หน้าเว็บ

เพราะว่า อิฐมวลเบา มีดีมากกว่าแค่เบา เกร็ดความรู้เรื่อง อิฐมวลเบา


ตอนที่แล้วเราได้พูดถึงเรื่องผนังชนิดต่างๆไปแล้ว  ในตอนนี้เราจะดูรายละเอียดของผนังก่อกันครับ

ผนังก่ออิฐฉาบปูน เป็นผนังชนิดที่มีความแข็งแรงน้ำหนักมาก จึงต้องการโครงสร้างมารองรับ  ผนังก่อที่ก่อด้วยอิฐบล็อกนั้น มักใช้ทำเป็นรั้วเป็นหลัก  ส่วนผนังที่ใช้ทำผนังภายในนั้น มักจะใช้อิฐมอญ และอิฐมวลเบา

สำหรับข้อแตกต่าง ของอิฐมวลเบา และ อิฐมอญ สามารถจำแนกได้ดังตารางต่อไปนี้

ตารางเปรียบเทียบข้อแตกต่าง ของอิฐมวลเบา และ อิฐมอญ

ผนัง มีประโยชน์มากกว่าแค่กั้นเขต


สิ่งที่เราใช้ในการกั้นเขตของส่วนต่างๆของที่อยู่อาศัยนั้น  ถ้าอยู่ภายนอกบ้านเราก็เรียกว่ากำแพง  ถ้าติดอยู่กับตัวบ้าน ภายนอกเราก็เรียกว่าผนังภายนอก  ถ้าอยู่ภายในบ้านก็เรียกผนังภายใน

ความสำคัญของผนังนอกจากจะกั้นเขตแล้ว หรือแบ่งพื้นที่ภายในให้ออกเป็นสัดส่วนแล้ว  จริงๆผนัง มีประโยชน์อื่นๆ อีกได้แก่

หนึ่ง  ใช้เป็นที่แบ่งขอบเขต ถ้าเป็นภายนอกก็เป็นเขตของบ้าน ถ้าภายในก็ใช้กั้นขอบเขตของห้องต่างๆ ดังนั้น ผนังจึงจำเป็นต้องมีความแข็งแรงระดับหนึ่ง  เพราะใช้เพื่อรักษาความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินด้วย

สอง  ใช้ ปิดบังสายตา ให้มองเห็น หรือไม่ให้มองเห็น ระหว่างสองพื้นที่

สาม  ผนังเปรียบเสมือนผิวของบ้าน หรือของห้อง  ทำให้เกิดความสวยงาม  สามารถยึดติดสิ่งต่างๆ ลงบนผนังเพื่อให้เกิดความสวยงามได้

สี่   ใช้กันเสียงรบกวน  เราคงไม่อยากได้ยินเสียงดังจากภายนอกบ้านเข้ามาในบ้าน หรือไม่อยากได้ยิน เสียงจากห้องข้างเคียงเข้ามาในห้องเรา และก็เสียงของห้องของเราเข้าไปในห้องข้างเคียง

ห้า ใช้กันความร้อนไม่ให้เข้ามาภายในบ้าน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของผนังภายนอกของบ้าน 

หก  ใช้กันไฟ  ในกรณีที่เกิดไฟไหม้ อาคารหรือบ้านเรือน การที่ผนังสามารถทนไฟได้ ทำให้โอกาสยืดเวลาในการหนีไฟของผู้อยู่อาศัยก็มากขึ้น  ทำให้มีโอกาสรอดชีวิตมากขึ้น

เจ็ด ใช้กันความชื้น  ในกรณีของผนังภายนอก ถ้ามีฝนตก ผนังที่ดีต้องไม่ให้ความชื้นจากภายนอกเข้ามาภายในบ้านได้ และตัวผนังเองก็ไม่เปื่อยยุ่ยไปเพราะความชื้น

