หน้าเว็บ

ข้อควรปฎิบัติขณะเกิดแผ่นดินไหว


แม้ประเทศไทยจะยังไม่เคยประสบภัยธรรมชาติอย่างแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงจนเกิดความเสียหายแก่ชีวิตผู้คนมากๆ  แต่ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นได้เหมือนครั้งหนึ่งที่เราไม่เคยคิดว่าทะเลจะเกิดคลื่นยักษ์มาถล่ม จึงไม่ได้มีการเตรียมตัว  ผมคิดว่ามีความจำเป็นต้องมีการรณรงค์เรื่องนี้ และมีการสอนให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวด้วยครับ

บทความนี้จะเขียนถึงหลักเบื้องต้นในการเอาตัวรอดในขณะที่เกิดเหตุแผ่นดินไหว ว่าควรทำอย่างไร

ข้อแรก ทำจิตใจให้สงบให้มากที่สุด อย่าตื่นตระหนก

ข้อสอง ขณะเกิดแผ่นดินไหว สิ่งที่ควรระวังคือระวังการที่สิ่งของจะตกมาโดนศีรษะ เราจึงควรก้มต่ำ ปกป้องคอและศีรษะ เช่นหลบใต้โต๊ะที่แข็งแรง คนส่วนมากมักจะเข้าใจว่า อันตรายมักเกิดจากอาคารถล่ม แต่ความเป็นจริงแล้ว อาคารส่วนมากจะไม่ถล่ม เพราะอาคารสมัยใหม่มีการออกแบบให้แข็งแรงมากขึ้นจากข้อกำหนดในการออกแบบใหม่ๆ ที่ควบคุมการออกแบบเหล่านั้น

ระวังความเชื่อเกี่ยวกับเรื่อง "สามเหลี่ยมช่วยชีวิต"  จริงๆ แล้ว มันเป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้องนัก การหลบใต้โต๊ะนั้นปลอดภัยกว่า ส่วนการที่จะเคลื่อนที่ในระหว่างที่เกิดแผ่นดินไหวแรงๆ รวมถึง ยากขึ้นไปอีกในการจะรู้ว่าถ้าหากอาคารถล่มลงมา ตรงไหนจะเกิดเป็น "สามเหลี่ยมช่วยชีวิต"


ข้อสาม ถ้าอยู่อย่าอยู่ใกล้กระจก เฟอร์นิเจอร์ ตู้ เพราะกระจกอาจแตกมาโดน และของที่แขวนอาจตกใส่ศีรษะ

ข้อสี่ ถ้าอยู่นอกบ้านให้พยายามห่างจากอาคาร ห่างจากกำแพง ห่างจากสายไฟฟ้า  ถ้าอยู่ในรถก็หยุดรถในที่ปลอดภัย และอยู่ในตัวรถ

ข้อห้า ถ้าหากอยู่ในสถานที่ที่คนเยอะ เช่นในห้องเรียน ในโรงหนัง ให้อยู่กับที่ และทำท่าเหมือนท่าที่ใช้เวลาเครื่องบินจะตก คือเอามือปิดที่คอและศีรษะ เอาศอกชิดกับเข่า จะเป็นท่าที่ปลอดภัยที่สุดครับ

ข้อควรปฎิบัติ ขณะเกิดแผ่นดินไหว


ความรู้เรื่องฐานรากของอาคารบ้านเรือน ในประเทศไทย ตอนที่ 2 ชนิดของเสาเข็ม


จากตอนที่แล้ว เราได้พูดถึง ฐานรากแบบที่มีเสาเข็มและที่ไม่มีเสาเข็มไปแล้ว ตอนนี้เราจะมาพูดถึงฐานรากแบบที่มีเสาเข็มกันครับ  ซึ่งเป็นฐานรากแบบที่ใช้กันมากในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเลย เพราะบริเวณนี้ ดินเป็นดินอ่อน

