หน้าเว็บ

สรุปรวบรวม เหตุการณ์สะพาน Francis ถล่ม


สรุปรวบรวม เหตุการณ์สะพาน Francis ถล่ม
ที่ Baltimore Maryland USA (Francis Scott Key Bridge)



 สาเหตุเกิดจาก

  1. สะพานถูกสร้างมานาน และเรือบรรทุกสินค้ามีขนาดใหญ่กว่าเดิม ซึ่งเรือที่เข้าชนสะพานคือเรือบรรทุกสินค้า Deli ยาว 984 ฟุต และมีน้ำหนัก 95,000 ตัน
  2. ฐานเสาหลักของสะพานไม่มีการป้องกันสะพานถูกสร้างในปี 1977 ช่วงที่ยาวที่สุดคือ 1200 ฟุต (366 เมตร) ไม่มีเสริมการป้องกันบริเวณฐานรากและช่วงเสาของสะพาน
  3. เรือเกิดกระแสไฟฟ้าขัดข้องทำให้ไม่สามารถบังคับเรือได้ ซึ่งความเร็วที่เรือชนสะพานคือประมาณ 8-9 knots ถือว่าเร็วมากสำหรับเรือบรรทุกสินค้า


เหตุการณ์ลักษณะเดียวกันนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้ว
ที่สะพาน Sunshine Skyway Bridge รัฐ Florida USA
 

 

ในปี 1980 เรือบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่ชื่อ MV Summit Venture ประสบอุบัติเหตุชนเข้ากับเสาหลักกลางสะพาน Sunshine Skyway Bridge สาเหตุเกิดจากพายุรุนแรงที่โถมเข้าใส่ ทำให้เรือเสียการควบคุมแรงกระแทกทำให้ช่วงสะพานฝั่งใต้ยาวกว่า 1,200 ฟุต (370 เมตร) พังทลายลงสู่ทะเลเบื้องล่าง รถยนต์ 6 คัน รถบรรทุก 1 คัน และรถโดยสาร Greyhound Bus 1 คัน ตกลงไปในอ่าว ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 35 คน

 

หลังจากนั้นอีก 7 ปี สะพาน sunshine bridged ได้ถูกสร้างขึ้นใหม่ โดยมีแนวคิดที่ว่าให้เรือขนาดใหญ่ ผ่านเข้าออกได้ง่าย และลดความเสี่ยงที่เรือจะพุ่งชนสะพานจนเกิดความเสียหายรุนแรง 

 

สะพานถูกสร้างใหม่ ด้วยความยาว 4.1 ไมล์ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า “Bob Graham Sunshine Skyway Bridge” เป็นสะพานแขวน Span ยาว 1,000 ฟุต  

 

เสริมเกาะหินที่ลึกลงไปถึงท้องน้ำ เป็นแนวป้องกันบริเวณฐานของเสาสะพานและมีการเสริมเหล็กที่เสาหลักด้านล่าง รวมถึงเสาหินอีก 36 เสาเป็น Barriers  



 

Bob Graham ผู้ออกแบบสะพาน มั่นใจว่าสะพานสามารถรับแรงชนจากเรือ 87,000 ตัน ที่วิ่งด้วยความเร็ว 10 Knots มาชนได้โดยไม่พัง


|

คาดการณ์ว่า

ต่อจากนี้ การออกแบบสะพานจะต้องมีมาตรฐานใหม่

รวมถึงการตรวจสอบสะพานเก่า

ทั่วประเทศสหรัฐอเมริกา

|

การครอบครองปรปักษ์


บทความโดย ดร.พงศ์ธร ธาราไชย


วันนี้ จะมาพูดถึงเรื่องการครอบครองปรปักษ์ จากกรณีที่เป็นข่าวครับ


    แนวคิดของการครอบครองปรปักษ์นั้น เป็นกฎหมายที่มาจากแนวคิดสากลเรื่อง Adverse Possession ที่ของไทยแปลว่า การครอบครองปรปักษ์ โดยหลักการครอบครองปรปักษ์ แบบสากล


