หน้าเว็บ

ปัญหาบ้านทรุดและดินรอบบ้านยุบตัว (2)



      ในตอนที่แล้วกล่าวถึงปัญหาการทรุดตัวของบ้านพักอาศัยที่อยู่มาหลายสิบปี จะเกิดการทรุดตัวได้หรือไม่ สรุปก็คือ ถ้าบ้านมีปัญหาเรื่องฐานรากจะเกิดปัญหาขึ้นทันที ส่วนบ้านที่อยู่มานานหลายสิบปีแล้วจึงค่อยเกิดการทรุดตัวนั้นจะต้องไม่ใช่เกิดขึ้นจากฐานรากของบ้านมีปัญหา แต่มักพบว่าเกิดขึ้นจากการต่อเติมอาคาร ไม่ว่าจะเป็นการต่อเติมด้านหลัง ด้านข้าง หรือเพิ่มจำนวนชั้นของบ้าน ตอนนี้มาต่อเรื่องของปัญหาบ้านทรุดและดินรอบบ้านยุบตัวกันอีกตอนครับ


ความรู้เบื้องต้น เรื่องลิฟต์


         เมื่อพูดถึงลิฟต์ทุกคนคงเคยมีประสบการณ์ในการใช้ลิฟต์กันในชีวิตประจำวันกันอยู่แล้ว โดยลิฟต์ที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีอยู่หลากหลายประเภท ซึ่งเราสามารถแบ่งประเภทหลักๆ ของลิฟต์อาคารได้ดังนี้

แบ่งตามการขับเคลื่อน
1. ขับเคลื่อนด้วย มอเตอร์
2. ขับเคลื่อนด้วย hydraulic
โดยในปัจจุบันเราจะใช้ลิฟต์ที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ซะเป็นส่วนใหญ่

แบ่งตามประเภทการใช้งาน
1. ลิฟต์ขนคน (ลิฟต์โดยสาร)
    1.1 ลิฟต์ขนคนทั่วไป
ลิฟต์โดยสาร
    1.2 ลิฟต์ขนผู้ป่วย (Bed lift)

ลิฟต์ขนผู้ป่วย (Bed lift)

2. ลิฟต์ขนของ การสร้างลิฟต์ต้องมีโครงสร้างไว้สำหรับรองรับน้ำหนักของมันต่างหาก รวมถึงเสาเข็ม ด้วย

ปัญหาการกระตุกของลิฟต์ โดยมากเกิดจากระบบควบคุมการจอด หรือ มอเตอร์ ทำงานไม่ดี ไม่เกี่ยวกับ สลิงค์ โดยทั่วไปสลิงค์ที่ใช้กับลิฟต์ เป็นสลิงค์ที่ทนทานมาก และมีค่า safety factor ที่สูงมาก ดังนั้นปัญหาลิฟต์ตกที่เกิดจากสลิงค์ขาดนับเป็นส่วนน้อย โดยทั่วๆไปสลิงค์มีอายุใช้งานได้ราว 5-10 ปี ขึ้นกับการใช้งานและ ถ้าสลิงค์มีสภาพปกติ ไม่แตก ไม่แห้งเป็นสนิม หรือไม่มีลวดเป็นเส้นเล็กๆ ออกมา ก็มักจะยังไม่หมดสภาพ

ปัญหาที่เกิดจากลิฟต์ที่เป็นอันตรายมากที่สุด คืออันตรายที่เกิดจากความบกพร่องของระบบเบรคทำงานผิดปกติ ทำให้ไม่สามารถหยุดลิฟต์ได้ และลิฟต์ ก็ตกลงมา อีกจุดหนึ่งที่สำคัญมากในการตรวจลิฟต์คือตรวจดู sensor ควบคุมการปิดเปิดประตู เพราะในการใช้งานลิฟต์นั้น ลิฟต์ต้องเคลื่อนที่ไม่ได้ ถ้าประตูยังไม่ปิด