ฐานรากแบบที่มีเสาเข็มนั้น แบ่งได้เป็นประเภทใหญ่ๆ คือเสาเข็มตอก กับเสาเข็มเจาะ

เสาเข็มตอกนั้นหมายถึงเสาเข็มที่วัสดุทำด้วยอะไรก็ได้  ที่เสาเข็มถูกส่งผ่านเข้าไปในชั้นดินโดยวิธีการตอก จนเสาเข็มจมลงถึงชั้นดินที่รับน้ำหนักได้  ซึ่งในกระบวนการตอกนั้น เสาเข็มจะค่อยๆผ่านชั้นดินลงไปเรื่อยๆ จึงทำให้เสาเข็มประเภทนี้ ได้รับการโอบอุ้มจากชั้นดินที่มันถูกตอกผ่านลงไป จึงมีแรงรับน้ำหนักเสาเข็ม ทั้งจากที่ปลายเสาเข็ม และจากแรงเสียดทานด้านข้าง  ส่วนวัสดุของเสาเข็มนั้น จะเป็นวัสดุอะไรก็ได้ เช่น เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง  เสาเข็มไม้ เสาเข็มเหล็กเป็นต้น

เสาเข็มอีกประเภทหนึ่งคือเสาเข็มเจาะ  ซึ่งเสาเข็มประเภทนี้ทำโดยการขุดดินให้เกิดเป็นช่อง แล้วสร้างเสาเข็มลงในช่องว่างของดินที่ถูกขุด หรือถูกเจาะออกนั้น  ดังนั้นเสาเข็มชนิดนี้จะมีข้อดีคือ ไม่มีการสั่นสะเทือนไปถึงอาคารข้างเคียงจากการตอก เหมือนกับเสาเข็มตอก  รวมถึงการขนย้ายอุปกรณ์เข้าพื้นที่ก่อสร้าง ก็มีส่วนสำคัญในการให้คนเลือกใช้เสาเข็มเจาะเหมือนกัน  แต่ข้อเสียคือราคาแพงกว่าเสาเข็มตอกแน่ๆ  ประมาณสองเท่าของราคาของเสาเข็มตอก

แต่ไม่ว่าจะใช้เสาเข็มประเภทใด วิศวกรก็สามารถคำนวณขนาดของเสาเข็มเพื่อใช้รับน้ำหนักได้  แต่ข้อควรระวังก็คือ เสาเข็มสองประเภทนี้  ถ้าจะเปลี่ยนจากการใช้เสาเข็มตอกมาใช้เสาเข็มเจาะ เราไม่สามารถคำนวณพื้นที่หน้าตัดที่เท่าๆ กันมาใช้ได้เลย  เพราะว่าเสาเข็มตอกนั้นมีแรงเสียดทานด้านข้างตลอดความยาวเข็ม ถ้าเสาเข็มตอกมีขนาดหน้าตัดเท่าๆ กับเสาเข็มเจาะ เสาเข็มตอกจะรับน้ำหนักได้มากกว่า


ชนิดของเสาเข็ม


เคยพบปัญหา เช่นระหว่างก่อสร้าง ตอนแรกใช้เสาเข็มตอกในการก่อสร้าง พอสร้างๆ ไปมีความจะเป็นต้องเปลี่ยนเป็นเสาเข็มเจาะ ทำให้เกิดมีเสาเข็มสองแบบอยู่ในสิ่งปลูกสร้างอันเดียวกัน  แบบนี้ก็สามารถทำได้  แต่ต้องคำนวณขนาด และความลึกของเสาเข็มนั้นด้วย ไม่สามารถใช้พื้นที่หน้าตัดที่เท่ากันมาเปลี่ยนกันได้  จะทำให้เกิดปัญหาครับ

ความรู้เรื่องฐานรากของอาคารบ้านเรือน ในประเทศไทย ตอนที่ 1 ฐานรากแบบมีเสาเข็ม กับแบบไม่มีเสาเข็ม


