดตัวน้อยกว่า จะเกิดรอยร้าวจากด้านบนลงด้านล่าง

รอยแตกร้าวที่คาน แสดงให้เห็นฐานรากด้านซ้ายและด้านขวาทรุดตัว
ส่วนรอยแตกที่พื้น จะเห็นเป็นรอยยาว ขนานกับคาน และเกิดขึ้นเพียงด้านเดียว ของพื้น ที่อยู่ด้านตรงข้ามกับ เข็มที่มีการทรุดตัว
รอยแตกของพื้นขนานขอบคาน เกิดจากฐานรากที่อยู่ตรงขัามกับรอยแตกเกิดการทรุดตัว
การแตกร้าวที่เสา จะเห็นจากการโก่งงอ และแตกเป็นปล้องๆ โดยด้านที่แตก จะเป็นด้านที่ตรงข้ามกับฐานรากด้านที่มีการทรุดตัวมาก
เมื่อฐานรากตรงตำแหน่งลูกศรทรุดตัวจะดึงรั้งให้เสาหมายเลข 1,2 โก่งงอและแตกร้าว
       การทรุดเอียงของฐานราก อาจเกิดจากเข็มอยู่เยื้องศูนย์กับตำแหน่งของเสาอาคาร โดยอาคารที่เกิดการทรุดเอียงนี้ จะไม่ค่อยพบรอยแตกร้าวที่โครงสร้างด้านบน นอกจากรอยแตกร้าวบริเวณคานคอดิน

ตัวอย่างอาคารขวามือเกิดการทรุดเอียงของฐานราก
(ขอบคุณภาพจาก http://www.patrolnews.net )