    โดยอาศัยหลักคิดว่า ทรัพย์สินควรถูกใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ใช่ปล่อยว่างไว้เฉยๆ เผื่อเจ้าของเก่าตายไปแล้ว หรือไม่เอาแล้ว ทรัพย์สินนั้นก็ยังใช้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจได้





โดยต้องมีองค์ประกอบดังนี้คือ

หนึ่ง    ครอบครองจริงๆ  ( Actual  Possession )

สอง    ครอบครองโดยละเมิดสิทธิ ของเจ้าของจริงๆ  ( Hostile Possession )

สาม    เปิดเผยและฉาวโฉ่  แบบว่า เจ้าของจริง ก็น่าจะรู้ได้ แต่ไม่มาเอาคืนสักที ไม่ได้แอบครอบครอง ( Open and Notorious )

สี่    ครอบครองอยู่คนเดียว ไม่ได้แบ่งๆ กันครอบครอง ( Exclusive )

ห้า    ครอบครองอย่างต่อเนื่อง ( Continuous )


    นอกจากนั้น ต้องมีเจตนาประกอบด้วย คือ คิดดีหรือคิดเลว คือไปครอบครองโดยไม่รู้ว่ามีเจ้าของ ไม่ได้ตั้งใจจะยึด หรือตั้งใจจะไปเอาของเขาด้วยการครอบครองปรปักษ์ ( Good Faith or Bad Faith ) จ่ายภาษี ที่ดิน อสังหาหรือเปล่า  เป็นของคนอื่นแต่ไปจ่ายภาษีให้ ( Paying Taxes )


    กฎหมายไทย มีอยู่ในประมวลแพ่งพาณิชย์ มาตรา 1382 “ บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยสุจริต โดยความสงบและโดย เปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี ถ้าเป็น สังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาห้าปีไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์ ”


    หลักกฎหมายไทยก็เหมือนของสากล ข้อสังเกตุ คือ เจ้าของเดิมสามารถ ฟ้องเอาคืนได้ ภายในหนึ่งปี หลังจากทราบเหตุ ตามมาตรา 1375


    มาตรา ๑๓๗๕ ถ้าผู้ครอบครองถูกแย่งการครอบครองโดยมิชอบด้วยกฎหมายไซร้ ท่านว่าผู้ครอบครองมีสิทธิจะได้คืนซึ่งการครอบครอง เว้นแต่อีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเหนือทรัพย์สินดีกว่าซึ่งจะเป็นเหตุให้เรียกคืนจากผู้ครอบครองได้ การฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองนั้น ท่านว่าต้องฟ้องภายในปีหนึ่งนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง


ดังการครอบครองปรปักษ์ไม่สามารถทำกันได้ง่ายครับ อย่าไปหวังครอบครองของที่ไม่ใช่ของตัวเองครับ

การเก็บภาษีสรรพสามิต รถยนต์ตามอัตราการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์


บทความโดย ดร.พงศ์ธร ธาราไชย

 

 

   การเก็บภาษีสรรพสามิต รถยนต์ตั้งอยู่บนความคิดสองอย่าง ก็คือ การรักษาความสามารถในการแข่งขันทางด้านการผลิตรถยนต์ของไทย เราสนับสนุนการผลิตรถยนต์อะไร ก็จะเก็บภาษีรถยนต์นั้นต่ำกว่า และสอง การเก็บภาษีให้สอดคล้องกับ trend ของโลกและหลักสากล อย่างเช่นตอนนี้มีเรื่องของการลดคาร์บอน ลดโลกร้อน ประเทศต่างๆเขาเก็บภาษีการปล่อยคาร์บอน ประเทศไทยก็ต้องปรับตัวตาม

 