ปัญหาที่พบมากของปัญหาเกี่ยวกับบ้านเรือนที่อยู่อาศัย และอาคารนั้นก็คือปัญหาบ้านร้อน บ้านรั่ว และบ้านร้าวครับ  ปัญหาเรื่องบ้านร้าวนี่ดูจะเป็นปัญหาที่กวนใจผู้อยู่อาศัยมากที่สุดเพราะมันเกี่ยวกับความปลอดภัยในการอยู่อาศัยใช้งานต่อไปด้วย

ซึ่งปัญหาบ้านร้าวนั้นก็มีตั้งแต่ร้าวที่เกิดจากวัสดุ และร้าวที่เกิดจากโครงสร้าง ซึ่งปัญหาการร้าวของโครงสร้างที่เราเห็นปรากฎอยู่เหนือผิวดินนั้น บ่อยครั้งมากมีสาเหตุมาจากปัญหาของส่วนที่มองไม่เห็นที่อยู่ใต้ดิน นั่นก็คือส่วนของฐานรากนั่นเอง บทความนี้พูดถึงความรู้ทั่วไปของฐานรากที่ใช้กันมากในประเทศไทยครับ

เมื่อกล่าวถึงฐานราก ก็จะแบ่งประเภทใหญ่ๆ ออกได้ก่อนเลยสองประเภทใหญ่ๆ คือ
ฐานรากแบบที่ใช้เสาเข็ม
กับ ฐานรากแบบที่ไม่ใช้เสาเข็ม

ที่ใช้ประเภทต่างกันนั้น ก็เนื่องมาจากสาเหตุหลัก คือสภาพชั้นดินของแต่ละบริเวณน้้นต่างกัน  เช่น ที่ดินบริเวณภาคกลางของประเทศไทย เป็นที่ลุ่มที่เกิดจากการสะสมกันของดินตะกอนแม่น้ำ ดินจึงไม่มีความแข็งแรงเพียงพอที่จะรับน้ำหนักอาคารที่หนักได้  จึงต้องมีการใช้ฐานรากแบบที่มีเสาเข็ม เพื่อให้เสาเข็มถ่ายน้ำหนักให้ลงไปถึงชั้นดินที่สามารถรับน้ำหนักของอาคารได้ ซึ่งชั้นดินนั้นก็อยู่ลึกลงไป

ส่วนพื้นดินที่มีความแข็งแรงสามารถรับน้ำหนักได้มาก ก็ดังเช่นพื้นที่มีสภาพเป็นดินเป็นหิน ดังชั้นพื้นที่ภาคตะวันออกเชียงเหนือของประเทศไทย  ในบริเวณนั้น พื้นดินสามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้มากอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องใช้เสาเข็มเพื่อถ่ายน้ำหนักบรรทุกลงไปยังดินชั้นที่ลึกลงไป  พื้นที่ดังนี้ เราก็อาจไม่ต้องใช้เสาเข็ม

ทั้งนี้การเลือกว่าจะใช้ฐานรากที่มีเสาเข็มหรือไม่มีเสาเข็มนั้น ก็ขึ้นกับชนิดและน้ำหนักของสิ่งก่อสร้างที่เราจะก่อสร้าง และสภาพชั้นดินบริเวณนั้นๆครับ ซึ่งต้องมีการดูผลสำรวจสภาพชั้นดินบริเวณนั้นๆ

