รูปแบบการบริหารโครงการมี 4 รูปแบบ
1. เจ้าของรับหน้าที่บริหารเอง
Model 1 : OWNER AS PM
รูปแบบนี้นอกจากเจ้าของโครงการจะเป็นเจ้าของความคิดและเป็นเจ้าของทุนแล้ว หากมีความรู้ และความเชี่ยวชาญในการบริหารโครงการ รวมทั้งมีเวลาพอก็สามารถบริหารโครงการเองได้
2. มอบหมายให้ผู้ออกแบบบริหารโครงการ
Model 2 : DESIGNER AS PM
รูปแบบนี้ผู้ออกแบบหรือสถาปนิกนั้น เมื่อได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจจากเจ้าของโครงการให้ออกแบบแล้ว หากมีความสามารถในการบริหารโครงการด้วย อีกทั้งมีเวลาเพียงพอ และขนาดโครงการก็เหมาะสมก็จะใช้รูปแบบนี้ได้
3. มอบหมายผู้ดำเนินการก่อสร้างบริหารโครงการ
Model 3 : CONTRACTOR AS PM (DESIGN-BUILD)
การมอบหมายให้ผู้ดำเนินการก่อสร้างดำเนินการรวมทั้งบริหารงานนั้นด้วย เช่น โครงการ Design Build, โครงการ Engineering Procurement Construction (EPC) เป็นเรื่องปกติ รูปแบบนี้ควรมีวิศวกรอิสระ (ICE : Independent Checking Engineer) เป็นที่ปรึกษาของเจ้าของโครงการด้วย
4. มอบหมายมืออาชีพบริหารโครงการ
Model 4 : PROFESSIONAL PM
รูปแบบที่ใช้มืออาชีพ เหมาะสำหรับงานขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ซึ่งเจ้าของงานไม่จำเป็นต้องทำหน้าที่ PM เอง
เมื่อคำนวณเงินที่เจ้าของงานประหยัดด้วยการไม่จ้างมืออาชีพ อาจไม่คุ้มค่ากับเวลาที่เสียไป เนื่องจากเจ้าของงานอาจใช้เวลานั้นไปหาเงินได้อีกมากกว่าจำนวนเงินที่ประหยัดได้
ดังนั้นการพิจารณาว่าจะเลือกใช้การบริหารโครงการรูปแบบใดนั้นขึ้นอยู่กับ
1. "ECONOMY OF SCALE"
2. ความคุ้มค่าของการว่าจ้างแต่ละรูปแบบ
สรุป
หากเป็นงานขนาดเล็ก ขนาดของงานไม่เอื้ออำนวยให้ใช้การบริหารโครงการเต็มรูปแบบได่ เพราะขนาดของโครงการเล็กเกินไปเรียกว่าไม่มี Economy of Scale งานลักษณะนี้เจ้าของงานควรว่าจ้างผู้ควบคุมงานดูแลงานเอง หรือเพิ่มขอบเขตงานให้ผู้ออกแบบช่วยควบคุมดูแลงานให้ โดยใช้ผู้ตรวจงาน (Inspector) หรือ Clerk of Work เพียงคนเดียว
ส่วนงานขนาดกลางถึงขนาดใหญ่นั้น อาจรวมกิจกรรมที่ต้องดำเนินการโดย PMC และ CSC เป็นกิจกรรมซึ่งดำเนินการโดยที่ปรึกษากลุ่มเดียว โดยจะเรียกว่า PM หรือ CM ก็ได้
สำหรับงานขนาด Mega Project นั้น ควรมี PMC แยกจาก CSC ซึ่งงานเหล่านี้ส่วนมากจะเป็นงานของรัฐ
รหัสบริหารโครงการ ตอน การบริหารโครงการรูปแบบต่างๆ โดย คุณประสงค์ ธาราไชย
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น