หน้าเว็บ

ความแตกต่างและประโยชน์ของการป้องกันอัคคีภัยเชิงรุก และเชิงรับ โดยคุณสุเมธ เกียรติเมธา


      จากความเจริญเติบโตของประเทศ ทำให้เกิดการขยายตัวโดยเฉพาะอาคารสาธารณะ อาคารสูง อาคารขนาดใหญ่ และอาคารที่มีผู้ใช้จำนวนมาก เช่น โรงพยาบาล คอนโดมิเนียม ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น การให้ความสำคัญกับความปลอดภัยความมั่นคงของอาคารจึงมีความสำคัญมาก ในทุกส่วนขององค์ประกอบของอาคารทุกๆ อาคาร สิ่งสำคัญคือ ผู้เกี่ยวข้องกับอาคารในประเทศยังขาดความรู้ความเข้าใจถึง การป้องกันอัคคีภัยที่ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นการป้องกันอัคคีภัยเชิงรุก (Active Fire protection) และโดยเฉพาะการป้องกันอัคคีภัยในเชิงรับ (Passive Fire protection) วันนี้เรามาทำความเข้าใจกับการป้องกันอัคคีภัยทั้ง 2 แบบกันเลยดีกว่าค่ะ

เหตุการณ์ชิ้นส่วนปิดผนังห้างเซ็นทรัลขอนแก่นหล่นจากชั้น 5 ตกใส่ลูกค้า



 


       เหตุการณ์ชิ้นส่วนตกแต่งภายนอกอาคารของห้างเซนทรัล ขอนแก่น ที่ตกลงมาโดนผู้ใช้บริการที่อยู่ในที่จอดรถด้านล่าง เสียชีวิต และบาดเจ็บ วัตถุประสงค์ของส่วนประกอบของอาคาร มักมีไว้เพื่อความสวยงาม เป็นวัสดุตกแต่งอาคาร เพื่อความสวยงาม และเป็นเอกลักษณ์ของอาคาร

ตอนที่ 1. ก่อสร้างองค์พระใหญ่ สูง 32 เมตร? โดย ประวัติ กิติพงศ์ไพโรจน์



ปี พ.ศ. 2555  ประมาณกลางปีผมทราบมาว่าประเทศไทยจะมีโครงการใหญ่เกิดขึ้น เป็นโครงการระดับประเทศ ซึ่งขณะนั้นเองผมก็ไม่แน่ใจว่าบริษัทของเราจะรับทำงานนี้หรือไม่ หรืออีกอย่างทางเจ้าของโครงการจะให้เราทำงานนี้ไหม แต่สุดท้ายทุกอย่างก็ลงตัวทั้งเรื่องเวลาและโอกาส และต้องขอขอบพระคุณ พี่ประสงค์ พี่สัมพันธ์ และพี่อุทัย ที่ให้โอกาสผมได้มีส่วนรวมในการทำงานโครงการนี้

ทำไมจึงควรว่าจ้าง PM ตั้งแต่ต้นโครงการ


  

    หลายๆ คนอาจสงสัยว่า PM คืออะไร? มีหน้าที่อะไร? และทำไมต้องมี PM? วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจกันค่ะ เมื่อเริ่มต้นโครงการ แต่ละโครงการจะยังไม่มีผู้ดำเนินการก่อสร้าง ดังนั้นหน้าที่ส่วนนี้ในช่วงเริ่มต้นโครงการ ผู้บริหารงานโครงการร่วมกับเจ้าของโครงการและผู้ออกแบบจึงต้องร่วมกันทำหน้าที่นี้ไปพลางๆก่อน โดยกลุ่มผู้เกี่ยวข้องในโครงการ ประกอบด้วย