ความรู้ทั่วไปของฐานราก

เรียนรู้ ทำความเข้าใจกับการปลูกสร้างบ้าน…


"เรียนรู้ ทำความเข้าใจกับการปลูกสร้างบ้าน…"
  โดย นิธิศาสตร์ ช่วงโชติ


…การจะมีบ้านสักหลังนั้น ในปัจจบันถือว่าไม่ใช่เรื่องที่ไกลเกินเอื้อมแล้วนะครับ ตัวเลือกต่างๆ ก็มีมากมาย หลากหลายโครงการก็มีบ้านสำเร็จรูป ที่ปล่อยให้เราได้จับจองกันเป็นเจ้าของโดยที่เราไม่ต้องเสียเวลาไปคุมงาน การสร้างเองเลยสักนิดเดียว อีกทั้งยังมีโปรโมชั่นต่างๆ เข้ามาดึงดูด ล่อตาล่อใจให้เราเข้าไปซื้อบ้านกับทางโครงการ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ง่ายมากๆ แทบจะไม่ต้องคิดตัดสินใจอะไร เพียงแค่มีเงินสักก้อน ก็ขนเสื้อผ้าเข้าไปอยู่ได้เลย.. แต่ก็ยังมีกลุ่มคนอีกด้านหนึ่งที่ค่อนข้างจะมีความเป็นครีเอทีฟ อยากจะสร้างบ้านด้วยรูปแบบที่ไม่เหมือนใคร สร้างบ้านตามสไตล์ของตัวเอง ซึ่งมีความยุ่งยากมากกว่า คนที่ซื้อบ้านกับโครงการต่างๆ เพราะว่า จะต้องมีการดูพื้นที่การปลูก ถ้ามีที่ดินอยู่แล้วก็ง่ายหน่อย แต่ถ้าไม่มีที่ดิน ก็จะต้องไปหาทำเล ทำเรื่องซื้อที่ดิน ซึ่งกว่าจะได้ปลูกบ้านนั้น ก็อาจจะต้องใช้เวลาพอสมควร แต่ถ้าเกิดเราผ่านจุดนั้นมาได้แล้ว จนมาถึงขั้นตอนของการที่จะเริ่มปลูกสร้างบ้าน เราควรจะเริ่มอย่างไรดีล่ะ ?..   ถ้าตามแบบฉบับที่เราเข้าใจกัน ก็คือ อาจจะต้องมีการหาผู้รับเหมาเข้ามาคุย ถึงรูปแบบบ้านที่เราต้องการ ซึ่งนั่นก็เป็นเรื่องที่ ถูกต้อง แต่..!! แน่นอนว่า คำถามในเรื่องของปัญหาต่างๆ ก็ย่อมมีตามมาแน่นอน และคงจะดีถ้าเราได้เรียนรู้ถึงปัญหาหลักๆ ที่พบเจอบ่อยในการปลูกสร้างบ้านเอาไว้ก่อน ที่เราจะดำเนินการในขั้นต่อๆไป..

ว่าด้วย เรื่อง ระบบ ปะปาภายในบ้าน


ระบบน้ำปะปาภายในบ้าน เป็นเรื่องใหญ่เรื่องหนึ่งของที่บ้านที่พักอาศัยเลยครับ  สมัยก่อนบ้านที่ผมอยู่เป็นบ้านสองชั้น ที่ไม่ได้ใช้ระบบปั้มน้ำ  แต่ก็สามารถใช้น้ำได้ทั่วทั้งบ้านครับ เพราะแรงดันน้ำที่มาจากการปะปานั้นแรงเพียงพอต่อการส่งน้ำขึ้นถึงชั้นสองอยู่แล้วครับ  จะมีปัญหาบ้างก็ตอนที่เปิดน้ำใช้ร่วมๆ กันหลายจุด  หรือใช้เครื่องทำน้ำอุ่น ถ้าแรงดันน้ำ ณ จุดที่เครื่องทำน้ำอุ่นอยู่น้อยเกินไป เครื่องก็จะไม่ทำงานได้เหมือนกันครับ

มาถึงสมัยใหม่นี้ ปั้มน้ำ แท้งค์น้ำ กลายเป็นเรื่องปกติของบ้านไปแล้ว ไม่ว่าบ้านจะกี่ชั้นก็ตาม บทความนี้เราจะไม่พูดถึงการต่อ ไดอะแกรมของน้ำปะปาในบ้าน เช่นว่าทำอย่างไรน้ำจะไหลอยู่ได้ในกรณีที่ไฟฟ้าดับทำให้ปั้มหยุดทำงานนะครับ แต่จะมาตอบปัญหาง่ายๆ ที่พบบ่อยในระบบน้ำภายในบ้านครับ

