หน้าเว็บ

เกร็ดความรู้ เรื่อง "สีทาบ้าน"




          สีทาบ้านเป็นสิ่งสำคัญสิ่งนึงที่จะทำให้บ้าน อาคาร หรือที่อยู่อาศัยต่างๆ สวยงามและน่าอยู่ขึ้น นอกจากช่วยทำให้สวยงามแล้ว ยังช่วยบอกอารมณ์บุคคลิกของ อาคารสิ่งปลูกสร้างได้ อาคารสิ่งปลูกสร้างจะเปลี่ยนอารมณ์ไปทันที เมื่อเราเปลี่ยนสีของมัน  นอกจากที่สีจะช่วยเปลี่ยนณ์แล้ว เทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้สีสามารถช่วยลดความร้อนที่เข้ามาภายในอาคารได้ ซึ่งเมื่อลดความร้อน หรือไม่เก็บความร้อนไว้แล้ว  อุณหภูมิของอาคารก็ลดลง ทำให้ประหยัดพลังงานในการทำความเย็นได้อีก

เกร็ดความรู้ เรื่องเครื่องปรับอากาศ รู้ไว้แอร์เย็น ใจก็เย็น


เพราะเมืองไทยเป็น “เมืองร้อน” ยิ่งเข้าเดือนมีนาคม เมษายน หน้าร้อนยิ่งทำให้ร้อนปรอทแตก  ซึ่งวิธีการแก้ปัญหาในหาเรื่องความร้อนสำหรับคนเมือง คงหลีกเลี่ยงไม่พ้นการใช้ “เครื่องปรับอากาศ” หรือ “แอร์”

 เครื่องปรับอากาศนั้น มีหลักการทั่วๆไปคือการนำอากาศร้อนจากที่หนึ่ง ไปถ่ายออกอีกที่หนึ่ง โดยผ่านกระบวนการทำให้อากาศ นั้นเย็นโดยการพ่นอากาศ หรือลม ผ่านการใช้น้ำเย็น  หรือถ้าเป็นในเครื่องปรับอากาศภายในบ้านนั้นก็ใช้น้ำยากทำความเย็น หรือที่เรา เรียกกันติดปากว่าน้ำยาแอร์นั่นเอง

ซึ่งในกระบวนการเปลี่ยนอากาศร้อน เป็นอากาศเย็นนั้น สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือการใช้พลังงานไฟฟ้า  ซึ่งถ้าเรายิ่งใช้เครื่องปรับอากาศมาก เช่นใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือปรับอุณหภูมิให้แย็นมากๆ ก็จะยิ่งใช้พลังงานไฟฟ้ามาก และทำให้ค่าไฟในช่วงฤดูร้อนนั้นพุ่งขึ้นสูงมากทีเดียว ดังนั้น การเรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับเครื่องปรับอากาศเบื้องต้น จะให้ให้เราสามารถ เย็นสบาย และก็ยังสบายกระเป๋าได้ด้วย

เริ่มแรก เลยเราต้องทำความรู้จักชนิดของเครื่องปรับอากาศที่ใช้ภายในบ้านเสียก่อน เครื่องปรับอากาศถ้าเป็นรุ่นใหม่ๆ จะมีระบบการปรับการทำงานของมอเตอร์อัตโนมัติ ทำให้มอเตอร์ไม่ต้องทำงานตลอดเวลา และติดๆดับๆ  ซึ่งนอกจากจะช่วยทำให้อุณหภูมิภายในห้องเย็นสม่ำเสมอแล้ว เรื่องค่าไฟก็จะประหยัดลงมาก ระบบนี้มีชื่อเรียกว่า อินเวอร์เตอร์ ซึ่งราคาในปัจจุบันก็ลดลงมามากแล้ว โดยทั่วไปแอร์ภายในบ้านมีอายุใช้งานราว 15 ปี ดังนั้นหากแอร์มีอายุการใช้งานมาก ก็อาจพิจารณาเปลี่ยนมาใช้รุ่นที่ใหม่กว่า เพื่อประหยัดค่าไฟและค่าบำรุงรักษาได้

