หน้าเว็บ

หลอดไฟ LED อีกหนึ่งทางเลือกในการประหยัดพลังงาน


    หลอดไฟที่เราใช้กันในปัจจุบันนั้นส่วนมากจะมีอยู่ 2 ชนิด คือหลอดไส้ทังสเตนหรือหลอดไฟธรรมดา กับ หลอดตะเกียบประหยัดไฟ หรือที่เรียกว่า หลอดฟลูออเรสเซนต์ (Fluorescent) ซึ่งก็คือหลอดไฟที่เราใช้กันอยู่ตามบ้าน แต่ด้วยปัจจุบันผู้บริโภคสมัยนี้มักจะเลือกหลอดไฟที่ประหยัดพลังงาน ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม จึงได้มีการพัฒนาหลอดไฟรุ่นใหม่เข้ามาใช้เรียกว่า หลอด LED (Light-emitting diode) ซึ่งประหยัดไฟกว่าหลอดไส้ถึง 90% และประหยัดกว่าหลอดตะเกียบถึง 50% และอายุการใช้งานก็นานกว่าหลอดไส้ 10-20 เท่า และหลอดตะเกียบ 3-10 เท่าเลยทีเดียว นอกจากนี้เนื่องจากหลอด LED จุดติดที่ความถี่สูงกว่าหลอดไส้และหลอดตะเกียบ จึงให้แสงที่เรียบ สม่ำเสมอ ไม่กระพริบ ทำให้คุณภาพของแสงที่ให้ออกมาดีกว่า แต่ในเรื่องความเพี้นของสี อาจำเป็นต้องพัฒนาอีกจึงจะได้ถึง 90-100% (ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 70-80%)

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับไฟฟ้าภายในบ้าน ตอนที่ 3: การตรวจสอบเบื้องต้นช่วงก่อสร้างหรือระหว่างติดตั้ง


หากจำเป็นต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า เราจำเป็นต้องคำนึงถึงอะไรกันบ้าง

การตรวจสอบเบื้องต้นระหว่างการติดตั้ง ต้องดูอะไรบ้าง
1. วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ตรงตามที่ต้องการ และมีมาตรฐานรับรอง เช่น มอก.
ตัวอย่างหลอดไฟฟ้าที่มีเครื่องหมายรับรองต่างๆ
2. เลือกใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสมเพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับคนในบ้านมากที่สุด เช่น กรณีในบ้านมีเด็ก ปลั๊กที่เลือกใช้ควรเป็นรุ่นที่มีฝาปิดรูเสียบกันเด็กไปแหย่เล่น เป็นต้น
ปลั๊กไฟควรมีฝาครอบเพื่อป้องกันเด็กเล่น
3. ตรวจเช็คหรือกำหนดตำแหน่งอุปกรณ์ต่างๆ ให้สอดคล้องกับการใช้งาน เช่น ตู้โหลดไฟฟ้า ปลั๊กไฟ ให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม สามารถเข้าถึงได้ง่าย สะดวก และปลอดภัยกับการใช้งาน โดยคำนึงถึงคนในบ้าน เช่น เด็ก คนแก่ เป็นหลัก
จัดวางตู้โหลดไฟฟ้าในตำแหน่งที่สะดวกและปลอดภัยกับการใช้งาน
4. ตรวจสอบการติดตั้ง สายไฟฟ้า ชนิด และขนาดสายไฟ ติดตั้งถูกต้องตามแบบหรือมาตรฐานหรือไม่ เช่น  สายไฟ ชนิด VAF หรือสายตีกิ๊บห้ามเดินร้อยในท่อ ส่วนขนาดกระแสของสายไฟฟ้านั้น สามารถหาดูได้ตามตารางขนาดกระแสของสายไฟ โดยมีหลักว่า ขนาดกระแสที่สายไฟรับได้ ในแต่ละวงจรต้องมากกว่าขนาดกระแสที่เบรกเกอร์ในวงจรนั้นรับได้ เพื่อให้เบรกเกอร์ปลดวงจรก่อนที่สายไฟจะไหม้หรือเกิดความเสียหาย
สายไฟชนิด VAF ห้ามเดินร้อยในท่อ
5. ตรวจสอบการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า การเดินท่อ และสายไฟฟ้า ติดตั้งเรียบร้อยสวยงาม ปลอดภัยดีหรือไม่ 
ตรวจสอบการเดินสายไฟและ
ติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าให้เรียบร้อยสวยงาม

ไฟฟ้าเบื้องต้นสำหรับบ้านที่อยู่อาศัย ตอนที่ 2: ข้อควรปฏิบัติเบื้องต้น ก่อนการติดตั้งระบบไฟฟ้าภายในบ้านอย่างปลอดภัย