อุบัติเหตุรถตกจากลานจอดรถ ห้างเดอะมอลล์บางกะปิ


       
        จากกรณีที่มีรถยนต์พุ่งตกลงมาจากลานจอดรถ ห้างเดอะมอลล์บางกะปิทำให้มีผู้เสียชีวิต 1 รายนั้น ทำให้หลายๆ คนอาจจะสงสัยกำแพงลานจอดรถเปราะบางเกินไป? ถึงทำให้รถพุ่งตกลงไปได้ หรือมันควรจะมีมาตรฐานอะไรรึเปล่า


การแข่งขันฝีมือแรงงานอาเซียน (Asean Skills Competition)


    การแข่งขันฝีมือแรงงานอาเซียนนั้นคือการแข่งขันอะไร? เป็นแบบไหน? นั้น คงไม่ค่อยมีใครรู้จักมากนัก วันนี้ช่างมันส์เลยขออาสาพาทุกท่านมารู้จักการแข่งขันนี้กันมากขึ้นค่ะ ซึ่งการแข่งขันนี้เป็นอีกหนึ่งในความภาคภูมิใจของเยาวชนไทย ที่ไปคว้าเหรียญทองมาได้ได้ถึง 7 เหรียญกันเลยค่ะ


   การแข่งขัน "ฝีมือแรงงานอาเซียน" (Asean Skills Competition) เป็นเวทีย่อยของการแข่งขันระดับนานาชาติ หรือ  World Skills Competition โดย Asean Skills Competition เป็นการแข่งขันกันเฉพาะประเทศแถบอาเซียน ซึ่งเป็นการแข่งขันทักษะฝีมือทางด้านวิชาชีพช่างต่างๆ


เทคโนโลยีการก่อสร้างด้วยระบบ Precast ตอนที่ 2 โดย ดร.ทรงพล จารุวิศิษฏ์


ในตอนที่แล้วเราได้พูดถึงเทคโนโลยีการก่อสร้างด้วยระบบ Precast ไปแล้ววันนี้เราจะมาพูดถึงรูปแบบต่างๆ ของการก่อสร้างในระบบสำเร็จรูปนอกเหนือจากความแตกต่างในเรื่องของรูปแบบการผลิตซึ่งมีทั้งแบบหล่อคอนกรีตที่หน้างานบริเวณก่อสร้างหรือหล่อภายในโรงงาน โดยหากแบ่งตามรูปแบบของการก่อสร้างแล้วจะสามารถแบ่งรูปแบบออกได้หลักๆ ดังนี้คือ

เทคโนโลยีการก่อสร้างด้วยระบบ Precast ตอนที่ 1 โดย ดร.ทรงพล จารุวิศิษฏ์


เทคโนโลยีการก่อสร้างด้วยระบบ Precast
           วันนี้เราจะมาพูดถึงเทคโนโลยีการก่อสร้างด้วยระบบสำเร็จรูป (Precast) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการก่อสร้างสมัยใหม่ที่นำเอาชิ้นส่วนคอนกรีตเสริมเหล็กสำเร็จรูปมาประกอบหรือติดตั้งเป็นชิ้นงานหรือเป็นบ้าน หลักการสำคัญของบ้านพรีคาสท์คือไม่มีเสาและคาน แต่เป็นระบบโครงสร้างผนังรับน้ำหนักแทนซึ่งผนังสำเร็จรูปก็ผลิตด้วยวิธีที่แตกต่างกันบางรายเป็นผนังคอน กรีตเสริมเหล็กสำเร็จรูปธรรมดา บางรายเป็นผนังคอนกรีตเสริมเหล็กสำเร็จรูปแบบแซนด์วิช เว้นช่องไว้สำหรับเทคอนกรีตเชื่อม เป็นต้น
          ระบบพรีคาสท์ถูกนำมาใช้เพื่อพัฒนารูปแบบการก่อสร้างและนิยมนำมาใช้ในการก่อสร้างบ้านพักอาศัยสำเร็จรูปเนื่องจากมีความคงทนแข็งแรง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ป้องกันความร้อน ลดต้นทุนการก่อสร้างและแรงงาน สามารถสร้างได้เสร็จในเวลาอันรวดเร็วและยังออกแบบบ้านให้มีความสวยงามตรงกับที่ลูกค้าต้องการได้อีกด้วย

