หน้าเว็บ

ที่ประทับรัชกาลที่ 9 ตอนที่ 1


  
" น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ "

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองราชย์ 70 ปี หนึ่งในพระราชกุศโลบายในการทรงงานก็คือการเสด็จแปรพระราชฐานไปค้างแรมในต่างจังหวัดทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย

สำหรับพสกนิกรชาวไทย พวกเราคุ้นเคยดีกับพระตำหนัก 4-5 ชื่อที่อยู่ในต่างจังหวัด ประกอบด้วย พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ พระตำหนักเปี่ยมสุขวังไกลกังวล เป็นต้น

เหตุผลเป็นเพราะทั้ง 4-5 พระตำหนักเหล่านี้เป็นสถานที่แปรพระราชฐานนั่นเอง คำว่าแปรพระราชฐานเป็นคำกริยา หมายถึงการเปลี่ยนสถานที่ ประทับไปอยู่ที่อื่นเป็นการชั่วคราว

ทั้งนี้ หมายกำหนดการแปรพระราชฐานใน 1 ปี จะเสด็จประทับค้างแรมอย่างทั่วถึงทั่วไทยเท่าที่ทราบคือ ในเดือนสิงหาคมและตุลาคมของปี ทรงแปรพระราชฐานไปประทับที่ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าเขาตันหยง (ตันหยงแปลว่า พิกุล) ตำบลกะลุวอเหนือ ทางหลวงแผ่นดินสายนราธิวาส-ตากใบ ห่างตัวเมือง 8 กิโลเมตร โดยโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2516 พื้นที่ประมาณ 300 ไร่

แนวคิด การทำงาน การดำรงชีวิต จาก รศ.ดร.สุธี อักษรกิตติ์


ท่านรศ. ดร. สุธี อักษรกิตติ์ เป็นวิศวกรอีกท่านหนึ่งที่ได้มีโอกาสถวายงานแก่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระปรมินทรมหาภูมิพลฯ ในงานด้านการสื่อสารของประเทศไทยในช่วงเวลาที่การสื่อสารยังไม่พัฒนามากเหมือนดังเช่นในปัจจุบัน

ท่านอาจารย์เป็นผู้ประดิษฐ์สายอากาศที่ใช้รับส่งสัญญาณวิทยุ ที่ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเคยมีรับสั่งให้ทำ และท่านก็ทำได้สำเร็จอย่างดี เป็นที่รู้จักกันดีในชื่อของสายอากาศสุธี 1 สุธี 2 สุธี 3 และ 4 ไม่รวมถึงงานอื่นๆ อีกมากที่ไม่เป็นที่รู้จัก

วันนี้ผมไม่ได้เขียนถึงงานเหล่านั้นของท่านอีก เนื่องจากเป็นที่รู้กันดีอยู่แล้ว  ในโอกาสที่ผมได้สัมภาษณ์ท่านอาจารย์สุทธี  ท่านได้เล่าเรื่องราวที่ประทับใจเกี่ยวกับการถวายงานแด่พระองค์ท่าน แะวิธีการทำงานและการดำรงค์ชีวิต ที่อาจารย์ได้ถ่ายทอดให้ฟัง  ผมอยากจะเขียนถึงสิ่งเหล่านั้นครับ

เรามักเห็นในบทความต่างๆ เกี่ยวกับสายอากาศสุทธี 2 ว่าเป็นสายอากาศที่พระองค์ท่านทรงรับสั่งชมว่า " แจ๋วมาก"  สายอากาศสุธีสองนี้ เป็นสายอากาศที่ สามารถรับส่งสัญญาณ จากพระตำหนักจิตลดาฯ ไปจนถึง พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ ที่จังหวัดเชียงใหม่  คือสามารถส่งสัญญาณได้ไกลกว่า 600 กิโลเมตร ซึ่งเป็นเรื่องที่ใหม่มากสำหรับ ในช่วงเวลานั้น

ท่านอาจารย์สุธี เล่าให้ฟังว่า ตอนที่พระองค์ท่าน ทรงรับสั่งว่า "แจ๋วมาก" นั้น ท่านได้ทรงกล่าวในสถานที่ที่มีคนอยู่เยอะแยะ ท่านทรงรับสั่งชมอาจารย์สุธี ต่อหน้าข้าราชบริพาร อีกมากมาย ซึ่งในความจริงท่านไม่มีความจำเป็นต้องทำเช่นนั้น  อาจารย์สุธี บอกว่าท่านทรงมีเมตตามาก นับเป็น ความเมตตาของผู้ใหญ่ที่จะให้กับข้าราชการชั้นผู้น้อย อย่างท่าน  และจากวันนั้น ทำให้อาจารย์สุธี ได้แนวคิดในการใช้ชีวิตมาว่าดังนี้คือ

" คนที่มีความสามารถมากๆ ก็ต้องมีเมตตาธรรมมากๆ ด้วย ไม่ใช่เอาไปใช้แต่หาประโยชน์ส่วนตัว"




นอกจากนั้น อาจารย์สุธียังสอนถึงหลักการทำงานต่างๆที่ได้เรียนรู้มาจากพระองค์ท่านว่าดังนี้คือ

คาถาในการทำงานสี่ข้อ
1. ขอให้มีความร่วมมือกัน ดูด้วยว่าใครทำอะไรอยู่ ไม่ใช่ต่างคนต่างทำ
2. เมื่อทำงานแล้ว ก็ให้ได้ทำอย่างตั้งใจทำงานจริงจัง
3. ทำงานแล้วต้องมีการติดตามงาน
4. เมื่อทำแล้ว ก็ต้องนำไปใช้งานให้ได้

"คิดแล้วต้องทำ ทำแล้วก็ต้องทำด้วยความถูกต้อง รวดเร็ว เพราะถ้าทำไม่ถูกต้อง ทำแบบลองผิดลองถูก ก็จะเสียเงินทองและเสียเวลา"

และ

"โจทย์ หรือการตั้งคำถามนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญมาก สำคัญยิ่งกว่าการหาคำตอบเสียอีก  คำตอบที่ถูกต้อง ให้กับโจทย์ที่ผิด  มีค่าน้อยกว่า  คำตอบที่ผิด  แต่ตอบให้กับโจทย์ที่ถูกต้องเสียอีก"

ได้มีโอกาสพูดคุยกับอาจารย์เพียงเท่านี้เอง  ผมเชื่อว่าหากมีเวลามากกว่านั้น คงจะยังมีคำสอน ความรู้ หลักในการดำเนินชีวิตอีกมากทีเดียวครับ

พาไปดู Japan robot week 2016


พัฒนาการทางด้านหุ่นยนต์ของยุคนี้ มีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วครับ และในหลายๆประเทศทั่วโลกเลยละ  แต่การพัฒนาการด้านหุ่นยนต์ที่ประเทศญี่ปุ่นนั้น มีความพิเศษอย่างหนึ่ง คือประเทศญี่ปุ่นนี้มีวัฒนธรรม อะนิเมะ ( Anime) วัฒนธรรมที่มาจากการ์ตูนนั่นเองครับ ทำให้ประเทศญึ่ปุ่น ชอบพัฒนาหุ่นยนต์ที่เดินสองขาได้ และมีลักษณะเหมือนคน มากๆ เลยละ ด้านนี้ดูจะมีความน่าสนใจกว่าที่อื่นๆในโลกครับ

กันดั้มตัวนี้ไม่เกี่ยวกับงานหุ่นยนต์นะครับ แต่ผมคิดว่า คนญี่ปุ่นคงตั้งใจจะสร้างหุ่นยนต์ให้ได้แบบนี้แหละ จริงๆ
Gundum


งาน Japan robot week เป็นงานที่จัดเป็นครั้งที่เจ็ด จัดปีละครั้งครับ  รัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศกลยุทธด้านหุ่นยนต์ของประเทศตั้งแต่ปี 2015 โดยมีเป้าหมายให้ในปี 2020 มูลค่าทางการตลาดการค้าของหุ่นยนต์ ของญี่ปุ่นมีการขยายตัว เป็น ยี่สิบเท่า ของมูลค่าตลาดในปี 2015 ครับ

มาดูกันว่าในปี 2016 นั้นเขามีอะไรมาแสดงบ้าง

Japan robot week 2016

หุ่นยนต์ที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม เป็นหุ่นที่ดูเหมือนจะมีแต่แขน 
Japan robot week 2016

หุ่นยนต์สองขา Humanoid มีผลิตจำหน่ายเป็น Hobby แล้ว หรือจะเรียกว่าของเล่นก็ได้  จริงๆถ้าจำกันได้ เมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว ทาง ค่าย sony ก็เคยจำหน่ายหุ่นยนต์สุนัขที่เรียกว่า Aibo แล้ว  แต่ดูเหมือนว่าจะไม่ประสบความสำเร็จด้านการขายสักเท่าใด


Japan robot week 2016

หุ่นยนต์ Sota นี่ก็ จำหน่ายแล้วเหมือนกัน Sota จะสื่อสารกับเจ้าของได้ เป็นภาษาพูดเลย  แต่ดูเหมือนว่าจะพูดภาษาญี่ปุ่นเท่านั้น

Japan robot week 2016

Japan robot week 2016
 หุ่นยนต์ที่มาแรง ในปีนี้ น่าจะเป็นเจ้า Pepper ตัวนี้นั่นเอง  จากค่าย Softbank Mobile เปิดตัวตั้งแต่ปี 2014 ตอนนี้มียอดขายอยู่หลายพันตัว

เจ้า Pepper นี่ทำได้หลายอย่าง แต่ที่ใช้มากๆ ในงานเท่าที่เห็นคือ มันเป็นพนักงานขาย ที่สามารถให้ข้อมูลลูกค้าได้ แบบยืนไม่มีเหนื่อย  และเราก็มี ทางเลือกว่าจะซื้อหุ่น Pepper เลย หรือว่าจะจ้างเป็นรายเดือน เหมือนจ้างพนักงานก็ได้ครับ

Japan robot week 2016

Japan robot week 2016
ตัวนี้คือ Nao จาก softbank เหมือนกัน เป็นหุ่น Humanoid ตัวแรก ของค่าย 

Japan robot week 2016
Trend อีกประเภทคือหุ่นยนต์ที่ไม่ได้เป็นหุ่นทั้งตัว แต่เหมือนเป็นอุปกรณ์ในการเพิ่มพลัง ช่วยให้คนปกติทำงานได้สะดวกขึ้น และช่วยคนให้ที่มีความลำบากในการใช้ร่างกาย สามารถใช้ร่างกายได้ ดีขึ้นครับ


Japan robot week 2016

Japan robot week 2016

Japan robot week 2016
Japan robot week 2016
หุ่นอีกประเภทใช้ตรวจการในที่ที่คนเข้าไปไม่ได้ พวกประเภทโดรนเป็นต้น

Japan robot week 2016

Japan robot week 2016
ชีวิต คนทั่วๆไปอย่างพวกเราเข้าใกล้กับ หุ่นยนต์เหล่านี้ขึ้นทุกทีครับ อีกไม่นาน มันคงเข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวันจนเป็นเรื่องทั่วไปเหมือนมือถือ เลยละครับ

ขอจบด้วยหุ่นยนต์ ที่จับพู่กัน ได้นิ่มนวลมากๆ ตัวนี้ครับ

Japan robot week 2016

ซื้อบ้านฤดูน้ำท่วม โดย เมตตา ทับทิม จาก มติชนรายวัน


ขอสารภาพว่าอารมณ์ติดพันหลังจากจัดรายการสด “คุยอสังหาฯ กับประชาชาติ” เป็นรายการ live streaming บนเฟซบุ๊กประชาชาติธุรกิจ เรียนเชิญคุณแฟนเพจติดตามรับชมได้ทุกวันอังคาร เวลาประมาณ 15.00 น. โดยจัดร่วมกับกูรูข่าวอสังหาริมทรัพย์ “พี่แหม่ม-สมถวิล ลีลาสุวัฒน์” ผู้ช่วยบรรณาธิการ หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจค่ะ

ตามปกติ สำหรับผู้ประกอบการแทบทุกวงการ หน้าฝนหรือช่วงฤดูฝนซึ่งกินเวลาตั้งแต่ปลายเมษายน-ต้นพฤษภาคม ไปจนถึงโน่นเลย ปลายเดือนตุลาคม จนมีคำกล่าวกันว่าปลายฝน-ต้นหนาวมักจะหมายถึงช่วงเวลาปลายตุลาคมชนกับต้นเดือนพฤศจิกายน ช่วงฝนตกในแง่ฤดูการขายสินค้า-บริการ เขาเรียกว่าเป็นช่วงโลว์ซีซั่น

อาจเป็นเพราะหน้าฝน ตามท้องไร่ท้องนาเป็นช่วงเพาะปลูก ยังไม่ได้เก็บเกี่ยว สภาพคล่องหรือเงินในกระเป๋าร่อยหรอ ทำให้กำลังซื้อในต่างจังหวัดเบาบางลง ขณะเดียวกันการใช้ชีวิตในเขตเมืองก็เงียบๆ เหงาๆ ซึมๆ เซาๆ ยังไงก็ไม่รู้ ยิ่งสตรีทฟู้ดหรืออาหารรถเข็น โต้รุ่ง ตลาดนัด พ่อค้าแม่ค้าหน้านิ่วคิ้วขมวดไปตามๆ กันเพราะลูกค้าไม่ออกมาเดินช้อป ชิม กิน เที่ยว เนื่องจากไม่สะดวกนั่นเอง

หน้าฝนปีนี้มียังมีเรื่องให้ตื่นเต้นเพิ่มขึ้นไปอีกเมื่อโลกโซเชียลแชร์กันสนั่นถึงปัญหาน้ำท่วม-น้ำท่วมขัง มีรถยนต์จมน้ำ มีภาพการจราจรติดแหง็ก เดิมเลิกทำงาน 5 โมงเย็นใช้เวลา 1-1 ชั่วโมงครึ่งก็ถึงบ้าน แต่พอมีน้ำท่วมขังใช้เวลาปาเข้าไป 2-3 ชั่วโมง

ส่งผลกระทบต่อมู้ดผู้บริโภค แปลความหมายตรงตัวว่าอารมณ์จับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค ซึ่งถ้าผู้บริโภคเกิดอาการ “มู้ดดี้” ขึ้นมาเมื่อไหร่ ความหมายแปลได้ว่า รมณ์บ่จอย อารมณ์เสีย อารมณ์ไม่ดี อะไรประมาณนี้ ยอดขายสินค้าอุปโภคบริโภคจึงร่วงระนาว