ผนังที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ก็มีสามประเภทหลักๆ คือ
1. ผนังเบา
2. ผนังก่ออิฐฉาบปูน
3. ผนังสำเร็จรูป


ชนิดของผนัง

ผนังเบา ใช้กั้น ขอบเขตห้อง สามารถใช้งานได้สะดวก เพราะไม่ต้องวางบนโครงสร้างของอาคาร หรือบ้าน ข้อด้อยคือเรื่องของการกันเสียง กันไฟ และการติดตั้ง

ผนังก่อ (และฉาบปูน) งานผนังชนิดนี้ ค่อนข้างเป็นการทำผนังแบบถาวร  โดยมากใช้วัสดุสามประเภทหลัก คือ อิฐมอญ  อิฐบล็อก และ อิฐมวลเบา

โดยมากอิฐบล็อก จะใช้ในงานก่อกำแพง กั้นเขตบ้าน อิฐมอญใช้ทำผนังของตัวอาคาร  ส่วนอิฐมวลเบา ชนิดสีขาวเป็นวัสดุที่เข้ามาทีหลังสุด  นวัตกรรมใหม่ล่าสุด ผลิตจากโรงงานที่ทันสมัย   คุณภาพสม่ำเสมอ มีน้ำหนักเบาช่วยลดอุณหภูมิในบ้าน และทนไฟ ไม่ยืดหด เนื่องจากผ่านการอบไอน้ำแรงดัน  เนื่องจากน้ำหนักเบา จึงประหยัดโครงสร้าง เมื่อเทียบกับ อิฐก่อผนังแบบอื่น แต่ราคาใกล้เคียงกันและ ใช้ได้ทั้งผนังภายนอกและ ภายใน


ผนังสำเร็จรูป เป็นการทำชิ้นส่วนผนังทั้งอันชิ้นใหญ่ๆ มักใช้ในการทำโครงการหมู่บ้าน หรือโครงการคอนโดมิเนียม
 
ข้อดี  คือชิ้นงานทำจากโรงงาน ทำให้มีคุณภาพและทำให้โครงการเสร็จอย่างรวดเร็ว

ข้อเสีย  คือเรื่องการดัดแปลงต่อเติมภายหลังไม่สามารถเจาะผนังได้  รวมถึงปัญหาเรื่องจุดเชื่อมต่อของชิ้นงานสำเร็จรูปซึ่งอาจมีรอยรั่วของน้ำและอากาศเข้ามาได้ ผนังสำเร็จรูปมีคุณสมบัติในการกันความร้อนได้ไม่ดี ทำให้ภายในบ้านจะร้อน

บ้านสำหรับผู้ที่ไม่สามารถใช้ร่างกายได้อย่างคล่องแคล่ว ผู้สูงอายุ


เมื่อตอนที่ร่างกายของเรายังแข็งแรงดีอยู่ เรามักไม่ค่อยเข้าใจ หรือใส่ใจ ว่า หากสิ่งที่ยังดีๆ อยู่นี้ วันหนึ่ง มันไม่เป็นเหมือนเดิมอีกต่อไป แล้วเราจะอยู่อย่างไร  หรือหลายครั้งเลย ที่เราเสียสิ่งเหล่านั้นไปแล้ว ก็อาจเป็นการเสียไปตลอดไป

ในการออกแบบบ้านเรื่อนที่อยู่อาศัยนั้น เรามักออกแบบสำหรับผู้ใช้ที่ร่างกายปกติดี แข็งแรง เดินได้ สายตามองเห็น การทรงตัวดี   แต่หากถ้าผู้อยู่อาศัยนั้น เป็นผู้ป่วยที่ขามีอาการบาดเจ็บ  ผู้ป่วยทางสายตา หรือผู้สูงอายุ ผู้ที่มีความทดถอยทางสมรรถภาพของร่างกาย แล้วละก็  บ้านที่สำหรับคนปกติอยู่อาศัยได้ดีนั้น อาจเป็นบ้านที่มีความอันตรายมาก สำหรับ บุคคลเหล่านั้นทีเดียว