ถอดรหัสการบริหารโครงการ ตอนที่ 3 : เส้นทางสู่เป้าหมายโครงการ


          เมื่อเรารู้เป้าหมายของโครงการกันแล้ว เราก็ต้องกำหนดเส้นทางสู่เป้าหมายของโครงการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของโครงการที่ตั้งขึ้น ซึ่งคุณประสงค์ ธาราไชย ประธานกรรมการ บริษัท โปรเจค แพลนนิ่ง เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ได้กล่าวไว้ว่าเส้นทางสู่เป้าหมายของโครงการ ต้องผ่านขั้นตอนสำคัญ 7 ขั้นตอน ดังนี้

1. คิดโครงการ (Desire to Build) เมื่อเริ่มคิดโครงการต้องตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนว่า จะทำอะไร มีเป้าหมายอย่างไร แล้วศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการว่าเป็นไปได้หรือไม่ ผลตอบแทนเป็นอย่างไร จุดคุ้มทุนอยู่ที่ไหน กี่ปีคุ้มทุน ถ้าคุ้มก็ทำ ถ้าไม่คุ้มก็เปลี่ยน หรือ ยุติโครงการ

2. ตัดสินใจ (Decision to Build) เมื่อตัดสินใจทำแล้ว ต้องมีผู้บริหารโครงการ (PM) มาช่วยวางแผนโครงการ จัดระบบงาน จัดรูปแบบบริหารโครงการ ช่วงนี้ต้องจัดหาผู้ออกแบบมาทำแบบหลายๆทางเลือกให้ตรงกับ Program ที่ต้องการ แล้วเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด

3. อนุมัติ โดยเลือกทางเลือกที่เห็นว่าดีที่สุด ทำแบบรายละเอียด แล้วประกวดราคา

ถอดรหัสการบริหารโครงการ ตอนที่ 2: เป้าหมายการบริหารโครงการ (GOAL)


      สวัสดีค่ะวันนี้ถอดรหัสบริหารโครงการ ตอนที่ 2 จะพามารู้จักกับเป้าหมายการบริหารโครงการกัน
     ในแต่ละโครงการจะมีเป้าหมายที่ชัดเจน มีการระบุวันเริ่มและวันสิ้นสุดงาน ซึ่งจะแตกต่างจากการทำงานธุรกิจทั่วไปที่มีลักษณะงานที่มีรูปแบบการทำงานที่แน่นอน 

      คุณประสงค์ ธาราไชย ประธานกรรมการ บริษัท โปรเจค แพลนนิ่ง เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ได้กล่าวถึงเป้าหมายในการบริหารโครงการ ดังนี้

เป้าหมายการบริหารโครงการ


Q   Quality        =   คุณภาพ
T   Time           =   เวลา
C   Cost            =   ต้นทุน
R   Resources    =   ทรัพยากร
R   Risk             =   ความเสี่ยง

เปรียบเทียบการออกแบบระหว่าง WSD กับ SDM



        เคยสงสัยกันมั้ยคะว่าการออกแบบโดยวิธี Working Stress Design (WSD) กับ Strength Design Method (SDM) สามารถประหยัดค่าวัสดุได้จริงหรือ ??

        วันนี้คุณอดิเทพ อิศรางกูร ณ อยุธยา แห่ง PPS Design ได้เขียนอธิบายไว้ในเอกสารให้พวกเราได้เข้าใจกันค่ะ"





ถอดรหัสการบริหารโครงการ ตอนที่ 1: การบริหารโครงการคือ??