กล่าวสำหรับวงการอสังหาริมทรัพย์ ถ้าลองคิดนอกกรอบกันสักนิดจะพบว่า ในมุมผู้บริโภคหรือผู้ซื้อเราสามารถแปรวิกฤตหน้าฝนให้เป็นโอกาสได้ เนื่องจากการซื้ออสังหาฯ ช่วงหน้าฝนมีคุณประโยชน์ที่เห็นได้ชัดอย่างน้อย 2 ข้อ นั่นคือการมองทำเลกับตรวจสอบสินค้า

ในเรื่องทำเล คำถามยอดฮิตถล่มทลายคือเลือกทำเลไหนดี หน้าฝนนี่แหละที่ทำให้ผู้บริโภคชั่งใจได้ด้วยตาเปล่า ทำเลไหนที่น้ำไม่ท่วมเวลาฝนตกหนักต้องให้คะแนนว่าเป็นสุดยอดทำเล (ขอแอบกระซิบเบาๆ ตรงนี้นะคะ ในเขตเมืองกรุงเจอน้ำท่วมขังทั้งนั้นแหละ อยู่ที่ว่าจะวิดน้ำให้แห้งช้าหรือเร็ว)

ในเรื่องการตรวจสินค้า อย่าลืมว่าการซื้ออสังหาฯ จะต้องโอนกรรมสิทธิ์ ขั้นตอนก่อนโอนคือการตรวจรับมอบสินค้า ซึ่งแน่นอนว่ากรณีเป็นสินค้าคอนโดฯ อย่าลืมตรวจสอบพื้นที่ส่วนกลางให้เยอะๆ โดยเฉพาะที่จอดรถ (อยู่ใต้ดินหรือเปล่า) กับห้องเครื่องหรือห้องระบบ

ถ้าเป็นโครงการเก่ามักจะวางห้องเครื่องไว้ชั้น 1 หรือชั้นใต้ดิน ตอนน้ำท่วมใหญ่ปี 54 เห็นผู้ประกอบการหลายรายออกมาให้ข่าวว่าการออกแบบตึกใหม่ๆ จะยกห้องเครื่องไปวางไว้ชั้น 2 ชั้น 3 …จริงหรือเปล่าก็ไม่รู้ (ฮา)

กรณีเป็นสินค้าบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ หลังเบ้อเริ่มเลยเรารู้ได้อย่างไรว่าหลังคารั่วหรือเปล่า ขอบประตูหน้าต่างบานเกล็ดทั้งหลายมีจุดอ่อนน้ำซึมผ่านไหม ท่อระบายน้ำหน้าบ้านมีปัญหาอย่างไร ไหนจะกันสาด-ชายคายื่นมากยื่นน้อยคุ้มแดดคุ้มฝนพอหรือยัง ระเบียงที่ให้มาสร้างไว้เท่ๆ หรือโดนฝนสาดจนวางเฟอร์นิเจอร์ไม่ได้ …โอ๊ย จิปาถะบันเทิงค่ะ

สรุปว่าถ้าหากซื้ออสังหาฯ ตอนหน้าหนาว-หน้าร้อน เราก็ต้องรอหน้าฝนให้เทวดานางฟ้าช่วยคอนเฟิร์มอยู่ดีว่าคุณภาพงานก่อสร้างเขาโอเค-ไม่โอเค อยู่ที่ว่าอยากรู้ก่อนหรือรู้ทีหลังรับโอนมาแล้ว

ข้อแนะนำจึงมีอยู่ว่าการเลือกซื้อบ้าน-คอนโดฯ ช่วงหน้าฝนถือเป็นออปชั่นที่น่าสนใจด้วยประการฉะนี้ โชคดีทุกท่านค่ะ

ผู้เขียน: เมตตา ทับทิม
ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน

สำรวจชั้นดินนั้นสำคัญไฉน?


เวลาเราพูดถึงปัญหาบ้านทรุดกันนั้น หลายครั้งเรามักพุ่งตรงไปที่ปัญหาของโครงสร้างก่อนเลย เช่นว่าเสาเข็มไม่เท่ากัน เข็มสั้นเกินไป เกิดปัญหาดินไหล ออกไปเป็นต้น ซึ่งก็อีกหลายครั้งเช่นกัน ปัญหา เกิดขึ้นจากการที่ไม่ทำการสำรวจชั้นดินให้แน่ใจว่า มีลักษณะเป็นอย่างไร รับกำลังได้มากน้อยแค่ไหน ก่อนที่จะทำการสร้างสิ่งปลูกสร้างลงไปครับ

การสำรวจชั้นดินนั้น มีความจำเป็นที่ต้องทำในทุกการก่อสร้าง เนื่องจากดินมีลักษณะต่างๆกันไปได้ตลอดเวลา แม้จะอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน  โดยมากการสำรวจชั้นดินนั้น ผู้ที่ได้ข้อมูลนี้ไปจะเป็นผู้ออกแบบ ซึ่งจำนำข้อมูลไปคำนวณชนิดของฐานราก ชนิด จำนวน และความลึกของเสาเข็ม หากจำเป็นต้องใช้  เจ้าของบ้านเอง ไม่ค่อยทราบหรอกครับ ว่ามีการสำรวจชั้นดินกันหรือเปล่า  ถ้าอย่างเป็นบ้านพักอาศัย ก็จะมีการสำรวจกันสักสองหลุ่ม แทยงมุม เป็นต้น  ส่วนค่าสำรวจก็ตกประมาณ สองหมื่นบาทถึงสามหมื่นบาทต่อหลุมสำรวจ

ดังนั้นผู้ที่จะคิดสร้างบ้านใหม่ อย่าลืมตั้งงบประมาณเผื่อไว้สำหรับการสำรวจดินด้วยครับ  เผื่อเห็นผู้รับเหมาเสนอราคามา จะได้ไม่ตัดตรงนี้ออก  มันสำคัญครับ

การสำรวจดิน

การสำรวจดิน

ว่าด้วยเรื่อง สถาปนิก วิศวกร ต่างชาติ ทำงานในประเทศไทย


ท่านที่ติดตามข่าวสารเป็นประจำคงจะเคยเห็นข่าวการเปิดตัว อาคารที่สูงที่สุดในประเทศไทยแห่งใหม่ไปเมื่อเร็วๆ นี้ครับ ซึ่งอาคารแห่งนี้ใช้เวลาสร้างมาตั้งแต่ช่วงปี 2011 แล้ว และมีการเปิดตัวอย่างอลังการตั้งแต่เริ่มสร้างโครงการ จนถึงวันที่โครงการเสร็จ ก็เปิดตัวกันอีกที อย่างอลังการมากทีเดียว

เนื่องจากโครงการนี้ มีการตั้งระดับของตัวเองไว้เป็นระดับโลก ดังนั้นทุกสิ่งอย่างที่ใช้ก็ต้องเป็น "ระดับโลก" ทั้งหมด เพราะกลุ่มลูกค้าของเขา เป็นลูกค้าต่างชาติจากทั่วโลกนี่ครับ  ซึ่งก็แน่นอนรวมถึงการออกแบบ และการก่อสร้างด้วยครับ  ต้องใช้ "ระดับโลก"  ดังนั้นตั้งแต่วันที่เปิดตัวแล้ว ก็มีการเปิดตัวผู้ออกแบบ เป็นสถาปนิกต่างชาติชาวเยอรมันชื่อดัง ที่มีนามว่า Mr. Ole Scheeren ซึ่งตอนนั้นเป็นพาร์ตเนอร์ของ Office of Metropolitan Architecture (OMA)  ส่วนผลงานที่ดังๆของเขาที่เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก ก็คือ อาคาร ซีซีทีวี แห่งกรุงปักกิ่งครับ ที่เปิดตัวไปเมื่อโอลิมปิกที่ปักกิ่งในปี 2008 ซึ่งภายหลัง Ole Scheeren ได้แยกตัวจาก OMA มาตั้งบริษัทของตัวเอง ชื่อ Buro Ole Scheeren ( http://buro-os.com/ )  ซึ่งก็แน่นอน ว่าทั้งตัวบริษัทเอง และตัวสถาปนิกเอง ไม่ใช่บริษัทไทย และไม่ใช่สถาปนิกชาวไทยครับ

CCTV headquarters ( Photo from wikimedia.org) 
เนื่องจาก Mr. Ole Scheeren เป็นสถาปนิกต่างชาติ รวมถึงบริษัทที่ไปยื่นขออนุญาต สร้างอาคารนั้นแม้จะเป็นบริษัทไทย แต่ก็ไม่ได้รับอนุญาต ให้ประกอบวิชาชีพสถาบนิก ตามพระราชบัญญัติสถาปนิก ปี 2543  จึงทำให้เกิดเป็น ประเด็นขึ้นมาครับ   และทางสภาสถาปนิก ในสมัยที่มี พลเรือเอก ฐนิธ กิตติอำพน เป้นนายกสภาสถาปนิก ก็ได้ แจ้งความต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลลุมพินี ไว้ตั้งแต่ปี 2554  

ซึ่งจากครั้งนั้น ก็มีปัญหาเรื่อง กรุงเทพมหานคร ไม่ส่งแบบที่ใช้ขออนุญาต มาให้พนักงานสอบสวน ส่งผลให้ อัยการมีความเห็นว่า หลักฐานไม่ครบจึงไม่ส่งฟ้อง ไปครับ   

ล่วงเลยจนมาถึงเปิดอาคารในปีนี้ ก็ยังมีคนเอาเรื่องสถาปนิกต่างชาตินี้ขึ้นมากล่าวถึงอีก และทางสภาสถาปนิกเอง โดยท่านนายกสภาสถาปนิกคนปัจจุบัน ก็ยืนยัน จะติดตามเรื่องนี้ต่อไป


อาคารมหานคร ภาพจาก thaisohot.com
เรื่องการใช้สถาปนิก ต่างชาติ นั้นไม่เป็นเรื่องที่ผิดปกติแต่อย่างใด ในเมื่อลูกค้าของ ผู้ประกอบการเป็นต่างชาติ  การใช้สถาปนิกต่างชาติก็ย่อมช่วยเรื่องความมั่นใจ และในเรื่องของการขาย รวมถึงความสวยงาม และความพึงพอใจ ย่อมเป็นของผู้ประกอบการอยู่แล้ว ว่าจะเลือกทำอย่างไรครับ

ทั้งนี้กฎหมายที่ควบคุมเรื่องอาชีพ ที่สงวนไว้สำหรับ คนไทย ก็มี เช่น พระราชบัญญัติแรงาน  พระราชบัญญัติสถาปนิก  พระราชบัญญัติวิศวกร เป็นต้น   ทั้งนี้เพราะอาชีพบางอาชีพนั้นกฎหมายไทยเห็นว่า เป็นอาชีพที่ต้องควบคุม และสงวนไว้ให้กับคนไทยเป็นคนทำ

แต่ทั้งนี้กฎหมายไทยก็ไม่ได้ปิดช่องในการให้สถาปนิกต่างชาติเข้ามาทำงานในไทยไว้ทั้งหมด มีช่องทางสามารถให้ทำได้  แต่ต้องร่วมทำงานกับสถาปนิกไทย  ทั้งนี้เพื่อให้ถ่ายทอดความรู้ให้กับสถาปนิกไทยด้วย

โดยปัจจุบัน ช่องทางที่สถาปนิกต่างชาติจะทำงานในประเทศไทยได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ก็มีอยู่สองช่องทางใหญ่ๆคือ 

หนึ่ง เป็นสถาปนิก ใน ASEAN Economic Community (AEC) สามารถขึ้นทะเบียนบุคคล กับสภาสถาปนิก ได้เลย ถ้าเข้าเงื่อนไขที่สภาสถาปนิกกำหนด 

สอง คือการทำงานในบริษัทนิติบุคคลไทย ที่ขึ้นทะเบียนนิติบุคคลกับกระทรวงพาณิชย์ โดยการหาสถาปนิกชาวไทย มาถือหุ้น 51% และต่างชาติถือหุ้นได้ไม่เกิน 49% 

ส่วนตัวผมเอง ไม่ได้มีความเห็นต่อต้านสถาปนิก หรือวิศวกรต่างชาติแต่ประการใด ผมมีความเห็นว่า การที่มีต่างชาติเข้ามา ก็ช่วยให้สถาปนิก และวิศวกรในประเทศได้พัฒนาตัวเอง ไปด้วย ทั้งนี้หากเป็นเรื่องว่าด้วยเทคโยโลยีใหม่ๆ  เราก็ต้องเข้าไปเรียนรู้ เพื่อให้บุคคลากรของประเทศเราพัฒนายิ่งๆขึ้นไปครับ  ยกตัวอย่างเช่นงานสนามบินสุวรรณภูมิ ที่เราสร้างกันตอนเฟส ที่หนึ่งนั้น ครั้งนั้นก็ใช้วิศวกร ต่างชาติเยอะมาก เพราะเป็นงานที่ วิศวกรไทยไม่เคยมีใครทำมาก่อน เพราะงานสร้างสนามบินขนาดใหญ่เช่นนั้นก็เป็นงานที่ไม่สร้างกันบ่อยๆ   แต่พอถึงสุวรรณภูมิเฟสที่สอง วิศวกรไทยก็ทำกันเองเป็นแล้ว ก็ลดการใช้บุคคลากรต่างชาติไปได้เยอะครับ  

ทำไมห้ามต่อเติมบนรั้วโครงการ บทความโดย คุณสมจิตร์ เปี่ยมเปรมสุข



การต่อเติมครัวหลังบ้านของทาวน์เฮ้าส์ หรือบ้านทั่วไปนั้น มีหลายหลังที่ต่อเติมโดยใช้รั้วของโครงการเป็นส่วนหนึ่งของผนังของส่วนต่อเติมไปเลย หรือกรณีที่หนักกว่านั้น มีการใช้เสาของรั้วโครงการเป็นเสารับน้ำหนักของส่วนต่อเติมเลย

ปัญหาที่พบจากการต่อเติมบนรั้วโครงการมีดังนี้
1. ผนังส่วนต่อเติมแตกร้าว แยกตัว ตามแนวรั้วเดิมกับส่วนต่อเติม โดยเฉพาะถ้ามีการบุด้วยกระเบื้องจะพบรอยแตกร้าวได้ง่าย
2. ผนังเกิดการทรุดตัว แตกร้าว แยกตัวจากตัวอาคารเดิม
3. ชายหลังคาหรือรางน้ำ มักจะล้ำเข้าไปในพื้นที่ข้างเดียว ทำให้เกิดปัญหาขัดแย้งกัน จนอาจต้องรื้อหรือแก้ไขส่วนต่อเติมที่ได้ทำไปแล้ว