     สำหรับประเทศไทยนั้น ยังไม่มีกฎหมายควบคุมการตรวจสอบลิฟต์ แต่ในความเป็นจริง ลิฟต์เป็นอุปกรณ์ทางเครื่องกลที่จำเป็นต้องมีการบำรุงรักษา ทำให้ในปัจจุบันสามารถให้บริษัทผู้ผลิตมาทำการตรวจให้ได้ส่วนใหญ่ทำการตรวจปีละครั้ง

เกร็ดความรู้เรื่อง "ลิฟต์บ้าน"
     สำหรับลิฟต์บ้านนั้นจะเหมาะสำหรับผู้ที่มีพื้นที่น้อย เช่น 1.5 x 1.5 เมตร ไม่ต้องการความทนทานมากเท่าลิฟต์สำนักงาน และมีความเร็วไม่สูง โดยส่วนมากลิฟต์บ้านจะรับน้ำหนักได้ประมาณ 200-300 กิโลกรัม หรือเท่ากับน้ำหนักคนประมาณ 3-4 คน

     ส่วนเรื่องโครงสร้างนั้นการติดตั้งลิฟต์บ้านภายหลังจากการสร้างบ้านเสร็จแล้ว ต้องคิด ถึงการทำฐานรากให้โครงสร้างลิฟต์ต่างหากด้วย ซึ่งรวมถึงการทำเสาเข็ม และต้องมีพื้นที่ด้านล่างอีกประมาณ 50 เซนติเมตร ไว้สำหรับทำบ่อลิฟต์ และมีเผื่อด้านบนอีกประมาณ 1 เมตร ไว้เป็น overhead ของลิฟต์

ตัวอย่างลิฟต์บ้าน

เตรียมหลังคาบ้านพร้อมรับมือหน้าฝน


     เมื่อฝนโปรยปราย ไม่เพียงพัดพาเอาสายลมและความชุ่มฉ่ำมาให้ได้เย็นสบายเท่านั้น ยังพัดพาปัญหา “หลังคารั่วซึม” มาให้หนักใจด้วย เนื่องจากหลังคาเป็นส่วนแรกของบ้านที่ต้องรับมือกับฝนและลมพายุ ทั้งยังเป็นส่วนที่รองรับน้ำฝนมากที่สุด จึงเป็นจุดที่น้ำซึมเข้าบ้านได้มากที่สุดเช่นกัน

     ธรรมธร ไกรก่อกิจ สถาปนิกผู้ชำนาญการออกแบบ จาก เอสซีจี กล่าวว่า “หลังคารั่วซึม ถือเป็นปัญหายอดฮิตที่มักสร้างความหนักใจให้กับเจ้าของบ้านเป็นประจำในหน้าฝน เพราะนอกจากจะเป็นปัญหาที่แก้ไขยาก ต้องแก้แล้วแก้อีก ยังเป็นปัญหาที่เจ้าของบ้านจะรู้ตัวก็ต่อเมื่อเกิดน้ำรั่วซึมขึ้นแล้ว จึงสร้างความเสียหายให้กับทรัพย์สินภายในบ้านไม่น้อย” เพื่อให้หมดกังวลกับปัญหากวนใจ วันนี้ “ช่างมันส์” แนะนำเช็กลิสต์ เพื่อให้เจ้าของบ้านได้เตรียมหลังคาให้พร้อมรับฝน ดังนี้

