หน้าเว็บ

ทำไมต้องบ่มคอนกรีต





โครงสร้างของอาคารส่วนใหญ่ในประเทศไทยนั้น เรายังนิยมการก่อสร้างโดยใช้โครงสร้างแบบ คอนกรีตเสริมเหล็ก เราจะพบเห็นการเทคอนกรีตได้บ่อยๆ ซึ่งหลังจากที่เทคอนกรีตแล้ว เราก็จะเห็นการเอาน้ำมาฉีด หรือเอากระสอบมาคลุมแล้วเอาน้ำมาพรม เราก็อาจจะสงสัยว่ากระบวนการนี้ทำไปทำไมมันคืออะไร  ซึ่งสามารถอธิบายได้ง่ายๆ ดังนี้คือ

คอนกรีตนั้น เกิดจากหิน และทราย มาผสมรวมกัน โดยมีซีเมนต์เป็นตัวประสาน  ซึ่งกระบวนการแข็งตัวของคอนกรีตนั้น เกิดจากปฎิกิริยาเคมี ของสารประกอบหลายอย่างที่ซับซ้อนและหลายขั้นตอน แต่ถ้าจะทำให้มันง่ายๆ ก็คือ  ซีเมนต์มีองค์ประกอบหลักก็คือ แคลเซียม (Ca)  ซึ่ง แคลเซียมอยู่ในหลายองค์ประกอบ  แต่กระบวนการเคมี สารประกอบของแคลเซียม บวกกับน้ำ ก็จะเกิด ความร้อนขึ้นมา
(แบบเดียวกับ CaO + H2O  --->>  Ca(OH)2 + ความร้อน)

ขุดดิน ทำไมต้องใช้ Sheet pile และค้ำยัน




ในการทำงานก่อสร้างใดๆ ถ้ามีการขุดดินด้วยแล้วนั้น สิ่งที่ต้องคำนึงถึงอยู่เสมอ คือความแข็งแรงและปลอดภัยของงานขุดดิน ระหว่างงานก่อสร้าง เพราะสภาพของดินในแต่ละพื้นที่ที่ขุดก็ไม่แตกต่างกันไป รวมถึงสภาพพื้นที่และขอบเขตรอบๆ หลุมที่เราขุดนั้น ว่ามีน้ำหนักอะไรที่วางอยู่บ้าง  เพราะน้ำหนักที่วางอยู่รอบๆ นั้น ก็มีผลต่อเสถียรภาพและแรงที่กระทำกับหลุมขุดเช่นกัน รวมถึง สิ่งปลูกสร้างที่อยู่รอบๆ ก็อาจได้รับความเสียหายจากการขุดดินที่เกิดจากงานก่อสร้างเช่นกัน

เสียงก้องในห้อง แก้ไขอย่างไรดีนะ?




เชื่อว่าหลายๆ ท่าน น่าจะเคยเจอปัญหากับเสียงสะท้อนที่เกิดขึ้นภายในห้องของเราซึ่งการเกิดเสียงก้องหรือเสียงสะท้อนนั้น มีสาเหตุอยู่ 2 สาเหตุหลักคือ

1. ผิวผนังห้องที่อยู่ตรงข้ามกันขนานกัน จะสังเกตได้ว่า หากห้องโล่งเสียงจะก้องมาก เพราะไม่มีสิ่งของมาช่วยดูดซับเสียง ทำให้เสียงสะท้อนผนังกลับไปมาที่มุมเดิม

2. วัสดุต่าง ๆ ภายในห้อง เช่น เฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ ที่มีผิว “เรียบและแข็ง” เช่น ผนัง ฝ้า โต๊ะ สิ่งของเหล่านี้มีความสามารถในการดูดซับเสียงแตกต่างกัน หากเฟอร์นิเจอร์ที่ใช้อยู่มีลักษณะเรียบและแข็ง ก็จะดูดซับเสียงได้ไม่เพียงพอ

รู้จักกับปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก



ในการออกแบบโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กนั้น ตัวแปรหนึ่งที่จะถูกนำมาใช้คำนวณก็คือค่ากำลังอัดของคอนกรีต  เพื่อที่จะบอกว่าโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กนั้นรับน้ำหนักได้มากน้อยแค่ไหน ตามประเภทการใช้งาน
สำหรับผู้ออกแบบแล้ว การเลือกใช้กำลังอัดว่าเท่าใด ก็ค่อนข้างที่จะจบ ส่วนการเลือกใช้ปูนซีเมนต์ประเภทใดนั้น ก็ขึ้นกับสถานที่และสภาพแวดล้อมของโครงสร้างนั้น ว่าจะไปอยู่ที่ตรงไหน ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีแล้ว ว่าปูนซีเมนต์ปอร์ตแลน ตามมาตรฐาน มอก. 15-2555 (หรือมาตรฐานสากลอย่าง ASTM C150) นั้นก็มีห้าประเภท ตามการใช้งาน ลักษณะสำคัญของมาตรฐาน มอก. ฉบับนี้ ก็คือ จะมีการกำหนดคุณสมบัติทางเคมี และคุณสมบัติทางกายภาพ ไว้ด้วยกัน เพื่อให้แน่ใจว่าได้คอนกรีตที่มีคุณสมบัติดีจริงๆ  https://www.tisi.go.th/data/standard/fulltext/TIS-15-1-2555m.pdf

การทดสอบการรับน้ำหนักบรรทุกของดินโดยวิธี Plate Bearing Test


 
 
          ในกิจกรรมหรือการทำงานใดๆก็ตาม เราต่างก็ทราบกันดีอยู่แล้วว่าย่อมมีปัญหาและอุปสรรคต่างๆเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง ซึ่งดัชนีชี้วัดว่าปัญหาและอุปสรรคเหล่านี้จะมีมากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับการเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆก่อนลงมือทำสิ่งนั้นๆ

          ในงานก่อสร้างก็เฉกเช่นเดียวกัน ย่อมมีปัญหาและอุปสรรคต่างๆมากมาย ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ จนกระทั่งงานก่อสร้างแล้วเสร็จ ซึ่งปัจจัยที่จะก่อให้เกิดปัญหาหรืออุปสรรคเหล่านั้นก็มีหลากหลายรูปแบบด้วยกันทั้ง ทำเลที่ตั้งของสถานที่ก่อสร้าง สภาพภูมิอากาศ เศรษฐกิจ การเมือง การจราจร กฏหมายหรือข้อกำหนดต่างๆในแต่ละพื้นที่ รวมถึงขนบธรรมเนียมประเพณีของชุมชนที่จะทำการก่อสร้าง ฯ สิ่งเหล่านี้มักจะส่งผลกระทบต่อหัวใจหลักในงานก่อสร้างแทบทั้งสิ้น นั่นคือ คุณภาพ งบประมาณ และเวลา ดังนั้นการศึกษาข้อมูลและเตรียมแผนรับมือกับเหตุการณ์ต่างๆล่วงหน้าย่อมเป็นสิ่งสำคัญ และการวางแผนหรือป้องกันล่วงหน้าเหล่านี้จะมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใดนั้นก็ขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถ ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของแต่ละบุคคลที่ต้องร่วมมือร่วมใจกันในงานนั้นๆ