ทำไมถึงไม่ควรต่อเติมโดยใช้รั้วโครงการเป็นส่วนหนึ่งของส่วนต่อเติม

1. รั้วโครงการถือเป็นสาธารณูปโภคของโครงการ เป็นโครงสร้างส่วนกลาง ไม่ใช่ทรัพย์สินของเจ้าของบ้าน เนื่องจากรั้วโครงการก่อสร้างขึ้นเพื่อกำหนดขอบเขตแยกพื้นที่ส่วนตัวกับพื้นที่ส่วนกลาง
2. ฐานรากและโครงสร้างของรั้ว ออกแบบเพื่อรับน้ำหนักของตัวรั้วเอง ไม่ได้เผื่อสำหรับการต่อเติม ดังนั้น ขนาดและจำนวนเสาเข็ม, ขนาดและจำนวนเหล็กเสริมในคานและเสารั้ว จึงมีขนาดไม่ใหญ่มากนัก
3. รั้วโครงการที่บริเวณขอบโดยรอบโครงการที่อยู่ติดลำราง, คลอง หรือระดับดินที่มีการถมสูง มีโอกาสที่จะล้มเอนได้ง่าย ดังนั้น ไม่ควรไปก่อสร้างต่อเติมอาคารใด ๆ ติดกับรั้วดังกล่าว เพราะหากรั้วดังกล่าวมีปัญหาเอนล้มลง ส่วนกลางของหมู่บ้านจะเป็นผู้รับผิดชอบแก้ไขให้ แต่หากเจ้าของบ้านมีการต่อเติมติดกับรั้วดังกล่าว นอกจากส่วนต่อเติมจะเสียหายตามรั้ว ปัญหาที่จะตามมาคือต้องมาพิสูจน์ว่ารั้วพังลงเนื่องจากการต่อเติมนี้หรือไม่
4. ในกรณีที่ท่านเจ้าของบ้านไม่ได้ทำการต่อเติมใดๆ เลย แต่บ้านข้างเคียงมีการต่อเติมบนรั้วโครงการแล้วเกิดความเสียหาย แตกร้าวหรือทรุด ก็จะทำให้ท่านเจ้าของบ้านได้รับผลกระทบด้วย เนื่องจากใช้รั้วร่วมกัน และถ้ามีการต่อเติมโดยใช้รั้วดังกล่าวร่วมกันอีก ก็จะยากที่จะพิสูจน์ได้ว่า ความเสียหายที่ผนังร่วมกันนั้นเกิดจากใคร

ปัญหาการต่อเติมของทาวน์เฮาส์



ข้อแนะนำสำหรับผู้ที่ต้องการต่อเติมพื้นที่ให้ชิดรั้วโครงการ

ก่อนการคิดจะต่อเติม สิ่งแรกที่ท่านเจ้าของบ้านจะต้องรู้และรับสภาพก็คือ การต่อเติมดังกล่าวผิดกฎหมาย ถึงแม้นว่าจะยอมล้นระยะจากแนวรั้ว 50 เซนติเมตรก็ตาม โดยเฉพาะทาวน์เฮ้าส์หรือตึกแถวตามกฎหมายที่ว่างด้านหลัง ห้ามก่อสร้างต่อเติมใด ๆ ทั้งสิ้น ดังนั้น ควรมีการพูดคุยกับบ้านข้างเคียง และการก่อสร้างต่อเติมพยายามให้รบกวนบ้านข้างเคียงให้น้อยที่สุด

1. ไม่ว่าจะใช้เสาเข็มสั้น หรือเสาเข็มเจาะ ต้องแยกส่วนโครงสร้างพื้นและคาน ส่วนต่อเติมกับรั้วโครงการโดยรอบ โดยการกั้นด้วยโฟมหนา 1-2 เซนติเมตร เพื่อป้องกันปัญหาส่วนต่อเติมดึง หรือรั้งให้รั้วโครงการแตกร้าวเสียหายได้
2. การต่อเติมโดยเชื่อมต่อกับรั้วโครงการ นอกจากจะทำให้รั้วเกิดความเสียหายจากการทรุดตัวแล้ว ยังอาจทำให้ส่วนต่อเติมของบ้านข้างเคียงที่ก่อสร้างต่อเชื่อมกับรั้วโครงการเช่นเดียวกับท่านเสียหายตามไปด้วย
3. การต่อเติมชิดพื้นที่ ต้องพิจารณาเรื่องน้ำฝนที่จะไหลไปรบกวนบ้านข้างเคียง ซึ่งต้องมีการใส่รางน้ำเพื่อรับน้ำฝน และรางน้ำนั้นจะต้องไม่ยื่นเกินขอบเขตที่ดินของตัวเอง
4. ไม่ควรเปิดช่องหน้าต่าง หรือช่องระบายอากาศ ในผนังด้านที่ติดกับบ้านข้างเคียง เพราะจะทำให้กระทบความเป็นส่วนตัวหรือรบกวนบ้านข้างเคียงเป็นอย่างมาก


การต่อเติมทาว์เฮาส์ไปชิดรั้ว



"บทความโดย: สมจิตร์ เปี่ยมเปรมสุข ประธานคณะกรรมการคลินิกช่าง"

เครื่องตรวจจับควัน (Smoke detector) อีกหนึ่งอุปกรณ์ความปลอดภัย ที่ควรมีไว้ประจำบ้าน


อุปกรณ์ความปลอดภัยอีกอย่างที่ทุกบ้านควรมีไว้ ก็คือ เครื่องตรวจจับควัน หรือ Smoke Detector ครับ ที่จริงแล้วอุปกรณ์เตือนภัย ที่ส่งสัญญาณเวลามีไฟไหม้นั้น มีหลายประเภท แต่ เครื่องตรวจจับควัน เป็นอุปกรณ์ ที่เหมาะที่จะใช้ในบ้าน และที่พักอาศัยมากที่สุด  เนื่องจากเชื้อเพลิงที่อยู่ในบ้านเรือนนั้น เป็นเชื้อเพลิงประเภท เสื้อผ้า อาหาร และอื่นๆ ที่จะเกิดควันหลังจากเกิดอัคคีภัย    และเมื่อเกิดควันขึ้น เครื่องตรวจจับควันก็จะสามารถส่งสัญญาณเตือน ให้ผู้อยู่อาศัยในบ้าน รู้ตัวและหนี หรือดับไฟได้ทัน

เครื่องตรวจจับควันที่ใช้กันภายในบ้านนั้น เป็นประเภทที่ไม่ต้องเดินสายไฟ เพราะทำงานได้โดยใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ และสามารถติดตั้งได้สะดวก ติดตั้งเองก็ได้ ส่วนราคาก็ไม่กี่ร้อยบาทครับ  ส่วนวิธีเลือกซื้อ ก็เนื่องจาก ประเทศไทยยังไม่มีมาตรฐานการผลิตสำหรับเครื่องตรวจจับควัน เราก็สามารถเลือกซื้อได้โดยเลือกเครื่องตรวจจับควันที่ ได้มาตรฐาน Underwriters Laboratories Inc. (UL) เป็นมาตรฐานระดับสากลที่ทำมาตรฐานด้านความปลอดภัยมากว่า 100 ปี แล้วครับ

ตำแหน่งที่ติดตั้ง ก็ควรติดตั้งในตำแหน่งที่เมื่อเครื่องตรวจจับควัน ส่งสัญญาณเตือนแล้ว ผู้อยู่อาศัยภายในบ้านจะได้ยิน  เช่นติดตั้งตรงโถงบันได หน้าห้องนอน   หรือติดตั้งที่โถงชั้นล่าง โดยทั่วไปก็ควรจะมีอุปกรณ์นี้อยู่ชั้นละหนึ่งตัว

เครื่องตรวจจับควัน


การบำรุงรักษา

หลักการทำงานของเครื่องตรวจจับควันที่ใช้กันอยู่ส่วนใหญ่ในตอนนี้คือใช้หลักการ photo electric คือใช้แสงเป็นตัวตรวจวัดควัน  ดังนั้นเมื่อใช้เครื่องตรวจจับควันไปนานๆ ต้องมีการทำความสะอาด เพราะฝุ่นอาจเข้าไปเกาะ ทำให้เครื่องทำงานผิดพลาดได้ครับ  รวมถึงเปลี่ยนแบตเตอรี่ด้วย โดยทั่วไปแบตเตอรี่มีอายุใช้งานได้เป็นปี  นอกจากนั้น เครื่องตรวจจับควัน จะมีปุ่มทดสอบด้วยว่า เครื่องยังทำงานปกติอยู่หรือเปล่า  เราก็ควรทดสอบดูเป็นระยะๆ


เครื่องตรวจจับควัน


อุปกรณ์ชิ้นนี้เป็นอุปกรณ์ที่มีราคาไม่แพง แต่มีประโยชน์มากมาย และทุกบ้านควรติดตั้งไว้ครับ

โครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าและสายสื่อสารลงดิน มีข้อดีอย่างไรและมีผลกระทบอย่างไรบ้าง


เป็นข่าวครึกโครมอีกครั้ง เมื่อนาย Bill Gates มหาเศรษฐีคนดังชาวอเมริกัน โพสท์ข้อความลงใน social media ของตนเอง เรื่องเกี่ยวกับสายไฟฟ้าและสายสื่อสารที่อยู่บนผิวดิน ที่ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ เช่นไฟดับ ไฟไม่พอ หรือแม้กระทั่งการขโมยใช้กระแสไฟฟ้า

ข้อความที่เขียนเอาไว้มีใจความว่าดังนี้ครับ

LIVE WIRES 

"Due to faulty infrastructure, many urban areas suffer (from)fromfrequent blackouts and power cuts, and the electrical grid often doesn’t serve the people who need it most." 

"I’ve visited many cities filled with tangled wires such as those in this photo from Thailand, where people have illegally tapped into the grid on their own to get the power they need—at great personal risk."

ในข้อความก็ระบุชัดเจนว่า รูปมาจากเมืองไทย   ซึ่งหลังจากนั้นก็เกิดกระแสวิพากย์วิจารณ์กันอยู่สักพักหนึ่ง จนทำให้เรื่องการนำสายไฟฟ้าและสายสื่อสารลงดินนั้น เป็นเรื่องที่คนพูดถึงกันอีกครั้งหนึ่งครับ  ซึ่งที่จริงแล้วเรื่องนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องใหม่แต่ประการใดครับ

บทความนี้เราจะเขียนถึงเรื่องนี้กัน

แท้จริงแล้วประเทศไทย หรือโดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรุงเทพมหานครของเรา มีความคิดที่จะนำสายไฟฟ้า และสายสื่อสาร ลงใต้ดินตั้งนานแล้ว และก็เริ่มทำโครงการนำสายไฟฟ้าลงดิน มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 แล้วครับ  โดยหน่วยงานที่เป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงกับการจ่ายไฟฟ้าให้กับเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ก็คือ การไฟฟ้านครหลวง ก็ได้ดำเนินการมา จนได้ทำสำเร็จในถนนในกรุงเทพมหานครหลายสาย  เช่นบริเวณถนน สีลม  และถนนสุขุมวิท บางส่วน

การที่สายไฟฟ้ายังอยู่บนดินนั้น ไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาดแต่อย่างใด อย่างในประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างประเทศญี่ปุ่นเอง ถ้าสังเกตดู ในถนนสายเล็ก ในบ้านเรือนที่ห่างออกไปจากตัวเมือ ก็ยังใช้สายไฟฟ้าบนดินกันเยอะแยะครับทั้งนี้ ขึ้นกับความจำเป็น ที่ความจำเป็นที่ว่านั้นก็ขึ้นกับเหตุผลหลายๆอย่างครับ

การจ่ายกระแสไฟฟ้านั้น ยึดหลัก ความ "มั่นคง เพียงพอ ปลอดภัย และเชื่อถือได้"  ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องนำสายไฟฟ้าลงใต้ดินอยู่ดีครับ ด้วยเหตุผลของความมั่นคงทางพลังงาน  ก็เพราะว่า  ด้วยปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น ทำให้สายไฟฟ้าที่อยู่บนดิน ไม่สามารถจ่ายไฟได้เพียงพอครับ  ด้วยเหตุผลทางเทคนิค   สายไฟฟ้าที่อยู่ใต้ดินนั้นสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้มากกว่า ด้วยเหตุผลทางเทคนิคครับ

ด้วยเหตุผลนี้ ถนนสายเศรษฐกิจ ในกรุงเทพมหานคร ถึงได้มีสายไฟฟ้าลงใต้ดินไปแล้วไงครับ  เพราะมันจำเป็นไม่เช่นนั้นจะจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ไม่พอ

ส่วนเรื่องผลพลอยได้จากการที่นำสายไฟฟ้า สายสื่อสาร และเสา ออกไปจากถนนไปอยู่ใต้ดินก็คือ ความสวยงามของถนนหนทาง และไม่ต้องมีปัญหาในการที่ต้องมาตัดต้นไม้ หรือปัญหาที่เกิดสายสื่อสารไฟไหม้ อีกด้วยครับ

ซึ่งในการดำเนินการดังกล่าว จำเป็นต้องได้ความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องครับ อันได้แก่

ผู้จ่ายกระแสไฟฟ้า ซึ่งในกรุงเทพมหานคร ก็คือ การไฟฟ้านครหลวง
เจ้าของพื้นที่ ก็คือ กรุงเทพมหานคร  และ ผู้ดูแลการจราจร ก็คือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
และเจ้าของสายสื่อสารที่พาดอยู่บน เสาไฟฟ้าเดิม (TOT)  เพราะถ้าเอาเสาไฟฟ้าออกไปแล้ว สายสื่อสารที่พาดอยู่นี้ ก็จะไม่มีที่อยู่  ซึ่งเมื่อพูดถึงสายสื่อสาร ก็ต้องพูดถึงองค์กร ที่มีหน้าที่ดูแล การสื้อสารเหล่านี้ ก็คือ  กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

ดังนั้นเมื่อเร็วๆนี้ ทุกหน่วยงานที่กล่าวมาจึงได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลง (MOU) การร่วมมือการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าและสายสื่อสารโทรคมนาคม แบบสายอากาศเป็นสายใต้ดินครับ  เพื่อเร่งรัดโครงการ สายไฟฟ้าลงใต้ดินทั้งหมด 127.3 กิโลเมตร ในกรุงเทพมหานคร ระยะแรกที่แต่เดิมเป็นโครงการสิบปี ให้ทำเสร็จภายใน ห้าปีให้ได้ ครับ ซึ่งปัจจุบันก็ได้ผู้ดำเนินการในช่วง โครงการนนทรี  ระยะทาง 8.3 กิโลเมตรไปแล้วครับ

