หน้าเว็บ

ข้อควรปฎิบัติ หลังเกิดแผ่นดินไหว


เรื่องที่ไม่เคยเกิด ไม่ใช่ว่าจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ตอนที่แล้วเราได้เขียนถึงข้อควรปฎิบัติ ขณะเกิดแผ่นดินไหวกันแล้ว  ย้ำครับว่าเรากำลังพูดกันถึงภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย แต่ผมก็ยังคิดว่าเป็นเรื่องที่ประเทศของเราควรมีการเรียนการสอน และการฝึกซ้อมกันเรื่องเหล่านี้ด้วย

1. เมื่อแผ่นดินไหวเบาลง และหยุดแล้ว เรายังคงจะต้องระวังถึงเรื่องไฟไหม้ที่เกิดจากสาธารณูปโภคภายในบ้านในอาคาร รวมถึงภายนอกที่เสียหายด้วยครับ  จะออกสำรวจใส่รองเท้าด้วยนะครับ

2. ถ้าเราอยู่ในบ้านสิ่งที่ควรทำทันทีหลังจากที่แผ่นดินไหวสงบแล้วก็คือ ตัดสาธารณูปโภคในบ้านเราก่อนครับ  ตัดไฟฟ้าในบ้านด้วยการปิดที่ตู้ main ไฟฟ้า ตัดแก๊ซ ตัดน้ำ

3. หากอยู่ในอาคาร ให้ออกจากอาคาร  และการเคลื่อนที่ออกจากอาคารให้ใช้บันได ไม่ใช้ลิฟท์ เพราะลิฟท์อาจเสียหาย รวมถึงแผ่นดินไหวอาจยังมี aftershock ได้อีก

4. ถ้าไม่จำเป็นอย่าใช้รถยนต์โดยไม่มีความจำเป็น ให้ถนนเป็นที่สำหรับรถฉุกเฉินของเจ้าหน้าที่

5. อาจเกิดไฟไหม้หลังแผ่นดินไหวได้ ถ้าพบเห็นไฟไหม้ พยายามดับไฟก่อนที่จะลุกลามครับ  และถ้าต้องการจะใช้แสงสว่าง ให้ใช้ไฟฉาย ไม่ใช้ไม้ขีดหรือไฟแช๊ค เพราะไม่แน่อาจมีแก๊ซที่รั่วอยู่ก็เป็นไปได้นะครับ

6. อย่าเข้าไปในอาคารที่เสียหาย เพราะมันอาจพังลงมาได้

7. ถ้าพบคนเจ็บ อย่าเพิ่งเคลื่อนย้ายเขา เพราะอาจทำให้เขาเจ็บหนักขึ้น ยกเว้นในกรณีที่คนเจ็บคนนั้นอยู่ในบริเวณที่อาจเกิดความเสียหายขึ้นอีกถึงจะมีความจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายเขาก่อนครับ

8. เตรียมน้ำสะอาดไว้ดื่มครับ หลายครั้งที่หลังเกิดแผ่นดินไหว น้ำดื่มสะอาดเป็นของที่หายาก

9. ฟังข่าวสารจากทางการ ว่าให้ปฎิบัติต่อไปอย่างไรครับ และอย่าเป็นคนแพร่ข่าวลือซะเองนะครับ

ข้อควรปฎิบัติหลังเกิดแผ่นิดินไหว


ทำไมไม่ควรใช้พื้นสำเร็จในบริเวณห้องน้ำ


ปัจจุบันการใช้พื้นสำเร็จแบบแผ่นกระดานเรียบ หรือ ที่ชาวบ้านเรียกกันว่าพื้นสำเร็จมแพล้งค์ (Plank) เนื่องจากพื้นดังกล่าวมีราคาไม่แพง ติดตั้งได้ง่าย ทำให้ไม่ต้องมีการตั้งไม้แบบท้องพื้น และมีขายตามร้านค้า วัสดุทั่วไปและเป็นที่ยอมรับของเจ้าของอาคารโดยทั่วไป

แผ่นพื้นสำเร็จแบบแผ่นกระดานเรียบ เป็นพื้นคอนกรีตอัดแรงหล่อสำเร็จ ความกว้าง 30 - 35 เซนติเมตร ความยาวตามระยะของคาน ซึ่งจะต้องการสั่งผลิต แต่ไม่เกิน 4.00เมตร เมื่อติดตั้งแล้วต้องมีการเสริมเหล็กและเทคอนกรีตทับหน้า 4-6 เซนติเมตร โดยทั่วไปพื้นชนิดนี้เหมาะสำหรับอาคารประเภทพักอาศัยไม่เหมาะสำหรับอาคารที่รับน้ำหนักมากๆ เช่น โรงงาน หรือโกดังเก็บของ ยกเว้นมีการออกแบบกรณีพิเศษ