จากสถิติพบกว่า ในแต่ละปี มีคนไทยเสียชีวิตจากการหกล้ม ปีละถึงเกือบสองพันคน ถือเป็นจำนวนการเสียชีวิตจากการไม่ตั้งใจ มากเป็นอันดับสองรองจากอุบัติเหตุ   ซึ่งการหกล้มนั้นหลายครั้งแม้จะไม่ทำให้เสียชีวิต แต่ก็ทำให้กระดูกแตก หรืออาจพิการได้

สำหรับวิธี ง่ายๆ ที่จะเปลี่ยนบ้านที่อาศัยอยู่แล้ว ให้มีความปลอดภัยจากการ หกล้ม มากขึ้น สามารถทำได้ดังนี้

หนึ่ง  เพิ่มราวจับ แม้บันใดจะเตี้ยๆ ขั้นน้อยๆ ก็ควรมีราวจับ

สอง  เพิ่มราวจับที่ใกล้ๆ สุขภัณฑ์ ในที่อาบน้ำ เปลี่ยนมาใช้ฝักบัวอาบน้ำ และให้มีเก้าอี้สำหรับนั่งอาบ พื้นห้องน้ำ ที่มีต่างระดับเพื่อการระบายน้ำ  ถ้าเป็นไปได้ให้เปลี่ยนการระบายน้ำ เป็นการระบายน้ำโดยใช้ร่องน้ำ

สาม  ถ้ามีต่างระดับที่จำเป็นต้องมี ให้เปลี่ยนสีของพื้นที่ต่างระดับกันนั้น ให้เป็นสีที่ต่างกันอย่างชัดเจน จะได้ มองเห็นรู้ได้ว่าเป็นต่างระดับ

สี่  ห้องครัว อย่าทำเป็นพื้นมัน  เก้าอี้นั่งให้ใช้เป็นเก้าอี้ที่ไม่มีล้อ  และให้อุปกรณ์ เครื่องปรุง และอื่นๆ อยู่ในตำแหน่งที่หยิบได้สะดวก

ห้า  ห้องนอน ให้มีไฟแสงสว่างที่ใกล้หัวเตียง สามารถเปิดไฟได้สะดวก  หรือใช้ไฟติดหัวปลั๊ก เพื่อไม่ทำให้ห้องนอนมืดเกินไป  ควรมีแสงสว่างตลอดเวลา

เป็นต้น

บ้านสำหรับผู้สูงอายุ

รู้ไว้ไม่ปวดหัว จุดเสี่ยงควรระวังหลังคารั่วซึม (ตอนที่ 2 : รอยรั่วบนผืนหลังคา)



     ปัญหาหลังคาบ้านรั่วซึมอันเป็นที่น่าปวดหัวนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ และในตอนที่ผ่านมา เจ้าของบ้านคงพอเข้าใจถึงจุดเสี่ยงการเกิดปัญหารั่วซึมจากบริเวณรอยต่อหลังคาบ้าน แล้ว สำหรับตอนนี้จะขอเล่าถึงจุดเสี่ยงการเกิดรอยรั่วบนผืนหลังคา  ซึ่งเกิดได้จาก 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ปัจจัยจากโครงสร้างหลังคา และ ปัจจัยจากกระเบื้องหลังคา

1. ปัจจัยจากโครงสร้างหลังคา
    หากโครงสร้างหลังคาไม่แข็งแรงพอ จะเกิดการแอ่นหรือขยับตัวจนทำให้กระเบื้องหลังคาเผยอ เกิดปัญหาหลังคารั่ว ทั้งยังอาจเป็นอันตรายถึงขั้นหลังคาถล่มได้  ดังนั้น โครงสร้างหลังคา จึงควรได้รับการออกแบบและคำนวณที่ถูกต้องโดยผู้เชี่ยวชาญ  รวมถึงเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์และบริการติดตั้งที่ได้มาตรฐาน