ส่วนข้อเสียของการนำสายไฟฟ้า ลงใต้ดิน หลักๆ เลยก็คือราคาครับ ที่แพงกว่าการใช้สายในอากาศถึงสิบเท่าตัว   รวมถึงการใช้ระยะเวลาก่อสร้าง ก็ยาวนานกว่าด้วย  และในช่วงการดำเนินงานนั้น อาจมีการกระทบกระเทือนการจราจร ในช่วงที่ดำเนินการอย่างแน่นอน แต่หลังจาก เสร็จงานไปแล้ว ก็จะได้ถนนที่สวยงาม และความมั่นคง ปลอดภัย ทางการใช้ไฟฟ้าเมื่อดำเนินการเสร็จแล้วครับ

สายไฟฟ้าและสายสื่อสารลงดิน

การบริหารโครงการกับงานวิศวกรรมควบคุม


โดยสภาพ หรือสถานะของข้อบังคับฉบับนี้ มีสถานะเป็นกฏหมาย เพราะเป็นข้อบังคับที่ออกโดยอาศัยอำนาจที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติวิศวกรเป็นอำนาจในการออกข้อบังคับนั่นเอง

เนื่องจากมีผลบังคับเป็นกฎหมาย และมีผลกระทบต่อคนส่วนใหญ่จึงต้องประกาศลงในหนังสือราชกิจจานุเบกษา ไม่เหมือนกับระเบียบปฏิบัติของสภาวิศวกร ซึ่งใช้เฉพาะในองค์กรของตนเท่านั้น พระราชบัญญัติวิศวกรนี้ เป็นกฏหมายที่ใกล้ตัวของวิศวกรมากที่สุด จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่วิศวกรที่ยังปฏิบัติงานวิศวกรรมอยู่ควรทราบ และติดตามศึกษาให้ทันสมัยอยู่เสมอ

อีกประการหนึ่งผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ควรศึกษากฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดสาขาวิชาชีพวิศวกรรม และวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม พ.ศ. 2550 เพื่อให้เข้าใจว่างานวิศวกรรมนั้นมี 2 ระดับ คือ ระดับงานวิศวกรรมควบคุม และระดับงานวิศวกรรมไม่ควบคุม ซึ่งงานวิศวกรรมควบคุมนั้น ยังสามารถแจกแจงได้เป็น 3 เรื่อง ได้แก่ งานที่ควบคุมประเภทของงานที่ควบคุม และขนาดของงานที่ควบคุม ซึ่งทั้งหมดนี้ได้มีรายละเอียดระบุอยู่ในกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวแล้ว

อย่างไรก็ตาม ผมขอย้ำให้เข้าใจชัดเจนกันอีกครั้งว่า งานวิศวกรรมนั้นประกอบด้วย

1. งานให้คำปรึกษา
2. งานวางโครงการ
3. งานออกแบบคำนวณ
4. งานควบคุมการก่อสร้าง หรือการผลิต
5. งานพิจารณาตรวจสอบ และ
6. งานอำนวยการใช้

สรุปว่า ท่านที่ทำงานวิศวกรรมควบคุมและขอเลื่อนระดับต้องทำความเข้าใจ และเขียนผลงานแสดงลักษณะของงาน หรืองานที่ตนปฏบัติให้ถูกต้อง ในช่องตารางผลงานที่ให้กรอก ซึ่งโดยทั่วๆ ไป ยังมีผู้กรอกข้อความผิดอยู่เสมอๆ ครับ





บทความโดย: คุณประสงค์ ธาราไชย อดีตนายก วสท. 

การใช้ถังดับเพลิง


จากตอนที่แล้ว เราเข้าใจกันถึงเรื่อง การเลือกใช้ถังดับเพลิงให้เหมาะสมกับชนิดของพื้นที่ที่มันควรจะไปวางอยู่ไปแล้วครับ ( http://changmuns.blogspot.com/2016/07/blog-post.html)  ตอนนี้เราก็มาพูดกันต่อถึง ขั้นตอนการใช้ถังดับเพลิงที่ถูกต้องครับ

ดังนี้คือ  จำง่ายๆ ว่า ดึง ปลด กด ส่าย ครับ  สี่ขั้นตอน

วิธีฉีด ก็ตามรูปครับ คือ ดึง ปลด กด ส่าย

การดึง เน้นว่า ให้จับที่หัวฉีดไว้ คือดึงหัวฉีดครับ ไม่ใช่ดึง สลัก  เพราะว่า ต้องจับตรงนี้ไว้ก่อน เพื่อ สารเคมีมันออกมา จะได้ ควบคุมได้

การปลด  คือ การปลดสลักนริภัย ที่หัวถังดับเพลิง เพื่อให้ สามารถฉีดสารเคมีได้

การกด ก็คือ การบีบปั้ม นั่นแหละครับ ให้สารเคมีพ่นออกมา

การส่าย ก็คือ การฉีดสารเคมีครับ ให้เข้าใกล้ไฟประมาณ 2-4 เมตร อยู่เหนือลม และฉีดที่ฐานไฟ  ดูว่าเหนือลมทางไหน ก็ดูว่า หัวไฟ หันไปทางไหน เราก็มาตรงข้ามกับหัวไฟครับ ทางนั้นคือ เหนือลม

สำหรับถังดับเพลิงที่มีอยู่แล้ว ถ้าเป็นประเภทใช้สารเคมีแห้งก็ควรตรวจสอบว่ายังใช้งานได้อยู่หรือเปล่า เพราะว่า บางทีมันเก่าเก็บแล้วครับ  โดยให้เอามากลับหัวดู  ถ้ารู้สึกว่า มันไหลๆ เหมือนของไหล แสดงว่าใช้ได้  แต่ถ้ามัน หล่นมา ตุ๊บๆ แบบของแข็ง แสดงว่ามันแข็งแล้ว เริ่มเสื่อมสภาพ

และถังดับเพลิงประเภทสารเคมีแห้ง เมื่อฉีดไปแล้ว ไม่สามารถเก็บไว้ฉีดได้อีกนะครับ ต้องเอาไปให้ที่ร้านเขาบรรจุให้ใหม่ครับ

วิธีใช้ถังดับเพลิง

รอยร้าวในเสา เกิดจากอะไร อันตรายไหม


ข่าวดังที่ส่งต่อกันทาง social network ถึงโครงสร้างของเสาของห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง ที่ดูจะเป็นอันตรายมากครับ  ทำให้ย้อนมานึกถึงเสาของบ้านเรือนของเราเอง ว่าถ้าเห็นรอยร้าวแบบไหนถึงควรจะต้องระมัดระวังในอันตราย  รอยร้าวในเสา รอยแบบไหน เกิดจากสาเหตุอะไร บทความนี้จะพูดถึงเรื่องเหล่านี้ที่เกิดกับเสาที่เป็นโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กภายในบ้านครับ

เสา มีหน้าที่หลักคือรับแรงในแนวดิ่ง และก็บางทีก็ถูกแรงด้านข้างกระทำด้วยครับ  ดังนั้นรอยร้าวที่พบก็จะมีรอยร้าวที่เกิดจากภายในของตัวเสาเอง  หรือรอยร้าวที่เกิดจากการที่เสานั้นโดนแรงภายนอกมาประทำครับ

โดยทั่วๆ ไปรอยร้าวที่จะเกิดขึ้น มีดังนี้ครับ เรียงจากความอันตรายน้อยสุดไปถึง อันตรายต่อโครงสร้างมากที่สุดครับ

รอยร้าวที่พบในเสา แบบแรก คือรอยร้าว แบบปูนแตกลายงา  รอยร้าวแบบนี้อาจเกิดจากการยืดหดตัวของคอนกรีต ทำให้เกิดรอยแตกร้าวที่ผิว  แต่ปล่อยรอยร้าวไว้ก็ไม่ดี เพราะว่าอากาศและความชื้นจะเข้าภายในได้ ทำให้เหล็กเสริมที่อยู่ภายในเป็นสนิม ดังนั้นควรปิดรอยร้าวครับ  ด้วยวัสดุประเภท Acrylic  หรือ Polyurethane  เพื่อให้รอยที่ปิดมีความยืดหยุ่นพอควร  หรือจะเลือกใช้วัสดุประเภท epoxy ก็ได้ แต่ไม่เหมาะกับรอยร้าวเล็กๆ และถ้าต้องทาสีทับจะทาสีไม่ติด

รอยร้าวที่พบในเสา แบบต่อมา คือรอยร้าว แบบเป็นรอยร้าว ตรงๆ ลงมาที่ขอบของเสา  รอยร้าวแบบนี้ มักพบทั้งหัวเสา และโคนเสา ซึ่งอาจร้าวจนคอนกรีตกระเทาะออกมา เมื่อเอาคอนกรีตออกมาแล้วดูเหล็กเสริมข้างใน ก็จะเห็นว่า เหล็กนั้นเป็นสนิมครับ  รอยร้าวแบบนี้ ต้องแก้ไขโดยขัดสนิมเหล็กออกก่อน แล้วทาเหล็กด้วยวัสดุกันสนิม แล้วจึงปิดรอยแตกด้วย mortar  บางครั้งถ้าเหล็กเสริมเสียหายมาก อาจต้องมีการนำเหล็กเสริมใหม่เข้าไปติดตั้งแทนครับ  หรือถ้าเสียหายมากกว่านั้น อาจเสริมกำลังเสาโดยใช้วัสดุหุ้มที่ด้านนอกเสาอีกที  ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องให้วิศวกร มาช่วยคำนวณดูครับ

รอยร้าวที่พบในเสาแบบที่สาม ก็คือ รอยร้าว ที่แตกตามนอน เกิดด้านเดียว ของเสา รอยร้าวแบบนี้เกิดจากการที่เสาโดนแรงดัด ซึ่งโดยมากเกิดจากการที่ฐานรากของเสาด้านที่อยู่ตรงข้ามกับรอยร้าวนั้น มีการทรุดตัว   ดังนั้นการแก้ไขรอยร้าวแบบนี้แก้ไขที่เสาอย่างเดียวไม่เพียงพอ ต้องไปดูฐานรากที่เสาด้านตรงข้ามของมันด้วยว่ามีการทรุดตัวหรือเปล่า  เพราะถ้าไม่แก้ไขการทรุดตัวของฐานราก ก็จะแก้รอยร้าวไม่หายครับ

รอยร้าวที่พบในเสา แบบที่สี่ ก็คือ รอยร้าวที่เกิดขึ้นเฉียงๆ ที่หัวเสา รอยร้าวแบบนี้ พบเห็นได้น้อยสำหรับบ้านเรือน อาจพบได้ในกรณีที่มีแผ่นดินไหวครับ  เพราะรอยแบบนี้เกิดจากแรงทั้งในแนวดิ่งและแรงด้านข้างมากระทำต่อเสาครับ   รอยร้าวแบบนี้อันตรายและไม่สามารถใช้งานโครงสร้างนั้นได้อีกจนกว่าจะได้รับการแก้ไขครับ

คร่าวๆสำหรับรอยร้าวที่เกิดขึ้นในเสาครับ ถ้ามีปัญหาเกี่ยวกับโครงสร้างปรึกษาวิศวกรที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องนี้มาช่วยดูเพื่อความปลอดภัยครับ

ลักษณะรอยร้าวในเสา

การเลือกใช้ ชนิดของถังดับเพลิงให้เหมาะกับ ชีวิต และทรัพย์สิน ที่อยากจะปกป้อง


โจรปล้นบ้านสิบครั้ง ไม่เท่ากับไฟไหม้ครั้งเดียว สำนวนนี้มีความหมายชัดเจนอยู่แล้ว ไฟไหม้นั้นนอกจากจะทำลายทรัพย์สินไปแล้ว ยังสามารถทำลายชีวิตของผู้อาศัยในบ้านได้อีกด้วย  ดังนั้นความรู้เรื่องการปกป้องตัวเองจากอัคคีภัย จึงเป็นความรู้เบื้องต้นที่ ประชาชนทุกคนควรเรียนรู้ไว้เพื่อปกป้องชีวิต และทรัพย์สินของตนเองครับ

สำหรับความรู้เกี่ยวรู้เกี่ยวกับอัคคีภัยนั้น อันที่จริงถ้าจะอธิบายกันอย่างละเอียด ก็ต้องเริ่มจากความสำนึกถึงความสำคัญของภัยจากอัคคีภัย เพื่อจะนำไปสู่การเตรียมตัวรับภัยนั้นด้วยการทำแผนรับมือ และจากแผนรับมือนั้น ก็จะนำไปสู่เรื่องของการซื้อเครื่องมืออุปกรณ์ ครับ

บทความนี้ก็จะพยายามอธิบายถึงเครื่องดับเพลิงชนิดต่างๆ พอสังเขปครับ  เพื่อที่ท่านผู้อ่านพอที่จะทราบถึง การเลือกซื้อถังดับเพลิง ที่ถูกต้อง กับสถานที่ ที่มันจะถูกนำไปวางหรือแขวนอยู่ครับ

ในการจะเกิดไฟไหม้ขึ้นได้นั้น ต้องประกอบด้วยองค์ประกอบสามอย่าง ก็คือ  อากาศ ( ก๊าซออกซิเจน)  เชื้อเพลิง  และ  ความร้อนครับ ดังนั้นหลักในการจะดับไฟได้ ก็ต้องกำจัด องค์ประกอบของไฟออกไป ซึ่ง การใช้ถังดับเพลิงก็จะลดองค์ประกอบเหล่านี้ คือลดอากาศ และบางชนิดก็ลดความร้อนด้วย

ซึ่งถังดับเพลิงในบ้านเราที่ใช้กันอยู่นั้น ก็มีหลายประเภท  แต่ละประเภทก็มีสารที่ใช้ดับเพลิงต่างๆกันไป จึงเหมาะกับพื้นที่ต่างๆ และชนิดของเพลิงที่ต่างๆ กันครับ โดยมาตรฐานสากลกำหนด ไว้เป็นห้าประเภท คือ เพลิงชนิด  A B C D และ K

เพลิงประเภท A ได้แก่เพลิงที่เป็นการลุกไหม้ของวัสดุที่เป็นเชื้อเพลิง ทั่วๆ ไป  เช่นการไหม้ของขยะ ไม้ หญ้งแห้ง เป็นต้น

เพลิงประเภท B ได้แก่เพลิงที่เป็นการลุกไหม้ของ ของเหลว และก๊าซที่ติดไฟทุกชนิด เช่นการไหม้ ของน้ำมัน ทินเนอร์ ยางมะตอย ก๊าซติดไฟ เป็นต้น

เพลิงประเภท C ได้แก่เพลิงที่เป็นการลุกไหม้ของ วัสดุด้านไฟฟ้า เช่น สายไฟ ปลั๊ก เป็นต้น