    ไฟฟ้านั้นมีประโยชน์อย่างมากมายก็จริงแต่ในเวลาเดียวกัน ก็มีอันตรายอย่างมากจนถึงแก่ชีวิตได้ ถ้าใช้ผิดวิธี ดังนั้นข้อควรปฏิบัติเบื้องต้น ก่อนการใช้ไฟฟ้าดังนี้

1. เลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า ที่ได้รับการรับรองจากมาตรฐานต่างๆ เช่น มอก., IEC เป็นต้น
ตัวอย่างหลอดไฟฟ้าที่ได้การรับรอง
จากมาตรฐานต่างๆ

2. การเดินสายและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า ต้องเป็นไปตามกฎหรือมาตรฐานการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าของ วสท. หรือ การไฟฟ้า เช่น สายไฟฟ้าชนิดที่ใช้ภายในอาคาร (สาย IEC-01 (สาย THW เดิม) ควรเดินร้อยในท่อ, สาย VAF หรือสายตีกิ๊บห้ามเดินในท่อ เป็นต้น) ห้ามนำไปใช้เดินนอกอาคาร เพราะสะภาพอากาศและแสงแดดจะทำให้ฉนวนแตกกรอบและชำรุดง่ายส่งผลให้อายุการใช้งานสั้นลงด้วย
ตัวอย่างการเดินสาย VAF หรือสายตีกิ๊ฟ และการเดินสายไฟฟ้าแบบร้อยท่อ

3. อุปกรณ์ ปลั๊ก สวิทซ์ ที่ติดตั้งในที่เปียกชื้น หรือมีโอกาสโดนน้ำได้ ควรเป็นชนิดมีฝาหรือกล่องครอบกันน้ำได้
ตัวอย่างปลั๊กไฟฟ้าที่มีฝากล่องครอบ

4. วงจรย่อย หรือเบรกเกอร์ย่อยในตู้โหลดไฟฟ้า ควรแยกวงจรตามประเภทของอุปกรณ์หรือการใช้งาน เช่น วงจรแสงสว่าง วงจรปลั๊ก วรจรเครื่องทำน้ำอุ่น หรือวงจรเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น เพื่อให้ง่ายกับการดูแลรักษาและซ่อมบำรุง
ตัวอย่างการแยกวงจรย่อยเพื่อให้ง่ายกัยการดูแลและซ่อมบำรุง

5. ระบบไฟฟ้าต้องมีระบบสายดินที่ดีและถูกต้องตามมาตรฐาน เบื่องต้นเราสามารถสอบถาม หรือขอคำแนะนำ  จากการไฟฟ้าที่ใกล้บ้านท่านได้ 
 
ตัวอย่างภาพการติดตั้งสายดิน
(ขอบคุณภาพจาก electric4u.blogspot.com)

6. วงจรปลั๊ก วงจรเครื่องทำน้ำอุ่น หรือวงจรอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เราหรือคนในบ้านมีโอกาสสัมผัสได้ง่ายควรติดตั้งเบรกเกอร์ ชนิดที่สามารถปลดวงจรได้เมื่อมีกระแสรั่วลงดิน หรือที่เรียกกันว่า Earth Leakage Circuit Breaker (ELCB) ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยมากยิ่งขึ่น
Earth Leakage Circuit Breaker (ELCB)
(ขอบคุณภาพจาก www.pantip.com)

7. การเดินสายไฟฟ้า อาจเดินแบบร้อยในท่อ หรือเดินสายตีกิ๊บ ก็ได้ ตามที่ท่านสะดวก และงบประมาณที่ท่านมี
การเดินสายไฟฟ้าแบบร้อยในท่อ

8. ก่อนใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า ผู้ใช้ต้องอ่านและศึกษาคู่มือแนะนำการใช้งาน ให้เข้าใจและปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัดเพื่อให้เกิดประโยชน์ และความปลอดภัยสูงสุด

ไฟฟ้าเบื้องตันสำหรับบ้านที่อยู่อาศัย ตอนที่1: คำศัพท์เบื้องต้นเกี่ยวกับไฟฟ้าที่เราควรรู้


คำศัพท์เบื้องต้นที่ควรรู้

1.  เมนสวิตซ์ (Main Switch) หมายถึง อุปกรณ์ต้นทางหรืออุปกรณ์หลักที่ใช้สำหรับตัดต่อวงจรของสายเมนเข้าบ้าน หรืออาคาร กับสายภายในทั้งหมด ซึ่งเมนสวิตซ์อาจจะใช้เป็นเบรกเกอร์ หรือสะพานไฟพร้อมฟิวส์ก็ได้

ตัวอย่าง เมนสวิตซ์(Main Switch)
(ขอบคุณภาพจาก www.pantip.com)
หน้าที่ของเมนสวิตซ์
เจ้าเมนสวิตซ์เนี่ยก็จะคอยควบคุมการใช้ไฟฟ้าให้เกิดความปลอดภัย ในกรณีที่เกิดกระแสไฟฟ้าเกิน หรือเกิดไฟฟ้าลัดวงจร มันจะตัดวงจรอย่างอัตโนมัติ ในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่เป็นสวิตซ์ปิด-เปิด ตัดต่อวงจรสายเมนเข้าบ้านหรืออาคารกับสายภายในทั้งหมด