เมื่อการใช้พื้นสำเร็จมีราคาถูก และทำงานง่าย ดังนั้น ผู้รับเหมาโดยทั่วไปจึงพยายามใช้พื้นชนิดนี้ให้มากที่สุด แม้แต่พื้นบริเวณที่ไม่ควรใช้ เช่น บริเวณห้องน้ำ หรือดาดฟ้า เนื่องจากพื้นสำเร็จชนิดนี้มีรอยต่อเป็นจำนวนมาก เช่นรอยต่อระหว่างพื้นกับคาน ทำให้น้ำมีโอกาสที่จะรั่วซึมทะลุจากพื้นด้านบนได้ค่อนข้างง่าย การแก้ไขปัญหาการรั่วซึมดังกล่าวทำได้ยากมากและเสียค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง

ผู้รับเหมาที่จะใช้พื้นสำเร็จในบริเวณห้องน้ำหรือดาดฟ้า มักจะเสนอวิธีผสมน้ำยากันซึมที่ผิวหน้าเพื่อป้องกันน้ำรั่ว การก่อสร้างด้วยวิธีนี้จะใช้ได้ผลในช่วงแรก แต่จะมีปัญหาในอนาคต เนื่องจากพื้นสำเร็จเมื่อมีการใช้งาน พื้นอาจจะขยับตัวจนน้ำรั่ว ส่วนวัสดุกันซึมมีราคาค่อนข้างแพงและมีอายุการใช้งานสั้น ดังนั้นพื้นที่ดังกล่าว การเทคอนกรีตเสริมเหล็กกับที่ป้องกันน้ำรั่วได้ดีกว่า


วิธีแก้ปัญหา น้ำรั่วจากการใช้พื่นสำเร็จ ที่ดาดฟ้า และห้องน้ำ


สำหรับกรณีที่มีการใช้พื้นสำเร็จในห้องน้ำแล้วพบปัญหาน้ำรั่ว การแก้ไขปัญหาดังกล่าวมีข้อแนะนำดังนี้

1.ให้รื้อกระเบื้องพื้นออกทั้งหมด แล้วให้ทาวัสดุกันซึมที่พื้นใหม่ทั้งหมด โดยเฉพาะบริเวณรอยต่อของท่อที่วางทะลุพื้น
2. ปรับปรุงพื้นที่การใช้งานใหม่ โดยแยกส่วนแห้ง และส่วนเปียกออกจากกัน โดยในส่วนเปียกให้ใช้ถาดอาบน้ำ (ซึ่งมีขายตามร้านสุขภัณฑ์) เพื่อป้องกันน้ำไม่ให้ซึมผ่านที่พื้น การใช้งานในพื้นที่ส่วนแห้ง พยายามหลีกเลี่ยงการเทน้ำโดยตรงกับพื้น ใช้วิธีเช็ดทำความสะอาดแทน

สำหรับกรณีที่ใช้พื้นสำเร็จก่อสร้าง หรือพื้นชั้นดาดฟ้า แล้วพบปัญหาน้ำรั่ว มีข้อแนะนำดังนี้

1.อย่าเทคอนกรีต หรือปูกระเบื้องทับ เป็นการเพิ่มน้ำหนักกับพื้น ทำให้เพิ่มรอยรั่ว ปัญหาจะเพิ่มขึ้น
2. แนะนำให้ทา หรือ ปูด้วยวัสดุกันซึมที่มีความยืดหยุ่น เพื่อป้องกันปัญหาน้ำรั่ว แต่วัสดุดังกล่าวมีอายุการใช้งาน ดังนั้นจึงต้องมีการตรวจสอบเป็นระยะ
3. ตรวจสอบและแก้ไขรางระบายน้ำ, ท่อระบายน้ำให้ระบายน้ำให้เร็วที่สุด อย่าให้เกิดปัญหาน้ำท่วมขัง