เพลิงประเภท D ได้แก่เพลิงที่เป็นการลุกไหม้ของ สารเคมี หรือ โลหะบางชนิดที่ติดไฟได้  เช่น แอมโมเนียมไนเตรต แมกนีเซียม ซึ่งสารเคมี หรือโลหะ เหล่านี้บางประเภทสามารถทำปฎิกิริยากับ น้ำ หรือสารเคมี ถึงขั้นระเบิดได้ จึงต้องใช้สารเฉพาะในการดับเพลิงประเภทนี้

เพลิงประเภท K  ได้แก่เพลิงที่เป็นการลุกไหม้ของ น้ำมันที่ติดไฟยาก เช่นน้ำมันที่ใช้ประกอบอาหาร

ซึ่งที่ข้างถังดับเพลิง ก็จะมีตัวอักษร อยู่ข้างถังแสดงถึงชนิดของ เชื้อเพลิงที่ถังดับเพลิงนั้นๆ สามารถดับได้ ไว้ครับ

ประเภทของเพลิง
แต่ยังก่อน ก่อนจะไปพูดถุึงชนิดของถังดับเพลิงชนิดต่างๆ ยังมีอีกเรื่องที่ควรทราบ ได้แก่ ตัวเลขแสดง fire rating ที่ อยู่ข้างถังด้วยครับ  ซึ่งถ้าเป็นเครื่องดับเพลิงในบ้านเรือนก็ไม่มีกฎหมายกำหนดไว้ว่าต้องใช้ fire rating ประมาณไหน แต่ ถ้าเป็นของที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมหรือสถานที่ที่เสี่ยงอัคคีภัยร้ายแรง ก็จะมีการกำหนด fire rating ที่มีค่าสูงเอาไว้ครับ  ทั้งนี้ หมายถึงความสามารถในการดับไฟของสารเคมี ที่บรรจุอยู่ในถังดับเพลิงนั้น ว่ามีประสิทธิภาพสูงแค่ไหนนั่นเอง ซึ่งตัวเลขที่มากกว่าของค่า fire rating นั้นก็หมายถึงประสิทธิภาพ และราคาที่สูงกว่า เช่นกันครับ

ถึงเรื่องของ ประเภทของถังดับเพลิงกันเสียที จริงๆ แล้วที่ต่างกัน ก็คือสารที่อยู่ภายในถังนั่นเองครับ ว่าใช้สารประเภทไหน  ถังดับเพลิงที่เราควรรู้จัก ก็มีดังนี้คือ

ประเภทแรกเลย เป็นประเภทที่ใช้กันทั่วไปที่สุดตอนนี้ คือประเภทผงเคมีแห้ง ( Dry Chemical)  ซึ่งสารเคมีนี้ สามารถดับเพลิงประเภทได้ทั้ง ประเภท A B และ C  ข้อดีคือใช้ได้ทั่วๆไป ราคาถูก ส่วนข้อเสียคือ ถ้าใช้แล้วสารจะฟุ้งกระจาย ทำให้พื้นที่บริเวณนั้น สกปรก  ข้อควรทราบคือ ถังดับเพลิงนี้ฉีดได้แค่ครั้งเดียว เมื่อฉีดแล้วจะเก็บไว้ฉีดต่อไม่ได้อีก ต้องนำส่งบรรจุสารใหม่

ประเภทที่สอง คือ ประเภทคาร์บอนไดออกไซด์ ตัวถังอาจมีสีแดงๆ เหมือนกับถังประเภทแรก แต่จุดสังเกตุจากรูปลักษณ์ภายนอกของมันคือที่หัวฉีด จะเป็นปลายกระบอกใหญ่ๆ  เมื่อฉีดออกมา จะเป็นก๊าซที่เย็นจัด คล้ายน้ำแข็งแห้ง ทำให้ลดความร้อนได้ ข้อดีคือฉีดออกมาแล้วไม่ทิ้งคราบสกปรก เหมาะกับการดับเพลิงประเภท B และ C

ประเภทที่สาม คือ ประเภทสูตรน้ำ Water Chemical  ใช้น้ำยาดับเพลิงที่เรียกว่า ABFFC  สามารถใช้ดับเพลิงได้ทุกประเภท ตั้งแต่ A B C D และ K จึงเหมาะกับการซื้อไว้ตั้งวางในครัว เพราะราคาสูงกว่า แบบผงเคมีแห้ง และสามารถดับเพลิงที่เกิดจากน้ำมันได้ ด้วย

ประเภทที่สี่ คือ ประเภทน้ำสะสมแรงดัน  เรียกว่า Water gas หรือ Water pressure ประเภทนี้ใช้ดับเพลิง แบบ Class A ได้ดี เหมาะกับวางไว้ในห้องที่มีเชื้อเพลิงประเภทกระดาษ โรงงานเสื้อผ้า  เป็นต้น

ประเภทที่ห้า คือ ประเภทของเหลวระเหย หรือเรียกว่า สาร Halotron สามารถดับเพลิงประเภท A B C  ข้อดีคือฉีดแล้วไม่ทิ้งคราบสกปรก  แต่มีราคาค่อนข้างสูง เหมาะกับใช้รักษาทรัพย์สินในห้อง clean room หรือ ห้อง server หรือห้องอะไรที่มีทรัพย์สินราคาสูง ติดตั้งอยู่ เนื่องจากเมื่อฉีดไปแล้ว ทรัพย์สินไม่ถูกทำลายไปด้วย

ประเภทที่หก คือ ประเภทโฟม สามารถดับเพลิงประเภท A กับ B  เมื่อฉีดมามีคุณสมบัติพิเศษ เกิดเป็นฟิมล์ ทำให้เชื้อเพลิงไม่ลุกติดขึ้นมาอีก จึงเหมาะมากในการใช้ดับเพลิงประเภท B  และเหมาะใช้นำไปวางในห้องที่มีการเก็บเชื้อเพลิงประเภท ทินเนอร์  น้ำมัน ยางมะตอย เป็นต้น


ถังดับเพลิงที่ใช้ทั่วไป


และเมื่อมีอุปกรณ์แล้ว ก็ต้องฝึกซ้อมแผน ฝึกใช้อุปกรณ์ และหมั่นตรวจตราอุปกรณ์ว่ายังใช้ได้อยู่หรือไม่ด้วยครับ

เลือกใช้ถังดับเพลิง ให้เหมาะกับทรัพย์สินที่มันปกป้องด้วยนะครับ  ถ้าเลือกใช้ผิด ถึงดับเพลิงได้ ทรัพย์สินก็ยังเสียหายอยู่ดี แล้วจะมีประโยชน์อันใดครับ

ตัวอย่างสลากบนถังดับเพลิง


ความปลอดภัย ของไฟฟ้าภายในบ้าน ตอนที่ 1


เชื่อหรือไม่ครับ ว่า ปัญหาไฟไหม้ส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นนั้นมักเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร คือผมก็คิดว่าทุกท่านคงเชื่อกันอยู่แล้วละ เพราะเห็นว่าเกิดเพลิงไหม้ทีไร ก็สันนิฐานว่าเป็นไฟฟ้าลัดวงจรกันไว้ก่อนทุกที  แต่ว่าที่เรียกกันว่าไฟฟ้าลัดวงจรนั้น มันเกิดจากอะไร ตรงไหนละครับที่ลัดวงจร  ไฟฟ้าลัดวงจรนั้น เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่นสายไฟที่เก่า ฉนวนชำรุด เกิดการลัดวงจร  หรือการใช้พลังงานไฟฟ้าที่เกินกว่าที่สายไฟฟ้าจะรับได้ จนเกิดความร้อนสะสมฉนวนหุ้มสายไฟชำรุด เกิดการลัดวงจรทำให้เกิดลุกไหม้ขึ้นมา

จริงๆแล้ว ปัญหาของไฟไหม้บ้านพักอาศัยนั้น สามารถลดลงไปได้อย่างมาก ด้วยการเรียนรู้เรื่องการใช้ปลั๊กไฟ หมายถึง เต้าเสียบ และเต้ารับ ของปลั๊กไฟ และรวมถึงความรู้เรื่องการใช้สายพ่วง ด้วยครับ

เริ่มจากความรู้เรื่องเต้ารับ เต้าเสียบกันก่อนครับ  สำหรับท่านที่เคยเดินทางไปต่างประเทศ หรือได้ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มาจากต่างประเทศ คงพอจะทราบแล้ว ว่าเต้าเสียบ เต้ารับนั้น มีรุปแบบที่ต่างๆกัน ไปตามแต่ละประเทศ  และก็อาจจะทราบอีกด้วยว่า แรงดันไฟฟ้าที่ใช้อยู่นั้นก็ต่างกันไปในแต่ละประเทศ เราจึงต้องใช้  "หัวแปลงปลั๊กไฟ (Universal Adapter)" มาใช้เพื่อที่ให้เต้ารับ กับเต้าเสียบนั้นเสียบเข้ากันได้  รวมถึงถ้าแรงดันไฟฟ้าไม่เท่ากัน ก็จะต้องมี หม้อแปลงไฟเพื่อเพิ่มหรือลดแรงดันไฟฟ้าให้สามารถใช้งานได้ และเครื่องใช้ไฟฟ้าไม่เสียหาย

ซึ่งหัวเสียบของปลั๊กที่ใช้กันในโลกนี้ ก็มีขากลม ขาแบน  ขาสี่เหลี่ยม ส่วนจะเป็นสองขา สามขา หรือเรียงกันยังไง ก็แล้ว แต่ประเทศนั้นจะใช้   ทีนี้เนื่องจากประเทศไทยของเรามีการนำของประเทศอื่น เข้ามาใช้หลายประเทศ ก็เลยมีหัวเสียบที่เป็นทั้งหัวกลมและหัวแบน  ปลั๊กของบ้านเราก็เลยเป็นหัวแบบ universal คือ สามารถเสียบได้ทั้งกลมและทั้งแบนครับ

ประเภทของเต้ารับ และเต้าเสียบ


ถ้าเป็นปลั๊กในบ้านเรานั้น ก็จะมีแบบที่เป็นทั้งสองขา และก็สามขา  ถ้าเป็นปลั๊กสองขา คือยังไงก็จะไม่มีสายดิน  ส่วนที่เป็นสามขา ก็อาจมีหรือไม่มีสายดินครับ  แล้วสายดินเอาไว้ทำอะไร  คำตอบก็คือ ปกติกระแสไฟฟ้าจะวิ่งอยู่ใน โลกของไฟฟ้าเท่านั้น คือไม่วิ่งออกมาข้างนอก  แต่หากเกิดเหตุการณ์ที่ไฟฟ้าหลุดออกมาจากโลกของไฟฟ้าคือ เกิดที่เราเรียกว่าไฟรั่ว น่ะครับ  ไฟฟ้าถ้ารั่วออกมาข้างนอก ก็จะพยายามหาทางกลับสู่โลกของไฟฟ้า โดยผ่านทางตัวนำสักตัวหนึ่ง ซึ่งตัวนำนั้น ก็อาจเป็นการผ่านทางร่างกายของคนที่อยู่บริเวณนั้นนั่นเองครับ  ซึ่งถ้าเป็นแบบนั้นก็จะมีอันตรายถึงชีวิต  เราสามารถป้องกันไม่ให้เหตุการณ์เช่นนั้นเกิดขึ้นได้โดยการ ติดตั้งสายดินเข้าในระบบไฟฟ้าของบ้านของเราครับ   เมื่อเราติดตั้งสายดิน  หากเกิดไฟฟ้ารั่ว กระแสไฟฟ้าก็จะไหลผ่านสายดินเข้าสู่ตู้เมนสวิตซ์ ที่บ้านของเรา และตัว ตัดไฟ (Breaker) ก็จะทำการตัดไฟฟ้าในบ้านของเราได้ทันท่วงทีครับ

จะรู้ได้อย่างไร ว่า บ้านของเรามีสายดินอยู่หรือไม่  สังเกตง่ายๆ ครับ

ข้อแรก คือถ้า เต้ารับที่ปลั๊กไฟของบ้านเรามีแค่สองรู ก็รู้ได้เลยว่า ไม่มีสายดินแน่นอนครับ  ปลั๊กที่จะมีสายดินต้องมีสามรู

ข้อสอง ถ้ามีสามรูแล้ว ก็ยังไม่แน่ใจว่ามีสายดินหรือเปล่า ให้ไปซื้อ อุปกรณ์ตรวจสอบมาได้เลยครับ เรียกว่าเครื่องตรวจสอบขั้วเต้ารับชนิดมีสายดิน (Easy Check Outlet) ของการไฟฟ้า เขามีขาย อันละไม่กี่ร้อยบาท ลองเสียบดูที่เต้าเสียบของเรา ก็จะรู้ได้ว่า มีสายดินหรือไม่มีครับ


Easy check outlet

ถ้าไม่มีสายดิน ก็จะได้เรียกวิศวกรไฟฟ้ามาช่วยดู มาออกแบบแก้ไขต่อไป เพื่อความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินนะครับ

ข้อควรปฎิบัติ หลังเกิดแผ่นดินไหว


เรื่องที่ไม่เคยเกิด ไม่ใช่ว่าจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ตอนที่แล้วเราได้เขียนถึงข้อควรปฎิบัติ ขณะเกิดแผ่นดินไหวกันแล้ว  ย้ำครับว่าเรากำลังพูดกันถึงภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย แต่ผมก็ยังคิดว่าเป็นเรื่องที่ประเทศของเราควรมีการเรียนการสอน และการฝึกซ้อมกันเรื่องเหล่านี้ด้วย

1. เมื่อแผ่นดินไหวเบาลง และหยุดแล้ว เรายังคงจะต้องระวังถึงเรื่องไฟไหม้ที่เกิดจากสาธารณูปโภคภายในบ้านในอาคาร รวมถึงภายนอกที่เสียหายด้วยครับ  จะออกสำรวจใส่รองเท้าด้วยนะครับ

2. ถ้าเราอยู่ในบ้านสิ่งที่ควรทำทันทีหลังจากที่แผ่นดินไหวสงบแล้วก็คือ ตัดสาธารณูปโภคในบ้านเราก่อนครับ  ตัดไฟฟ้าในบ้านด้วยการปิดที่ตู้ main ไฟฟ้า ตัดแก๊ซ ตัดน้ำ

3. หากอยู่ในอาคาร ให้ออกจากอาคาร  และการเคลื่อนที่ออกจากอาคารให้ใช้บันได ไม่ใช้ลิฟท์ เพราะลิฟท์อาจเสียหาย รวมถึงแผ่นดินไหวอาจยังมี aftershock ได้อีก

4. ถ้าไม่จำเป็นอย่าใช้รถยนต์โดยไม่มีความจำเป็น ให้ถนนเป็นที่สำหรับรถฉุกเฉินของเจ้าหน้าที่

