หน้าเว็บ

โครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าและสายสื่อสารลงดิน มีข้อดีอย่างไรและมีผลกระทบอย่างไรบ้าง


เป็นข่าวครึกโครมอีกครั้ง เมื่อนาย Bill Gates มหาเศรษฐีคนดังชาวอเมริกัน โพสท์ข้อความลงใน social media ของตนเอง เรื่องเกี่ยวกับสายไฟฟ้าและสายสื่อสารที่อยู่บนผิวดิน ที่ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ เช่นไฟดับ ไฟไม่พอ หรือแม้กระทั่งการขโมยใช้กระแสไฟฟ้า

ข้อความที่เขียนเอาไว้มีใจความว่าดังนี้ครับ

LIVE WIRES 

"Due to faulty infrastructure, many urban areas suffer (from)fromfrequent blackouts and power cuts, and the electrical grid often doesn’t serve the people who need it most." 

"I’ve visited many cities filled with tangled wires such as those in this photo from Thailand, where people have illegally tapped into the grid on their own to get the power they need—at great personal risk."

ในข้อความก็ระบุชัดเจนว่า รูปมาจากเมืองไทย   ซึ่งหลังจากนั้นก็เกิดกระแสวิพากย์วิจารณ์กันอยู่สักพักหนึ่ง จนทำให้เรื่องการนำสายไฟฟ้าและสายสื่อสารลงดินนั้น เป็นเรื่องที่คนพูดถึงกันอีกครั้งหนึ่งครับ  ซึ่งที่จริงแล้วเรื่องนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องใหม่แต่ประการใดครับ

บทความนี้เราจะเขียนถึงเรื่องนี้กัน

แท้จริงแล้วประเทศไทย หรือโดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรุงเทพมหานครของเรา มีความคิดที่จะนำสายไฟฟ้า และสายสื่อสาร ลงใต้ดินตั้งนานแล้ว และก็เริ่มทำโครงการนำสายไฟฟ้าลงดิน มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 แล้วครับ  โดยหน่วยงานที่เป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงกับการจ่ายไฟฟ้าให้กับเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ก็คือ การไฟฟ้านครหลวง ก็ได้ดำเนินการมา จนได้ทำสำเร็จในถนนในกรุงเทพมหานครหลายสาย  เช่นบริเวณถนน สีลม  และถนนสุขุมวิท บางส่วน

การที่สายไฟฟ้ายังอยู่บนดินนั้น ไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาดแต่อย่างใด อย่างในประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างประเทศญี่ปุ่นเอง ถ้าสังเกตดู ในถนนสายเล็ก ในบ้านเรือนที่ห่างออกไปจากตัวเมือ ก็ยังใช้สายไฟฟ้าบนดินกันเยอะแยะครับทั้งนี้ ขึ้นกับความจำเป็น ที่ความจำเป็นที่ว่านั้นก็ขึ้นกับเหตุผลหลายๆอย่างครับ

การจ่ายกระแสไฟฟ้านั้น ยึดหลัก ความ "มั่นคง เพียงพอ ปลอดภัย และเชื่อถือได้"  ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องนำสายไฟฟ้าลงใต้ดินอยู่ดีครับ ด้วยเหตุผลของความมั่นคงทางพลังงาน  ก็เพราะว่า  ด้วยปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น ทำให้สายไฟฟ้าที่อยู่บนดิน ไม่สามารถจ่ายไฟได้เพียงพอครับ  ด้วยเหตุผลทางเทคนิค   สายไฟฟ้าที่อยู่ใต้ดินนั้นสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้มากกว่า ด้วยเหตุผลทางเทคนิคครับ

ด้วยเหตุผลนี้ ถนนสายเศรษฐกิจ ในกรุงเทพมหานคร ถึงได้มีสายไฟฟ้าลงใต้ดินไปแล้วไงครับ  เพราะมันจำเป็นไม่เช่นนั้นจะจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ไม่พอ

ส่วนเรื่องผลพลอยได้จากการที่นำสายไฟฟ้า สายสื่อสาร และเสา ออกไปจากถนนไปอยู่ใต้ดินก็คือ ความสวยงามของถนนหนทาง และไม่ต้องมีปัญหาในการที่ต้องมาตัดต้นไม้ หรือปัญหาที่เกิดสายสื่อสารไฟไหม้ อีกด้วยครับ

ซึ่งในการดำเนินการดังกล่าว จำเป็นต้องได้ความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องครับ อันได้แก่

ผู้จ่ายกระแสไฟฟ้า ซึ่งในกรุงเทพมหานคร ก็คือ การไฟฟ้านครหลวง
เจ้าของพื้นที่ ก็คือ กรุงเทพมหานคร  และ ผู้ดูแลการจราจร ก็คือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
และเจ้าของสายสื่อสารที่พาดอยู่บน เสาไฟฟ้าเดิม (TOT)  เพราะถ้าเอาเสาไฟฟ้าออกไปแล้ว สายสื่อสารที่พาดอยู่นี้ ก็จะไม่มีที่อยู่  ซึ่งเมื่อพูดถึงสายสื่อสาร ก็ต้องพูดถึงองค์กร ที่มีหน้าที่ดูแล การสื้อสารเหล่านี้ ก็คือ  กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

ดังนั้นเมื่อเร็วๆนี้ ทุกหน่วยงานที่กล่าวมาจึงได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลง (MOU) การร่วมมือการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าและสายสื่อสารโทรคมนาคม แบบสายอากาศเป็นสายใต้ดินครับ  เพื่อเร่งรัดโครงการ สายไฟฟ้าลงใต้ดินทั้งหมด 127.3 กิโลเมตร ในกรุงเทพมหานคร ระยะแรกที่แต่เดิมเป็นโครงการสิบปี ให้ทำเสร็จภายใน ห้าปีให้ได้ ครับ ซึ่งปัจจุบันก็ได้ผู้ดำเนินการในช่วง โครงการนนทรี  ระยะทาง 8.3 กิโลเมตรไปแล้วครับ

ส่วนข้อเสียของการนำสายไฟฟ้า ลงใต้ดิน หลักๆ เลยก็คือราคาครับ ที่แพงกว่าการใช้สายในอากาศถึงสิบเท่าตัว   รวมถึงการใช้ระยะเวลาก่อสร้าง ก็ยาวนานกว่าด้วย  และในช่วงการดำเนินงานนั้น อาจมีการกระทบกระเทือนการจราจร ในช่วงที่ดำเนินการอย่างแน่นอน แต่หลังจาก เสร็จงานไปแล้ว ก็จะได้ถนนที่สวยงาม และความมั่นคง ปลอดภัย ทางการใช้ไฟฟ้าเมื่อดำเนินการเสร็จแล้วครับ

สายไฟฟ้าและสายสื่อสารลงดิน

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น