ขอขอบคุณบทความจาก: คุณสมจิตร์ เปี่ยมเปรมสุข ประธานคณะกรรมการคลีนิคช่าง

บ้านเย็น เบอร์ห้า


อากาศบ้านเราร้อนขึ้นทุกวันๆ ตัวบ้านที่เราอาศัยอยู่นั้นก็ร้อนขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นการปรับบ้านให้เย็นก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกไม่ว่าจะเป็นบ้านที่เพิ่งสร้างใหม่ หรือบ้านเดิมที่อาศัยกันอยู่แล้ว วันนี้ช่างมันส์เราจะมาแชร์วิธีปรับบ้านเราให้เย็นโดยไม่ต้องใช้พลังงานกันครับ

ปัจจัยในการทำให้บ้านเย็นขึ้นนั้นอันดับแรก

การเลือกทำเลที่ตั้ง ถ้าเป็นบ้านปลูกใหม่ที่เราสามารถเลือกทำเลได้เองนั้น บ้านไม่ควรหันหน้าไปทางทิศตะวันตก เพราะจะรับความร้อนโดยตรงในยามบ่าย  สังเกตุทิศทางของลมที่เข้าบ้านและเปิดหน้าต่างด้านที่รับลม และไม่ควรวางเฟอร์นิเจอร์ขวางทิศทางลม  อย่างในประเทศไทยลมมาทางทิศเหนือและทิศใต้ บ้านก็ควรมีช่องเปิดสองทางนี้มากเข้าไว้


หลังคาและฉนวนกันความร้อน  รูปทรงของหลังคามีผลกับการระบายความร้อน อย่างในประเทศไทย หลังคาควรเป็นทรงสูง  ส่วนวัสดุที่ใช้ทำหลังคาเองก็มีผลต่อความร้อนเช่นกัน เช่นปัจจุบันมีเทคโนโลยี วัสดุที่สามารถสะท้อนยูวีจากแสงอาทิตย์ ทำให้ลดความร้อนสะสมในหลังคาได้อีกด้วย  นอกจากนั้น ในส่วนของใต้หลังคา ก็สามารถใช้ฉนวนกันความร้อนชนิดต่างๆ เสริมเข้าไป เพื่อลดความร้อนที่จะลงมาสู่ตัวบ้านได้อีกชั้นหนึ่ง

ผนังบ้านแนวต้านความร้อน ส่วนผนังบ้านนั้นควรเลือกใช้วัสดุที่ความร้อนไม่เข้าและไม่อมความร้อนซึ่งจริงๆ แล้วกำแพงยิ่งหนาจะยิ่งกันความร้อนได้ดี แต่ก็จะมีต้นทุนสูง ซึ่งในปัจจุบันก็จะมีเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ทำให้บ้านเย็นเช่นการใช้อิฐมวลเบามาทำเป็นผนัง เนื่องจากมีน้ำหนักเบา กันความร้อนจากภายนอกได้ดีกว่าอิฐมอญ แต่ก็จะมีข้อจำกัดในเรื่องของการตอกตะปู, เจาะผนัง

สีทาบ้าน  สีทาบ้านนอกจากจะให้ความสวยงาม และปกป้องวัสดุแล้ว ยังสามารถกันความร้อนได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นระบบสีทาภายในหรือทาภายนอก การทีสีสามารถสะท้อนยูวีไปได้ ก็จะลดความร้อนสะสมในผนังบ้านในเวลากลางวัน และลดความร้อนที่ผนังคายออกมายามกลางคืน

ต้นไม้ร่มเงา  การปลูกต้นไม้ในทิศทางที่มีแสงแดด เป็นพื้นฐานในการลดความร้อนให้กับที่อยู่อาศัยมานาน นอกจากจะบังแสงแดดได้แล้ว ยังให้ความสดชื่นกับผู้อยู่อาศัยอีกด้วยครับ  หากไม่สามารถปลูกต้นไม้ได้ ก็สามารถใช้กันสาด หรือไม้ระแนง ก็สามารถลดความร้อนให้กับบ้านได้เหมือนกันครับ


บ้านเย็นเบอร์ห้า
             
ส่วนบ้านที่เป็นทาวน์เฮ้าส์ หรือบ้านปัจจุบันที่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนอะไรได้มากและมีบ้านหันหน้าไปทางทิศตะวันตกแล้วสามารถทำอะไรเพื่อให้ลดความร้อนลงโดย ทำกำแพงบ้านบ้านให้ทึบหน่อย หรือปลูกต้นไม้เพื่อทำเป็นแผงบังแดด หรือ ติดตั้งกันสาดเพิ่มเติมสำหรับมุมที่รับแดดเต็มๆ เพื่อไม่ให้แดดส่องเข้าบ้านโดยตรงครับ