หน้าเว็บ

10 ข้อเท็จจริง ชีวิตคนกรุง จากหนังสือพิมพ์มติชน



กรุงเทพฯ 1,568 ตารางกิโลเมตร ใช้ชีวิต 24 ชั่วโมงเผชิญกับอะไรบ้าง?

วันนี้ชวนคุยเรื่องบ้านเรื่องเมืองกันนะคะ มีข้อมูลสะดุดตาของสถาบันอนาคตไทยศึกษา เจาะลึกเมืองหลวงประเทศไทย 10 ประเด็น เขาบอกว่าเป็น 10 ข้อเท็จจริงชีวิตคนกรุงเทพฯ อ่านจบแล้วอยากจะพูดใหม่ว่าเป็น 10 ฝันร้ายชีวิตคนกรุงซะมากกว่า

อัตราภาษีรถยนต์ปี 2559 การคิดภาษีเพิ่มเติมจากอัตรารการปล่อยก๊าซเรือนกระจก


ภาษีรถยนต์ปี 2559 เป็นอัตราภาษีสรรพสามิตที่จะมีผลตั้งแต่ 1 มกราคม 2559 นั้น เป็นอัตราภาษีที่คิดภาษีโดยคำนวณจากอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ของรถรุ่นนั้นๆ

ซึ่งแต่เดิม การเก็บอัตราภาษีสรรพสามิตรของรถยนต์นั้น จะคำนวณจากขนาดของความจุกระบอกสูบ เป็นหลัก  มาถึงยุคที่มีการส่งเสริมให้ใช้น้ำมันพลังงานทางเลือก  ประเภทแก๊ซโซฮอล์  E10 E20 E85 หรือ พวกดีเซลผสมน้ำมันไบโอดีเซล ก็มีการเก็บภาษีสรรพสามิตร ในรถยนต์ที่นั่งที่สามารถใช้น้ำมันประเภทเหล่านี้ได้ ในอัตราที่ต่ำกว่ารถยนต์ที่ไม่สามารถใช้น้ำมัน ที่ใช้น้ำมันพลังงานทางเลือก

ส่วนอัตราภาษีสรรพสามิตรที่จะใช้จัดเก็บกับรถยนต์ในปีหน้านั้น มีส่วนที่เรียกได้ว่า เพิ่มเติมจากแนวการเก็บอัตราสรรพสามิตรเดิม  คือภาษีที่คิดตามอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  ซึ่งเป็นแนวคิดการเก็บภาษีจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน เป็นการสะท้อนต้นทุนทางสังคม ของการใช้รถยนต์ประเภทนั้นๆ  หรือกล่าวคือ  ถ้าจะขับรถยนต์ที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมามาก ก็ต้องยอมจ่ายภาษีแพงอย่างนั้นนั่นเอง

ภาษีสรรพสามิตรนี้ จะเก็บจากบริษัทรถยนต์โดยตรง ไม่ได้เก็บจากผู้ใช้รถยนต์หลังจากที่ซื้อรถยนต์นั้นไปแล้ว  และจะเก็บกับเฉพาะรถยนต์นั่งส่วนบุคคล รถยนต์โดยสารที่ไม่เกินสิบที่นั่ง รถกระบะ และอนุพันธ์ของรถกระบะ ซึ่งหมายถึงรถกระบะประเภทดัดแปลง หรือ ppv นั่นเอง

โดยโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรใหม่ของรถยนต์นี้ จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงสำหรับประเภทรถหรูที่มี กระบอกสูบมากกว่า 3000 ซีซี  เพราะแต่เดิมก็เก็บภาษีอยู่ในระดับ 50% ที่สูงอยู่แล้ว และรถเหล่านี้ก็ปล่อยก๊าซเรือนกระจก ออกมามากด้วย จึงเก็บภาษีเท่าเดิมต่อไป  ส่วนรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ที่ มีกระบอกสูบต่ำกว่านั้น ก็เก็บภาษีตามอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

รถยนต์ประเภทที่จะมีผลกระทบด้านราคาจากการปรับภาษีสรรพสามิตรใหม่นี้ ที่ต้องปรับเพิ่มขึ้น ก็ได้แก่รถยนต์ประเภท PPV  , Space cap , Pick up เป็นต้น  ส่วนรถยนต์ที่จะได้ลดภาษีสรรพสามิตรลง ก็ได้แก่รถยนต์อีโคคาร์ ที่มี ที่มีอัตราการปล่อยไอเสียต่ำกว่า 100 กรัมต่อกิโลเมตร ที่จะลดอัตราภาษีลงจาก 17% เดิม เป็น 14%  ซึ่งจะตรงกับหลักการของ อีโคคาร์เฟสสองของประเทศไทย


ไฟฟ้าเบื้องต้นสำหรับบ้านที่อยู่อาศัย ตอนที่ 6: ปัญหาเกี่ยวกับไฟฟ้าภายในบ้านที่พบบ่อย และการแก้ไขเบื้องต้น


ปัญหาเกี่ยวกับไฟฟ้า ภายในบ้านที่พบบ่อย และการแก้ไขเบื้องต้น

1. สาเหตุการเกิดไฟซ๊อต หรือไฟฟ้าลัดวงจร อาจเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ ดังนี้

         1.1 สายไฟฟ้าใช้งานมานานจนทำให้ฉนวนชำรุด หมดอายุการใช้งาน ฉนวนหุ้มตัวนำเปลือยขาดจนทำให้สายตัวนำไฟฟ้าระหว่างสายเส้นที่มีไฟ กับนิวทรัลสัมผัสกัน หรือ สายเส้นที่มีไฟ สัมผัสกับโลหะ เป็นต้น วิธีแก้ไขเพื่อความปลอดภัย คือ เปลี่ยนสายไฟที่ใช้งานมานานแล้วใหม่
ตัวอย่างสายไฟฉนวนหุ้มตัวนำเปลื่อยขาด
         1.2 ต่อสาย หรือเข้าสายอุปกรณ์ไฟฟ้า ไม่แน่น ไม่เรียบร้อย ทำให้เกิดความร้อน และอาจส่งผลให้เกิดไฟใหม้บ้านได้
เสียบปลั๊กไม่แน่น ไม่สนิท
         1.3 อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้งานขัดข้อง หรือชำรุด กรณีตรวจพบว่าอุปกรณ์ไฟฟ้าชำรุดให้ทำการแก้ไขให้เรียบร้อยก่อนใช้งาน
         1.4 เกิดจากการใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม เช่น ขณะใช้งานสายไฟอยู่ใกล้แหล่งที่มีความร้อนสูง เช่น เตาแก๊ส หรือสายไฟถูกของหนักกดทับจนฉนวนเสียหาย เป็นต้น
         1.5 สายไฟมีขนาดเล็กเกินไป ทำให้รับกระแสไฟฟ้าได้น้อยกว่าอุปกรณ์ป้องกัน

เครื่องทำน้ำอุ่น ...ใช้อย่างไรให้ปลอดภัย?


ก้าวเข้าสู่หน้าหนาวกันแล้ว เชื่อว่าหลายๆบ้านจะต้องเริ่มมองหาเครื่องทำน้ำอุ่นมาใช้กันแต่จะใช้อย่างไรให้ถูกต้องและปลอดภัยวันนี้เรามาหาคำตอบกันค่ะ ในการติดตั้งข้อสำคัญเลยคือต้อง มีการติดตั้งระบบสายดินที่ถูกต้อง หลักดินที่เป็นแท่งทองแดง หรือ แท่งเหล็กหุ้มทองแดง หรือ แท่งเหล็กอาบสังกะสีเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 16 มิลลิเมตร ความยาว 240 เซนติเมตร ตามมาตรฐานติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย 2556

Main Switch
 ที่แผงเมนไฟฟ้า หรือ ที่แผงเมนสวิตช์ หรือ ตู้คอนซูเมอร์ จะต้องมีเครื่องตัดไฟรั่ว หรือ เครื่องตัดวงจรกระแสเหลือไม่เกิน 30 มิลลิแอมป์ (mAh) โดยที่ที่ควรจะต้องมีเครื่องตัดไฟรั่วมีดังนี้

1. วงจรเต้ารับในบริเวณห้องน้ำ ห้องอาบน้ำ โรงจอดรถยนต์ ห้องครัว ห้องใต้ดิน
2. วงจรเต้ารับในบริเวณ อ่างล้างชาม อ่างล้างมือ (บริเวณพื้นที่เคาน์เตอร์ ที่มีการติดตั้งเต้ารับ    
    ภายใน ระยะ 1.5 เมตร ห่างจากของด้านนอกของอ่าง)
3. วงจรไฟฟ้าเพื่อใช้จ่ายภายนอกอาคาร และบริภัณฑ์ไฟฟ้าที่อยู่ในตำแหน่งที่บุคคลสัมผัสได้ทุก
    วงจร
4. วงจรเต้ารับในบริเวณชั้นล่าง (ชั้น1) รวมถึงในบริเวณที่อยู่ต่ำกว่าระดับผิวดิน ที่อยู่ในพื้นที่ปรา
    กฎว่าเคยมีน้ำท่วมถึงหรืออยู่ในพื้นที่ต่ำกว่าระดับทะเลปานกลาง
5. วงจรย่อยสำหรับ เครื่องทำน้ำอุ่น เครื่องทำน้ำร้อน อ่างอาบน้ำ

หมายเหตุ ตำแหน่งที่สัมผัสได้ หมายถึงอยู่ห่างจากพื้นหรือโลหะที่ต่อลงดินไม่เกิน 2.4 เมตร ในแนวดิ่ง หรือ 1.5 เมตร ในแนวระดับและบุคคลสามารถเข้าถึงได้โดยไม่ตั้งใจ


การติดตั้งทางไฟฟ้า หรือ เดินสายไฟฟ้าต้องเดินให้ถูกต้องตามมาตรฐานติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย วสท. และผู้ติดตั้งฯ หรือ เดินไฟ หรือ ตัดต่อวงจรไฟฟ้า เช่น เครื่องทำน้ำอุ่นมอก.ต้องเป็นช่างที่ผ่านการทดสอบ และได้หนังสือรับรอง สาขาอาชีพช่างไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ เฉพาะสาขาช่างไฟฟ้าภายในอาคาร ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ที่ได้ประกาศใช้ตั้งแต่ 26 ธ.ค 2557 และจะบังคับใช้ 365 วันนับจากวันประกาศ ก็คือวันที่ 27 ธ.ค 2559





การเลือกซื้อเครื่องทำน้ำอุ่นที่มีความปลอดภัย

1. ต้องได้รับการรับรอง มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ มอก.1693-2547 เครื่องทำน้ำร้อนไฟฟ้า น้ำผ่านร้อนทันที เฉพาะด้านความปลอดภัย
2. มีเครื่องตัดไฟรั่วในตัว อีกชั้นหนึ่ง หรือที่ผู้ขายจะเรียก ELB ,ELCB ซึ่งส่วนใหญ่จะป้องกันในการดูดที่กระแสไฟรั่วไม่เกิน 15 mA ตัดภายใน 0.05 วินาที
3. มีเซ็นเซอร์ตัดความร้อนทั้นทีเมื่อแรงดันน้ำมีไม่เพียงพอ เพื่อป้องกันอุณหภูมิร้อนเกิน
4. มีตัวควบคุมอุณหภูมิ บริเวณน้ำออก
5. มีตัวเปิด-ปิดวาล์วน้ำเข้าสู่ หม้อทำความร้อน (มีทุกยี่ห้อ)
6. มีปุ่มทดสอบและตัววงจรเครื่องทำน้ำอุ่น กรณีเครื่องทำน้ำอุ่นเสีย เป็นปุ่มกด