   
       เนื่องจากภาวะการแข่งขันของธุรกิจในปัจจุบันเป็นไปอย่างดุเดือด รวดเร็วและแข่งขันกับเวลา การบริหารโครงการให้มีประสิทธิภาพจึงเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้โครงการประสบความสำเร็จภายใต้ข้อจำกัดที่มีอยู่ และบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการที่ตั้งไว้ วันนี้ช่างมันส์จะพาไปทำความเข้าใจกับความหมายของการบริหารโครงการกันค่ะ

         คุณประสงค์ ธาราไชย ประธานกรรมการ บริษัท โปรเจค แพลนนิ่ง เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ได้ให้ความหมายของการบริหารโครงการว่าไว้ว่า



ตึกพัง (ทรุด) โดยคุณประสงค์ ธาราไชย


ประสบการณ์งานช่าง 1
เมื่อประมาณต้นปี 2542 เวลาประมาณเที่ยงคืนได้เกิดเหตุอาคารที่ตั้งอยู่ริมคลองแสนแสบ แถว ๆ ถนนลาดพร้าวได้เกิดเอียงล้มลงมาทั้งหลัง โชคดีที่ไม่มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ เพราะหนีได้ทัน หลังจากนั้น 2-3 วันเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกรุงเทพมหานครท่านหนึ่งได้เชิญผมไปสำรวจอาคารที่เกิดเหตุนี้ ผมก็ยินดีให้ความร่วมมือเต็มที่ครับ?

อาคารที่ว่านี้ตั้งอยู่ในซอยแคบ ๆ แถวบางกะปิ สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ.2528 มีลักษณะเป็นห้องแถว 4 ชั้นครึ่ง ชั้นบนตามสภาพที่เห็นเป็นโครงสร้าง เสาคาน และพื้นสำเร็จรูป ภายในอาคารกั้นเป็นห้องเช่า มีห้องน้ำในตัวจากสภาพที่ผมไปพบนั้นตัวอาคารทั้งหลังได้ล้มไปทางด้านคลองแสนแสบ โดยโครงสร้างไม่มีรอยร้าว กระจกบานเกล็ดไม่ร่วงหลุด แสดงว่าตัวอาคารน่าจะล้มลงช้า ๆ ทั้งหลั่ง ซึ่งอาจจะมีปัญหาที่เสาเข็มรับน้ำหนักไม่ไหวส่วนสาเหตุยังไม่ชัดแจ้ง

สัมมนาทางวิชาการและแสดงนิทรรศการประจำปี 2557 "2014 Thai Green Building Expo and Conference"


สวัสดีครับ!! วันนี้ ช่างมันส์ blog พาไปดูงานสัมนาทางวิชาการ Thai Green Building Expo and Conference กันครับ ซึ่งครั้งนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่สองแล้ว

สถาบันอาคารเขียวไทย นี่มีความริเริ่มมาจาก กลุ่มอาสาสมัครทั้งวิศวกรและสถาปนิก ซึ่งรวมกันในนามของสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ และวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และได้ก่อตั้งสถาบันสำเร็จในปี 2551

เรื่องอาคารเขียวไม่ใช่เรื่องใหม่ มีความคิดเริ่มทำในต่างประเทศมานานหลายสิบปี และในแต่ละประเทศก็มีหน่วยงาน และมาตรฐานของตนเอง  เช่นในอเมริกา ก็มีมาตรฐาน LEEDS ( Leadership in Energy and Environmental Design) สิงคโปร์ก็มี Green Mark เป็นต้น

ย้อนรอยโศกนาฏกรรมของวงการก่อสร้างไทย ในวันอาถรรพ์ศุกร์ ที่13


    เนื่องจากวันนี้ตรงกับวันศุกร์ที่13 พอดี และยังเป็นศุกร์13ที่ทั้งปีมีแค่ในเดือนมิถุนายนเท่านั้นช่างมันส์เลยอยากจะหยิบยกเรื่องราวความเชื่อที่เกี่ยวกับอาถรรพ์ในวันศุกร์ที่13 ที่จะมีความเกี่ยวข้องกันยังไงกับงานก่อสร้างนั้น เรามาดูกันค่ะ