2.  เบรกเกอร์ (เซอร์กิตเบรกเกอร์ / circuit breaker) คืออุปกรณ์ที่ทำงาน สับและปลดวงจรไฟฟ้า แบบไม่อัตโนมัติ แต่สามารถปลดวงจรไฟฟ้าได้อัตโนมัติถ้ามีกระแสไหลผ่านเกินกว่าค่าที่กำหนด โดยไม่มีความเสียหายเกิดขึ้น

ตัวอย่างเซอร์กิตเบรกเกอร์(Circuit Breaker)
หน้าที่ของเบรกเกอร์
เบรกเกอร์หรือสวิตซ์อัตโนมัติ ก็คืออุปกรณ์ที่สามารถใช้สับหรือปลดวงจรไฟฟ้าได้ ในขณะเดียวกันก็สามารถปลดวงจรที่มีการใช้กระแสไฟฟ้าเกิน และกระแสลัดวงจรได้โดยอัตโนมัติ

3.  ฟิวส์ (fuse) เป็นอุปกรณ์ป้องกันชนิดหนึ่งที่อยู่ในเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยจะป้องกันการลัดวงจร และการใช้กระแสเกินในวงจรไฟฟ้า โดยจะหลอมละลาย และตัดกระแสไฟออกจากวงจรเพื่อป้องกันอุปกรณ์เสียหาย โดยฟิวล์จะเป็นเส้นลวดเล็ก ๆ ทำจากตะกั่วผสมดีบุก มีจุดหลอมเหลวที่ต่ำ มีหลายชนิดให้เลือกใช้ตามความเหมาะสมของการใช้งาน
ตามรูปเป็นฟิวส์กระปุก หรือ คาร์ทริดจ์ฟิวส์ชนิด D

หน้าที่ของฟิวส์
ตัดวงจรไฟฟ้าอัตโนมัติ เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลเกินกว่าค่าที่กำหนด และเมื่อฟิวส์ทำงานแล้ว (ฟิวส์ขาด) จะต้องทำการเปลี่ยนฟิวส์ใหม่ และขนาดพิกัดการตัดกระแสลัดวงจร (IC) ของฟิวส์ต้องไม่ต่ำกว่าขนาดกระแสลัดวงจรที่ผ่านฟิวส์

4.  เครื่องตัดไฟรั่ว คือ เครื่องตัดวงจรเมื่อมีกระแสไฟฟ้ารั่วลงดิน หมายถึง สวิทย์อัตโนมัติที่สามารถปลดวงจรได้อย่างรวดเร็ว ภายในระยะเวลาที่กำหนด เมื่อมีกระแสไฟฟ้ารั่วไหลลงดินในปริมาณที่มากกว่าค่าที่กำหนดไว้
ตัวอย่างเครื่องตัดวงจรเมื่อมีกระแสไฟฟ้ารั่วลงดิน

หน้าที่ของเครื่องตัดไฟรั่ว
เครื่องตัดไฟรั่วมักจะใช้เป็นอุปกรณ์ป้องกันเสริมกับระบบสายดิน เพื่อป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าดูดกรณีเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้มีไฟรั่วเกิดขึ้น

5.  วัตต์ (Watt) คือ หน่วยที่ใช้เรียก ขนาดของกำลังไฟฟ้า เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าหม้อหุงข้าวเขียนว่า 1500 W.หมายความว่า หม้อหุงข้าวนี้ใช้กำลังไฟฟ้า 1500 วัตต์ หรือกินไฟฟ้า 1500 วัตต์ นั่นเอง

6.  กิโลวัตต์-ชั่วโมง คือ หน่วยที่ใช้เรียกค่าพลังงานไฟฟ้า โดย 1 ยูนิต = 1 หน่วย = 1 กิโลวัตต์-ชั่วโมง



ถอดรหัสการบริหารโครงการ ตอนที่ 6 : ภาพรวมบริหารโครงการ


          ซีรี่ส์ถอดรหัสบริหารโครงการ โดย คุณประสงค์ ธาราไชย ในตอนที่ 6 นี้ จะมาพูดถึงภาพรวมในการบริหารโครงการค่ะ โดยในการบริหารโครงการให้บรรลุเป้าหมายได้มี 4 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 คิดโครงการ

ขั้นตอนที่ 1 คิดโครงการ
          เส้นทางสู่เป้าหมาย ต้องผ่านขั้นตอนแรก คือ คิดโครงการ เมื่อเจ้าของโครงการคิดจะทำโครงการ ก็ต้องคิดว่าจะทำอะไร เป้าหมายเป็นอย่างไร