หน้าเว็บ

หลักเบื้องต้น สำหรับแนวคิดเรื่อง การทดสอบวัสดุที่ใช้ในอาคารสำหรับปฎิกิริยาต่อไฟ (Fire Testing 101)


บทความโดย ดร.พงศ์ธร ธาราไชย

 

 

    เมื่อพูดถึงการทดสอบวัสดุที่ใช้ในอาคารต่อปฎิกิริยาที่มีต่อไฟแล้ว ปกติเรามักจะนึกถึง การทดสอบประตูทนไฟสำหรับบันใดหนีไฟ มันเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดที่สุด เพราะในกฎหมายควบคุมอาคารนั้นแม้จะไม่ระบุเวลาการทนไฟของประตูโดยตรงแต่ก็ระบุ ประเภทของประตูและเกณฑ์การทดสอบประตูเอาไว้ในมาตรฐาน มอก. ซึ่งเวลาเราตรวจรับวัสดุ รับประตูกันไฟเราก็จะรับดูจากเอกสารประกอบนี้ ว่าได้ตามมาตรฐานนี้หรือไม่ แต่หากเป็นวัสดุอย่างอื่นที่ พระราชบัญญัติควบคุมอาคารไม่ได้ระบุไว้ว่าให้ใช้มาตรฐานอะไร สถาปนิกหรือวิศวกรที่เกี่ยวข้องก็จะระบุว่าให้ไปทดสอบที่ไหนให้ผ่าน มาตรฐานของอะไร และทดสอบด้วยวิธีใด 

 

    ซึ่งเมื่อปีที่แล้ว มีกฎหมายฉบับใหม่ ในเรื่องเกี่ยวกับการทดสอบนี้ ก็คือ การกำหนดวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างอาคารประเภทควบคุมการใช้ พ.ศ. 2566 ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2566 และมีผล 180 วันหลังจากประกาศ นั่นคือ ประมาณเดือนมีนาคม 2567 นี้ 

 

    ซึ่งเรื่องสำคัญของกฎหมายนี้ คือการกำหนดมาตรฐานวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างอาคารประเภทควบคุมการใช้ ไว้ในภาคผนวก หนึ่ง ถึงสิบ ดังนี้

 

ภาคผนวก 1: วัสดุที่ใช้ในโครงสร้างอาคาร 

ภาคผนวก 2: วัสดุที่ใช้ในระบบไฟฟ้า 

ภาคผนวก 3: วัสดุที่ใช้ในระบบประปา 

ภาคผนวก 4: วัสดุที่ใช้ในระบบสุขาภิบาล 

ภาคผนวก 5: วัสดุที่ใช้ในระบบป้องกันอัคคีภัย 

ภาคผนวก 6: วัสดุที่ใช้ในระบบปรับอากาศ 

ภาคผนวก 7: วัสดุที่ใช้ในระบบกันเสียง 

ภาคผนวก 8: วัสดุที่ใช้ในระบบกันความร้อน 

ภาคผนวก 9: วัสดุที่ใช้ในระบบกันซึม 

ภาคผนวก 10: วัสดุที่ใช้ในระบบตกแต่ง

 

    ซึ่งในตรงนี้แหละครับ จะพูดถึง ดรรชนีการลามไฟ ดัชนีการกระจายควัน หรือการทนไฟ ตามมาตรฐานต่างๆ แล้ว คำศัพท์พวกนี้คืออะไร?

 

    ในการจะเข้าใจหลักพวกนี้ได้ต้องเข้าใจเรื่องพื่นฐานของวัสดุที่โดนไฟไหม้ และเรื่องสิ่งที่จะเกิดต่อมาจากการไฟไหม้ก่อน โดยการพัฒนาของไฟนั้น จะแบ่งเป็น สี่ stage ดังนี้

 

หนึ่ง Incipient stage คือช่วงเริ่มต้น เกิดไฟจุดเล็กๆ หรือมีแต่ควัน 

สอง Growth stage ไฟเริ่มลุกลามจากวัสดุติดไฟเริ่มเกิดควันไฟ เปลวไฟและความร้อน 

สาม fully develop ไฟไหม้ความรุนแรงสูงสุดทั้งความร้อน และควัน ไฟเผาไหม้วัสดุที่เป็นเชื้อเพลิงทั้งหมด 

สี่ Decay ไฟดับ เพราะเผาเชื้อเพลิงไปหมด หรือไม่มีออกซิเจนแล้ว 

 

    ซึ่งในการทดสอบนั้น เลยแบ่งการทดสอบเป็นสองประเภทหลัก กล่าวคือ 

หนึ่ง ปฎิกริยาของวัสดุต่อไฟ ว่าด้วยการติดไฟ การเกิดประกาย การลามไฟ การมีควัน การส่งถ่ายความร้อน 

สอง คือ ความทนไฟ ว่าด้วยความทนไฟว่าทนได้นานแค่ไหน 

 

ในส่วนของวัสดุเอง ก็มี วัสดุสองประเภทหลัก คือวัสดุที่ไม่ติดไฟ (non-combustible material ) กับวัสดุติดไฟ (Limit-combustible material) 

 

    ซึ่งหากต้องการให้ทดสอบวัสดุเหล่านี้ ก็สามารถอ้างอิงตามตารางที่สรุปไว้ด้านล่างนี้ครับ ตารางแสดงความรุนแรงของความติดไฟของวัสดุ จากไม่ติดไฟ ไปจนถึงติดไฟมาก จากบนลงล่างตามลำดับ และจากไม่เกิดควัน ไปจนถึงเกิดควันมาก ตามลำดับบนลงล่าง 

 

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น