หน้าเว็บ

พลังงานชีวมวลคืออะไร พลังงานชีวภาพ คืออะไร ทั้งสองอย่างแตกต่างกันอย่างไร


พลังงานที่เราใช้อยู่ในโลกทุกวันนี้ ส่วนใหญ่ล้วนเป็นพลังงานที่เกิดจากการสะสมและแปลงสภาพของพลังงานจากแสงอาทิตย์ เช่นถ่านหิน ก็เกิดจากการสะสมของตะกอนซากพืชดึกดำบรรพ์ เป็นเวลาหลายล้านปี ซึ่งพืชเหล่านั้นก็สะสมพลังงานจากดวงอาทิตย์โดยกระบวนการ Photosynthesis

พลังงานจากแหล่งพลังงานที่สะสมอยู่ในโลกนั้น หากใช้ไปก็ย่อมมีแต่วันหมดไป หรืออยู่ในพื้นที่ที่สามารถขุดหานำมาใช้ได้ยากขึ้นเรื่อยๆ

ในช่วงของเวลาที่พลังงานจากถ่านหินและน้ำมันมีราคาสูง  พลังงานทางเลือกก็ได้รับความนิยมมากขึ้น และมีเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นด้วย  พลังงานทางเลือกที่เป็นที่นิยมเหล่านี้ ก็ได้แก่ พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานจากพืช เป็นต้น

พลังงานที่ได้มาจากพืชและของเหลือทางอุตสาหกรรม ก็สามารถนำมาใช้ผลิตพลังงานไฟฟ้า ได้เช่นกัน  โดยเราเรียกว่า พลังงานชีวภาพ ( Biogas) และพลังงานชีวมวล ( Biomass)  และชื่อของพลังงานทางเลือกทั้งสองแบบนี้ก็พาให้สับสนได้เหมือนกัน

พลังงานชีวมวล (ฺBiomass) นั้นหมายถึง พลังงานที่เกิดจากการนำสารอินทรีย์ทุกรูปแบบ ที่เก็บกักพลังงานจากธรรมชาติได้ ทั้งนี้ไม่นับรวมถึงที่กลายเป็นซากฟอสซิลไปแล้ว มาเผาเพื่อให้ความร้อน ที่ทำให้เกิดไอน้ำ เพื่อใช้ในกระบวนการผลิตไฟฟ้า

โดยมากสารอินทรย์ที่เรามักนำมาใช้ในกระบวนการผลิตไฟฟ้าแบบนี้  ได้แก่ กากมันสำปะหลัง ซังข้าวโพด กระลามะพร้าว กากหญ้าเนเปียร์ เป็นต้น

ส่วนพลังงานชีวภาพ ( Bio gas ) นั้นหมายถึง การนำสารอินทรีย์ ไปหมัก เพื่อให้เกิดก๊าซจากการหมักขึ้นมา  แล้วค่อยนำก๊าซที่ได้ไปใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งก๊าซที่ได้จากกระบวนการหมักนี้ จะได้ก๊าซ มีเทนที่ประมาณ 50-70% ของก๊าซที่ได้ และที่เหลือได้เป็น คาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซอื่นๆ แต่ก็เพียงพอที่จะใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า  ซึ่งการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยวิธีนี้ โดยมากทำโดยการดัดแปลงโรงไฟฟ้าที่แต่เดิมผลิตอยู่ด้วยการใช้น้ำมันเตา ซึ่งมีต้นทุนที่สูงกว่า

พลังงานชีวภาพ พลังงานชีวมวล


จะเห็นได้ว่า พลังงานจากไฟฟ้าชีวภาพ และชีวมวลนั้น เป็นพลังงานไฟฟ้าที่ ไม่หมดไป เหมือนพลังงานจากที่ได้จากการนำฟอสซิลไปผลิตพลังงาน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น พลังงานส่วนใหญ่ที่ผลิตได้เพื่อใช้ในปัจจุบันก็ยังมาจากพลังงานจากแหล่งฟอสซิลอยู่ดี  เพราะพลังงานจากแหล่งทางเลือก ยังไม่สามารถผลิตได้ในจำนวนมากๆ ได้เหมือนกับพลังงานจากแหล่งหลัก

สำหรับในประเทศไทยนั้น แผนพัฒนาพลังงานฉบับใหม่ได้วางเป้าให้ผลิตพลังงานจากพืชพลังงานให้ได้มีกำลังการผลิต 650 เมกาวัตต์ ต่อปี ซึ่งถ้านับจากจำนวนโรงฟ้าที่ผลิตพลังงานจากพืชพลังงานในปัจจุบันแล้ว คาดว่าในอนาคตประเทศไทยเรายังมีโอกาสที่จะมีโรงไฟฟ้าจากพืชพลังงานนี้เพิ่มขึ้นอีกพอสมควร