การตรวจเช็คสภาพในกรณีที่มีการติดตั้งอยู่แล้ว

1. ตรวจสอบระบบการต่อสายดิน การเดินสายดินไปที่เครื่องทำน้ำอุ่นอย่างถูกต้อง
2. ใช้เครื่องตัดไฟรั่ว และการทดสอบเครื่องตัดไฟรั่วอย่างสม่ำเสมอ ว่ายังทำงานดีอยู่หรือไม่
3. ทดสอบปุ่มทดสอบที่ตัววงจรเครื่องทำน้ำอุ่น กรณีเครื่องทำน้ำอุ่นเสีย เป็นปุ่มกด
4. ถอดตัวกรองน้ำ เพื่อล้างเศษหิน ที่ติดตรงบริเวณท่อน้ำเข้าเครื่องทำน้ำอุ่น
5. หากมีเสียง มีไอน้ำ ให้กดปุ่มทดสอบตรงเครื่องทำน้ำอุ่นนั้น และตัดวงจรที่เครื่องตัดไฟรั่ว รวมถึงการเรียกช่างไฟฟ้าที่เชี่ยวชาญโดยตรง มาแก้ไขให้
6. หากไม่สามารถใช้งานเครื่องทำน้ำอุ่นได้ ให้สอบถามจากช่างฯ ที่เชี่ยวชาญโดยตรง มาแก้ไขให้ 

ความรู้เด็ด เรื่อง ฉนวนกันความร้อนสำหรับหลังคาบ้านพักอาศัย


ปัญหาของหลังคาบ้านที่พบบ่อยอีกหนึ่งปัญหานอกเหนือจากปัญหาเรื่องหลังคารั่วแล้ว ก็คือปัญหาเรื่องหลังคาร้อน  ซึ่งหลังคาที่มีจั่ว เพื่อที่ให้มีอากาศแทรกอยู่ระหว่าง ชั้นฝ้า กับชั้นหลังคา ดูจะเหมาะกับประเทศร้อนอย่างเรามากที่สุด  เพราะนอกจากจะมีอากาศช่วยลดความร้อนได้แล้ว ยังมีความลาดเอียง (slope) ของหลังคา


บ้านสมัยยุคปัจจุบันนิยมแบบหลังคา แบนกันมาก หลังคาแบนนี้ แต่เดิมมักเป็นหลังคาสำหรับดาดฟ้า ของบ้าน และอาคารประเภทพาณิชย์  บ้านในต่างประเทศมีหลังคาแบนใช้กันมาก  แต่ข้อเสียของหลังคาประเภทนี้ คือ อมความร้อนไว้มาก และอาจมีปัญหาเรื่องรั่วซึม

ประเภทของหลังคา

สำหรับประเทศที่มีอากาศร้อนอย่างประเทศไทย การใช้ฉนวนมาช่วยลดความร้อน เป็นทางเลือกของคนส่วนใหญ่  โดยแต่เดิมมักใช้ประเภทฉนวนใยแก้ว  ฉนวนใยหิน  ซึ่งฉนวนประเภทนี้ มีข้อดีคือ ใช้กันมานาน หาซื้อได้ทั่วไป  และกันความร้อนได้ดี  แต่ข้อเสียก็คือ เมื่อใช้ไปมักเป็นฝุ่น ของใยแก้วใยหิน ซึ่งอาจเป็นพิษ และก็มีความหนา ทำให้เวลาติดตั้งกับ แบหลังคา จำเป็นต้องทำที่ติดตั้งเพิ่มพิเศษขึ้นมา


ฉนวนฟรอย มีลักษณะ เป็นฟรอยใสมันวาว สะท้อนความร้อนได้ และสามารถติดตั้งได้สะดวก เพราะไม่หนา ทำให้ไม่จำเป็นต้องทำขาติดตั้งเพิ่ม  แต่ก็ไม่กันความร้อนได้ดีเหมือนฉนวนแบบเส้นใย



จึงมีการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ และมาเป็นฉนวนแบบ ฟรอยหุ้มบับเบิ้ล หรือที่เรียกวันว่า Polynum  ฉนวนประเภทนี้ เป็นเป็นฟรอยประกอบไว้กับบับเบิ้ล ฟองอากาศ ( air bubble layer ) ซึ่งจะทำให้ polynum สามารถกันความร้อนได้ดีกว่า ฟรอย อย่างเดียว และยังคงความบางเอาไว้ได้


ประเภทของฉนวนกันความร้อน


ฉนวนความร้อน แบบ EPDM หรือฉนวนยางดำ  ฉนวนประเภทนี้ พัฒนามาจากฉนวนที่ใช้หุ้มแอร์ หุ้มท่อน้ำเย็น  เป็นฉนวนที่กันความร้อนได้ดี มีความทนทาน และมีราคาถูกกว่า ฉนวน polynum  และนอกจากนั้นยังมีคุณสมบัติที่ไม่ลามไฟ  


การพ่นกันความร้อน แบบ PU (Polyurethane foam) หรือพ่น สี Ceramic coating ลงไปบนหลังคา เพื่อกันความร้อน วิธีนี้เป็นวิธีที่มีราคาแพง และทำให้หลังคามีสีของโฟมติดอยู่บนหลังคา  

การพ่นกันความร้อนนี้มักใช้กับอาคารโรงงาน หรืออาคารพาณิชย์  แต่ไม่นิยมใช้กับบ้านอยู่อาศัย  ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาแล้ว

การเลือกใช้ฉนวน กันความร้อนแต่ละประเภท เลือกให้เหมาะกับการใช้งาน และคำนึงว่า ทำไปแล้ว ต้องอยู่กันอีกนาน ดังนั้นควรคำนึงถึงค่าบำรุงรักษา ค่าไฟฟ้าที่อาจเกิดเพิ่มขึ้นมาก จากการที่ฉนวนไม่สามารถกันความร้อนได้ ด้วย  ไม่ใช่คำนึงถึงแค่ราคาเมื่อตอนติดตั้งเท่านั้น

ข้อควรรู้เกี่ยวกับสวิตซ์ไฟฟ้า



สวิตซ์ไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญอย่างหนึ่งของเครื่องใช้ไฟฟ้าแทบทุกประเภท เพราะสวิตซ์ไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้เปิดและปิดกระแสไฟฟ้าให้ผ่่านเข้าและออกจากเครื่องใช้ไฟฟ้าได้โดยสะดวกและปลอดภัย ส่วนในความหมายทางวิชาการนั้นสวิตซ์ไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับต่อหรือตัดกระแสไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้าหนึ่งวงจร หรือมากกว่า การเลือกซื้อสวิตซ์ไฟฟ้าจีงต้องคำนึงถึงคุณภาพเป็นส่วนสำคัญมิฉะนั้นอาจเกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้






เพราะว่า อิฐมวลเบา มีดีมากกว่าแค่เบา เกร็ดความรู้เรื่อง อิฐมวลเบา


ตอนที่แล้วเราได้พูดถึงเรื่องผนังชนิดต่างๆไปแล้ว  ในตอนนี้เราจะดูรายละเอียดของผนังก่อกันครับ

ผนังก่ออิฐฉาบปูน เป็นผนังชนิดที่มีความแข็งแรงน้ำหนักมาก จึงต้องการโครงสร้างมารองรับ  ผนังก่อที่ก่อด้วยอิฐบล็อกนั้น มักใช้ทำเป็นรั้วเป็นหลัก  ส่วนผนังที่ใช้ทำผนังภายในนั้น มักจะใช้อิฐมอญ และอิฐมวลเบา

สำหรับข้อแตกต่าง ของอิฐมวลเบา และ อิฐมอญ สามารถจำแนกได้ดังตารางต่อไปนี้

ตารางเปรียบเทียบข้อแตกต่าง ของอิฐมวลเบา และ อิฐมอญ

ผนัง มีประโยชน์มากกว่าแค่กั้นเขต


สิ่งที่เราใช้ในการกั้นเขตของส่วนต่างๆของที่อยู่อาศัยนั้น  ถ้าอยู่ภายนอกบ้านเราก็เรียกว่ากำแพง  ถ้าติดอยู่กับตัวบ้าน ภายนอกเราก็เรียกว่าผนังภายนอก  ถ้าอยู่ภายในบ้านก็เรียกผนังภายใน

ความสำคัญของผนังนอกจากจะกั้นเขตแล้ว หรือแบ่งพื้นที่ภายในให้ออกเป็นสัดส่วนแล้ว  จริงๆผนัง มีประโยชน์อื่นๆ อีกได้แก่

หนึ่ง  ใช้เป็นที่แบ่งขอบเขต ถ้าเป็นภายนอกก็เป็นเขตของบ้าน ถ้าภายในก็ใช้กั้นขอบเขตของห้องต่างๆ ดังนั้น ผนังจึงจำเป็นต้องมีความแข็งแรงระดับหนึ่ง  เพราะใช้เพื่อรักษาความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินด้วย

สอง  ใช้ ปิดบังสายตา ให้มองเห็น หรือไม่ให้มองเห็น ระหว่างสองพื้นที่

สาม  ผนังเปรียบเสมือนผิวของบ้าน หรือของห้อง  ทำให้เกิดความสวยงาม  สามารถยึดติดสิ่งต่างๆ ลงบนผนังเพื่อให้เกิดความสวยงามได้

สี่   ใช้กันเสียงรบกวน  เราคงไม่อยากได้ยินเสียงดังจากภายนอกบ้านเข้ามาในบ้าน หรือไม่อยากได้ยิน เสียงจากห้องข้างเคียงเข้ามาในห้องเรา และก็เสียงของห้องของเราเข้าไปในห้องข้างเคียง

ห้า ใช้กันความร้อนไม่ให้เข้ามาภายในบ้าน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของผนังภายนอกของบ้าน 

หก  ใช้กันไฟ  ในกรณีที่เกิดไฟไหม้ อาคารหรือบ้านเรือน การที่ผนังสามารถทนไฟได้ ทำให้โอกาสยืดเวลาในการหนีไฟของผู้อยู่อาศัยก็มากขึ้น  ทำให้มีโอกาสรอดชีวิตมากขึ้น

เจ็ด ใช้กันความชื้น  ในกรณีของผนังภายนอก ถ้ามีฝนตก ผนังที่ดีต้องไม่ให้ความชื้นจากภายนอกเข้ามาภายในบ้านได้ และตัวผนังเองก็ไม่เปื่อยยุ่ยไปเพราะความชื้น

ผนังที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ก็มีสามประเภทหลักๆ คือ
1. ผนังเบา
2. ผนังก่ออิฐฉาบปูน
3. ผนังสำเร็จรูป


ชนิดของผนัง

ผนังเบา ใช้กั้น ขอบเขตห้อง สามารถใช้งานได้สะดวก เพราะไม่ต้องวางบนโครงสร้างของอาคาร หรือบ้าน ข้อด้อยคือเรื่องของการกันเสียง กันไฟ และการติดตั้ง

ผนังก่อ (และฉาบปูน) งานผนังชนิดนี้ ค่อนข้างเป็นการทำผนังแบบถาวร  โดยมากใช้วัสดุสามประเภทหลัก คือ อิฐมอญ  อิฐบล็อก และ อิฐมวลเบา

โดยมากอิฐบล็อก จะใช้ในงานก่อกำแพง กั้นเขตบ้าน อิฐมอญใช้ทำผนังของตัวอาคาร  ส่วนอิฐมวลเบา ชนิดสีขาวเป็นวัสดุที่เข้ามาทีหลังสุด  นวัตกรรมใหม่ล่าสุด ผลิตจากโรงงานที่ทันสมัย   คุณภาพสม่ำเสมอ มีน้ำหนักเบาช่วยลดอุณหภูมิในบ้าน และทนไฟ ไม่ยืดหด เนื่องจากผ่านการอบไอน้ำแรงดัน  เนื่องจากน้ำหนักเบา จึงประหยัดโครงสร้าง เมื่อเทียบกับ อิฐก่อผนังแบบอื่น แต่ราคาใกล้เคียงกันและ ใช้ได้ทั้งผนังภายนอกและ ภายใน


