หน้าเว็บ

บ้านสั่น เป็นเพราะอะไรอันตรายไหม


ตึกสำนักงานที่ผมทำงานอยู่ทุกวัน เป็นอาคารที่สร้างมานานเกินยี่สิบปีแล้วครับ ทีแรกก็มันก็ไม่ติดถนนใหญ่อะไร เพราะในบริเวณนี้แต่เดิมก็เป็นทุ่งนา ไว้สำหรับเลี้ยงวัว

ต่อมาเมืองมีการขยายตัวมากขึ้น มีถนนพระรามเก้ามาตัดผ่านหลังตึกออฟฟิตเลยครับ   (สมัยก่อนั้นเขาเรียกว่าถนนพระรามเก้าตัดใหม่ เพราะว่าถนนพระรามเก้าแต่เดิมนั้น มันไปสิ้นสุดที่สามแยกอสมท. เท่านั้นเอง  ตอนนี้มันเป็นสี่แยก แล้ว ครับ)

อยู่ๆ ไปกว่านั้นอีก ก็มีทางด่วนขั้นที่สอง มาพาดอยู่บนถนนพระรามเก้าอีกที ทีนี้ พอมีรถใหญ่วิ่งผ่านทีนึง ออฟฟิตผมก็สั่นสะเทือนไปทั้งตึกครับ ออฟฟิตวิศวกร แท้ๆ ยังสั่นขนาดนี้

ก็ต้องแก้ปัญหาการสั่นสะเทือนครับ  สาเหตุที่อาคารสั่นนั้น มักเกิดจากสองสาเหตุหลักครับ  คือ ข้อหนึ่ง อาคารสั่นเนื่องจากคอนกรีตมีอายุมากและก็มีความเสื่อมสภาพ

ส่วนสาเหตุที่สอง เกิดจากฐานรากของอาคารนั้น มีความสั้นเกินไป  สังเกตนะครับตึกสูงๆ อาคารใหญ่ๆ ไม่ค่อยสั่น เพราะว่าฐานรากของอาคารเหล่านั้นอยู่ลึก แต่ถ้าเป็นบ้านหรือเป็น ออฟฟิตเตี้ยๆ อย่างที่ทำงานผมแล้ว เสาเข็มอาจไม่ได้อยู่ลึกมาก ทำให้ปลายเข็มยังวางอยู่บนชั้นดินอ่อน  ทีนี้พอเกิดการสั่นสะเทือนจากการจราจร ก็ทำให้อาคารสั่นได้ครับ

วิธีแก้ปัญหา ก็ต้องหาทางสร้างกำแพงกั้นคลื่นการสั่นสะเทือนจากถนน ที่เข้ามากระทบกับอาคารของเรา  สามารถทำได้ง่ายๆ สองวิธี ก็คือ

หนึ่ง ก็คือการใช้เสาเข็มไม้หรือเข็มคอนกรีต ลึกประมาณ 4 เมตร ปักให้ห่างจากตัวอาคารเท่าที่ทำได้  เพราะปกติปักไปห่างมากไม่ได้อยู่แล้ว มันจะไปเข้าไปในที่สาธารณะที่ไม่ใช่ของเรา

อีกวิธี คือการขุดดิน ความกว้างประมาณหนึ่งเมตร ลึกสองเมตร แล้วใส่ทรายลงไป วิธีนี้ก็จะลดแรงสั่นสะเทือนได้เหมือนกัน  เวลาเขาตอกเข็มแล้วป้องกันการสั่นสะเทือนของอาคารข้างเคียงก็ใช้วิธีเดียวกันนี้ครับ


วิธีลดความสั่นสะเทือนของอาคาร

ทั้งสองวิธีให้ทำไปทางทิศที่มีแรงสั่นสะเทือนมานะครับ  เท่านี้ก็จะบรรเทาอาการตึก หรือบ้านสั่นได้แล้วครับ  อย่างอาคารสำนักงานของผมตอนนี้ ก็ไม่ค่อยสั่นแล้วครับ ค่อยสมเป็นสำนักงานของวิศวกรหน่อย

หลักเบื้องต้นในการดูที่ดิน ดูโครงการ หลัก สาม ด.