5. อาจเกิดไฟไหม้หลังแผ่นดินไหวได้ ถ้าพบเห็นไฟไหม้ พยายามดับไฟก่อนที่จะลุกลามครับ  และถ้าต้องการจะใช้แสงสว่าง ให้ใช้ไฟฉาย ไม่ใช้ไม้ขีดหรือไฟแช๊ค เพราะไม่แน่อาจมีแก๊ซที่รั่วอยู่ก็เป็นไปได้นะครับ

6. อย่าเข้าไปในอาคารที่เสียหาย เพราะมันอาจพังลงมาได้

7. ถ้าพบคนเจ็บ อย่าเพิ่งเคลื่อนย้ายเขา เพราะอาจทำให้เขาเจ็บหนักขึ้น ยกเว้นในกรณีที่คนเจ็บคนนั้นอยู่ในบริเวณที่อาจเกิดความเสียหายขึ้นอีกถึงจะมีความจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายเขาก่อนครับ

8. เตรียมน้ำสะอาดไว้ดื่มครับ หลายครั้งที่หลังเกิดแผ่นดินไหว น้ำดื่มสะอาดเป็นของที่หายาก

9. ฟังข่าวสารจากทางการ ว่าให้ปฎิบัติต่อไปอย่างไรครับ และอย่าเป็นคนแพร่ข่าวลือซะเองนะครับ

ข้อควรปฎิบัติหลังเกิดแผ่นิดินไหว


ทำไมไม่ควรใช้พื้นสำเร็จในบริเวณห้องน้ำ


ปัจจุบันการใช้พื้นสำเร็จแบบแผ่นกระดานเรียบ หรือ ที่ชาวบ้านเรียกกันว่าพื้นสำเร็จมแพล้งค์ (Plank) เนื่องจากพื้นดังกล่าวมีราคาไม่แพง ติดตั้งได้ง่าย ทำให้ไม่ต้องมีการตั้งไม้แบบท้องพื้น และมีขายตามร้านค้า วัสดุทั่วไปและเป็นที่ยอมรับของเจ้าของอาคารโดยทั่วไป

แผ่นพื้นสำเร็จแบบแผ่นกระดานเรียบ เป็นพื้นคอนกรีตอัดแรงหล่อสำเร็จ ความกว้าง 30 - 35 เซนติเมตร ความยาวตามระยะของคาน ซึ่งจะต้องการสั่งผลิต แต่ไม่เกิน 4.00เมตร เมื่อติดตั้งแล้วต้องมีการเสริมเหล็กและเทคอนกรีตทับหน้า 4-6 เซนติเมตร โดยทั่วไปพื้นชนิดนี้เหมาะสำหรับอาคารประเภทพักอาศัยไม่เหมาะสำหรับอาคารที่รับน้ำหนักมากๆ เช่น โรงงาน หรือโกดังเก็บของ ยกเว้นมีการออกแบบกรณีพิเศษ

เมื่อการใช้พื้นสำเร็จมีราคาถูก และทำงานง่าย ดังนั้น ผู้รับเหมาโดยทั่วไปจึงพยายามใช้พื้นชนิดนี้ให้มากที่สุด แม้แต่พื้นบริเวณที่ไม่ควรใช้ เช่น บริเวณห้องน้ำ หรือดาดฟ้า เนื่องจากพื้นสำเร็จชนิดนี้มีรอยต่อเป็นจำนวนมาก เช่นรอยต่อระหว่างพื้นกับคาน ทำให้น้ำมีโอกาสที่จะรั่วซึมทะลุจากพื้นด้านบนได้ค่อนข้างง่าย การแก้ไขปัญหาการรั่วซึมดังกล่าวทำได้ยากมากและเสียค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง

ผู้รับเหมาที่จะใช้พื้นสำเร็จในบริเวณห้องน้ำหรือดาดฟ้า มักจะเสนอวิธีผสมน้ำยากันซึมที่ผิวหน้าเพื่อป้องกันน้ำรั่ว การก่อสร้างด้วยวิธีนี้จะใช้ได้ผลในช่วงแรก แต่จะมีปัญหาในอนาคต เนื่องจากพื้นสำเร็จเมื่อมีการใช้งาน พื้นอาจจะขยับตัวจนน้ำรั่ว ส่วนวัสดุกันซึมมีราคาค่อนข้างแพงและมีอายุการใช้งานสั้น ดังนั้นพื้นที่ดังกล่าว การเทคอนกรีตเสริมเหล็กกับที่ป้องกันน้ำรั่วได้ดีกว่า


วิธีแก้ปัญหา น้ำรั่วจากการใช้พื่นสำเร็จ ที่ดาดฟ้า และห้องน้ำ


สำหรับกรณีที่มีการใช้พื้นสำเร็จในห้องน้ำแล้วพบปัญหาน้ำรั่ว การแก้ไขปัญหาดังกล่าวมีข้อแนะนำดังนี้

1.ให้รื้อกระเบื้องพื้นออกทั้งหมด แล้วให้ทาวัสดุกันซึมที่พื้นใหม่ทั้งหมด โดยเฉพาะบริเวณรอยต่อของท่อที่วางทะลุพื้น
2. ปรับปรุงพื้นที่การใช้งานใหม่ โดยแยกส่วนแห้ง และส่วนเปียกออกจากกัน โดยในส่วนเปียกให้ใช้ถาดอาบน้ำ (ซึ่งมีขายตามร้านสุขภัณฑ์) เพื่อป้องกันน้ำไม่ให้ซึมผ่านที่พื้น การใช้งานในพื้นที่ส่วนแห้ง พยายามหลีกเลี่ยงการเทน้ำโดยตรงกับพื้น ใช้วิธีเช็ดทำความสะอาดแทน

สำหรับกรณีที่ใช้พื้นสำเร็จก่อสร้าง หรือพื้นชั้นดาดฟ้า แล้วพบปัญหาน้ำรั่ว มีข้อแนะนำดังนี้

1.อย่าเทคอนกรีต หรือปูกระเบื้องทับ เป็นการเพิ่มน้ำหนักกับพื้น ทำให้เพิ่มรอยรั่ว ปัญหาจะเพิ่มขึ้น
2. แนะนำให้ทา หรือ ปูด้วยวัสดุกันซึมที่มีความยืดหยุ่น เพื่อป้องกันปัญหาน้ำรั่ว แต่วัสดุดังกล่าวมีอายุการใช้งาน ดังนั้นจึงต้องมีการตรวจสอบเป็นระยะ
3. ตรวจสอบและแก้ไขรางระบายน้ำ, ท่อระบายน้ำให้ระบายน้ำให้เร็วที่สุด อย่าให้เกิดปัญหาน้ำท่วมขัง

ขอขอบคุณบทความจาก: คุณสมจิตร์ เปี่ยมเปรมสุข ประธานคณะกรรมการคลีนิคช่าง

บ้านเย็น เบอร์ห้า


อากาศบ้านเราร้อนขึ้นทุกวันๆ ตัวบ้านที่เราอาศัยอยู่นั้นก็ร้อนขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นการปรับบ้านให้เย็นก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกไม่ว่าจะเป็นบ้านที่เพิ่งสร้างใหม่ หรือบ้านเดิมที่อาศัยกันอยู่แล้ว วันนี้ช่างมันส์เราจะมาแชร์วิธีปรับบ้านเราให้เย็นโดยไม่ต้องใช้พลังงานกันครับ

ปัจจัยในการทำให้บ้านเย็นขึ้นนั้นอันดับแรก

การเลือกทำเลที่ตั้ง ถ้าเป็นบ้านปลูกใหม่ที่เราสามารถเลือกทำเลได้เองนั้น บ้านไม่ควรหันหน้าไปทางทิศตะวันตก เพราะจะรับความร้อนโดยตรงในยามบ่าย  สังเกตุทิศทางของลมที่เข้าบ้านและเปิดหน้าต่างด้านที่รับลม และไม่ควรวางเฟอร์นิเจอร์ขวางทิศทางลม  อย่างในประเทศไทยลมมาทางทิศเหนือและทิศใต้ บ้านก็ควรมีช่องเปิดสองทางนี้มากเข้าไว้


หลังคาและฉนวนกันความร้อน  รูปทรงของหลังคามีผลกับการระบายความร้อน อย่างในประเทศไทย หลังคาควรเป็นทรงสูง  ส่วนวัสดุที่ใช้ทำหลังคาเองก็มีผลต่อความร้อนเช่นกัน เช่นปัจจุบันมีเทคโนโลยี วัสดุที่สามารถสะท้อนยูวีจากแสงอาทิตย์ ทำให้ลดความร้อนสะสมในหลังคาได้อีกด้วย  นอกจากนั้น ในส่วนของใต้หลังคา ก็สามารถใช้ฉนวนกันความร้อนชนิดต่างๆ เสริมเข้าไป เพื่อลดความร้อนที่จะลงมาสู่ตัวบ้านได้อีกชั้นหนึ่ง

ผนังบ้านแนวต้านความร้อน ส่วนผนังบ้านนั้นควรเลือกใช้วัสดุที่ความร้อนไม่เข้าและไม่อมความร้อนซึ่งจริงๆ แล้วกำแพงยิ่งหนาจะยิ่งกันความร้อนได้ดี แต่ก็จะมีต้นทุนสูง ซึ่งในปัจจุบันก็จะมีเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ทำให้บ้านเย็นเช่นการใช้อิฐมวลเบามาทำเป็นผนัง เนื่องจากมีน้ำหนักเบา กันความร้อนจากภายนอกได้ดีกว่าอิฐมอญ แต่ก็จะมีข้อจำกัดในเรื่องของการตอกตะปู, เจาะผนัง

สีทาบ้าน  สีทาบ้านนอกจากจะให้ความสวยงาม และปกป้องวัสดุแล้ว ยังสามารถกันความร้อนได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นระบบสีทาภายในหรือทาภายนอก การทีสีสามารถสะท้อนยูวีไปได้ ก็จะลดความร้อนสะสมในผนังบ้านในเวลากลางวัน และลดความร้อนที่ผนังคายออกมายามกลางคืน

ต้นไม้ร่มเงา  การปลูกต้นไม้ในทิศทางที่มีแสงแดด เป็นพื้นฐานในการลดความร้อนให้กับที่อยู่อาศัยมานาน นอกจากจะบังแสงแดดได้แล้ว ยังให้ความสดชื่นกับผู้อยู่อาศัยอีกด้วยครับ  หากไม่สามารถปลูกต้นไม้ได้ ก็สามารถใช้กันสาด หรือไม้ระแนง ก็สามารถลดความร้อนให้กับบ้านได้เหมือนกันครับ


บ้านเย็นเบอร์ห้า
             
ส่วนบ้านที่เป็นทาวน์เฮ้าส์ หรือบ้านปัจจุบันที่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนอะไรได้มากและมีบ้านหันหน้าไปทางทิศตะวันตกแล้วสามารถทำอะไรเพื่อให้ลดความร้อนลงโดย ทำกำแพงบ้านบ้านให้ทึบหน่อย หรือปลูกต้นไม้เพื่อทำเป็นแผงบังแดด หรือ ติดตั้งกันสาดเพิ่มเติมสำหรับมุมที่รับแดดเต็มๆ เพื่อไม่ให้แดดส่องเข้าบ้านโดยตรงครับ


ข้อควรปฎิบัติขณะเกิดแผ่นดินไหว


แม้ประเทศไทยจะยังไม่เคยประสบภัยธรรมชาติอย่างแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงจนเกิดความเสียหายแก่ชีวิตผู้คนมากๆ  แต่ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นได้เหมือนครั้งหนึ่งที่เราไม่เคยคิดว่าทะเลจะเกิดคลื่นยักษ์มาถล่ม จึงไม่ได้มีการเตรียมตัว  ผมคิดว่ามีความจำเป็นต้องมีการรณรงค์เรื่องนี้ และมีการสอนให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวด้วยครับ

บทความนี้จะเขียนถึงหลักเบื้องต้นในการเอาตัวรอดในขณะที่เกิดเหตุแผ่นดินไหว ว่าควรทำอย่างไร

ข้อแรก ทำจิตใจให้สงบให้มากที่สุด อย่าตื่นตระหนก

ข้อสอง ขณะเกิดแผ่นดินไหว สิ่งที่ควรระวังคือระวังการที่สิ่งของจะตกมาโดนศีรษะ เราจึงควรก้มต่ำ ปกป้องคอและศีรษะ เช่นหลบใต้โต๊ะที่แข็งแรง คนส่วนมากมักจะเข้าใจว่า อันตรายมักเกิดจากอาคารถล่ม แต่ความเป็นจริงแล้ว อาคารส่วนมากจะไม่ถล่ม เพราะอาคารสมัยใหม่มีการออกแบบให้แข็งแรงมากขึ้นจากข้อกำหนดในการออกแบบใหม่ๆ ที่ควบคุมการออกแบบเหล่านั้น

ระวังความเชื่อเกี่ยวกับเรื่อง "สามเหลี่ยมช่วยชีวิต"  จริงๆ แล้ว มันเป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้องนัก การหลบใต้โต๊ะนั้นปลอดภัยกว่า ส่วนการที่จะเคลื่อนที่ในระหว่างที่เกิดแผ่นดินไหวแรงๆ รวมถึง ยากขึ้นไปอีกในการจะรู้ว่าถ้าหากอาคารถล่มลงมา ตรงไหนจะเกิดเป็น "สามเหลี่ยมช่วยชีวิต"


ข้อสาม ถ้าอยู่อย่าอยู่ใกล้กระจก เฟอร์นิเจอร์ ตู้ เพราะกระจกอาจแตกมาโดน และของที่แขวนอาจตกใส่ศีรษะ

ข้อสี่ ถ้าอยู่นอกบ้านให้พยายามห่างจากอาคาร ห่างจากกำแพง ห่างจากสายไฟฟ้า  ถ้าอยู่ในรถก็หยุดรถในที่ปลอดภัย และอยู่ในตัวรถ

ข้อห้า ถ้าหากอยู่ในสถานที่ที่คนเยอะ เช่นในห้องเรียน ในโรงหนัง ให้อยู่กับที่ และทำท่าเหมือนท่าที่ใช้เวลาเครื่องบินจะตก คือเอามือปิดที่คอและศีรษะ เอาศอกชิดกับเข่า จะเป็นท่าที่ปลอดภัยที่สุดครับ