ผนังสำเร็จรูป เป็นการทำชิ้นส่วนผนังทั้งอันชิ้นใหญ่ๆ มักใช้ในการทำโครงการหมู่บ้าน หรือโครงการคอนโดมิเนียม
 
ข้อดี  คือชิ้นงานทำจากโรงงาน ทำให้มีคุณภาพและทำให้โครงการเสร็จอย่างรวดเร็ว

ข้อเสีย  คือเรื่องการดัดแปลงต่อเติมภายหลังไม่สามารถเจาะผนังได้  รวมถึงปัญหาเรื่องจุดเชื่อมต่อของชิ้นงานสำเร็จรูปซึ่งอาจมีรอยรั่วของน้ำและอากาศเข้ามาได้ ผนังสำเร็จรูปมีคุณสมบัติในการกันความร้อนได้ไม่ดี ทำให้ภายในบ้านจะร้อน

บ้านสำหรับผู้ที่ไม่สามารถใช้ร่างกายได้อย่างคล่องแคล่ว ผู้สูงอายุ


เมื่อตอนที่ร่างกายของเรายังแข็งแรงดีอยู่ เรามักไม่ค่อยเข้าใจ หรือใส่ใจ ว่า หากสิ่งที่ยังดีๆ อยู่นี้ วันหนึ่ง มันไม่เป็นเหมือนเดิมอีกต่อไป แล้วเราจะอยู่อย่างไร  หรือหลายครั้งเลย ที่เราเสียสิ่งเหล่านั้นไปแล้ว ก็อาจเป็นการเสียไปตลอดไป

ในการออกแบบบ้านเรื่อนที่อยู่อาศัยนั้น เรามักออกแบบสำหรับผู้ใช้ที่ร่างกายปกติดี แข็งแรง เดินได้ สายตามองเห็น การทรงตัวดี   แต่หากถ้าผู้อยู่อาศัยนั้น เป็นผู้ป่วยที่ขามีอาการบาดเจ็บ  ผู้ป่วยทางสายตา หรือผู้สูงอายุ ผู้ที่มีความทดถอยทางสมรรถภาพของร่างกาย แล้วละก็  บ้านที่สำหรับคนปกติอยู่อาศัยได้ดีนั้น อาจเป็นบ้านที่มีความอันตรายมาก สำหรับ บุคคลเหล่านั้นทีเดียว

จากสถิติพบกว่า ในแต่ละปี มีคนไทยเสียชีวิตจากการหกล้ม ปีละถึงเกือบสองพันคน ถือเป็นจำนวนการเสียชีวิตจากการไม่ตั้งใจ มากเป็นอันดับสองรองจากอุบัติเหตุ   ซึ่งการหกล้มนั้นหลายครั้งแม้จะไม่ทำให้เสียชีวิต แต่ก็ทำให้กระดูกแตก หรืออาจพิการได้

สำหรับวิธี ง่ายๆ ที่จะเปลี่ยนบ้านที่อาศัยอยู่แล้ว ให้มีความปลอดภัยจากการ หกล้ม มากขึ้น สามารถทำได้ดังนี้

หนึ่ง  เพิ่มราวจับ แม้บันใดจะเตี้ยๆ ขั้นน้อยๆ ก็ควรมีราวจับ

สอง  เพิ่มราวจับที่ใกล้ๆ สุขภัณฑ์ ในที่อาบน้ำ เปลี่ยนมาใช้ฝักบัวอาบน้ำ และให้มีเก้าอี้สำหรับนั่งอาบ พื้นห้องน้ำ ที่มีต่างระดับเพื่อการระบายน้ำ  ถ้าเป็นไปได้ให้เปลี่ยนการระบายน้ำ เป็นการระบายน้ำโดยใช้ร่องน้ำ

สาม  ถ้ามีต่างระดับที่จำเป็นต้องมี ให้เปลี่ยนสีของพื้นที่ต่างระดับกันนั้น ให้เป็นสีที่ต่างกันอย่างชัดเจน จะได้ มองเห็นรู้ได้ว่าเป็นต่างระดับ

สี่  ห้องครัว อย่าทำเป็นพื้นมัน  เก้าอี้นั่งให้ใช้เป็นเก้าอี้ที่ไม่มีล้อ  และให้อุปกรณ์ เครื่องปรุง และอื่นๆ อยู่ในตำแหน่งที่หยิบได้สะดวก

ห้า  ห้องนอน ให้มีไฟแสงสว่างที่ใกล้หัวเตียง สามารถเปิดไฟได้สะดวก  หรือใช้ไฟติดหัวปลั๊ก เพื่อไม่ทำให้ห้องนอนมืดเกินไป  ควรมีแสงสว่างตลอดเวลา

เป็นต้น

บ้านสำหรับผู้สูงอายุ

รู้ไว้ไม่ปวดหัว จุดเสี่ยงควรระวังหลังคารั่วซึม (ตอนที่ 2 : รอยรั่วบนผืนหลังคา)



     ปัญหาหลังคาบ้านรั่วซึมอันเป็นที่น่าปวดหัวนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ และในตอนที่ผ่านมา เจ้าของบ้านคงพอเข้าใจถึงจุดเสี่ยงการเกิดปัญหารั่วซึมจากบริเวณรอยต่อหลังคาบ้าน แล้ว สำหรับตอนนี้จะขอเล่าถึงจุดเสี่ยงการเกิดรอยรั่วบนผืนหลังคา  ซึ่งเกิดได้จาก 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ปัจจัยจากโครงสร้างหลังคา และ ปัจจัยจากกระเบื้องหลังคา

1. ปัจจัยจากโครงสร้างหลังคา
    หากโครงสร้างหลังคาไม่แข็งแรงพอ จะเกิดการแอ่นหรือขยับตัวจนทำให้กระเบื้องหลังคาเผยอ เกิดปัญหาหลังคารั่ว ทั้งยังอาจเป็นอันตรายถึงขั้นหลังคาถล่มได้  ดังนั้น โครงสร้างหลังคา จึงควรได้รับการออกแบบและคำนวณที่ถูกต้องโดยผู้เชี่ยวชาญ  รวมถึงเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์และบริการติดตั้งที่ได้มาตรฐาน

ไฟฟ้าเบื้องต้นสำหรับบ้านที่อยู่อาศัย ตอนที่ 5: ขนาดมิเตอร์ของการไฟฟ้า ที่ใช้งานทั่วไป



         เป็นที่ทราบกันดีว่า เราสามารถขอใช้บริการไฟฟ้าได้จากทางสำนักงานการไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ (แล้วแต่เขตพื้นที่ของบ้าน) โดยบ้านหลังนั้นจะต้องมีการขอบ้านเลขที่และมีทะเบียนบ้านเสียก่อน เราจึงไปดำเนินการยื่นหลักฐานเพื่อขอใช้บริการ เราจะต้องชำระค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขอใช้บริการ ซึ่งค่าธรรมเนียมทั้งหลายนี้จะสูงขึ้นตามปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ขอใช้ นั่นคือยิ่งขอใช้กระแสไฟฟ้ามากก็ต้องยิ่งเสียค่าใช้จ่ายมากนั่นเอง ฉะนั้นเราควรจะเลือกขนาดเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า(มิเตอร์)ที่เหมาะสมกับการใช้งานเพื่อที่เราจะได้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น

พระราชบัญญัติการจัดสรร ที่ดิน กำหนด ขนาดของบ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวเฮ้าส์ ไว้ทำไม


ไม่ว่าเศรษฐกิจ จะดีหรือไม่ดีอย่างไร แนวโน้มของราคาของอสังหาริมทรัพย์ก็มีแต่จะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ก็ดูหอมหวานทำให้เกิดผู้ประกอบการรายใหม่ๆ เข้ามาอย่างต่อเนื่อง

การพัฒนาการของกฎหมายที่มีไว้ใช้ดูแล สังคม และดูแลผู้บริโภคไม่ให้ถูก การเอารัดเอาเปรียบ จากการสร้างผลกำไร ของผู้ประกอบการ ก็มีการพัฒนาขึ้นตามลำดับ  แต่ไม่ว่าการพัฒนาการจะเปลี่ยนไปอย่างไร แนวคิดของกฎหมายการจัดสรรที่ดินนั้น มีไว้เพื่อวัตถุประสงค์หลัก ดังต่อไปนี้คือ

หนึ่ง  ในการจัดสรรที่ดินนั้น จะต้องไม่เป็นการรบกวนสาธารณะ  ดังจะเห็นจากการกำหนด เรื่องการระบายน้ำ  การขออนุญาต เรื่องสิ่งแวดล้อม  การขออนุญาต ทางเข้าออก การจราจร เป็นต้น  การกำหนดบริเวณที่อนุญาตให้ปลูกสร้างสิ่งปลูกสร้างชนิดต่างๆ  เพื่อแบ่งแยกประเภทของสิ่งปลูกสร้าง รักษาสิ่งแวดล้อม และไม่ให้เป็นการแออัด เกินไป

สอง  ในการจัดสรรที่ดินนั้น  จะต้องไม่เป็นการเบียดเบียนผู้ซื้อ ผู้บริโภค   เช่นการกำหนดเรื่องถนน การกำหนดกฎเกณฑ์เรื่องพื้นที่ส่วนกลาง เรื่องขนาดพื้นที่ ความกว้างของหน้าบ้าน ความกว้างถนน  เป็นต้น

แนวคิดหลักของกฎมายจัดสรรที่ดิน


กลับมาถึงคำถามที่จั่วหัวไว้ ว่า แล้วพระราชบัญญัติการจัดสรร ที่ดินกำหนด ขนาดบ้านเดี่ยว บ้านแฝด และทาวเฮ้าส์ ไว้ทำไม

การพัฒนาการของพระราชบัญญัติจัดสรรนี้ มีมายาวนาน และในะระหว่างการพัฒนานั้นก็มีการอุดช่องว่าง ของกฎหมาย ที่ผู้ประกอบการใช้หลีกเลี่ยง เพื่อสร้างกำไรสูงสุด แก่โครงการนั้นๆ

สำหรับการกำหนดขนาดของสิ่งปลูกสร้างนั้น เกิดจากการเอากรอบต่างๆ ที่ต้องมี มาคิด และคำนวณออกมาเป็นขนาดพื้นที่ และความกว้างที่น้อยที่สุดที่เป็นไปได้ ในการสร้างที่อยู่อาศัย ที่ยังมีความปลอดภัย ไม่แออัด แก่ผู้อยู่อาศัย

โดยเริ่มจาก การกำหนด ระยะถอยร่นไว้สองเมตร  จากแนวคิดว่า เสียง กลิ่น ไม่รบกวนค้างเคียง และ ยังมีเรื่องความปลอดภัยจากอัคคีภัยอีกด้วย

จากระยะร่น ก็กำหนด ความกว้างความยาว ให้จอดรถได้ และไม่มีท้ายที่ยื่นออกไปในที่สาธารณะ จึงได้ เป็นความกว้าง และขนาดพื่นที่ ของ บ้านเดี่ยว และทาวเฮ้าส์ ออกมา


ขนาดพื้นที่ ระยะร่น ความกว้าง ตามกฎหมายจัดสรรที่ดินบัญญัต




แต่เดิมนั้นกฎหมายไม่ได้กำหนด คำนิยามของบ้านแฝดเอาไว้  แต่เกิดจากการที่ผู้ประกอบการใช้ช่องว่างของกฎหมาย ในการผลิตสินค้าชนิดนี้ขึ้นมา ที่เป็นสินค้าตรงกลางระหว่าง บ้านเดี่ยว กับ ทาวเฮ้าส์  คือราคาถูกกว่า บ้านเดี่ยว  แต่ก็โฆษณา เหมือนขายบ้านเดี่ยว   จนเกิดการร้องเรียนจากผู้บริโภค และทำให้ กฎหมายมีการพัฒนาไป จนมีการกำหนดขนาด และความยาวของบ้านแฝด ขึ้นมาภายหลังนั่นเอง