    คำตอบจะเป็นอย่างไร ไม่อาจตัดสิน เพราะเป็นเรื่องความเชื่อส่วนบุคคลแต่ถ้าหากถามว่า ศุกร์ 13 เป็นวันอาถรรพ์จริงหรือ?"ก็คงตอบชัดเจนไม่ได้ นอกจากจะมีเรื่องราวมาเล่าสู่กันฟัง

    เริ่มจากความเชื่อของฝรั่งโดยเฉพาะนิกายคาทอลิกที่เห็นว่า "เลข 13" เป็นเลขโชคร้ายถ้าเป็นฤกษ์ยามจะทำกิจการต่างๆ ก็นับเป็นฤกษ์ยามที่ไม่ดี ฝรั่งถือว่าเลข 13 เป็นเลขอับโชค ยิ่งเป็น "ศุกร์ 13" ด้วยแล้วยิ่งมหาอับโชคเพราะเป็นวันที่ตรงกับ วันที่พระเยซูเจ้าสิ้นพระชนม์หลายๆ คน จึงไม่ยอมออกจากบ้านไปไหน เพราะเกรงว่าจะประสบกับความโชคร้าย เช่น เกิดอุบัติเหตุ หรือมีอันเป็นไปต่างๆ นานา เป็นต้นแม้จะมีการแก้เคล็ดด้วยการเรียกเลข 13 เป็น "ลัคกี้นัมเบอร์" แต่ก็มิได้ทำให้ภาพลักษณ์ของเลข 13 ของฝรั่งดูดีมีโชคขึ้น ยังคงไม่อาจที่จะลบล้างความเชื่อที่เกี่ยวกับอาถรรพ์ศุกร์ที่13นี้ได้

ค่าตอบแทนของวิชาชีพวิศวกรรม มันเหมาะสมกับ มูลค่างานที่วิศวกรทำได้หรือไม่


ผมรู้ว่าผมเคยพูดเรื่องนี้ไปหลายครั้งแล้ว แต่วันนี้ก็จะพูดอีกที่ที่นี่  เรื่องค่าตอบแทนวิชาชีพของวิศวกรนี่แหละครับ

สมัยปี 2500 ช่วงที่ประเทศไทยเพิ่งเริ่มจะมีแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจฉบับต่างๆขึ้นมา  สมัยนั้นวิศวกร เป็นอาชีพที่ขาดแคลนมากๆอาชีพหนึ่ง  จากการที่ไม่เคยมีความต้องการทางด้านช่างมาก่อนในระบบเศรษฐกิจ  ในช่วงนั้นเรามีโรงเรียน มีสถาบันที่ผลิตวิศวกรได้ เพียงไม่กี่แห่งในประเทศ  ภายหลังยี่สิบปีต่อมา เราเพิ่งจะมี "ห้าเกียร์" คือ สถาบันการศึกษาที่ผลิตวิศวกรได้ มีเพียงห้าแห่งเท่านั้น  ทำให้ในยุคนี้ วิศวกร จึงเป็น "ของหายาก" และมีค่าตอบแทนที่สูง จะเห็นว่า คนเก่งๆ ต่างหลั่งไหลไปเรียนวิศวกันหมด จนทำให้ ปัจจุบัน คนเก่งจากวงการต่างๆในประเทศไทยนั้น ล้วนมีพื้นฐานปริญญาตรีเป็น วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต

ประเทศไทยพร้อมรับมือกับแผ่นดินไหว หรือยัง


ความเสียหายของสิ่งปลูกสร้างจากแผ่นดินไหว
ความตื่นตัวในเรื่องแผ่นดินไหวของชาวไทย กลับมาอีกครั้ง เมื่อเกิดแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่สุดในประเทศไทย เท่าที่เคยมีเครื่องมือวัดวัดความแรงได้  ( เรามีการบันทึก ความแรงแผ่นดินไหว ด้วยอุปกรณ์แบบสมัยใหม่เมื่อประมาณ 100 ปีหลังที่ผ่านมานี่เอง)   แผ่นดินไหวครั้งนี้มีความรุนแรงด้วยความแรง 6.3 ตาม สเกลริกเตอร์ โดยมีศูนย์กลางที่อำเภอพานจังหวัด เชียงราย โดยเกิดขึ้นเมื่อตอนเย็นๆ ของวันที่ 5 พฤษภาคม 2557 ที่ผ่านมา ซึ่งวันนั้นยังเป็นวันหยุดของคนจำนวนมาก