ก่อนที่จะทำการซื้อที่ดินเพื่ออยู่อาศัย หรือเพื่อทำโครงการก็ตาม ผู้ซื้อจะต้องทำการค้นหาข้อมูลสำหรับที่ดินนั้นๆ เพราะการซื้อที่ดินก็มีราคาไม่ถูก และไม่สามารถเปลื่ยนมือไปต่อได้ง่ายๆรวดเร็ว และหากยิ่งเป็นการซื้อเพื่อสร้างที่อยู่อาศัยแล้วละก็ ยิ่งต้องดูกันนานๆ เพราะเราต้องอยู่อาศัยในที่นั้นอีกนานหลายปี

ร.ศ. ยุวดี ศิริ  อาจารย์จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ท่านได้ให้หลักจำง่ายๆ ถึงวิธีการในการ ตรวจสอบที่ดินเบื้องต้นไว้ ด้วยหลัก สาม ดอ  ได้การ การ "ไปเดิน ไปดู และไปดม"

อาจารย์ท่านว่า การเลือกทำเลที่ดินนั้นถ้าเป็นที่สำหรับสร้างบ้าน คงจะให้คำแนะนำกันลำบาก ไม่เหมือนการเลือกที่ดินสำหรับ การพัฒนาโครงการ เพราะที่ดินสำหรับสร้างบ้านอยู่อาศัยนั้น มักเป็นทำเลที่อยู่ในใจของแต่ละเจ้าของบ้านอยู่แล้ว หรือไม่บางท่านก็อาจได้รับมรดกมา  แต่ถึงอย่างไรก็ตามก็ยังใช้หลักเดียวกันได้อยู่ดี ดังนี้คือ

หลัก 3 ด.

กระเบื้องแตก กระเบื้องระเบิด กระเบื้องปูด ปัญหาปวดหัวที่ป้องกันได้


ปัญหาเรื่องกระเบื้องแตก กระเบื้องปูดร้าว จริงๆ เป็นปัญหาที่เกิดได้ตลอดเวลา  แต่เมื่อช่วงต้นปี 2559 ที่ผ่านมา ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว ทำให้มีการรายงานถึงปัญหาเรื่องนี้ขึ้นมาอีกครั้ง

ปัญหาการแตกร้าวในกรณีนี้ เกิดจากอุณหภฺมิที่ลดลง ทำให้การยืด หดตัวของ กระเบื้องและคอนกรีต เกิดขึ้น แต่การยืดหดตัวของวัสดุทั้งสองอย่างนี้ เกิดในอัตราที่ไม่เท่ากัน ทำให้ เกิดการดึงรั้งกัน และเกิดการกรณีกระเบื้องหลุดร่อน กระเบื้องระเบิด หรือปูดได้  พบมากในกระเบื้องแผ่นใหญ่มากกว่ากระเบื้องแผ่นเล็ก

สำหรับกระเบื้องที่ เกิดปัญหาเหล่านี้ มักเกิดในกรณีที่

1. กระเบื้องปูชน ชิดกันมากเกินไป ไม่มีช่องว่างให้หด หรือขยายตัวได้


ปัญหากระเบื้องร้าว กระเบื้องปูด



2. เกิดจากกรณีใช้การปูกระเบื้องแบบ ปูซาลาเปา คือไม่มี การโป้ว ให้เต็มพื้นที่กระเบื้อง ทำให้การยึดเกาะระหว่างกระเบื้อง กับ ผิวคอนกรีต ไม่ดี วิธีแก้ไข คือให้ใช้ปูนกาว ที่เป็นปูนซีเมนต์ผสมสารเกาะยึดพิเศษ หรือการปูกระเบื้องแบบเปียก คือช่างจะทาปูนเต็มแผ่น ทำให้มีช่องว่างน้อยลงยึดติดได้ดีขึ้นและลดปัญหาการหลุดร่อน หรือระเบิด


ก่อนการแก้ไขกระเบื้องที่แตกร้าวด้วยการปูกระเบื้องใหม่นั้น ควรสำรวจพื้นคอนกรีตใต้กระเบื้อง ที่ปูทับอยู่นั้นด้วยว่ามีรอยร้าวหรือไม่  (ซึ่งปกติจะไม่มี เพราะกระเบื้องระเบิดจากอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง) ถ้าไม่มีรอยร้าว ก็ปูกระเบื้องทับได้เลย  แต่ถ้ามีรอยร้าวก็ต้องทำการสำรวจเพิ่มเติมต่อไปว่า มีปัญหาทางโครงสร้างหรือไม่ครับ