รู้ไว้ไม่ปวดหัว จุดเสี่ยงควรระวังหลังคารั่วซึม (1)


 ปัญหาประจำฤดูฝนอย่างหลังคารั่วซึมจนน้ำหยดไหลเข้าบ้านนั้น เป็นเรื่องน่าหนักใจมิใช่น้อย แม้แต่การหาต้นต่อจุดรั่วซึมบางครั้งก็เป็นเรื่องยาก วิธีหลีกเลี่ยงปัญหานี้ควรเริ่มต้นด้วยการทำความเข้าใจถึงจุดเสี่ยงรั่วซึมบริเวณ “รอยต่อหลังคา” และ “บนผืนหลังคา” โดยก่อนอื่นขอเริ่มต้นที่จุดเสี่ยงรอยต่อหลังคาเป็นอันดับแรกสำหรับหลังคาบ้านที่มีความสลับซับซ้อนมาก มีรอยต่อมาก ย่อยเสี่ยงที่จะรั่วซึมได้มากตามจุดต่างๆ ดังนี้



เสียงดังประหลาดที่เกิดขึ้นในบ้าน โดย สมจิตร์ เปี่ยมเปรมสุข



มักจะมีคำถามจากแฟนคลับของคลีนิคช่างว่า ที่บ้านบางครั้งเกิดเสียงดังขึ้นเอง เกิดเป็นช่วง ๆ เกิดได้ทั้งกลางวันและกลางคืน  โดยไม่ทราบสาเหตุ  บางท่านก็กลัวว่าจะเป็นเรื่องของสิ่งลี้ลับ  ผมจึงลองรวบรวมสาเหตุที่ทำให้เกิดเสียงประหลาดในบ้าน เพื่อเป็นแนวทางในการตรวจสอบและแก้ไข ดังนี้

1. เสียงหลังคาลั่น มักจะเกิดกับบ้านใหม่ เสียงมีหลายแบบ เช่น เสียงดังตึ้งเป็นช่วง ๆ เหมือนกับมีคนเอาเหล็กไปฟาดกับโครงหลังคา   บางครั้งรู้สึกถึงแรงสั่นได้เลย หรือบางครั้งเป็นเสียงดังเป้งๆ แปะๆ เสียงดังกล่าวจะมาจากเหนือฝ้าชั้นบน    ซึ่งเกิดจากการสะสมความร้อนที่ผิวหลังคา  โครงหลังคามักจะเป็นเหล็ก ส่วนวัสดุมุงจะมีทั้งกระเบื้องลอน หรือกระเบื้องคอนกรีต เมื่อเกิดความร้อนสะสมขึ้น วัสดุมีอัตราการยืดหดตัวที่ต่างกัน จึงเกิดการรั้งของวัสดุ ดึงกันจนเสียงดัง  บ้านบางหลังอาจจะเกิดรอยแตกร้าวบริเวณผนังรอบยอดเสาชั้นบนด้วย

พลังงานชีวมวลคืออะไร พลังงานชีวภาพ คืออะไร ทั้งสองอย่างแตกต่างกันอย่างไร


พลังงานที่เราใช้อยู่ในโลกทุกวันนี้ ส่วนใหญ่ล้วนเป็นพลังงานที่เกิดจากการสะสมและแปลงสภาพของพลังงานจากแสงอาทิตย์ เช่นถ่านหิน ก็เกิดจากการสะสมของตะกอนซากพืชดึกดำบรรพ์ เป็นเวลาหลายล้านปี ซึ่งพืชเหล่านั้นก็สะสมพลังงานจากดวงอาทิตย์โดยกระบวนการ Photosynthesis

พลังงานจากแหล่งพลังงานที่สะสมอยู่ในโลกนั้น หากใช้ไปก็ย่อมมีแต่วันหมดไป หรืออยู่ในพื้นที่ที่สามารถขุดหานำมาใช้ได้ยากขึ้นเรื่อยๆ

ในช่วงของเวลาที่พลังงานจากถ่านหินและน้ำมันมีราคาสูง  พลังงานทางเลือกก็ได้รับความนิยมมากขึ้น และมีเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นด้วย  พลังงานทางเลือกที่เป็นที่นิยมเหล่านี้ ก็ได้แก่ พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานจากพืช เป็นต้น

พลังงานที่ได้มาจากพืชและของเหลือทางอุตสาหกรรม ก็สามารถนำมาใช้ผลิตพลังงานไฟฟ้า ได้เช่นกัน  โดยเราเรียกว่า พลังงานชีวภาพ ( Biogas) และพลังงานชีวมวล ( Biomass)  และชื่อของพลังงานทางเลือกทั้งสองแบบนี้ก็พาให้สับสนได้เหมือนกัน

พลังงานชีวมวล (ฺBiomass) นั้นหมายถึง พลังงานที่เกิดจากการนำสารอินทรีย์ทุกรูปแบบ ที่เก็บกักพลังงานจากธรรมชาติได้ ทั้งนี้ไม่นับรวมถึงที่กลายเป็นซากฟอสซิลไปแล้ว มาเผาเพื่อให้ความร้อน ที่ทำให้เกิดไอน้ำ เพื่อใช้ในกระบวนการผลิตไฟฟ้า

โดยมากสารอินทรย์ที่เรามักนำมาใช้ในกระบวนการผลิตไฟฟ้าแบบนี้  ได้แก่ กากมันสำปะหลัง ซังข้าวโพด กระลามะพร้าว กากหญ้าเนเปียร์ เป็นต้น

ส่วนพลังงานชีวภาพ ( Bio gas ) นั้นหมายถึง การนำสารอินทรีย์ ไปหมัก เพื่อให้เกิดก๊าซจากการหมักขึ้นมา  แล้วค่อยนำก๊าซที่ได้ไปใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งก๊าซที่ได้จากกระบวนการหมักนี้ จะได้ก๊าซ มีเทนที่ประมาณ 50-70% ของก๊าซที่ได้ และที่เหลือได้เป็น คาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซอื่นๆ แต่ก็เพียงพอที่จะใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า  ซึ่งการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยวิธีนี้ โดยมากทำโดยการดัดแปลงโรงไฟฟ้าที่แต่เดิมผลิตอยู่ด้วยการใช้น้ำมันเตา ซึ่งมีต้นทุนที่สูงกว่า

พลังงานชีวภาพ พลังงานชีวมวล


จะเห็นได้ว่า พลังงานจากไฟฟ้าชีวภาพ และชีวมวลนั้น เป็นพลังงานไฟฟ้าที่ ไม่หมดไป เหมือนพลังงานจากที่ได้จากการนำฟอสซิลไปผลิตพลังงาน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น พลังงานส่วนใหญ่ที่ผลิตได้เพื่อใช้ในปัจจุบันก็ยังมาจากพลังงานจากแหล่งฟอสซิลอยู่ดี  เพราะพลังงานจากแหล่งทางเลือก ยังไม่สามารถผลิตได้ในจำนวนมากๆ ได้เหมือนกับพลังงานจากแหล่งหลัก

สำหรับในประเทศไทยนั้น แผนพัฒนาพลังงานฉบับใหม่ได้วางเป้าให้ผลิตพลังงานจากพืชพลังงานให้ได้มีกำลังการผลิต 650 เมกาวัตต์ ต่อปี ซึ่งถ้านับจากจำนวนโรงฟ้าที่ผลิตพลังงานจากพืชพลังงานในปัจจุบันแล้ว คาดว่าในอนาคตประเทศไทยเรายังมีโอกาสที่จะมีโรงไฟฟ้าจากพืชพลังงานนี้เพิ่มขึ้นอีกพอสมควร

Solar Roof Top หลังคาทำเงิน


ประเทศไทยอยู่บนเส้นศูนย์สูตรของโลก ทำให้มีความเข้มข้นแสงอาทิตย์เฉลี่ยดีตลอดทั้งปี จึงเหมาะเป็นอย่างยิ่งสำหรับการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ โดยการนำแผงโซลาเซลล์มาติดบนหลังคาบ้านพักอากศัยหรือที่เรียกว่า "โซลาร์รูฟท็อป" (Solar Rooftop) แต่หลายๆ คนอาจจะยังไม่ทราบว่า โซลาร์รูฟท็อป มีประโยชน์อย่างไร? และจะสามารถผลิตกำลังไฟฟ้าจากบ้านของเราได้อย่างไร? วันนี้ช่างมันส์จะมาอธิบายให้ฟังกันค่ะ

ตัวอย่างแผงโซลาเซลล์บนหลังคาบ้านพักอาศัย

โซลาร์รูฟท็อปเป็นระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาบ้านที่อยู่อาศัย โดยมีวัตถุประสงค์ที่สามารถผลิตไฟฟ้าใช้เองได้ หรือส่งขายไฟฟ้าให้กับหน่วยงานของรัฐโดยหลักการทำงานของโซลาร์รูฟท็อปนั้น ในเวลากลางวันแผงเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Module) คอยรับพลังงานจากแสงอาทิตย์ แล้วแปรเปลี่ยนให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรง เพื่อส่งต่อไปยังเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า (Inverter) โดยจะผลิตไฟฟ้า และขายไฟฟ้าที่ผลิตได้ทั้งหมดให้แก่การไฟฟ้าฯ แต่ที่สำคัญ เมื่อติดแผงโซล่าร์เซลล์แล้ว จะต้องมี “มิเตอร์ขายไฟ” เพิ่มขึ้นมาอีก 1 ตัว เพื่อรับไฟจากบ้านเราคืนกลับไปยังการไฟฟ้า สรุปบ้านเราก็จะมีทั้ง “มิเตอร์ขายไฟ” และ “มิเตอร์ซื้อไฟ” (มิเตอร์เดิม)


ในส่วนของการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปนั้นก็สามารถติดตั้งได้กับหลังคาเกือบทุกประเภท เช่น หลังคากระเบื้องซีแพคโมเนีย หลังคาลอนคู่ หลังคาคอนกรีต หลังคาเมทัลชีท เนื่องจากแผงโซลาร์เซลล์จะตกอยู่ที่ประมาณ 13 กิโลกรัมต่อตารางเมตร แต่หลังคา CPAC สามารถรับน้ำหนักได้ถึง 40 กิโลกรัมต่อตารางเมตรเลยทีเดียว แต่ถ้าเป็นหลังคาที่ใช้โครงไม้ หรือหลังคาสังกะสีจะไม่แนะนำให้ติด

มาถึงเรื่องความคุ้มค่าปัจจุบันการไฟฟ้าจำหน่ายกระแสไฟฟ้าให้ประชาขนทั่วไปอยู่ที่ 3-4 บาทแต่รับซื้อไฟจากเราที่อัตราหน่วยละ 6.85 บาท ซึ่งจะทำให้ผู้ลงทุนมีจุดคุ้มทุนที่สั้นมาก

ยกตัวอย่างเช่น ติดแผงโซลาเซลล์ขนาด 10 กิโลวัตต์ x 5 ชั่วโมง/วัน = 50 หน่วย/วัน (เฉลี่ยแสงแดด 5 ชั่วโมงต่อวัน)
1 เดือนผลิตได้ 1500 หน่วย
การไฟฟ้ารับซื้อที่หน่วยละ 6.85 บาท = 1500 x 6.85 = 10,275 บาท
ในเดือนนึงเราจะได้เงินจากกายขายไฟฟ้าให้การไฟฟ้าถึงหนึ่งหมื่นบาทเลยทีเดียว

