หน้าเว็บ

แนวทางในการแก้ไข พระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. 2542 เรียบเรียงโดยพงศ์ธร ธาราไชย


เดิมทีประเทศไทยมีการเปิดสอนวิชาวิศวกรรมศาสตร์เพียงแค่ที่มหาวิทยาลัยเดียว คือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เท่านั้น ทำให้สมาคมวิชาชีพทางวิศวกรรมของประเทศไทยที่เกิดขึ้น ซึ่งก็คือ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์นั้น ก็มีที่ตั้งที่แรกอยู่ภายในรั้วของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเช่นกัน   แต่สมาคมวิชาชีพทางวิศวกรรมแห่งนี้ ทำหน้าที่ส่งเสริมเพิ่มเติมความรู้ให้วิศวกร จัดทำมาตรฐาน และจัดอบรม แต่ก็มิได้เข้าไปควบคุมการทำงานของวิศวกร ผ่านการให้ใบอนุญาต แต่อย่างใด

และ เนื่องจากวิชาชีพวิศวกรรม เป็นลักษณะงานที่กระทบต่อทรัพย์สิน สวัสดิภาพ และชีวิตของประชาชนโดยตรง  ทางรัฐจึงได้ออกกฎหมายควบคุมวิชาชีพวิศวกร ฉบับแรกขึ้นเรียกว่า พระราชบัญญัติ วิชาชีพวิศวกรรม พ.ศ. 2505 ซึ่ง ภายใต้กฎหมายฉบับนั้น วิศวกรถูกควบคุมดูและโดยกระทรวงมหาดไทย

จนกระทั่งปี พ.ศ. 2542 จึงเกิด พระราชบัญญัติ วิศวกร ขึ้น ซึ่งพระราชบัญญัติฉบับนี้ทำให้ สภาวิศวกรถือกำเนิดขึ้น และเป็นองค์กรที่ดูแลวิชาชีพวิศวกรรม จนถึงปัจจุบันนี้

พระราชบัญญัติ วิศวกร พ.ศ. 2542


แต่เนื่องจาก พระราชบัญญัติฉบับนี้ มีการใช้มาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว และในปัจจุบันสภาพสังคมและเทคโนโลยีทางวิชาชีพวิศวกร นั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงไปพอสมควร จึงอาจถึงเวลา ที่ต้องมาปรับปรุง พระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. 2542

ประสงค์ ธาราไชย พัง แพง พอดี แนวคิดจากการเรียนสู่การงาน จาก Engineering Today ฉบับที่ 1 ( 3 มีนาคม 2546)


กว่าที่ชีวิตจะดำเนินมาถึงปัจจุบัน ทุกคนต้องพบกับสถานการณ์หลายอย่างที่ ต้องตัดสินใจ ผิดบ้างถูกบ้าง ล้วนเป็นเรื่องที่เราจะต้องเรียนรู้สำหรับสถานการณ์ใหม่ เช่นเดียวกับ คุณประสงค์ ธาราไชย บุคคลที่ผ่านประสบการณ์ด้านการควบคุมงานก่อสร้างมาอย่างโชกโชน ตั้งแต่คอกสุนัขสงครามจนมาถึงอาคารสูงที่สุดในประเทศไทยในปัจจุบัน (อาคาร ใบหยก 1, 2) ตลอดจนท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง และเป็นหนึ่งในบริษัทร่วมกิจการค้า (Joint Venture) ที่ทำหน้าที่ควบคุมงานก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินสายเฉลิมรัชมงคล ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าใต้ดินสายแรกของไทย

ประสงค์ ธาราไชย

รหัสบริหารโครงการ ตอน การบริหารโครงการรูปแบบต่างๆ


     ในตอนที่แล้วช่างมันส์ Blog ได้พูดถึงการบริหารโครงการโดยการว่าจ้าง PM กันไปแล้ว วันนี้เราจะมาพูดถึงการบริหารโครงการในรูปแบบต่างๆ กันค่ะ
 
รูปแบบการบริหารโครงการมี 4 รูปแบบ

1. เจ้าของรับหน้าที่บริหารเอง
    Model 1 : OWNER AS PM



   รูปแบบนี้นอกจากเจ้าของโครงการจะเป็นเจ้าของความคิดและเป็นเจ้าของทุนแล้ว หากมีความรู้ และความเชี่ยวชาญในการบริหารโครงการ รวมทั้งมีเวลาพอก็สามารถบริหารโครงการเองได้







กั้นแยกพื้นที่ (Compartmentation) ของอาคารเพื่อลดความเสียหายในการเกิดไฟไหม้ โดย คุณสุเมธ เกียรติเมธา ตอนที่ 1


สวัสดีค่ะ ช่วงนี้ข่าวคราวไฟไหม้เกิดขึ้นบ่อยมาก อาจเนื่องมาจากสภาพอากาศที่แห้ง และมีลมพัดแรงทำให้มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดเพลิงไหม้ โดยเฉพาะหากเกิดกับตึกแถวหรือบ้านไม้ จะสร้างความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินมากยิ่งขึ้น เพื่อลดความเสี่ยง และการเกิดความเสียหายต่อการเกิดเพลิงไหม้เราควรกั้นแยกส่วนพื้นที่เพื่อจำกัดพื้นที่และควบคุมไม่ให้เปลวไฟและควันจากจุดต้นเพลิงขยายตัวออกไปในพื้นที่ข้างเคียง