ปัญหาบ้านทรุดและดินรอบบ้านยุบตัว ตอนที่ 1


ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีข่าวเรื่อง บ้านร้าว บ้านทรุด และดินยุบตัว 3-4 แห่ง มีอยู่ที่หนึ่งเป็นทาวน์เฮ้าส์ทรุดตัวลงทั้งแถบประมาณ 7-8 ห้องทั้งที่อยู่มาประมาณ 30 ปีแล้ว บางแห่งเข้าอยู่ไม่นานเกิดรอยแตกร้าวแล้วและพบว่ามีเสาบ้านบางต้นหักพับลงมา เหตุการณ์เหล่านี้ทำให้ประชาชนเริ่มไม่มั่นใจว่าอาคารที่พักอาศัยจะมีปัญหาเช่นว่านี้ด้วยหรือไม่ หากพบปัญหาจะแก้ปัญหาอย่างไร ถึงขั้นที่ต้องทุบบ้านทิ้งหรือไม่ สำหรับผู้ที่กำลังก่อสร้างตัวคิดจะซื้อบ้านสักหลังจะมั่นใจได้อย่างไรว่าซื้อแล้วไม่ประสบปัญหาเช่นที่เป็นข่าวอยู่

ในที่นี้จะเล่าถึงลักษณะปัญหาการทรุดตัวและปัญหาดินรอบบ้านยุบตัว รวมถึงสาเหตุที่เป็นไปได้ของปัญหาเหล่านั้นเพื่อให้ท่านผู้อ่านได้เข้าใจและทราบว่าโอกาสเกิดเหล่านั้นจะมีมากน้อยเพียงใด เวลาจะเลือกซื้อบ้านหรือเมื่อเกิดปัญหาเช่นว่านี้จะแก้ไขอย่างไรให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ

วิธีลับคมเป็น "วิศวกรเนื้อหอม"


     ในปี 2558 ทุกกลุ่มสายงาน "วิศวกร" ยังคงติดอันดับอาชีพที่สุดร้อนแรง ที่บริษัทต่างๆ มีการลงประกาศรับสมัครงานต่อเดือนประมาณ 26,031 อัตรา แต่ในความป็นจริงแล้วองค์กรกลับรับได้จริงเพียง 7,880 อัตราเท่านั้น นี่คือผลสำรวจของ แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ประเทศไทย ซึ่งชี้ถึงปัญหาดีมานด์ไม่สอดคล้องกับซัพพลาย แม้จะมีความต้องการบุคลากรในสายงานนี้จำนวนมาก ทว่ากลับพบข้อจำกัดตรงคนที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับงานกลับมีจำนวนน้อย

     "สุธิดา กาญจนกันติกุล" ผู้จัดการฝ่ายการตลาดกล่าวว่า แม้ผลสำรวจพบว่าในภาพรวมของตลาดกลุ่มสายงานวิศวกรในปีนี้ยังคงร้อนแรง อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เกิดขึ้นจริงในไตรมาสแรก ยังคงไม่เป็นเช่นนั้น เนื่องจากธรรมชาติของกลุ่มสายงานด้านวิศวกร จะฮอตสุดๆ คือจะเกิดสงครามแย่งชิงตัวกันสูงสุดในช่วงไตรมาสหลัง

     พูดถึงความต้องการแรงงานสายงานวิศวกรในปัจจุบัน โดยเฉพาะในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี เธอบอกว่าคนในสายงานนี้ที่จะถูกหมายปอง หรือถูกดึงตัวไปทำงานต่างประเทศมากที่สุดส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มนักศึกษาจบปริญญาตรี ที่เริ่มทำงานได้ 3-4 ปี โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านอย่างพม่า ที่กำลังเร่งพัฒนา และขยายความเจริญภายในประเทศ

"และวิศวกรไทย ก็ถือว่าเป็นเบอร์หนึ่งที่ใครๆ ก็มีความต้องการ เนื่องจากขึ้นชื่อในเรื่องของคุณภาพ มีฝีมือดี มีความใส่ใจในรายละเอียดการทำงาน ตลอดจนยังมีค่าแรงที่ถูกกว่า เมื่อเทียบกับกลุ่มสายงานวิศวกรของสิงคโปร์ที่มีเนื้องานเทียบเท่ากัน"