ไฟฟ้าเบื้องต้นสำหรับบ้านที่อยู่อาศัย ตอนที่ 4: เครื่องมือและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ควรมีไว้ติดบ้าน


เครื่องมือและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ควรมีไว้ติดบ้าน
ภายในบ้านของเรามีอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ มากมายหลายชนิด ตั้งแต่ที่มีความจำเป็นมาก ๆ ไปจนถึงสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ  ซึ่งนับวันก็ดูจะยิ่งมากขึ้นเรื่อย ๆ วันนี้เราลองมาดูกันดีกว่า ว่าภายในบ้านของเรานั้น หากเกิดปัญหาทางด้านไฟฟ้าเราจะต้องมีอุปกรณ์อะไรไว้ติดบ้านบ้าง เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทันที อุปกรณ์เหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นที่ควรมีติดบ้านไว้ ดังนี้
 
ไขควงวัดไฟ

ปัญหาบ้านทรุดและดินรอบบ้านยุบตัว (ตอนจบ)


     ในตอนที่ 1 และตอนที่ 2 ได้กล่าวถึงปัญหาบ้านทรุด และปัญหาดินรอบบ้านที่ยุบตัวลง ซึ่งเป็นเหตุที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ในช่วงนี้ บางแห่งเป็นทาวน์เฮ้าส์ทรุดตัวลงทั้งแถบประมาณ 7-8 ห้อง ทั้งที่อยู่มาประมาณ 30 ปีแล้ว บางแห่งเข้าอยู่ไม่นานก็เกิดรอยแตกร้าวแล้ว และพบว่ามีเสาบ้านบางต้นหักพับลงมา

     ปัญหาที่เกิดขึ้นทำให้ประชาชนโดยทั่วไปเริ่มไม่มั่นใจว่าอาคารที่พักอาศัยจะมีปัญหาได้หรือไม่ ซึ่งได้อธิบายถึงลักษณะปัญหา รวมถึงสาเหตุที่เป็นไปได้ของปัญหาเหล่านั้น เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจและทราบว่าโอกาสเกิดเหล่านั้นจะมีมากน้อยเพียงใด เวลาจะเลือกซื้อบ้านหรือเมื่อเกิดปัญหาจะแก้ไขให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ

บล็อกปูหญ้า แบบเล็กใหญ่ วิธีการใช้ ข้อดีเสีย ต่างกันอย่างไร


ในตอนที่แล้วผมได้กล่าวถึงข้อดีของการใช้ชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปไปบ้างแล้ว  (ตอนที่แล้ว) ซึ่งเวลาเราพูดถึงชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป เราก็มักจะนึกถึงชิ้นส่วนต่างๆของโครงสร้างอาคาร ที่เป็นชิ้นส่วนสำเร็จรูป  เช่น ผนังสำเร็จรูป  พื้นคานเสาสำเร็จรูป เป็นต้น  แต่ในตอนนี้ ผมจะพูดถึงชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปที่ใช้ภายนอกอาคารกันบ้าง กล่าวคือ ชิ้นส่วนที่ใช้เป็น บล็อกปูหญ้า และกำแพงกันดิน

เหตุผลที่การใช้บล็อกปูหญ้ามีความนิยมกันมากขึ้น ก็อาจเป็นเพราะ มีความนิยมมากขึ้นในเรื่องพื้นที่สีเขียว  จริงๆ แล้วเราอาจอยากได้สนามหญ้าไปเลย แต่ก็มีปัญหาว่าในพื้นสนามหญ้านั้น เกิดความเฉอะแฉะ น้ำขังเวลาฝนตก  และมีหน้าดินไหลไปตามน้ำเวลาที่เกิดฝนตกขึ้นมา  และนอกจากนั้น พื้นที่สนามหญ้า ก็ใช้เป็นพื้นที่จอดรถไม่ได้  ครั้นจะเอารถไปจอดที่สนาม ก็จะทำให้หญ้าตาย และก็มีโคลนดินเฉอะแฉะอีก  และพื่นที่ดินยังจะทรุดเป็นร่องล้อรถอีก

บันไดเลื่อนใช้อย่างไรให้ปลอดภัย


ถ้าพูดถึงการขนถ่ายคนในอาคาร เพื่อความสะดวกสะบายของคนในอาคารแล้วละก็ การขนส่งคนโดยลิฟท์โดยสาร คงเป็นสิ่งที่คิดถึงเป็นอย่างแรกๆ เพราะการเดินทางในแนวดิ่งนั้น ต้องใช้พลังงานมาก หากยิ่งเป็นอาคารสูงหลายๆชั้นด้วยแล้ว เรียกว่าแทบจะขาดไม่ได้กันเลยทีเดียว  วันไหนที่ลิฟท์เสียคงไม่อยากไปทำงานกันเลยก็เป็นได้  แต่การใช้ลิฟท์แม้ว่าจะมีความสะดวกสบาย แต่ก็ใช้พลังงานมาก โดยเฉพาะการใช้ขึ้นลงแค่ชั้นใกล้ๆ กัน   เช่นขึ้นแค่ชั้นเดียว  และนอกจากนั้นการใช้ลิฟท์โดยสารนั้น ไม่สามารถใช้ได้ทันทีที่ต้องการ  ต้องกดลิฟท์และรอให้ลิฟท์เคลื่อนที่มาถึงชั้นของเราก่อนจึงจะใช้งานได้  และในหลายสถานที่  ก็ไม่สามารถติดตั้อง ลิฟท์ได้เหมือนกัน

ถ้าเป็นการขนถ่ายคนในแนวราบ หรือการขึ้นลงในระยะสั้นๆ เช่นชั้นเดียวนั้น  อปุกรณ์ที่เราจะนึกถึงเป็นอย่างแรก ก็คงเป็นบันไดเลื่อน  ส่วนถ้าเป็นการขนส่งคนทางแนวราบ แบบระยะทางไกลๆ  เพื่อให้เกิดความรวดเร็วและสะดวกสบายนั้น  เราก็คงนึกถึงทางเลื่อน  ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว  การทำงานของบันไดเลื่อน และทางเลื่อนนั้น มีการทำงานที่เหมือนๆ กัน  และมีองค์ประกอบเหมือนๆกัน

กล่าวคือ

หนึ่ง  ส่วนของ Landing Platform  หรือจะเรียกว่า Machine room หรือห้องเครื่อง ซึ่งจะอยู่ด้านปลายทั้งสองด้านของบันไดเลื่อน ในส่วนนี้จะประกอบด้วยเฟือง ที่ขับสายพานให้หมุนไป  และก็จะมีมอเตอร์ที่ทำให้เฟืองเคลื่อนที่ ซึ่งมอเตอร์จะอยู่ทางด้านบนของบันไดเลื่อน  โดยที่ส่วนของมอเตอร์ และเฟืองนั้นจะอยู่ใต้แผ่นเหล็ก ที่รับน้ำหนักได้มาก เช่น อาจมากถึง 500 กิโลกรัมต่อตารางเมตร และก็แผ่นเหล็กนี้วางพาดอยู่บนโครงสร้างอีกที คล้ายๆกับฝาปิดท่อระบายน้ำ

สอง  ส่วนของ Truss  หรือโครงสร้างของบันไดเลื่อน  โครงสร้างนี้จะเป็นตัวรับน้ำหนักของ ขั้นบันได และตัวบันไดเลื่อน และก็รวมถึงน้ำหนักของผู้โดยสารที่ใช้บันไดเลื่อน

สาม  ส่วนของ รางเลื่อน ชุดโซ่ และขั้นบันได  ส่วนนี้จะเป็นเหมือนขั้นบันได เวลามันอยู่นิ่งๆ ไม่เคลื่อนที่ ผู้สัญจรก็สามารถเดินบนขั้นบันไดเหล่านี้ ได้   แต่ต่างจากขั้นบนไดปกติ ตรงที่จะมีฟันในแต่ละขั้น ที่จะทำให้ขั้นเหล่านี้เคลื่อนอยู่ในทางของมัน

สี่  ส่วนของ ที่จับ  (Hand rail)  เอาไว้เพื่อความสะดวก ของผู้โดยสาร  โดยส่วนที่จับ จะเคลื่อนไปพร้อมๆ กับส่วนของบันได เนื่องจาก ทุกชิ้นส่วน อยู่บนชุดขับเคลื่อนเดียวกัน
ส่วนประกอบของบันไดเลื่อน



สำหรับบันไดเลื่อนในประเทศไทยนั้น ส่วนใหญ่ เกือบทั้งหมดถูกดูแล เป็นอย่างดี มีการบำรุงรักษาอยู่สม่ำเสมอ โดยเฉพาะส่วน sensor อัตโนมัติที่จะทำงานให้บันไดเลื่อนหยุดทำงานเอง

โดยปกตินอกจากปุ่มฉุกเฉินที่ไว้กด สำหรับให้บันไดเลื่อนหยุดทำงาน ในกรณีที่มีเหตุแล้ว ในชุดอุปกรณ์บันไดเลื่อนเอง ก็ยังมี sensor ที่จะทำงานอัตโนมัติ เพื่อให้บันไดเลื่อนหยุด  เช่นกรณีที่ขั้นบันไดมีการสะดุด  sensor ก็จะทำงานให้บันไดเลื่อนหยุดอัตโนมัติ  หรือกรณีมีการกระแทก  หรือกรณีที่มีคนกดปุ่มฉุกเฉินเป็นต้น  บันไดเลื่อนก็จะต้องหยุด   ซึ่งในการตรวจสอบบันไดเลื่อนนั้น ผู้ตรวจสอบต้องทำการตรวจ sensor ฉุกเฉินเหล่านี้  และควรฝึกให้พนักงานที่ทำงานอยู่ใกล้ๆ กับบันไดเลื่อนนั้นฝึกการใช้ ปุ่มฉุกเฉิน ว่ากดอย่างไร

สำหรับอุบัติเหตุที่เกิดกับบันไดเลือนที่พบบ่อย ก็ได้แก่

1. อุบัติเหตุจากผู้ใช้ จากการประมาท ไม่จับราวบันไดเลือน การปล่อยให้เด็กใช้โดยลำพัง  การวิ่งเล่นบนบันไดเลื่อน เป็นต้น

2. อุบัติเหตุจากผู้ใช้  กรณีบันใดเลื่อนอยู่ชิดกันมาก ผู้ใช้ยื่นร่างกายออกนอกบันไดเลื่อน  ดังเกิดอุบัติเหตุบันไดเลื่อนหนีบศรีษะเด็ก ที่ห้างแห่งหนึ่ง  แต่ทั้งนี้มาตรฐานการติดตั้งบันไดเลื่อนบอกไว้ว่าการติดตั้งบันไดเลื่อนห้ามชิดกันเกิน ห้าสิบเซนติเมตร ถ้าชิดกันมากกว่านั้น ต้องมีการป้องกัน และเตือน หรือมีแนวป้องกัน

สำหรับ ผู้ใช้บันไดเลื่อน ทั่วๆไป มีวิธีการสังเกตุง่ายๆ ว่าบันไดเลื่อนของท่าน ได้รับการบำรุงรักษาดีหรือไม่  ให้สังเกตุตรงซี่และหวีบันได  ว่าทุกซี่ต้องไม่แตกหัก  เพราะสองส่วนนี้เป็นส่วนที่สังเกตุเห็น และตรวจพบได้ง่าย  หากมีการดูแลรักษาอย่างดี ก็จะไม่มีลักษณะดังกล่าว

สุดท้ายนี้ขอให้ท่านผู้ใช้บันไดเลื่อนมั่นใจว่า บันไดเลื่อนในประเทศไทยนั้น  ส่วนใหญ่ได้รับการบำรุงรักษาอย่างดี และโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุจากตัวบันไดเลื่อนเองนั้น เป็นไปได้ยาก  อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นนั้นบ่อยครั้ง เกิดจากความประมาทของผู้ใช้บันไดเลื่อนเอง

