หน้าเว็บ

บล็อกปูหญ้า แบบเล็กใหญ่ วิธีการใช้ ข้อดีเสีย ต่างกันอย่างไร


ในตอนที่แล้วผมได้กล่าวถึงข้อดีของการใช้ชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปไปบ้างแล้ว  (ตอนที่แล้ว) ซึ่งเวลาเราพูดถึงชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป เราก็มักจะนึกถึงชิ้นส่วนต่างๆของโครงสร้างอาคาร ที่เป็นชิ้นส่วนสำเร็จรูป  เช่น ผนังสำเร็จรูป  พื้นคานเสาสำเร็จรูป เป็นต้น  แต่ในตอนนี้ ผมจะพูดถึงชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปที่ใช้ภายนอกอาคารกันบ้าง กล่าวคือ ชิ้นส่วนที่ใช้เป็น บล็อกปูหญ้า และกำแพงกันดิน

เหตุผลที่การใช้บล็อกปูหญ้ามีความนิยมกันมากขึ้น ก็อาจเป็นเพราะ มีความนิยมมากขึ้นในเรื่องพื้นที่สีเขียว  จริงๆ แล้วเราอาจอยากได้สนามหญ้าไปเลย แต่ก็มีปัญหาว่าในพื้นสนามหญ้านั้น เกิดความเฉอะแฉะ น้ำขังเวลาฝนตก  และมีหน้าดินไหลไปตามน้ำเวลาที่เกิดฝนตกขึ้นมา  และนอกจากนั้น พื้นที่สนามหญ้า ก็ใช้เป็นพื้นที่จอดรถไม่ได้  ครั้นจะเอารถไปจอดที่สนาม ก็จะทำให้หญ้าตาย และก็มีโคลนดินเฉอะแฉะอีก  และพื่นที่ดินยังจะทรุดเป็นร่องล้อรถอีก



ตัวอย่างการปูบล็อกหญ้า
           การใช้บล็อกปูหญ้านั้น ทำให้สามารถใช้เป็นพื้นที่จอดรถ หรือแม้กระทั่งเป็นทางสัญจรของรถยนต์เลยได้  และก็ไม่ทำให้หญ้าตาย  เพราะตัวบล็อกนั้น ปกป้องระบบรากของหญ้าอยู่ แม้ว่าจะถูกเหยียบ แต่ก็ยังมีชีวิตอยู่ได้  และนอกจากนั้น ก็ไม่เกิดปัญหายุบ และเฉอะแฉะ

ตัวอย่างบล็อกหญ้า

      เรามักพบเห็นการใช้บล็อกปูหญ้าที่ใช้กันบ่อย เป็นบล็อกขนาดเล็ก ขนาดประมาณ 25 เซนติเมตรคูณ 40 เซนติเมตร เป็นต้น  ซึ่งถ้าเป็นบล็อกที่มีขนาดแบบนี้ เราก็ใช้บล็อกจำนวน 10 อัน ก็จะปูเป็นพื้นที่ ได้ราว 1 ตารางเมตร โดยในการติดตั้งนั้น ต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้กล่าวคือ

ข้อหนึ่ง คำนึงถึงการออกแบบให้มี slope พอให้น้ำไหลไปได้ และไม่เกิดน้ำขังในบริเวณที่ทำ บล็อกหญ้า อันจะทำให้ พื้นที่ปูบล็อกหญ้าเกิดความไม่แข็งแรง และเสียหายเป็นจุดๆได้

1. การเตรียมพื้นที่
2. เกลี่ยปรับระดับหน้าดิน

ข้อสอง การออกแบบต้องมีการปรับพื้นที่ปู ให้แน่น โดยทั่วไปใช้กรวดละเอียด  และตบให้ดินแน่น  ส่วนหลังปูแล้ว ก็ควรใช้เครื่องตบ เพื่อบดอัดบล็อกที่ปูให้แน่นขึ้นด้วย

3. การบดอัดทราย                                                           4. การวางบล็อก

 ข้อดี ของการใช้บล็อกปูหญ้าแบบเล็กก็คือ สามารถทำงานได้ โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือ เพราะว่า บล็อกไม่หนักมาก

แต่ข้อเสียก็คือไม่สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเมื่อพื้นที่ที่จะปูมีบริเวณพื้นที่มากๆ หรือบริเวณกว้าง จึงต้องใช้แรงานและเวลาจำนวนมาก

ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าว ปัจจุบันจึงได้มีผู้ผลิต บล็อกปูหญ้าขนาดใหญ่ ที่มีทั้งขนาด 50 เซนติเมตร คูณ 50 เซนติเมตร และขนาด 100 เซนติเมตร คูณ 100 เซนติเมตร ซึ่ง บล็อกหญ้าขนาดนี้ นอกจากจะมีขนาดที่ใหญ่แล้ว ยังมีการเสริมเหล็ก อยู่ในตัวของบล็อกด้วย ทำให้สามารถปูได้เร็ว และไม่มีปัญหาการแตกร้าว

 การทำงานของบล็อกหญ้าขนาดใหญ่นั้น จำเป็นต้องใช้เครื่องมือในการช่วยทำงาน ทั้งนี้ขึ้นกับพื้นที่สภาพหน้างาน ว่า สามารถทำเครื่องมืออะไรเข้าไปได้  หากเป็น บล็อกใหญ่ขนาด 1 เมตร คูณ 1 เมตร แล้ว ก็จำเป็นต้องใช้รถแบ็กโฮล มายก ซึ่ง ตัวบล็อกหญ้าเอง ก็มีความแข็งแรงพอที่จะให้รถแบ็กโฮลขึ้นไปเหยียบ โดยไม่เกิดความเสียหายต่อ บล็อกหญ้าได้



ข้อดีอีกอย่างของบล็อกหญ้าก้อนใหญ่ก็คือ นอกจากจะรับน้ำหนักได้มากแล้ว  ก็เกิดการทรุดตัวที่น้อยมาก เนื่องจากมีพื่นที่รับน้ำหนักที่กว้างต่อหนึ่งก้อน แม้ราคาต้นทุนวัสดุต่อตารางเมตร ของการใช้บล็อกปูพื้นแบบก้อนใหญ่จะสูงกว่า ราคาต้นทุนวัสดุ ต่อตารางเมตร อยู่บ้าง แต่ก็ต้องเอามาชั่งน้ำหนักเทียบกับ ความเร็วในการทำงานที่ได้กลับมา การสามารถใช้งานพื้นที่ได้เร็วขึ้น และต้นทุนแรงงานที่ลดไป ว่าคุ้มค่าต่อการเปลี่ยนมาใช้มากน้อยเพียงใดครับ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น