     สำหรับกลุ่มสายงานวิศวกรที่มีความต้องการจ้างงานที่สูงขึ้น และคาดว่าจะคึกคักมากๆ ในช่วงไตรมาสที่ 3-4 ในปีนี้ ก็คือวิศวกรที่มีความเชียวชาญด้านพลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ ขณะที่กลุ่มสายงานวิศวกรที่เป็นที่ต้องการในประเทศไทย และต้องมีการดึงตัวบุคลากรมาจากต่างประเทศเข้ามา ก็คือ วิศวกรด้านน้ำมันก๊าซธรรมชาติ สาขาที่มีความต้องการสูงอย่างต่อเนื่อง ก็คือ สาขา Mechanical, สาขา Logistic (มาแรงใน 3-5 ปีนี้) และสาขา Electrical รวมถึง Network Engineer เนื่องจากเป็นยุคแห่งดิจิตอล ดังนั้นการเลือกเข้าเรียนของนักศึกษาในสาขาต่างๆ มีความสำคัญที่ควรศึกษาตั้งแต่กอนเข้าเรียน เพราะส่งผลตั้งแต่การหางานทำไปถึงการเติบโตในสายงาน

     ปัจจุบันองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ของไทย จะใช้กลยุทธ์เข้าไปจองตัวนักศึกษาในมหาวิทยาลัยระดับ Top 5 และเน้นเด็กเรียนเก่งที่เรียนในสาขาที่ต้องการโดยต้องมีเกรดเฉลี่ยตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไป "ความต้องการบุคลากรในสายงานนี้มีสูง แต่คนที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมยังคงขาดแคลน ปัจจุบันนายจ้างต้องการแรงงานที่มีทักษะเชิงลึก รอบด้าน และมีประสบการณ์ในการทำงาน"

ซึ่งทักษะที่มีความต้องการสูงในกลุ่มสายงานวิศวกร
  • อันดับหนึ่ง ภาษาอังกฤษ ซึ่งปัจจุบัน เด็กเจนวาย มีความเชี่ยวชาญในภาษาอังกฤษค่อนข้างดี แตกต่างจาก เจนเอ็กซ์ที่มีประสบการณ์ทำงานเชี่ยวชาญกว่า แต่ภาษาอังกฤษด้อยกว่า
  • อันดับสอง ทัศนคติในการทำงานที่ดี (ทักษะการสื่อสาร, มนุษย์สัมพันธ์ดี, ทีมเวิร์คที่ดี) ซึ่งเป็นธรรมดาที่หน่วยงานองค์กรย่อมต้องการบุคลากรที่ไม่เกี่ยงงาน ยอมรับการติ เพื่อนำไปแก้ไข
  • อันดับสาม ความชำนาญพิเศษ ถือเป็นเรื่องสำคัญมาก เนื่องจากเป็นที่ต้องการของหน่วยงานองค์กรต่างๆ ดังนั้นควรมีการสร้างโปรไฟล์ตัวเอง ที่สามารถบอกได้ว่าตั้งแต่ทำงานมาประสบความสำเร็จในด้านใดบ้าง
  • อันดับสุดท้าย ทัศนคติที่สามารถปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมที่หลากหลาย เพื่อเป็นการรองรับสังคมการทำงานแบบใหม่ และเมื่อเปิดเออีซี
     ด้านนักเรียนสายอาชีพอย่าง ปวช.-ปวส. นั้นความต้องการในตลาดยังคงสูงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากนักเรียนอาชีวะหันมาเรียนปริญญาตรีทางสายวิศวกรรมศาสตร์มากขึ้น ทำให้มีทั้งความรู้และประสบการณ์ตรง สามารถทำงานได้ทันที

     "แต่หากเด็กเรียนจบปริญญาตรีสายวิศวกรรมศาสตร์จะเสียเปรียบด้านประสบการณ์ เพราะไม่ได้รับการฝึกฝนมาก่อนเหมือนสายอาชีพ เป็นสาเหตุให้แรงงานสายอาชีพของไทยมีความต้องการในตลาดสูง และถือว่าขาดแคลนมาก ซึ่งปัจจุบันค่านิยมเปลี่ยนไป มีความนิยมเรียนปริญญาตรีมากกว่าสายอาชีพ"

CR: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