   โดยแต่เดิมสรรพสามิต ได้มีการเก็บภาษีรถยนต์ตามความฟุ่มเฟือยของมัน หรือตามอัตราความใหญ่ของกระบอกสูบ จนเมื่อธันวาคม 2555 คณะรัฐมนตรีได้มีมติรับหลักการการเก็บภาษีรถยนต์ตามอัตราการปล่อย Co2 แทนการเก็บตามกระบอกสูบ เพื่อสนับสนุนการผลิตรถยนต์ที่มีประสิทธิภาพสูงและปล่อยคาร์บอนต่ำ และเริ่มเก็บภาษีโดยนำอัตราการปล่อยคาร์บอนมาคิด ตั้งแต่ราวปี 2559

 

   ซึ่งหลังจากที่ไทยมีแผนการเป็นฐานการผลิตรถยนต์ EV จึงได้มีการเปลี่ยนอัตราการเก็บภาษีสรรพสามิตอีกครั้งหนึ่ง โดยโครงสร้างภาษีจะแบ่งตามประเภทการใช้พลังงานของรถยนต์ ได้แก่ รถยนต์สันดาบภายใน รถยนต์ไฮบริด รถยนต์ plug in hybrid รถยนต์ EV รถยนต์พลังงานเซลล์เชื้อเพลิงเช่น ไฮโดรเจน

 

   โดยจะมีการเก็บภาษีแบบขั้นบันได เริ่มตั้งแต่ปี 2569 ไปจนถึงปี 2573 (คศ. 2030) ที่ประเทศไทยมีแผนจะลดคาร์บอนให้ได้ 40% โดยขณะนี้สรรพสามิตกำลังศึกษาแนวทางในการจัดเก็บภาษีคาร์บอนรถยนต์ โดยรถยนต์ที่ปล่อยคาร์บอนสูงก็จะถูกเก็บภาษีในอัตราที่สูงขึ้น ตัวอย่างเช่น

 

รถยนต์ที่ปล่อยคาร์บอนมากกว่า 200 กรัมต่อกิโลเมตร จะถูกเก็บภาษีในอัตรา 35% ในปี 2569 และ 38% ในปี 2573

 

 

รถยนต์ที่ปล่อยคาร์บอน 151-200 กรัมต่อกิโลเมตร จะถูกเก็บภาษี 30% ในปี 2569 และ 33% ในปี 2573

 

 

รถยนต์ที่ปล่อยคาร์บอน 121-150 กรัมต่อกิโลเมตร จะถูกเก็บภาษี 25% ในปี 2569 และ 29% ในปี 2573

 

 

รถยนต์ที่ปล่อยคาร์บอน 101-120 กรัมต่อกิโลเมตร จะเก็บภาษีในอัตรา 22% ในปี 2569 และ 26% ในปี 2573

 

 

รถยนต์ที่ปล่อยคาร์บอนน้อยกว่า 100 กรัมต่อกิโลเมตร จะเก็บภาษีในอัตรา 13% ในปี 2569 และ 15% ในปี 2573 เป็นต้น

 

 

หลักเบื้องต้น สำหรับแนวคิดเรื่อง การทดสอบวัสดุที่ใช้ในอาคารสำหรับปฎิกิริยาต่อไฟ (Fire Testing 101)


บทความโดย ดร.พงศ์ธร ธาราไชย

 

 

    เมื่อพูดถึงการทดสอบวัสดุที่ใช้ในอาคารต่อปฎิกิริยาที่มีต่อไฟแล้ว ปกติเรามักจะนึกถึง การทดสอบประตูทนไฟสำหรับบันใดหนีไฟ มันเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดที่สุด เพราะในกฎหมายควบคุมอาคารนั้นแม้จะไม่ระบุเวลาการทนไฟของประตูโดยตรงแต่ก็ระบุ ประเภทของประตูและเกณฑ์การทดสอบประตูเอาไว้ในมาตรฐาน มอก. ซึ่งเวลาเราตรวจรับวัสดุ รับประตูกันไฟเราก็จะรับดูจากเอกสารประกอบนี้ ว่าได้ตามมาตรฐานนี้หรือไม่ แต่หากเป็นวัสดุอย่างอื่นที่ พระราชบัญญัติควบคุมอาคารไม่ได้ระบุไว้ว่าให้ใช้มาตรฐานอะไร สถาปนิกหรือวิศวกรที่เกี่ยวข้องก็จะระบุว่าให้ไปทดสอบที่ไหนให้ผ่าน มาตรฐานของอะไร และทดสอบด้วยวิธีใด 

