หน้าเว็บ

ความรู้เรื่องฐานรากของอาคารบ้านเรือน ในประเทศไทย ตอนที่ 1 ฐานรากแบบมีเสาเข็ม กับแบบไม่มีเสาเข็ม


ปัญหาที่พบมากของปัญหาเกี่ยวกับบ้านเรือนที่อยู่อาศัย และอาคารนั้นก็คือปัญหาบ้านร้อน บ้านรั่ว และบ้านร้าวครับ  ปัญหาเรื่องบ้านร้าวนี่ดูจะเป็นปัญหาที่กวนใจผู้อยู่อาศัยมากที่สุดเพราะมันเกี่ยวกับความปลอดภัยในการอยู่อาศัยใช้งานต่อไปด้วย

ซึ่งปัญหาบ้านร้าวนั้นก็มีตั้งแต่ร้าวที่เกิดจากวัสดุ และร้าวที่เกิดจากโครงสร้าง ซึ่งปัญหาการร้าวของโครงสร้างที่เราเห็นปรากฎอยู่เหนือผิวดินนั้น บ่อยครั้งมากมีสาเหตุมาจากปัญหาของส่วนที่มองไม่เห็นที่อยู่ใต้ดิน นั่นก็คือส่วนของฐานรากนั่นเอง บทความนี้พูดถึงความรู้ทั่วไปของฐานรากที่ใช้กันมากในประเทศไทยครับ

เมื่อกล่าวถึงฐานราก ก็จะแบ่งประเภทใหญ่ๆ ออกได้ก่อนเลยสองประเภทใหญ่ๆ คือ
ฐานรากแบบที่ใช้เสาเข็ม
กับ ฐานรากแบบที่ไม่ใช้เสาเข็ม

ที่ใช้ประเภทต่างกันนั้น ก็เนื่องมาจากสาเหตุหลัก คือสภาพชั้นดินของแต่ละบริเวณน้้นต่างกัน  เช่น ที่ดินบริเวณภาคกลางของประเทศไทย เป็นที่ลุ่มที่เกิดจากการสะสมกันของดินตะกอนแม่น้ำ ดินจึงไม่มีความแข็งแรงเพียงพอที่จะรับน้ำหนักอาคารที่หนักได้  จึงต้องมีการใช้ฐานรากแบบที่มีเสาเข็ม เพื่อให้เสาเข็มถ่ายน้ำหนักให้ลงไปถึงชั้นดินที่สามารถรับน้ำหนักของอาคารได้ ซึ่งชั้นดินนั้นก็อยู่ลึกลงไป

ส่วนพื้นดินที่มีความแข็งแรงสามารถรับน้ำหนักได้มาก ก็ดังเช่นพื้นที่มีสภาพเป็นดินเป็นหิน ดังชั้นพื้นที่ภาคตะวันออกเชียงเหนือของประเทศไทย  ในบริเวณนั้น พื้นดินสามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้มากอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องใช้เสาเข็มเพื่อถ่ายน้ำหนักบรรทุกลงไปยังดินชั้นที่ลึกลงไป  พื้นที่ดังนี้ เราก็อาจไม่ต้องใช้เสาเข็ม

ทั้งนี้การเลือกว่าจะใช้ฐานรากที่มีเสาเข็มหรือไม่มีเสาเข็มนั้น ก็ขึ้นกับชนิดและน้ำหนักของสิ่งก่อสร้างที่เราจะก่อสร้าง และสภาพชั้นดินบริเวณนั้นๆครับ ซึ่งต้องมีการดูผลสำรวจสภาพชั้นดินบริเวณนั้นๆ

ความรู้ทั่วไปของฐานราก

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น