หน้าเว็บ

การเก็บภาษีสรรพสามิต รถยนต์ตามอัตราการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์


บทความโดย ดร.พงศ์ธร ธาราไชย

 

 

   การเก็บภาษีสรรพสามิต รถยนต์ตั้งอยู่บนความคิดสองอย่าง ก็คือ การรักษาความสามารถในการแข่งขันทางด้านการผลิตรถยนต์ของไทย เราสนับสนุนการผลิตรถยนต์อะไร ก็จะเก็บภาษีรถยนต์นั้นต่ำกว่า และสอง การเก็บภาษีให้สอดคล้องกับ trend ของโลกและหลักสากล อย่างเช่นตอนนี้มีเรื่องของการลดคาร์บอน ลดโลกร้อน ประเทศต่างๆเขาเก็บภาษีการปล่อยคาร์บอน ประเทศไทยก็ต้องปรับตัวตาม

 

   โดยแต่เดิมสรรพสามิต ได้มีการเก็บภาษีรถยนต์ตามความฟุ่มเฟือยของมัน หรือตามอัตราความใหญ่ของกระบอกสูบ จนเมื่อธันวาคม 2555 คณะรัฐมนตรีได้มีมติรับหลักการการเก็บภาษีรถยนต์ตามอัตราการปล่อย Co2 แทนการเก็บตามกระบอกสูบ เพื่อสนับสนุนการผลิตรถยนต์ที่มีประสิทธิภาพสูงและปล่อยคาร์บอนต่ำ และเริ่มเก็บภาษีโดยนำอัตราการปล่อยคาร์บอนมาคิด ตั้งแต่ราวปี 2559

 

   ซึ่งหลังจากที่ไทยมีแผนการเป็นฐานการผลิตรถยนต์ EV จึงได้มีการเปลี่ยนอัตราการเก็บภาษีสรรพสามิตอีกครั้งหนึ่ง โดยโครงสร้างภาษีจะแบ่งตามประเภทการใช้พลังงานของรถยนต์ ได้แก่ รถยนต์สันดาบภายใน รถยนต์ไฮบริด รถยนต์ plug in hybrid รถยนต์ EV รถยนต์พลังงานเซลล์เชื้อเพลิงเช่น ไฮโดรเจน

 

   โดยจะมีการเก็บภาษีแบบขั้นบันได เริ่มตั้งแต่ปี 2569 ไปจนถึงปี 2573 (คศ. 2030) ที่ประเทศไทยมีแผนจะลดคาร์บอนให้ได้ 40% โดยขณะนี้สรรพสามิตกำลังศึกษาแนวทางในการจัดเก็บภาษีคาร์บอนรถยนต์ โดยรถยนต์ที่ปล่อยคาร์บอนสูงก็จะถูกเก็บภาษีในอัตราที่สูงขึ้น ตัวอย่างเช่น

 

รถยนต์ที่ปล่อยคาร์บอนมากกว่า 200 กรัมต่อกิโลเมตร จะถูกเก็บภาษีในอัตรา 35% ในปี 2569 และ 38% ในปี 2573

 

 

รถยนต์ที่ปล่อยคาร์บอน 151-200 กรัมต่อกิโลเมตร จะถูกเก็บภาษี 30% ในปี 2569 และ 33% ในปี 2573

 

 

รถยนต์ที่ปล่อยคาร์บอน 121-150 กรัมต่อกิโลเมตร จะถูกเก็บภาษี 25% ในปี 2569 และ 29% ในปี 2573

 

 

รถยนต์ที่ปล่อยคาร์บอน 101-120 กรัมต่อกิโลเมตร จะเก็บภาษีในอัตรา 22% ในปี 2569 และ 26% ในปี 2573

 

 

รถยนต์ที่ปล่อยคาร์บอนน้อยกว่า 100 กรัมต่อกิโลเมตร จะเก็บภาษีในอัตรา 13% ในปี 2569 และ 15% ในปี 2573 เป็นต้น

 

 

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น