เติมไฟวิศวกร


               วิศวกรเป็นอาชีพหนึ่งที่สามารถเคลื่อนย้ายเสรีหลังเปิดเสรีอาเซียนเต็มรูปแบบ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในบางประเทศของอาเซียนตอนนี้ คือ บัณฑิตวิศวะจำนวนไม่น้อยกลับทิ้งอาชีพที่เคยใฝ่ฝันไป หลังทำงานได้แค่ไม่กี่ปี
             
                มาร์คัส ฉู บอกกับหนังสือพิมพ์สเตรทส์ ไทม์ส ว่า เมื่อ 10 กว่าปีก่อน เขาเคยคิดว่าวิศวกรเป็นอาชีพที่น่าสนใจมาก แต่พอเรียนจบและได้ทำงานด้านนี้จริงๆ ราว 4 ปี ก็พบว่า ความเจิดจรัสของอาชีพก็หายไป เพราะไม่ว่าเขาจะทำงานหนักแค่ไหน ก็จะได้ปรับเงินเดือนแค่ปีละ 50 ดอลลาร์สิงคโปร์ สุดท้ายจึงทิ้งอาชีพในดวงใจมาเป็นข้าราชการดูแลการรับรองคุณภาพการฝึกอบรมในปัจจุบัน ซึ่งคล้ายๆกับเพื่อนๆวิศวกรของเราอีกราวๆ ครึ่งหนึ่งหันไปประกอบอาชีพอื่นเหมือนกัน

กั้นแยกพื้นที่ (Compartmentation) ของอาคารเพื่อลดความเสียหายในการเกิดไฟไหม้ โดย คุณสุเมธ เกียรติเมธา ตอนที่ 2


    ต่อเนื่องจากตอนที่แล้ว ในเรื่องการป้องกันอัคคีภัยหรือการป้องกันไฟและควันลาม โดยเฉพาะใน "เชิงรับ" (Passive fire protection) จะพูดถึง “ควัน” เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับอาคารทุกๆ อาคาร รวมถึงผู้ใช้อาคารเช่นกัน

    เนื่องจากเหตุการณ์ที่ผ่านมาในอดีตนั้นแท้จริงแล้ว การสูญเสียโดยเฉพาะชีวิตของผู้ที่ใช้อาคารที่เกิดเพลิงไหม้นั้นมาจาก “ควัน” เสียเป็นส่วนใหญ่  เนื่องจากเวลาเกิดเหตุเพลิงไหม้นั้น การลามของไฟ และควันต่างกันคือ ไฟจะลามไปตามวัสดุหรือเชื้อเพลิงที่สามารถติดไฟได้โดยใช้องค์ประกอบ 3 ส่วน คือ
   1. เชื้อเพลิง
   2. พลังงานความร้อน (ตัวเริ่มปฏิกิริยา)
   3. ออกซิเจน (ปริมาณก๊าซออกซิเจนที่ 15% จะไม่สามารถจุดติดไฟได้ แต่ถ้าปริมาณก๊าซออกซิเจนที่ 26% อัตราการเผาไหม้จะเพิ่มเป็น 2 เท่าของสภาพปกติ, ออกซิเจน 21%) คือควันสามารถลามไปได้ทุกที่โดยใช้ช่องว่างหรือช่องเปิดของอาคาร เช่น ช่องวางใต้บานประตู ท่อปรับอาคกาศ ช่องวางรอยต่อผนังใต้ท้อง พื้น คาน ช่องเปิดเพื่อให้ท่อน้ำดื่มน้ำใช้ที่เจาะผ่านพื้นแต่ละชั้น ทางเดินภายในอาคาร เป็นต้น