ข้อควรปฎิบัติ ขณะเกิดแผ่นดินไหว


ความรู้เรื่องฐานรากของอาคารบ้านเรือน ในประเทศไทย ตอนที่ 2 ชนิดของเสาเข็ม


จากตอนที่แล้ว เราได้พูดถึง ฐานรากแบบที่มีเสาเข็มและที่ไม่มีเสาเข็มไปแล้ว ตอนนี้เราจะมาพูดถึงฐานรากแบบที่มีเสาเข็มกันครับ  ซึ่งเป็นฐานรากแบบที่ใช้กันมากในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเลย เพราะบริเวณนี้ ดินเป็นดินอ่อน

ฐานรากแบบที่มีเสาเข็มนั้น แบ่งได้เป็นประเภทใหญ่ๆ คือเสาเข็มตอก กับเสาเข็มเจาะ

เสาเข็มตอกนั้นหมายถึงเสาเข็มที่วัสดุทำด้วยอะไรก็ได้  ที่เสาเข็มถูกส่งผ่านเข้าไปในชั้นดินโดยวิธีการตอก จนเสาเข็มจมลงถึงชั้นดินที่รับน้ำหนักได้  ซึ่งในกระบวนการตอกนั้น เสาเข็มจะค่อยๆผ่านชั้นดินลงไปเรื่อยๆ จึงทำให้เสาเข็มประเภทนี้ ได้รับการโอบอุ้มจากชั้นดินที่มันถูกตอกผ่านลงไป จึงมีแรงรับน้ำหนักเสาเข็ม ทั้งจากที่ปลายเสาเข็ม และจากแรงเสียดทานด้านข้าง  ส่วนวัสดุของเสาเข็มนั้น จะเป็นวัสดุอะไรก็ได้ เช่น เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง  เสาเข็มไม้ เสาเข็มเหล็กเป็นต้น

เสาเข็มอีกประเภทหนึ่งคือเสาเข็มเจาะ  ซึ่งเสาเข็มประเภทนี้ทำโดยการขุดดินให้เกิดเป็นช่อง แล้วสร้างเสาเข็มลงในช่องว่างของดินที่ถูกขุด หรือถูกเจาะออกนั้น  ดังนั้นเสาเข็มชนิดนี้จะมีข้อดีคือ ไม่มีการสั่นสะเทือนไปถึงอาคารข้างเคียงจากการตอก เหมือนกับเสาเข็มตอก  รวมถึงการขนย้ายอุปกรณ์เข้าพื้นที่ก่อสร้าง ก็มีส่วนสำคัญในการให้คนเลือกใช้เสาเข็มเจาะเหมือนกัน  แต่ข้อเสียคือราคาแพงกว่าเสาเข็มตอกแน่ๆ  ประมาณสองเท่าของราคาของเสาเข็มตอก

แต่ไม่ว่าจะใช้เสาเข็มประเภทใด วิศวกรก็สามารถคำนวณขนาดของเสาเข็มเพื่อใช้รับน้ำหนักได้  แต่ข้อควรระวังก็คือ เสาเข็มสองประเภทนี้  ถ้าจะเปลี่ยนจากการใช้เสาเข็มตอกมาใช้เสาเข็มเจาะ เราไม่สามารถคำนวณพื้นที่หน้าตัดที่เท่าๆ กันมาใช้ได้เลย  เพราะว่าเสาเข็มตอกนั้นมีแรงเสียดทานด้านข้างตลอดความยาวเข็ม ถ้าเสาเข็มตอกมีขนาดหน้าตัดเท่าๆ กับเสาเข็มเจาะ เสาเข็มตอกจะรับน้ำหนักได้มากกว่า


ชนิดของเสาเข็ม


เคยพบปัญหา เช่นระหว่างก่อสร้าง ตอนแรกใช้เสาเข็มตอกในการก่อสร้าง พอสร้างๆ ไปมีความจะเป็นต้องเปลี่ยนเป็นเสาเข็มเจาะ ทำให้เกิดมีเสาเข็มสองแบบอยู่ในสิ่งปลูกสร้างอันเดียวกัน  แบบนี้ก็สามารถทำได้  แต่ต้องคำนวณขนาด และความลึกของเสาเข็มนั้นด้วย ไม่สามารถใช้พื้นที่หน้าตัดที่เท่ากันมาเปลี่ยนกันได้  จะทำให้เกิดปัญหาครับ

ความรู้เรื่องฐานรากของอาคารบ้านเรือน ในประเทศไทย ตอนที่ 1 ฐานรากแบบมีเสาเข็ม กับแบบไม่มีเสาเข็ม


ปัญหาที่พบมากของปัญหาเกี่ยวกับบ้านเรือนที่อยู่อาศัย และอาคารนั้นก็คือปัญหาบ้านร้อน บ้านรั่ว และบ้านร้าวครับ  ปัญหาเรื่องบ้านร้าวนี่ดูจะเป็นปัญหาที่กวนใจผู้อยู่อาศัยมากที่สุดเพราะมันเกี่ยวกับความปลอดภัยในการอยู่อาศัยใช้งานต่อไปด้วย

ซึ่งปัญหาบ้านร้าวนั้นก็มีตั้งแต่ร้าวที่เกิดจากวัสดุ และร้าวที่เกิดจากโครงสร้าง ซึ่งปัญหาการร้าวของโครงสร้างที่เราเห็นปรากฎอยู่เหนือผิวดินนั้น บ่อยครั้งมากมีสาเหตุมาจากปัญหาของส่วนที่มองไม่เห็นที่อยู่ใต้ดิน นั่นก็คือส่วนของฐานรากนั่นเอง บทความนี้พูดถึงความรู้ทั่วไปของฐานรากที่ใช้กันมากในประเทศไทยครับ

เมื่อกล่าวถึงฐานราก ก็จะแบ่งประเภทใหญ่ๆ ออกได้ก่อนเลยสองประเภทใหญ่ๆ คือ
ฐานรากแบบที่ใช้เสาเข็ม
กับ ฐานรากแบบที่ไม่ใช้เสาเข็ม

ที่ใช้ประเภทต่างกันนั้น ก็เนื่องมาจากสาเหตุหลัก คือสภาพชั้นดินของแต่ละบริเวณน้้นต่างกัน  เช่น ที่ดินบริเวณภาคกลางของประเทศไทย เป็นที่ลุ่มที่เกิดจากการสะสมกันของดินตะกอนแม่น้ำ ดินจึงไม่มีความแข็งแรงเพียงพอที่จะรับน้ำหนักอาคารที่หนักได้  จึงต้องมีการใช้ฐานรากแบบที่มีเสาเข็ม เพื่อให้เสาเข็มถ่ายน้ำหนักให้ลงไปถึงชั้นดินที่สามารถรับน้ำหนักของอาคารได้ ซึ่งชั้นดินนั้นก็อยู่ลึกลงไป

ส่วนพื้นดินที่มีความแข็งแรงสามารถรับน้ำหนักได้มาก ก็ดังเช่นพื้นที่มีสภาพเป็นดินเป็นหิน ดังชั้นพื้นที่ภาคตะวันออกเชียงเหนือของประเทศไทย  ในบริเวณนั้น พื้นดินสามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้มากอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องใช้เสาเข็มเพื่อถ่ายน้ำหนักบรรทุกลงไปยังดินชั้นที่ลึกลงไป  พื้นที่ดังนี้ เราก็อาจไม่ต้องใช้เสาเข็ม

ทั้งนี้การเลือกว่าจะใช้ฐานรากที่มีเสาเข็มหรือไม่มีเสาเข็มนั้น ก็ขึ้นกับชนิดและน้ำหนักของสิ่งก่อสร้างที่เราจะก่อสร้าง และสภาพชั้นดินบริเวณนั้นๆครับ ซึ่งต้องมีการดูผลสำรวจสภาพชั้นดินบริเวณนั้นๆ

ความรู้ทั่วไปของฐานราก

เรียนรู้ ทำความเข้าใจกับการปลูกสร้างบ้าน…


"เรียนรู้ ทำความเข้าใจกับการปลูกสร้างบ้าน…"
  โดย นิธิศาสตร์ ช่วงโชติ


…การจะมีบ้านสักหลังนั้น ในปัจจบันถือว่าไม่ใช่เรื่องที่ไกลเกินเอื้อมแล้วนะครับ ตัวเลือกต่างๆ ก็มีมากมาย หลากหลายโครงการก็มีบ้านสำเร็จรูป ที่ปล่อยให้เราได้จับจองกันเป็นเจ้าของโดยที่เราไม่ต้องเสียเวลาไปคุมงาน การสร้างเองเลยสักนิดเดียว อีกทั้งยังมีโปรโมชั่นต่างๆ เข้ามาดึงดูด ล่อตาล่อใจให้เราเข้าไปซื้อบ้านกับทางโครงการ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ง่ายมากๆ แทบจะไม่ต้องคิดตัดสินใจอะไร เพียงแค่มีเงินสักก้อน ก็ขนเสื้อผ้าเข้าไปอยู่ได้เลย.. แต่ก็ยังมีกลุ่มคนอีกด้านหนึ่งที่ค่อนข้างจะมีความเป็นครีเอทีฟ อยากจะสร้างบ้านด้วยรูปแบบที่ไม่เหมือนใคร สร้างบ้านตามสไตล์ของตัวเอง ซึ่งมีความยุ่งยากมากกว่า คนที่ซื้อบ้านกับโครงการต่างๆ เพราะว่า จะต้องมีการดูพื้นที่การปลูก ถ้ามีที่ดินอยู่แล้วก็ง่ายหน่อย แต่ถ้าไม่มีที่ดิน ก็จะต้องไปหาทำเล ทำเรื่องซื้อที่ดิน ซึ่งกว่าจะได้ปลูกบ้านนั้น ก็อาจจะต้องใช้เวลาพอสมควร แต่ถ้าเกิดเราผ่านจุดนั้นมาได้แล้ว จนมาถึงขั้นตอนของการที่จะเริ่มปลูกสร้างบ้าน เราควรจะเริ่มอย่างไรดีล่ะ ?..   ถ้าตามแบบฉบับที่เราเข้าใจกัน ก็คือ อาจจะต้องมีการหาผู้รับเหมาเข้ามาคุย ถึงรูปแบบบ้านที่เราต้องการ ซึ่งนั่นก็เป็นเรื่องที่ ถูกต้อง แต่..!! แน่นอนว่า คำถามในเรื่องของปัญหาต่างๆ ก็ย่อมมีตามมาแน่นอน และคงจะดีถ้าเราได้เรียนรู้ถึงปัญหาหลักๆ ที่พบเจอบ่อยในการปลูกสร้างบ้านเอาไว้ก่อน ที่เราจะดำเนินการในขั้นต่อๆไป..

ว่าด้วย เรื่อง ระบบ ปะปาภายในบ้าน


ระบบน้ำปะปาภายในบ้าน เป็นเรื่องใหญ่เรื่องหนึ่งของที่บ้านที่พักอาศัยเลยครับ  สมัยก่อนบ้านที่ผมอยู่เป็นบ้านสองชั้น ที่ไม่ได้ใช้ระบบปั้มน้ำ  แต่ก็สามารถใช้น้ำได้ทั่วทั้งบ้านครับ เพราะแรงดันน้ำที่มาจากการปะปานั้นแรงเพียงพอต่อการส่งน้ำขึ้นถึงชั้นสองอยู่แล้วครับ  จะมีปัญหาบ้างก็ตอนที่เปิดน้ำใช้ร่วมๆ กันหลายจุด  หรือใช้เครื่องทำน้ำอุ่น ถ้าแรงดันน้ำ ณ จุดที่เครื่องทำน้ำอุ่นอยู่น้อยเกินไป เครื่องก็จะไม่ทำงานได้เหมือนกันครับ

มาถึงสมัยใหม่นี้ ปั้มน้ำ แท้งค์น้ำ กลายเป็นเรื่องปกติของบ้านไปแล้ว ไม่ว่าบ้านจะกี่ชั้นก็ตาม บทความนี้เราจะไม่พูดถึงการต่อ ไดอะแกรมของน้ำปะปาในบ้าน เช่นว่าทำอย่างไรน้ำจะไหลอยู่ได้ในกรณีที่ไฟฟ้าดับทำให้ปั้มหยุดทำงานนะครับ แต่จะมาตอบปัญหาง่ายๆ ที่พบบ่อยในระบบน้ำภายในบ้านครับ

ข้อแรก จะตรวจดูได้อย่างไรว่ามีน้ำรั่วในระบบหรือเปล่า

คำตอบ คือให้ปิดน้ำในบ้านให้หมด ปิดวาวล์ น้ำที่ส่งน้ำเก็บเข้าแท้งค์น้ำด้วย แล้วไปดู มิเตอร์น้ำที่หน้าบ้านว่ายังหมุนอยู่หรือเปล่า ถ้ายังหมุนอยู่แสดงว่ามีการรั่วในระบบครับ บางทีเวลาหาที่รั่วไม่เจอ เพราะการรั่วนั้นอาจอยู่ในแถวๆชักโครก ก็ได้ครับ เช่นรั่วจากชักโครกแล้วลงบ่อเกรอะไปเลย

อ้อ ตอนนี้มีเทคโนโลยี มิเตอร์อัจฉริยะที่สามารถรายงานการใช้น้ำของเราในแต่ละวันได้ แล้วครับและบอกความเป็นไปได้ว่ามีน้ำรั่วในระบบของเราได้ด้วยนะครับ  อย่างเช่น  บริษัทนี้ที่ชื่อ FLUID เป็นต้น
https://www.kickstarter.com/projects/825947844/fluid-the-learning-water-meter

FLUID
ข้อสอง น้ำปะปา ดื่มได้ไหม ที่เห็นว่าน้ำปะปาไม่สะอาด เกิดจากน้ำจากที่ไหน

คำตอบ น้ำปะปา ดื่มได้หลายจุดแล้วครับ และมีการตรวจวัดควบคุมตลอด และยิ่งมีโอกาสยากที่จะมีตัวอะไรไปเกิดอยู่ในน้ำปะปา เพราะว่ามีการทำความสะอาดและตรวจวัดหลายขั้นตอนครับ  แต่สัตว์เหล่านี้อาจอยู่ในสายยาง หรืออยู่ในท่อปะปาภายในบ้านของเราเอง ที่มีน้ำค้างไว้นาน จนสัตว์เกิดขึ้นมาได้ครับ น้ำขังไม่ถึงสัปดาห์ก็มีโอกาสเกิดได้แล้ว

นอกจากนี้ปัญหาที่มีตะกอนหรือมีดินออกมาจากก๊อกน้ำที่บ้านเรา ส่วนมากเกิดจากการที่ภายในบ้านมีการปรับปรุงเกี่ยวกับระบบท่อน้ำภายใน ดังนั้นหลังจากที่ปรับปรุงระบบท่อน้ำแล้วอาจต้องมีการปล่อยน้ำเพื่อทำความสะอาดระบบใหม่เสียก่อนครับ