 

    ซึ่งเมื่อปีที่แล้ว มีกฎหมายฉบับใหม่ ในเรื่องเกี่ยวกับการทดสอบนี้ ก็คือ การกำหนดวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างอาคารประเภทควบคุมการใช้ พ.ศ. 2566 ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2566 และมีผล 180 วันหลังจากประกาศ นั่นคือ ประมาณเดือนมีนาคม 2567 นี้ 

 

    ซึ่งเรื่องสำคัญของกฎหมายนี้ คือการกำหนดมาตรฐานวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างอาคารประเภทควบคุมการใช้ ไว้ในภาคผนวก หนึ่ง ถึงสิบ ดังนี้

 

ภาคผนวก 1: วัสดุที่ใช้ในโครงสร้างอาคาร 

ภาคผนวก 2: วัสดุที่ใช้ในระบบไฟฟ้า 

ภาคผนวก 3: วัสดุที่ใช้ในระบบประปา 

ภาคผนวก 4: วัสดุที่ใช้ในระบบสุขาภิบาล 

ภาคผนวก 5: วัสดุที่ใช้ในระบบป้องกันอัคคีภัย 

ภาคผนวก 6: วัสดุที่ใช้ในระบบปรับอากาศ 

ภาคผนวก 7: วัสดุที่ใช้ในระบบกันเสียง 

ภาคผนวก 8: วัสดุที่ใช้ในระบบกันความร้อน 

ภาคผนวก 9: วัสดุที่ใช้ในระบบกันซึม 

ภาคผนวก 10: วัสดุที่ใช้ในระบบตกแต่ง

 

    ซึ่งในตรงนี้แหละครับ จะพูดถึง ดรรชนีการลามไฟ ดัชนีการกระจายควัน หรือการทนไฟ ตามมาตรฐานต่างๆ แล้ว คำศัพท์พวกนี้คืออะไร?

 

    ในการจะเข้าใจหลักพวกนี้ได้ต้องเข้าใจเรื่องพื่นฐานของวัสดุที่โดนไฟไหม้ และเรื่องสิ่งที่จะเกิดต่อมาจากการไฟไหม้ก่อน โดยการพัฒนาของไฟนั้น จะแบ่งเป็น สี่ stage ดังนี้

 

หนึ่ง Incipient stage คือช่วงเริ่มต้น เกิดไฟจุดเล็กๆ หรือมีแต่ควัน 

สอง Growth stage ไฟเริ่มลุกลามจากวัสดุติดไฟเริ่มเกิดควันไฟ เปลวไฟและความร้อน 

สาม fully develop ไฟไหม้ความรุนแรงสูงสุดทั้งความร้อน และควัน ไฟเผาไหม้วัสดุที่เป็นเชื้อเพลิงทั้งหมด 

สี่ Decay ไฟดับ เพราะเผาเชื้อเพลิงไปหมด หรือไม่มีออกซิเจนแล้ว 

 

    ซึ่งในการทดสอบนั้น เลยแบ่งการทดสอบเป็นสองประเภทหลัก กล่าวคือ 

หนึ่ง ปฎิกริยาของวัสดุต่อไฟ ว่าด้วยการติดไฟ การเกิดประกาย การลามไฟ การมีควัน การส่งถ่ายความร้อน 