ข้อดีของการใข้ ชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป Precast concrete components



ชิ้นส่วนสำเร็จรูปที่ใช้ในงานก่อสร้างนั้น มีหลากหลายแบบและหลากหลายการใช้งาน ก่อนที่เราจะพูดถึงประโยชน์และข้อดีของชิ้นส่วนสำเร็จรูปนั้น เราควรทำความตกลงกันถึงคำนิยาม ของคำว่าชิ้นส่วนสำเร็จรูปในงานก่อสร้างเสียก่อนว่าหมายถึงอะไร

ชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปนั้น โดยทั่วไป มีความหมายถึง การที่เราหล่อชิ้นส่วนคอนกรีต ไว้ก่อนที่จะยกไปประกอบเป็นโครงสร้างทั้งโครงสร้าง   เช่น  หากในกรณีการสร้างบ้าน ก็ทำการหล่อชิ้นส่วน เสา คาน พื้น กำแพงไว้ก่อน ที่จะนำชิ้นส่วนเหล่านั้น มาประกอบ  ซึ่งการหล่อชื้นส่วนสำเร็จนั้น อาจทำในโรงงานหรืออาจจะทำกันที่หน่วยงานก่อสร้างนั้นเลยก็ได้

คอนเทนเนอร์เป็นมากกว่าตู้คอนเทนเนอร์


เชื่อว่าพอพูดถึงบ้านตู้คอนเทนเนอร์ต้องเป็นหนึ่งในบ้านในฝันของหลายๆคน บ้านทรงสี่เหลี่ยมผื้นผ้า หลังคาแฟลต ขนาดน่ารักกะทัดรัด ออกแนวรีไซเคิล หรืออาจจะตกแต่งเป็น industrial, modern, contemporary แตกต่างกันไป ซึ่งก็สามารถเห็นได้จากอินเตอร์เน็ต ที่ทางฝั่งยุโรปนิยมนำมาสร้างบ้าน แต่ถึงอย่างนั้นฝั่งประเทศไทยเราเองก็เริ่มนิยมนำตู้คอนเทนเนอร์มาสร้างเป็นบ้านเหมือนกัน นอกจากบ้านแล้วก็ยังมีนำมาทำเป็นโฮมออฟฟิศ ร้านอาหาร ร้านกาแฟ  ร้านซ่อมรถ และเยอะแยะมากมาย แต่เอาเข้าจริงเชื่อว่าหลายคนก็ยังสงสัยว่า เจ้าบ้านคอนเทนเนอร์นี้มันราคาเท่าไหร่กัน ถูกกว่าการสร้างบ้านจริงมากหรือป่าว เป็นรูปทรงแบบหลังคาแฟลตและทำด้วยเหล็กจะร้อนมั้ย เหมาะกับอากาศประเทศไทยหรือมั้ย แข็งแรงเท่ากับบ้านปูนมั้ย และอีกหลากหลายคำถามตามมา ดังนั้นก่อนที่เราจะคิดจะสร้างบ้านด้วยตู้คอนเทนเนอร์ เรามาทำความรู้จักกับตู้คอนเทนเนอร์ให้ดีกันก่อนดีกว่า

ปัญหาบ้านทรุดและดินรอบบ้านยุบตัว (2)



      ในตอนที่แล้วกล่าวถึงปัญหาการทรุดตัวของบ้านพักอาศัยที่อยู่มาหลายสิบปี จะเกิดการทรุดตัวได้หรือไม่ สรุปก็คือ ถ้าบ้านมีปัญหาเรื่องฐานรากจะเกิดปัญหาขึ้นทันที ส่วนบ้านที่อยู่มานานหลายสิบปีแล้วจึงค่อยเกิดการทรุดตัวนั้นจะต้องไม่ใช่เกิดขึ้นจากฐานรากของบ้านมีปัญหา แต่มักพบว่าเกิดขึ้นจากการต่อเติมอาคาร ไม่ว่าจะเป็นการต่อเติมด้านหลัง ด้านข้าง หรือเพิ่มจำนวนชั้นของบ้าน ตอนนี้มาต่อเรื่องของปัญหาบ้านทรุดและดินรอบบ้านยุบตัวกันอีกตอนครับ


ความรู้เบื้องต้น เรื่องลิฟต์


         เมื่อพูดถึงลิฟต์ทุกคนคงเคยมีประสบการณ์ในการใช้ลิฟต์กันในชีวิตประจำวันกันอยู่แล้ว โดยลิฟต์ที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีอยู่หลากหลายประเภท ซึ่งเราสามารถแบ่งประเภทหลักๆ ของลิฟต์อาคารได้ดังนี้

แบ่งตามการขับเคลื่อน
1. ขับเคลื่อนด้วย มอเตอร์
2. ขับเคลื่อนด้วย hydraulic
โดยในปัจจุบันเราจะใช้ลิฟต์ที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ซะเป็นส่วนใหญ่

แบ่งตามประเภทการใช้งาน
1. ลิฟต์ขนคน (ลิฟต์โดยสาร)
    1.1 ลิฟต์ขนคนทั่วไป
ลิฟต์โดยสาร
    1.2 ลิฟต์ขนผู้ป่วย (Bed lift)

ลิฟต์ขนผู้ป่วย (Bed lift)

2. ลิฟต์ขนของ การสร้างลิฟต์ต้องมีโครงสร้างไว้สำหรับรองรับน้ำหนักของมันต่างหาก รวมถึงเสาเข็ม ด้วย

ปัญหาการกระตุกของลิฟต์ โดยมากเกิดจากระบบควบคุมการจอด หรือ มอเตอร์ ทำงานไม่ดี ไม่เกี่ยวกับ สลิงค์ โดยทั่วไปสลิงค์ที่ใช้กับลิฟต์ เป็นสลิงค์ที่ทนทานมาก และมีค่า safety factor ที่สูงมาก ดังนั้นปัญหาลิฟต์ตกที่เกิดจากสลิงค์ขาดนับเป็นส่วนน้อย โดยทั่วๆไปสลิงค์มีอายุใช้งานได้ราว 5-10 ปี ขึ้นกับการใช้งานและ ถ้าสลิงค์มีสภาพปกติ ไม่แตก ไม่แห้งเป็นสนิม หรือไม่มีลวดเป็นเส้นเล็กๆ ออกมา ก็มักจะยังไม่หมดสภาพ

ปัญหาที่เกิดจากลิฟต์ที่เป็นอันตรายมากที่สุด คืออันตรายที่เกิดจากความบกพร่องของระบบเบรคทำงานผิดปกติ ทำให้ไม่สามารถหยุดลิฟต์ได้ และลิฟต์ ก็ตกลงมา อีกจุดหนึ่งที่สำคัญมากในการตรวจลิฟต์คือตรวจดู sensor ควบคุมการปิดเปิดประตู เพราะในการใช้งานลิฟต์นั้น ลิฟต์ต้องเคลื่อนที่ไม่ได้ ถ้าประตูยังไม่ปิด

     สำหรับประเทศไทยนั้น ยังไม่มีกฎหมายควบคุมการตรวจสอบลิฟต์ แต่ในความเป็นจริง ลิฟต์เป็นอุปกรณ์ทางเครื่องกลที่จำเป็นต้องมีการบำรุงรักษา ทำให้ในปัจจุบันสามารถให้บริษัทผู้ผลิตมาทำการตรวจให้ได้ส่วนใหญ่ทำการตรวจปีละครั้ง

เกร็ดความรู้เรื่อง "ลิฟต์บ้าน"
     สำหรับลิฟต์บ้านนั้นจะเหมาะสำหรับผู้ที่มีพื้นที่น้อย เช่น 1.5 x 1.5 เมตร ไม่ต้องการความทนทานมากเท่าลิฟต์สำนักงาน และมีความเร็วไม่สูง โดยส่วนมากลิฟต์บ้านจะรับน้ำหนักได้ประมาณ 200-300 กิโลกรัม หรือเท่ากับน้ำหนักคนประมาณ 3-4 คน

     ส่วนเรื่องโครงสร้างนั้นการติดตั้งลิฟต์บ้านภายหลังจากการสร้างบ้านเสร็จแล้ว ต้องคิด ถึงการทำฐานรากให้โครงสร้างลิฟต์ต่างหากด้วย ซึ่งรวมถึงการทำเสาเข็ม และต้องมีพื้นที่ด้านล่างอีกประมาณ 50 เซนติเมตร ไว้สำหรับทำบ่อลิฟต์ และมีเผื่อด้านบนอีกประมาณ 1 เมตร ไว้เป็น overhead ของลิฟต์

ตัวอย่างลิฟต์บ้าน

เตรียมหลังคาบ้านพร้อมรับมือหน้าฝน


     เมื่อฝนโปรยปราย ไม่เพียงพัดพาเอาสายลมและความชุ่มฉ่ำมาให้ได้เย็นสบายเท่านั้น ยังพัดพาปัญหา “หลังคารั่วซึม” มาให้หนักใจด้วย เนื่องจากหลังคาเป็นส่วนแรกของบ้านที่ต้องรับมือกับฝนและลมพายุ ทั้งยังเป็นส่วนที่รองรับน้ำฝนมากที่สุด จึงเป็นจุดที่น้ำซึมเข้าบ้านได้มากที่สุดเช่นกัน

     ธรรมธร ไกรก่อกิจ สถาปนิกผู้ชำนาญการออกแบบ จาก เอสซีจี กล่าวว่า “หลังคารั่วซึม ถือเป็นปัญหายอดฮิตที่มักสร้างความหนักใจให้กับเจ้าของบ้านเป็นประจำในหน้าฝน เพราะนอกจากจะเป็นปัญหาที่แก้ไขยาก ต้องแก้แล้วแก้อีก ยังเป็นปัญหาที่เจ้าของบ้านจะรู้ตัวก็ต่อเมื่อเกิดน้ำรั่วซึมขึ้นแล้ว จึงสร้างความเสียหายให้กับทรัพย์สินภายในบ้านไม่น้อย” เพื่อให้หมดกังวลกับปัญหากวนใจ วันนี้ “ช่างมันส์” แนะนำเช็กลิสต์ เพื่อให้เจ้าของบ้านได้เตรียมหลังคาให้พร้อมรับฝน ดังนี้

ปัญหาบ้านทรุดและดินรอบบ้านยุบตัว ตอนที่ 1


ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีข่าวเรื่อง บ้านร้าว บ้านทรุด และดินยุบตัว 3-4 แห่ง มีอยู่ที่หนึ่งเป็นทาวน์เฮ้าส์ทรุดตัวลงทั้งแถบประมาณ 7-8 ห้องทั้งที่อยู่มาประมาณ 30 ปีแล้ว บางแห่งเข้าอยู่ไม่นานเกิดรอยแตกร้าวแล้วและพบว่ามีเสาบ้านบางต้นหักพับลงมา เหตุการณ์เหล่านี้ทำให้ประชาชนเริ่มไม่มั่นใจว่าอาคารที่พักอาศัยจะมีปัญหาเช่นว่านี้ด้วยหรือไม่ หากพบปัญหาจะแก้ปัญหาอย่างไร ถึงขั้นที่ต้องทุบบ้านทิ้งหรือไม่ สำหรับผู้ที่กำลังก่อสร้างตัวคิดจะซื้อบ้านสักหลังจะมั่นใจได้อย่างไรว่าซื้อแล้วไม่ประสบปัญหาเช่นที่เป็นข่าวอยู่

ในที่นี้จะเล่าถึงลักษณะปัญหาการทรุดตัวและปัญหาดินรอบบ้านยุบตัว รวมถึงสาเหตุที่เป็นไปได้ของปัญหาเหล่านั้นเพื่อให้ท่านผู้อ่านได้เข้าใจและทราบว่าโอกาสเกิดเหล่านั้นจะมีมากน้อยเพียงใด เวลาจะเลือกซื้อบ้านหรือเมื่อเกิดปัญหาเช่นว่านี้จะแก้ไขอย่างไรให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ

วิธีลับคมเป็น "วิศวกรเนื้อหอม"


     ในปี 2558 ทุกกลุ่มสายงาน "วิศวกร" ยังคงติดอันดับอาชีพที่สุดร้อนแรง ที่บริษัทต่างๆ มีการลงประกาศรับสมัครงานต่อเดือนประมาณ 26,031 อัตรา แต่ในความป็นจริงแล้วองค์กรกลับรับได้จริงเพียง 7,880 อัตราเท่านั้น นี่คือผลสำรวจของ แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ประเทศไทย ซึ่งชี้ถึงปัญหาดีมานด์ไม่สอดคล้องกับซัพพลาย แม้จะมีความต้องการบุคลากรในสายงานนี้จำนวนมาก ทว่ากลับพบข้อจำกัดตรงคนที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับงานกลับมีจำนวนน้อย

     "สุธิดา กาญจนกันติกุล" ผู้จัดการฝ่ายการตลาดกล่าวว่า แม้ผลสำรวจพบว่าในภาพรวมของตลาดกลุ่มสายงานวิศวกรในปีนี้ยังคงร้อนแรง อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เกิดขึ้นจริงในไตรมาสแรก ยังคงไม่เป็นเช่นนั้น เนื่องจากธรรมชาติของกลุ่มสายงานด้านวิศวกร จะฮอตสุดๆ คือจะเกิดสงครามแย่งชิงตัวกันสูงสุดในช่วงไตรมาสหลัง

     พูดถึงความต้องการแรงงานสายงานวิศวกรในปัจจุบัน โดยเฉพาะในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี เธอบอกว่าคนในสายงานนี้ที่จะถูกหมายปอง หรือถูกดึงตัวไปทำงานต่างประเทศมากที่สุดส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มนักศึกษาจบปริญญาตรี ที่เริ่มทำงานได้ 3-4 ปี โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านอย่างพม่า ที่กำลังเร่งพัฒนา และขยายความเจริญภายในประเทศ

"และวิศวกรไทย ก็ถือว่าเป็นเบอร์หนึ่งที่ใครๆ ก็มีความต้องการ เนื่องจากขึ้นชื่อในเรื่องของคุณภาพ มีฝีมือดี มีความใส่ใจในรายละเอียดการทำงาน ตลอดจนยังมีค่าแรงที่ถูกกว่า เมื่อเทียบกับกลุ่มสายงานวิศวกรของสิงคโปร์ที่มีเนื้องานเทียบเท่ากัน"

     สำหรับกลุ่มสายงานวิศวกรที่มีความต้องการจ้างงานที่สูงขึ้น และคาดว่าจะคึกคักมากๆ ในช่วงไตรมาสที่ 3-4 ในปีนี้ ก็คือวิศวกรที่มีความเชียวชาญด้านพลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ ขณะที่กลุ่มสายงานวิศวกรที่เป็นที่ต้องการในประเทศไทย และต้องมีการดึงตัวบุคลากรมาจากต่างประเทศเข้ามา ก็คือ วิศวกรด้านน้ำมันก๊าซธรรมชาติ สาขาที่มีความต้องการสูงอย่างต่อเนื่อง ก็คือ สาขา Mechanical, สาขา Logistic (มาแรงใน 3-5 ปีนี้) และสาขา Electrical รวมถึง Network Engineer เนื่องจากเป็นยุคแห่งดิจิตอล ดังนั้นการเลือกเข้าเรียนของนักศึกษาในสาขาต่างๆ มีความสำคัญที่ควรศึกษาตั้งแต่กอนเข้าเรียน เพราะส่งผลตั้งแต่การหางานทำไปถึงการเติบโตในสายงาน

     ปัจจุบันองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ของไทย จะใช้กลยุทธ์เข้าไปจองตัวนักศึกษาในมหาวิทยาลัยระดับ Top 5 และเน้นเด็กเรียนเก่งที่เรียนในสาขาที่ต้องการโดยต้องมีเกรดเฉลี่ยตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไป "ความต้องการบุคลากรในสายงานนี้มีสูง แต่คนที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมยังคงขาดแคลน ปัจจุบันนายจ้างต้องการแรงงานที่มีทักษะเชิงลึก รอบด้าน และมีประสบการณ์ในการทำงาน"

ซึ่งทักษะที่มีความต้องการสูงในกลุ่มสายงานวิศวกร
  • อันดับหนึ่ง ภาษาอังกฤษ ซึ่งปัจจุบัน เด็กเจนวาย มีความเชี่ยวชาญในภาษาอังกฤษค่อนข้างดี แตกต่างจาก เจนเอ็กซ์ที่มีประสบการณ์ทำงานเชี่ยวชาญกว่า แต่ภาษาอังกฤษด้อยกว่า
  • อันดับสอง ทัศนคติในการทำงานที่ดี (ทักษะการสื่อสาร, มนุษย์สัมพันธ์ดี, ทีมเวิร์คที่ดี) ซึ่งเป็นธรรมดาที่หน่วยงานองค์กรย่อมต้องการบุคลากรที่ไม่เกี่ยงงาน ยอมรับการติ เพื่อนำไปแก้ไข
  • อันดับสาม ความชำนาญพิเศษ ถือเป็นเรื่องสำคัญมาก เนื่องจากเป็นที่ต้องการของหน่วยงานองค์กรต่างๆ ดังนั้นควรมีการสร้างโปรไฟล์ตัวเอง ที่สามารถบอกได้ว่าตั้งแต่ทำงานมาประสบความสำเร็จในด้านใดบ้าง
  • อันดับสุดท้าย ทัศนคติที่สามารถปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมที่หลากหลาย เพื่อเป็นการรองรับสังคมการทำงานแบบใหม่ และเมื่อเปิดเออีซี
     ด้านนักเรียนสายอาชีพอย่าง ปวช.-ปวส. นั้นความต้องการในตลาดยังคงสูงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากนักเรียนอาชีวะหันมาเรียนปริญญาตรีทางสายวิศวกรรมศาสตร์มากขึ้น ทำให้มีทั้งความรู้และประสบการณ์ตรง สามารถทำงานได้ทันที

     "แต่หากเด็กเรียนจบปริญญาตรีสายวิศวกรรมศาสตร์จะเสียเปรียบด้านประสบการณ์ เพราะไม่ได้รับการฝึกฝนมาก่อนเหมือนสายอาชีพ เป็นสาเหตุให้แรงงานสายอาชีพของไทยมีความต้องการในตลาดสูง และถือว่าขาดแคลนมาก ซึ่งปัจจุบันค่านิยมเปลี่ยนไป มีความนิยมเรียนปริญญาตรีมากกว่าสายอาชีพ"

CR: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

ความรู้เกี่ยวกับ วิธีป้องกัน ตลิ่งพัง


      พื้นดินที่อยู่ริมแม่น้ำนั้น ปกติจะคงสภาพอยู่ได้โดยไม่มีการพังทลายลงมา แต่หากมีน้ำหนักไปวางเพิ่มที่บนตลิ่ง ก็อาจทำให้เกิดการพังทลายลงมาได้ หรืออย่างในช่วงที่หน้าแล้ง และมีการลดลงของระดับน้ำอย่างมากทำให้ตลิ่งขนาดเสถียรภาพ และพังทลายลงมาเช่นกัน

      เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการพังทลายของตลิ่ง เราสามารถทำการป้องกันได้หลายวิธี และมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไปโดยในบทความนี้ เรายกตัวอย่างมาให้สี่แบบด้วยกันคือ

แบบที่หนึ่ง  ในรูปเราได้แสดง failure plane ของตลิ่งไว้ด้วย โดย failure จะเป็นรูปโค้งวงกลม หากการพังทลายเริ่มเกิดขึ้นแล้ว เราอาจสามารถเห็นรอยแยกของดินได้ และถ้าเห็นรอยแยกของดิน เราก็พอจะทราบได้ว่าต้องทำการเสริมกำลังป้องกันการพังทลายไปเป็นระยะเท่าไร

ในรูปแบบที่หนึ่ง  เราใช้เข็มไม้ ยาวหกเมตร ตอกลงไปให้ผ่าน failure plane ของตลิ่ง ซึ่งวิธีนี้เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านในกาป้องกันตลิ่ง มักจะใช้ได้ โดยเฉพาะกรณีที่เห็นรอยแยกของดินแล้ว และก็ทราบตำแหน่ง failure plane หรือนอกจากจะเป็นเข็มไม้แล้ว เราอาจใช้เป็น Jet grout pile ก็ได้ ข้อดีของวิธีนี้คือทำงานได้รวดเร็ว, ราคาไม่แพง


รูปการใช้เข็มไม้ตอกลงไปผ่าน Failure plane

รูปแบบที่สอง คือการใช้หินถม หรือ หินถมแบบใส่อยู่ในตาข่าย (Rock Gabion)  วิธีนี้ นอกจากจะป้องกันตลิ่งแล้ว ยังลดการกัดเซาะของตลิ่งจากน้ำได้ด้วย  ข้อดีคือ สามารถทำได้ง่ายไม่ต้องใช้แรงานมีฝีมือมาก และมีความยืดหยุ่นความทนทานสูง และเมื่อเวลาผ่านไปต้นไม้ขึ้นริมตลิ่งจะช่วยประสานทำให้แผงหินถมของเราแข็งแกร่งขึ้นอีก และหากจะทำให้แข็งแรงดีมาก ควรบดอัดดินริมตลิ่ง ก่อนที่จะนำหินไปถม

หินถมแบบใส่อยู่นอกตาข่าย


 หินถมแบบใส่อยู่ในตาข่าย (Rock Gabion)
แบบสุดท้ายนี้ เป็นกำแพงกันดิน ( Retaining Wall) วิธีนี้ป้องกันน้ำใต้ดินไม่ให้ซึมเข้าไปในดินได้ด้วย ข้อดีของวิธีนี้คือสามารถป้องกันการพังทลายของดินได้ ค่อนข้างแน่นอน หากคำนวณมาอย่างดี ส่วนข้อเสีย คือไม่ประหยัด


กำแพงกันดิน (Retaining Wall)

ระบบการก่อสร้างแบบ Precast


ในปัจจุบันระบบการก่อสร้างแบบ Precast ถูกนำมาใช้ในการก่อสร้างอาคาร คอนโดมากขึ้นโดยเฉพาะโครงการบ้านจัดสรร ที่มีรูปแบบอาคารเหมือนกันในจำนวนมาก ซึ่งในการก่อสร้างแบบเดิมๆ ปัญหาหน้างานเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้งานไม่เป็นไปตามที่วางแผนไว้ โอกาสที่งานจะมีความผิดพลาดก็สูง แต่ระบบการก่อสร้างแบบ Precast มีโอกาสที่จะผิดพลาดน้อยกว่า มีความสะดวกรวดเร็วในการทำงาน และยังช่วยลดปัญหาการขาดแคลนช่างผู้ชำนาญการอีก คนเลยหันมานิยมใช้ระบบ Precast กันมากขึ้นในปัจจุบัน


Series รอยร้าว : ตอนที่ 4 ลักษณะของรอยร้าวของโครงสร้าง ที่เกิดจากฐานรากทรุดตัว


ดังที่ทราบในตอนก่อนๆแล้ว ว่า รอยร้าวของโครงสร้าง  อาจเกิดได้จาก ความเสื่อมโทรมของวัสดุเอง  หรือเกิด จากการที่โครงสร้างรับน้ำหนักมากเกินไป  ในตอนนี้ เราจะพูดถึง รอยร้าวของโครงสร้าง ที่เกิดขึ้น จากการที่โครงสร้างรับน้ำหนักมากเกินไป กว่าที่ออกแบบไว้ เช่นกัน  แต่เป็นการับน้ำหนักมากเกินไปจากการเคลื่อนตัวของโครงสร้างเอง โดยเกิดจากฐานรากที่ทรุดตัว ทำให้รอยร้าวที่เกิดจากสาเหตุนี้ มี รูปแบบ เฉพาะ