ข้อแรก จะตรวจดูได้อย่างไรว่ามีน้ำรั่วในระบบหรือเปล่า

คำตอบ คือให้ปิดน้ำในบ้านให้หมด ปิดวาวล์ น้ำที่ส่งน้ำเก็บเข้าแท้งค์น้ำด้วย แล้วไปดู มิเตอร์น้ำที่หน้าบ้านว่ายังหมุนอยู่หรือเปล่า ถ้ายังหมุนอยู่แสดงว่ามีการรั่วในระบบครับ บางทีเวลาหาที่รั่วไม่เจอ เพราะการรั่วนั้นอาจอยู่ในแถวๆชักโครก ก็ได้ครับ เช่นรั่วจากชักโครกแล้วลงบ่อเกรอะไปเลย

อ้อ ตอนนี้มีเทคโนโลยี มิเตอร์อัจฉริยะที่สามารถรายงานการใช้น้ำของเราในแต่ละวันได้ แล้วครับและบอกความเป็นไปได้ว่ามีน้ำรั่วในระบบของเราได้ด้วยนะครับ  อย่างเช่น  บริษัทนี้ที่ชื่อ FLUID เป็นต้น
https://www.kickstarter.com/projects/825947844/fluid-the-learning-water-meter

FLUID
ข้อสอง น้ำปะปา ดื่มได้ไหม ที่เห็นว่าน้ำปะปาไม่สะอาด เกิดจากน้ำจากที่ไหน

คำตอบ น้ำปะปา ดื่มได้หลายจุดแล้วครับ และมีการตรวจวัดควบคุมตลอด และยิ่งมีโอกาสยากที่จะมีตัวอะไรไปเกิดอยู่ในน้ำปะปา เพราะว่ามีการทำความสะอาดและตรวจวัดหลายขั้นตอนครับ  แต่สัตว์เหล่านี้อาจอยู่ในสายยาง หรืออยู่ในท่อปะปาภายในบ้านของเราเอง ที่มีน้ำค้างไว้นาน จนสัตว์เกิดขึ้นมาได้ครับ น้ำขังไม่ถึงสัปดาห์ก็มีโอกาสเกิดได้แล้ว

นอกจากนี้ปัญหาที่มีตะกอนหรือมีดินออกมาจากก๊อกน้ำที่บ้านเรา ส่วนมากเกิดจากการที่ภายในบ้านมีการปรับปรุงเกี่ยวกับระบบท่อน้ำภายใน ดังนั้นหลังจากที่ปรับปรุงระบบท่อน้ำแล้วอาจต้องมีการปล่อยน้ำเพื่อทำความสะอาดระบบใหม่เสียก่อนครับ

ข้อสาม สารปรอท ที่อยู่ในน้ำ เกิดจากก๊อกน้ำ หรือวาวล์น้ำได้หรือไม่

คำตอบ อุปกรณ์ที่ใช้ในระบบปะปาภายในบ้าน มักทำจากทองเหลือง เพราะทองเหลืองไม่เป็นสนิมและไม่ก่อให้เกิดสารปนเปื้อน แต่บางครั้งมีการน้ำอุปกรณ์ที่ด้อยมาตรฐานมาใช้ ยกตัวอย่างเช่นก๊อกน้ำที่ทำจากเหล็กชุบ หรือทำจากสังกะสี อุปกรณ์เหล่านี้ถ้าเอาแม่เหล็กไปดูดดูก็จะดูดติด ซึ่งก๊อกน้ำที่ทำจากทองเหลืองแม่เหล็กจะดูดไม่ติดและมีน้ำหนักมากกว่า

ส่วนวาล์วน้ำก็เหมือนกัน  วาล์วน้ำที่ใช้กับปะปาภายในบ้าน จะเป็นวาล์วน้ำที่ทำด้วยทองเหลือง ซึ่งจะทนทานกว่า ใช้งานได้ยาวนาน วาล์วน้ำที่ใช้สำหรับการเกษตร ที่ทำด้วย พีวีซี หรือพีอี  หรือวัสดุเทียบเท่าอื่นๆครับ ก็ต้องดูให้ผู้รับเหมาเลือกใช้วาล์วน้ำ ให้ถูกประเภทของการใช้งาน