สอง คือ ความทนไฟ ว่าด้วยความทนไฟว่าทนได้นานแค่ไหน 

 

ในส่วนของวัสดุเอง ก็มี วัสดุสองประเภทหลัก คือวัสดุที่ไม่ติดไฟ (non-combustible material ) กับวัสดุติดไฟ (Limit-combustible material) 

 

    ซึ่งหากต้องการให้ทดสอบวัสดุเหล่านี้ ก็สามารถอ้างอิงตามตารางที่สรุปไว้ด้านล่างนี้ครับ ตารางแสดงความรุนแรงของความติดไฟของวัสดุ จากไม่ติดไฟ ไปจนถึงติดไฟมาก จากบนลงล่างตามลำดับ และจากไม่เกิดควัน ไปจนถึงเกิดควันมาก ตามลำดับบนลงล่าง 

 

นวัตกรรมของการทำผน้งด้วยอิฐมวลเบา


บทความโดย ดร.พงศ์ธร ธาราไชย

 


ข้อดี ไม่มีรอย crack  ทำงานได้เร็ว และไซด์งานสะอาดกว่าระบบเดิม 

 

    ปัญหาของการทำผนังก็คือรอยร้าวของผนัง ซึ่งสาเหตุของรอยร้าวเกิดจากการฉาบที่หนา โดยปกติเมื่อเอาอิฐมาก่อเป็นผนังแล้ว เราก็จะเอาปูนที่เรียกว่ามอร์ต้ามาฉาบ ซึ่งการฉาบนี้ก็จะมีความหนาประมาณ 1 - 1.5 ซ.ม. ซึ่งด้วยความหนาของผิวฉาบเมื่อผนังเกิดการเคลื่อนตัว ก็ทำให้เกิดการแตกร้าวของผิว  

 

นอกจากนั้นในกระบวนการฉาบผิวนั้นจะต้องเอาน้ำมาบ่มคอนกรีตให้เกิดกำลัง ในการใช้น้ำบ่มคอนกรีตนี้เองทำให้เกิดสองปัญหาก็คือ  

 

  1. น้ำทำให้พื้นที่ทำงานเปียก ดูไม่สวยงาม สะอาด
  2. พื้นทำงานเปียกทำให้ไม่สามารถทำงานขั้นตอนต่อไปได้ เสียเวลา

 

    ซึ่งตอนนี้เรามีนวัตกรรมใหม่มาใช้ของ imesh (ที่ใช้ที่หน่วยงานก่อสร้างโรงพยาบาลจักษุ inz ของ PPS ด้วย) ทำให้ลดปัญหาข้างต้นไป และไม่ได้แพงกว่าวิธีเดิมมากเท่าที่คิด เพราะมีการลดเวลาการก่อสร้าง และลดปัญหาการแก้งานซึ่งทั้งสองอย่างเป็นค่าใช้จ่าย 

 

    imesh จะใช้อิฐมวลเบาก้อนใหญ่พิเศษ และเสริมแรงด้วยตาข่ายใยแก้ว ซึ่งเท่ากับเพิมวัสดุในการรับแรงดึงเข้าไปที่ผิวด้านนอกของผนัง แล้วก็ทำการฉาบด้วยมอร์ต้าแบบ flexible สูง ที่ออกแบบมาให้ใช้กับตาข่ายใยแก้ว ส่วนการฉาบนั้น ก็ทำการฉาบด้วยความหนาของมอร์ต้าแค่ 0.05 ซ.ม. เท่านั้น และเป็นการทำงานแบบแห้ง คือไม่ต้องมีการบ่มน้ำ

 

    จึงทำให้การทำงาน ทำได้เร็วเพราะสามารถทำขั้นตอนต่อไปได้เลย ไซด์งานสะอาด และลดปัญหางานแก้ไขในระหว่างการก่อสร้าง และได้ผิวผนังที่สวยงามหลังการก่อสร้าง และไม่มีปัญหาการแตกร้าวของผนังครับ