โดยทั่วไปโครงสร้าง ไม่ว่าจะวางอยู่บนฐานรากชนิดใด จะต้องมีการทรุดตัวเสมอ จากการใช้งาน ด้วยน้ำหนักตัวโครงสร้างเอง แต่การทรุดตัวนั้นจะต้องเกิดในปริมาณที่ไม่มากนัก 
การทรุดตัวที่ทำให้ฐานรากร้าว มักมีสองแบบคือ

       ฐานรากทรุดตัวไม่เท่ากัน 
การที่ฐานรากทรุดตัวไม่เท่ากัน จะเกิดรอยแตกที่โครงสร้างด้านบน เป็นรอยเฉียงที่ผนัง บางครั้งที่ไม่เกิดที่ผนัง ก็อาจไปเกิดรอยร้าวบริเวณขอบเสา ซึ่งรอยร้าวด้านบน จะอ้ามากกว่ารอยร้าวด้านล่าง

รอยแตกร้าวในผนังในรูปแสดงว่าฐานรากขวามือทรุดตัว
ส่วนการแตกร้าวที่คาน ในกรณีที่แตกร้าวจากฐานรากทรุดตัวไม่เท่ากัน จะเกิดคานแตกร้าวในแนวดิ่ง แตกที่ปลายคานทั้งสองข้าง  ด้านที่ฐานรากทรุดตัวมากกว่า จะเกิดรอยร้าวจากล่างขึ้นบน ส่วนคานด้านที่ฐานรากเกิดการทรุดตัวน้อยกว่า จะเกิดรอยร้าวจากด้านบนลงด้านล่าง

รอยแตกร้าวที่คาน แสดงให้เห็นฐานรากด้านซ้ายและด้านขวาทรุดตัว
ส่วนรอยแตกที่พื้น จะเห็นเป็นรอยยาว ขนานกับคาน และเกิดขึ้นเพียงด้านเดียว ของพื้น ที่อยู่ด้านตรงข้ามกับ เข็มที่มีการทรุดตัว
รอยแตกของพื้นขนานขอบคาน เกิดจากฐานรากที่อยู่ตรงขัามกับรอยแตกเกิดการทรุดตัว
การแตกร้าวที่เสา จะเห็นจากการโก่งงอ และแตกเป็นปล้องๆ โดยด้านที่แตก จะเป็นด้านที่ตรงข้ามกับฐานรากด้านที่มีการทรุดตัวมาก
เมื่อฐานรากตรงตำแหน่งลูกศรทรุดตัวจะดึงรั้งให้เสาหมายเลข 1,2 โก่งงอและแตกร้าว
       การทรุดเอียงของฐานราก อาจเกิดจากเข็มอยู่เยื้องศูนย์กับตำแหน่งของเสาอาคาร โดยอาคารที่เกิดการทรุดเอียงนี้ จะไม่ค่อยพบรอยแตกร้าวที่โครงสร้างด้านบน นอกจากรอยแตกร้าวบริเวณคานคอดิน

ตัวอย่างอาคารขวามือเกิดการทรุดเอียงของฐานราก
(ขอบคุณภาพจาก http://www.patrolnews.net )


หลอดไฟ LED อีกหนึ่งทางเลือกในการประหยัดพลังงาน


    หลอดไฟที่เราใช้กันในปัจจุบันนั้นส่วนมากจะมีอยู่ 2 ชนิด คือหลอดไส้ทังสเตนหรือหลอดไฟธรรมดา กับ หลอดตะเกียบประหยัดไฟ หรือที่เรียกว่า หลอดฟลูออเรสเซนต์ (Fluorescent) ซึ่งก็คือหลอดไฟที่เราใช้กันอยู่ตามบ้าน แต่ด้วยปัจจุบันผู้บริโภคสมัยนี้มักจะเลือกหลอดไฟที่ประหยัดพลังงาน ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม จึงได้มีการพัฒนาหลอดไฟรุ่นใหม่เข้ามาใช้เรียกว่า หลอด LED (Light-emitting diode) ซึ่งประหยัดไฟกว่าหลอดไส้ถึง 90% และประหยัดกว่าหลอดตะเกียบถึง 50% และอายุการใช้งานก็นานกว่าหลอดไส้ 10-20 เท่า และหลอดตะเกียบ 3-10 เท่าเลยทีเดียว นอกจากนี้เนื่องจากหลอด LED จุดติดที่ความถี่สูงกว่าหลอดไส้และหลอดตะเกียบ จึงให้แสงที่เรียบ สม่ำเสมอ ไม่กระพริบ ทำให้คุณภาพของแสงที่ให้ออกมาดีกว่า แต่ในเรื่องความเพี้นของสี อาจำเป็นต้องพัฒนาอีกจึงจะได้ถึง 90-100% (ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 70-80%)

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับไฟฟ้าภายในบ้าน ตอนที่ 3: การตรวจสอบเบื้องต้นช่วงก่อสร้างหรือระหว่างติดตั้ง


หากจำเป็นต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า เราจำเป็นต้องคำนึงถึงอะไรกันบ้าง

การตรวจสอบเบื้องต้นระหว่างการติดตั้ง ต้องดูอะไรบ้าง
1. วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ตรงตามที่ต้องการ และมีมาตรฐานรับรอง เช่น มอก.
ตัวอย่างหลอดไฟฟ้าที่มีเครื่องหมายรับรองต่างๆ
2. เลือกใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสมเพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับคนในบ้านมากที่สุด เช่น กรณีในบ้านมีเด็ก ปลั๊กที่เลือกใช้ควรเป็นรุ่นที่มีฝาปิดรูเสียบกันเด็กไปแหย่เล่น เป็นต้น
ปลั๊กไฟควรมีฝาครอบเพื่อป้องกันเด็กเล่น
3. ตรวจเช็คหรือกำหนดตำแหน่งอุปกรณ์ต่างๆ ให้สอดคล้องกับการใช้งาน เช่น ตู้โหลดไฟฟ้า ปลั๊กไฟ ให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม สามารถเข้าถึงได้ง่าย สะดวก และปลอดภัยกับการใช้งาน โดยคำนึงถึงคนในบ้าน เช่น เด็ก คนแก่ เป็นหลัก
จัดวางตู้โหลดไฟฟ้าในตำแหน่งที่สะดวกและปลอดภัยกับการใช้งาน
4. ตรวจสอบการติดตั้ง สายไฟฟ้า ชนิด และขนาดสายไฟ ติดตั้งถูกต้องตามแบบหรือมาตรฐานหรือไม่ เช่น  สายไฟ ชนิด VAF หรือสายตีกิ๊บห้ามเดินร้อยในท่อ ส่วนขนาดกระแสของสายไฟฟ้านั้น สามารถหาดูได้ตามตารางขนาดกระแสของสายไฟ โดยมีหลักว่า ขนาดกระแสที่สายไฟรับได้ ในแต่ละวงจรต้องมากกว่าขนาดกระแสที่เบรกเกอร์ในวงจรนั้นรับได้ เพื่อให้เบรกเกอร์ปลดวงจรก่อนที่สายไฟจะไหม้หรือเกิดความเสียหาย
สายไฟชนิด VAF ห้ามเดินร้อยในท่อ
5. ตรวจสอบการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า การเดินท่อ และสายไฟฟ้า ติดตั้งเรียบร้อยสวยงาม ปลอดภัยดีหรือไม่ 
ตรวจสอบการเดินสายไฟและ
ติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าให้เรียบร้อยสวยงาม

ไฟฟ้าเบื้องต้นสำหรับบ้านที่อยู่อาศัย ตอนที่ 2: ข้อควรปฏิบัติเบื้องต้น ก่อนการติดตั้งระบบไฟฟ้าภายในบ้านอย่างปลอดภัย



    ไฟฟ้านั้นมีประโยชน์อย่างมากมายก็จริงแต่ในเวลาเดียวกัน ก็มีอันตรายอย่างมากจนถึงแก่ชีวิตได้ ถ้าใช้ผิดวิธี ดังนั้นข้อควรปฏิบัติเบื้องต้น ก่อนการใช้ไฟฟ้าดังนี้

1. เลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า ที่ได้รับการรับรองจากมาตรฐานต่างๆ เช่น มอก., IEC เป็นต้น
ตัวอย่างหลอดไฟฟ้าที่ได้การรับรอง
จากมาตรฐานต่างๆ

2. การเดินสายและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า ต้องเป็นไปตามกฎหรือมาตรฐานการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าของ วสท. หรือ การไฟฟ้า เช่น สายไฟฟ้าชนิดที่ใช้ภายในอาคาร (สาย IEC-01 (สาย THW เดิม) ควรเดินร้อยในท่อ, สาย VAF หรือสายตีกิ๊บห้ามเดินในท่อ เป็นต้น) ห้ามนำไปใช้เดินนอกอาคาร เพราะสะภาพอากาศและแสงแดดจะทำให้ฉนวนแตกกรอบและชำรุดง่ายส่งผลให้อายุการใช้งานสั้นลงด้วย
ตัวอย่างการเดินสาย VAF หรือสายตีกิ๊ฟ และการเดินสายไฟฟ้าแบบร้อยท่อ

3. อุปกรณ์ ปลั๊ก สวิทซ์ ที่ติดตั้งในที่เปียกชื้น หรือมีโอกาสโดนน้ำได้ ควรเป็นชนิดมีฝาหรือกล่องครอบกันน้ำได้
ตัวอย่างปลั๊กไฟฟ้าที่มีฝากล่องครอบ

4. วงจรย่อย หรือเบรกเกอร์ย่อยในตู้โหลดไฟฟ้า ควรแยกวงจรตามประเภทของอุปกรณ์หรือการใช้งาน เช่น วงจรแสงสว่าง วงจรปลั๊ก วรจรเครื่องทำน้ำอุ่น หรือวงจรเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น เพื่อให้ง่ายกับการดูแลรักษาและซ่อมบำรุง
ตัวอย่างการแยกวงจรย่อยเพื่อให้ง่ายกัยการดูแลและซ่อมบำรุง

5. ระบบไฟฟ้าต้องมีระบบสายดินที่ดีและถูกต้องตามมาตรฐาน เบื่องต้นเราสามารถสอบถาม หรือขอคำแนะนำ  จากการไฟฟ้าที่ใกล้บ้านท่านได้ 
 
ตัวอย่างภาพการติดตั้งสายดิน
(ขอบคุณภาพจาก electric4u.blogspot.com)

6. วงจรปลั๊ก วงจรเครื่องทำน้ำอุ่น หรือวงจรอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เราหรือคนในบ้านมีโอกาสสัมผัสได้ง่ายควรติดตั้งเบรกเกอร์ ชนิดที่สามารถปลดวงจรได้เมื่อมีกระแสรั่วลงดิน หรือที่เรียกกันว่า Earth Leakage Circuit Breaker (ELCB) ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยมากยิ่งขึ่น
Earth Leakage Circuit Breaker (ELCB)
(ขอบคุณภาพจาก www.pantip.com)

7. การเดินสายไฟฟ้า อาจเดินแบบร้อยในท่อ หรือเดินสายตีกิ๊บ ก็ได้ ตามที่ท่านสะดวก และงบประมาณที่ท่านมี
การเดินสายไฟฟ้าแบบร้อยในท่อ

8. ก่อนใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า ผู้ใช้ต้องอ่านและศึกษาคู่มือแนะนำการใช้งาน ให้เข้าใจและปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัดเพื่อให้เกิดประโยชน์ และความปลอดภัยสูงสุด