ข้อสาม สารปรอท ที่อยู่ในน้ำ เกิดจากก๊อกน้ำ หรือวาวล์น้ำได้หรือไม่

คำตอบ อุปกรณ์ที่ใช้ในระบบปะปาภายในบ้าน มักทำจากทองเหลือง เพราะทองเหลืองไม่เป็นสนิมและไม่ก่อให้เกิดสารปนเปื้อน แต่บางครั้งมีการน้ำอุปกรณ์ที่ด้อยมาตรฐานมาใช้ ยกตัวอย่างเช่นก๊อกน้ำที่ทำจากเหล็กชุบ หรือทำจากสังกะสี อุปกรณ์เหล่านี้ถ้าเอาแม่เหล็กไปดูดดูก็จะดูดติด ซึ่งก๊อกน้ำที่ทำจากทองเหลืองแม่เหล็กจะดูดไม่ติดและมีน้ำหนักมากกว่า

ส่วนวาล์วน้ำก็เหมือนกัน  วาล์วน้ำที่ใช้กับปะปาภายในบ้าน จะเป็นวาล์วน้ำที่ทำด้วยทองเหลือง ซึ่งจะทนทานกว่า ใช้งานได้ยาวนาน วาล์วน้ำที่ใช้สำหรับการเกษตร ที่ทำด้วย พีวีซี หรือพีอี  หรือวัสดุเทียบเท่าอื่นๆครับ ก็ต้องดูให้ผู้รับเหมาเลือกใช้วาล์วน้ำ ให้ถูกประเภทของการใช้งาน

น้ำท่วม เขาว่าดีกว่าฝนแล้ง พี่ว่าน้ำแห้ง ให้ฝนแล้ง เสียยังดีกว่า จริงหรือ? ปัญหาเรื่องเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำ


ปัญหา เรื่องเกี่ยวกับ น้ำ

เราต้องมีน้ำเพียงพอเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภค และการเกษตร เป็นหลัก นั่นคือวัตถุประสงค์ที่เรามีเขื่อนต่างๆในประเทศ  โดยวัตถุประสงค์ ของน้ำในเขื่อนนั้น มีเพื่อใช้ในการ

1. อุปโภคบริโภค เลี้ยงสัตว์
2. น้ำสำหรับใช้ในการ อุตสาหกรรม
3. ปล่อยลงไปในแม่น้ำลำคลอง เพื่อไล่น้ำเค็ม รักษาความสะอาดในแม่น้ำ
4. เพื่อการเกษตรกรรม   ( ใช้น้ำ 70% ของน้ำที่ปล่อยจากเชื่อนทั้งหมด)   โดยเฉพาะการปลูกข้าว ใช้น้ำ ราว 1000 ลูกบาศก์เมตร ต่อไร่

น้ำในเขื่อนถูกใช้ทำอะไรบ้าง


ทำไมน้ำไม่เพียงพอ

เนื่องจากในปัจจุบัน ประชากรเพิ่มมากขึ้น ปริมาณการใช้น้ำมากขึ้น  และ ประชากรจำนวนหนึ่ง ไปตั้งรกรากอยู่ในพื้นที่ที่เป็นพื้นที่ที่ใช้กักเก็บน้ำเดิม  หรือบางส่วน ก็ตั้งรกราก ในพื้นที่ ที่เป็นพื้นที่ที่ใช้ระบายน้ำแต่เดิม  ทำให้ บ้างก็ประสบปัญหาน้ำท่วม เพราะไปอยู่อาศัยในพื้นที่ระบายน้ำ

ทำไมน้ำแล้ง แล้วเขต กทม. ยังน้ำท่วม

1. เป็นเรื่องของ การระบายน้ำ ที่ท่อระบายน้ำฝน ทั่วๆไปในกทม. ระบายน้ำได้ 60 มิลิเมตร ต่อชั่วโมง ถ้าฝนที่ตกมีปริมาณ มากกว่านั้น เช่น 100 มิลิแมตร ต่อชั่วโมง ก็จะเกิดการระบายไม่ทัน และเกิดการท่วมขังได้
2. กรุงเทพ เป็นพื้นที่ ราบ  และหลายพื้นที่เป็น แอ่ง การที่จะให้น้ำไหลลงทะเลได้นั้น  หลายๆจุดต้องใช้เครื่องสูบน้ำช่วย  เพราะน้ำไม่สามารถไหลไปเอง ได้ทั้งหมด  ซึ่งหลายจุดบริเวณที่มีเครื่องสูบน้ำอยู่นั้น ก็มีขยะไปอุดตัน รวมทั้งอุปกรณ์ไม่ทันสมัย ไม่เพียงพอ และขาดการซ่อมบำรุง
3. อุโมงค์ระบายน้ำ (อุโมงค์ยักษ์) ยังทำไม่เสร็จครบ ครอบคลุมทุกพื่นที่ของกรุงเทพ ทำให้หลายพื้นที่ยังมีโอกาสที่จะน้ำท่วมต่อไป

อุดรอยร้าวบ้าน แล้วทาสี แล้วสีไม่เรียบแก้ไขได้อย่างไร


คงจะเป็นเรื่องที่ยากที่จะหลีกเลี่ยงปัญหารอยแตกของผิวบ้าน หรือผิวอาคารที่เป็นคอนกรีตไปได้ครับ  เพราะวัสดุประเภทนี้รับแรงดึงได้น้อย อย่างสาเหตุง่ายๆ เช่น เมื่อเกิดการยืดหดของอุณหภูมิ ก็เกิดรอยร้าวได้แล้ว หรือแม้กระทั่งเกิดจากสาเหตุจากโครงสร้างก็เกิดรอยร้าวได้เหมือนกัน

ทีนี้ถ้าเป็นรอยร้าวประเภทที่ไม่ได้เกิดจากโครงสร้าง และไม่เป็นอันตรายกับผู้อยู่อาศัย เราก็สามารถซ่อมรอยแตกได้เลย ซึ่งโดยมากมักจะใช้วัสดุประเภท epoxy ให้เข้าไปอุดรอยแตกของคอนกรีตไว้  ทั้งนี้การอุดรอยร้าวของคอนกรีตก็เพื่อป้องกันไม่ให้ความชื้นเข้าไปในคอนกรีตเสริมเหล็ก ซึ่งความชื้นนี่เองที่จะทำให้เหล็กเสริมเป็นสนิม และเกิดปัญหาแตกร้าวของผิวอาคารที่มากขึ้น จากการขยายตัวของเหล็กเสริมภายในที่เป็นสนิมครับ

แต่ทีนี้หลังจากที่ซ่อมรอยร้าวไปแล้ว ผิวอาคารก็จะเป็นรอยตามรอยร้าวอยู่ดี ซึ่งทำให้ผิวอาคารไม่สวยงาม และครั้นจะทาสีทับไปเลย สีก็จะไม่เท่ากัน และตรงที่เป็น epoxy ก็อาจทาสีไม่ติดด้วย

วิธีการที่พอจะแก้ไขได้ ก็คือ การเซาะสีเก่าบริเวณที่ซ่อม ออกให้หมด โดยทำให้เป็นบริเวณกว้างพอสมควร  แล้วทาสีรองพื้น หลังจากนั้นค่อยทาสีจริงที่ต้องการทับลงไปครับ

อย่างไรก็ตาม ควรทราบว่าการทาสีนั้น แต่ละครั้งย่อมได้สีที่ไม่เหมือนกันครับ ยังไงก็คงไม่ได้สีเรียบเสมอกันเป๊ะๆนะครับ


รอยแตกร้าวของผิวบ้าน ที่ซ่อมแล้วทาสีไม่เรียบ

ข้อควรรู้ เมื่อจะกู้ สินเชื่อบ้าน และคอนโด


ในการสร้างบ้านนั้น นอกจากปัจจัยด้านวิศวกรรมแล้ว อีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือเรื่องการหาเงินมาจ่ายเงินค่าก่อสร้าง ค่าซื้อ คอนโด หรือบ้าน ซึ่งหากเงินที่เตรียมไว้ไม่เพียงพอแล้ว การกู้เงินมาซื้อบ้านหรือคอนโดจากสถาบันการเงิน ก็คงเป็นหนทางหนึ่งที่ผู้ซื้อบ้านจะเลือก นอกจากการหยิบยืมญาติพี่น้องพ่อแม่ครับ

สินเชื่อเพื่อการเคหะนั้น เป็นสินเชื่อประเภทที่สถาบันการเงินจะปล่อยกู้ระยะที่ยาวนานกว่าสินเชื่อประเภทอื่น  และก็มักจะมีอัตราดอกเบี้ยที่ไม่สูง เมื่อเทียบกับสินเชื่อประเภทอื่นครับ และโดยมาก สินเชื่อเพื่อการเคหะนั้น ก็มักจะมีอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำๆ ในปีแรกๆ เพื่อลดภาระของเจ้าของบ้านผู้กู้ยืมเงินสินเชื่อ

วันนี้ ช่างมันส์บล็อค จะตอบคำถามที่ถามบ่อยเกี่ยวกับการกู้สินเชื่อเพื่อการเคหะเหล่านี้ และเคล็ดไม่ลับในการเตรียมตัวเพื่อขอสินเชื่อครับ

ข้อแรก  การขอสินเชื่อนั้น สถาบันการเงินมักอยากให้กู้เท่าที่กู้ได้ และโดยมากก็เลยมักจะได้เงินกู้มามากกว่า เงินที่จำเป็นต้องใช้ในการซื้อบ้าน คอนโดเสียอีก  จริงๆ แล้วเงินกู้ที่ได้มานั้น มีต้นทุนทางดอกเบี้ยครับ  เราควรกู้เท่าที่จำเป็น  ซึ่งวงเงินกู้ที่จะได้ปัจจุบันนี้ดูเหมือนจะเพิ่มจากเมื่อก่อนแล้ว วงเงินกู้ที่ได้กันตอนนี้วงเงินสูงสุดอยู่ที่ราว 55-60 เท่าของเงินเดือน  ทั้งนี้ขึ้นกับความน่าเชื่อถือของบริษัทที่เราทำงานอยู่ และอายุงานของเราด้วย

ข้อสอง  ธนาคารจะอนุมัติ เงินกู้หรือไม่ อนุมัติเท่าใดนั้น ก็จะดูจากความสามารถในการใช้คืนหนี้  ดังนั้นถ้ามีหนี้บัตรเครดิต หนี้สินเชื่อส่วนบุคคล หรือหนี้อื่นๆ อยู่นั้น ก็จะทำให้การอนุมัติเงินกู้สินเชื่อบ้านนั้น ทำได้ยากขึ้น  และโดยเฉพาะเมื่อธนาคารหรือสถาบันการเงินไปตรวจดูที่เครดิตบูโร และพบว่ามีสถาบันการเงินหลายสถาบันมาขอตรวจข้อมูลเครดิตบูโร ของเราไปก่อนหน้านี้  มันอาจแสดงว่า เรากำลังร้อนเงิน ซึ่งบ่งชี้ถึงการอาจจะไม่มีความสามารถในการชำระเงินกู้นั่นเอง

ข้อสาม  ควรมีเงินเก็บ ที่ใช้เป็นหลักฐานในการยื่นขอเงินกู้จากธนาคาร เป็นวงเงินประมาณ 5-10% ของ มูลค่าสินทรัพย์ที่เรากำลังจะขอกู้เงินซื้อ  เงินเก็บนั้นจะอยู่ในรูปแบบของเงินฝาก ก็ได้ หรือในรูปแบบของเงินเก็บในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ของบริษัทฯ ก็ใช้ได้เช่นกัน

ข้อสี่  หากไม่มีรายได้ประจำจากเงินเดือน ก็ยังสามารถกู้ได้โดยใช้หลักฐาน จากการเดินบัญชีธนาคารของเรา  ซึ่งไม่ควรไปปั่นรายได้ ในช่วงที่จะกู้เงิน  เพราะสถาบันการเงินสามารถทราบได้อยู่ดี   หลักฐานการยื่นเสียภาษี ก็สามารถใช้เป็นหลักฐานประกอบการยื่นขอเงินกู้ได้เช่นกัน  เพราะแสดงถึงการมีรายได้

ข้อห้า  ระยะเวลาที่จะให้กู้ ตอนนี้สถาบันการเงิน ก็ให้กู้กันที่ 25-30 ปี กันแล้ว  แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นกับอายุของผู้กู้ด้วย ซึ่งโดยมากจะคิดว่าผู้กู้จะมีอายุไม่เกิน 70 ปี  เช่นถ้า อายุ 50 ปี ณ ตอนที่ขอสินเชื่อก็อาจ ได้ระยะเวลากู้ 20 ปี เป็นต้น  ทั้งนี้ก็ขึ้นกับสถาบันการเงินผู้ให้สินเชื่อ

และธนาคารมักจะให้เราทำประกันชีวิตไว้ด้วยกับวงเงินกู้นั้น โดยนับเอาเบี้ยประกันชีวิตไปรวมกับยอดเงินที่กู้  ซึ่งอันนี้ที่จริงแล้วดีกับผู้กู้ เพราะว่าหากเสียชีวิตในระหว่างที่ยังมีภาระหนี้อยู่ ทางประกันก็จะจ่ายยอดหนี้ที่เหลือให้ ทำให้สินทรัพย์ตกเป็นทรัพย์มรดก และไม่เป็นภาระกับลูกหลานครับ


สี่กฎเหล็กเรื่องการกู้สินเชื่อ เพื่อการเคหะ


เมื่อได้สินเชื่อมาแล้ว ก็จะเข้าถึงช่วงของการต้องผ่อนชำระแล้ว ในการผ่อนชำระนั้น โดยมากผู้ผ่อนชำระมักจะผ่อนชำระหมดก่อนระยะเวลาที่สถาบันการเงินกำหนดไว้  เพราะว่ามีคิดเผื่อไว้อยู่แล้ว และผู้ผ่อนชำระก็มักจะผ่อนเกิน ยอด เพื่อที่จะได้สามารถปิดยอดหนี้ค้างชำระได้เร็ว  ื มีข้อควรรู้ดังนี้คือ

ในช่วงแรก ดอกเบี้ยมักจะต่ำกว่าช่วงการผ่อนชำระช่วงหลัง  ดังนั้นถ้าสามารถทำได้ก็ให้ชำระให้เร็วก็ย่อมดีกว่า  แต่ทางสถาบันการเงิน ก็มักจะมีค่า penalty fee  คือคิดดอกเบี้ยเพิ่มหากเราคืนเงินกู้ทั้งหมดก่อนสามปี เพราะป้องกันการรีไฟแนนซ์ของผู้กู้นั่นเองครับ