Solar Roof Top หลังคาทำเงิน


ประเทศไทยอยู่บนเส้นศูนย์สูตรของโลก ทำให้มีความเข้มข้นแสงอาทิตย์เฉลี่ยดีตลอดทั้งปี จึงเหมาะเป็นอย่างยิ่งสำหรับการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ โดยการนำแผงโซลาเซลล์มาติดบนหลังคาบ้านพักอากศัยหรือที่เรียกว่า "โซลาร์รูฟท็อป" (Solar Rooftop) แต่หลายๆ คนอาจจะยังไม่ทราบว่า โซลาร์รูฟท็อป มีประโยชน์อย่างไร? และจะสามารถผลิตกำลังไฟฟ้าจากบ้านของเราได้อย่างไร? วันนี้ช่างมันส์จะมาอธิบายให้ฟังกันค่ะ

ตัวอย่างแผงโซลาเซลล์บนหลังคาบ้านพักอาศัย

โซลาร์รูฟท็อปเป็นระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาบ้านที่อยู่อาศัย โดยมีวัตถุประสงค์ที่สามารถผลิตไฟฟ้าใช้เองได้ หรือส่งขายไฟฟ้าให้กับหน่วยงานของรัฐโดยหลักการทำงานของโซลาร์รูฟท็อปนั้น ในเวลากลางวันแผงเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Module) คอยรับพลังงานจากแสงอาทิตย์ แล้วแปรเปลี่ยนให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรง เพื่อส่งต่อไปยังเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า (Inverter) โดยจะผลิตไฟฟ้า และขายไฟฟ้าที่ผลิตได้ทั้งหมดให้แก่การไฟฟ้าฯ แต่ที่สำคัญ เมื่อติดแผงโซล่าร์เซลล์แล้ว จะต้องมี “มิเตอร์ขายไฟ” เพิ่มขึ้นมาอีก 1 ตัว เพื่อรับไฟจากบ้านเราคืนกลับไปยังการไฟฟ้า สรุปบ้านเราก็จะมีทั้ง “มิเตอร์ขายไฟ” และ “มิเตอร์ซื้อไฟ” (มิเตอร์เดิม)


ในส่วนของการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปนั้นก็สามารถติดตั้งได้กับหลังคาเกือบทุกประเภท เช่น หลังคากระเบื้องซีแพคโมเนีย หลังคาลอนคู่ หลังคาคอนกรีต หลังคาเมทัลชีท เนื่องจากแผงโซลาร์เซลล์จะตกอยู่ที่ประมาณ 13 กิโลกรัมต่อตารางเมตร แต่หลังคา CPAC สามารถรับน้ำหนักได้ถึง 40 กิโลกรัมต่อตารางเมตรเลยทีเดียว แต่ถ้าเป็นหลังคาที่ใช้โครงไม้ หรือหลังคาสังกะสีจะไม่แนะนำให้ติด

มาถึงเรื่องความคุ้มค่าปัจจุบันการไฟฟ้าจำหน่ายกระแสไฟฟ้าให้ประชาขนทั่วไปอยู่ที่ 3-4 บาทแต่รับซื้อไฟจากเราที่อัตราหน่วยละ 6.85 บาท ซึ่งจะทำให้ผู้ลงทุนมีจุดคุ้มทุนที่สั้นมาก

ยกตัวอย่างเช่น ติดแผงโซลาเซลล์ขนาด 10 กิโลวัตต์ x 5 ชั่วโมง/วัน = 50 หน่วย/วัน (เฉลี่ยแสงแดด 5 ชั่วโมงต่อวัน)
1 เดือนผลิตได้ 1500 หน่วย
การไฟฟ้ารับซื้อที่หน่วยละ 6.85 บาท = 1500 x 6.85 = 10,275 บาท
ในเดือนนึงเราจะได้เงินจากกายขายไฟฟ้าให้การไฟฟ้าถึงหนึ่งหมื่นบาทเลยทีเดียว

ไฟฟ้าเบื้องต้นสำหรับบ้านที่อยู่อาศัย ตอนที่ 4: เครื่องมือและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ควรมีไว้ติดบ้าน


เครื่องมือและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ควรมีไว้ติดบ้าน
ภายในบ้านของเรามีอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ มากมายหลายชนิด ตั้งแต่ที่มีความจำเป็นมาก ๆ ไปจนถึงสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ  ซึ่งนับวันก็ดูจะยิ่งมากขึ้นเรื่อย ๆ วันนี้เราลองมาดูกันดีกว่า ว่าภายในบ้านของเรานั้น หากเกิดปัญหาทางด้านไฟฟ้าเราจะต้องมีอุปกรณ์อะไรไว้ติดบ้านบ้าง เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทันที อุปกรณ์เหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นที่ควรมีติดบ้านไว้ ดังนี้
 
ไขควงวัดไฟ