เหตุที่แผ่นดินไหวครั้งนี้ เป็นแผ่นดินไหวที่มีผู้คนให้ความสนใจกันมาก เนื่องจากเป็นแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย ที่วัดได้  และเป็นแผ่นดินไหวที่มีจุดศูนย์กลาง ที่มีความลึกลงไปเพียง 7กิโลเมตร ที่นับว่าเป็นความลึกที่ไม่มากนัก  และแผ่นดินไหวนี้ เกิดขึ้นมีจุดศูนย์กลางไม่ห่างจากใจกลางเมืองมากนัก คือมีสิ่งปลูกสร้างจำนวนมาก ที่ได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหวครั้งนี้  เนื่องจากอยู่ใกล้ศูนย์กลางของแผ่นดินไหว พอสมควร

เราสามารถสรุปข้อเท็จจริงจากเหตุการณ์ครั้งนี้ได้ดังนี้คือ

หนึ่ง แผ่นดินไหวครั้งนี้เกิดที่รอยเลื่อนพะเยา ซึ่งเป็นรอยเลื่อนที่ถูกจัดว่าเป็นรอยเลื่อนขนาดเล็ก  ทั้งนี้การที่เราสามารถระบุได้ว่า แผ่นดินไหวเกิดจากรอยเลื่อนใด หมายถึงว่า เราได้คาดการณ์ล่วงหน้าไว้ได้ถูกต้องแล้ว ว่า ณ จุดดังกล่าว มีรอยเลื่อนอยู่ และก็เป็นรอยเลื่อนที่ยังมีพลัง  คือสามารถเคลื่อนไหวจนทำให้เกิดแผ่นดินไหวได้

สอง แผ่นดินไหวดังกล่าวเป็นแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่สุดที่เกิดในเขตประเทศไทย ที่เคยมีการบันทึกไว้ได้  และเกิดขึ้นที่ความลึกไม่มาก โดยสถิติความรุนแรงที่เคยเกิด ขึ้นในประเทศไทย ครั้งก่อนหน้านี้ที่สามารถวัดได้ อยู่ที่ปลายอ่างศรีนครินทร์ เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2526 ซึ่งครั้งนั้น แรงสั่นสะเทือนสะเทือนถึงบ้านเรือนที่ กรุงเทพมหานคร เช่นเดียวกับครั้งล่าสุดนี้

โครงการ เส้นทางปั่นจักรยานรอบสนามบินสุวรรณภูมิ


         ทางสนามบินสุวรรณภูมิ ได้จัดพิธีแถลงข่าวและเปิดเลนปั่นจักรยานอย่างเป็นทางการไปแล้วเมื่อวันอาทิตย์ที่ 23 มีนาคม 2557 โดยเริ่มเวลา 07.00 น.บริเวณ สำนักบริหารงานก่อสร้าง สนามบินสุวรรณภูมิโดยมี ท่านชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายพาที สารสิน ผู้บริหารสายการบินนกแอร์ และนักปั่นจักรยานกว่า 1,000 คน เข้าร่วมพิธี


เส้นทางปั่นจักรยาน รอบสนามบินสุวรรณภูมิ ถือได้ว่ามีทัศนีย์ภาพและเส้นทางที่สวยงาม พร้อมวิวเครื่องบินขึ้นลง มีความเป็นธรรมชาติ  และไร้มลภาวะ รถทุกชนิดไม่สามารถใช้เส้นทางนี้ได้นอกจากรถจักรยาน (ยกเว้นรถตรวจการของสนามบิน)