หน้าเว็บ

ย้อนรอยโศกนาฏกรรมของวงการก่อสร้างไทย ในวันอาถรรพ์ศุกร์ ที่13


    เนื่องจากวันนี้ตรงกับวันศุกร์ที่13 พอดี และยังเป็นศุกร์13ที่ทั้งปีมีแค่ในเดือนมิถุนายนเท่านั้นช่างมันส์เลยอยากจะหยิบยกเรื่องราวความเชื่อที่เกี่ยวกับอาถรรพ์ในวันศุกร์ที่13 ที่จะมีความเกี่ยวข้องกันยังไงกับงานก่อสร้างนั้น เรามาดูกันค่ะ

    คำตอบจะเป็นอย่างไร ไม่อาจตัดสิน เพราะเป็นเรื่องความเชื่อส่วนบุคคลแต่ถ้าหากถามว่า ศุกร์ 13 เป็นวันอาถรรพ์จริงหรือ?"ก็คงตอบชัดเจนไม่ได้ นอกจากจะมีเรื่องราวมาเล่าสู่กันฟัง

    เริ่มจากความเชื่อของฝรั่งโดยเฉพาะนิกายคาทอลิกที่เห็นว่า "เลข 13" เป็นเลขโชคร้ายถ้าเป็นฤกษ์ยามจะทำกิจการต่างๆ ก็นับเป็นฤกษ์ยามที่ไม่ดี ฝรั่งถือว่าเลข 13 เป็นเลขอับโชค ยิ่งเป็น "ศุกร์ 13" ด้วยแล้วยิ่งมหาอับโชคเพราะเป็นวันที่ตรงกับ วันที่พระเยซูเจ้าสิ้นพระชนม์หลายๆ คน จึงไม่ยอมออกจากบ้านไปไหน เพราะเกรงว่าจะประสบกับความโชคร้าย เช่น เกิดอุบัติเหตุ หรือมีอันเป็นไปต่างๆ นานา เป็นต้นแม้จะมีการแก้เคล็ดด้วยการเรียกเลข 13 เป็น "ลัคกี้นัมเบอร์" แต่ก็มิได้ทำให้ภาพลักษณ์ของเลข 13 ของฝรั่งดูดีมีโชคขึ้น ยังคงไม่อาจที่จะลบล้างความเชื่อที่เกี่ยวกับอาถรรพ์ศุกร์ที่13นี้ได้


    ความเชื่อเรื่องอาถรรพ์ ศุกร์13 ไม่ได้อยู่แค่ในวงของชาวต่างชาติเท่านั้น ยังมีอิทธิพลมายังคนไทยอีกด้วย เห็นได้จาก อาคารสำนักงานและโรงแรมจำนวนมากที่ก่อสร้างเป็นอาคารสูง และมีจำนวนชั้นมากกว่า 12 ชั้นขึ้นไปจะไม่มีชั้น 13 เป็นการเว้นไว้และเรียกชื่ออื่นแทน เช่น อาคารเอ็มบีเค ทาวเวอร์ ที่ก่อสร้างขึ้นเมื่อเกือบ30 ปีก่อน เป็นอาคารสำนักงานสูง 20 ชั้น แต่ไม่มีชั้นที่ 13 โดยผู้สร้างเปลี่ยนเป็นเรียกชั้น 12 A แทนเช่นเดียวกับโรงแรมปทุมวัน ปริ๊นเซส ที่เป็นอาคารสูง 29 ชั้นก็ไม่มีชั้น 13 โดยมีชั้น 12 แล้วเป็น ชั้น 14 เลย เว้นเลข 13 โดยเหตุผลประการหนึ่งเพราะโรงแรมต้องรองรับลูกค้าซึ่งส่วนมากเป็นลูกค้าต่างประเทศ โดยเฉพาะฝรั่ง รวมถึงคอนโดต่างๆในปัจจุบันซึ่งมักจะเลี่ยงชั้น13 เช่นเดียวกัน

    และเป็นเรื่องน่าแปลก เมื่อเปิดดูสถิติอุบัติเหตุในเรื่องจาก "ศุกร์ 13" เมื่อผลการวิจัยที่ตีพิมพ์ใน บริติช เมดิคัล เจอร์นัล เมื่อปี ค.ศ.1993 เรื่อง "Is Friday the 13th Bad for Your Health?"  ศึกษาความเกี่ยวเนื่องกันระหว่างความเชื่อเรื่องศุกร์ 13 กับพฤติกรรมและสุขภาพ โดยเปรียบเทียบวันศุกร์ที่ 6 กับวันศุกร์ที่ 13 พบว่าอัตราการเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ในวันศุกร์ที่ 13 มีมากกว่าวันศุกร์ที่ 6 อย่างเห็นได้ชัด และในขณะที่น้อยคนเลือกที่จะขับรถออกจากบ้านในวันศุกร์ 13 แต่ตัวเลขคนที่ประสบอุบัติเหตุกลับมากกว่าวันศุกร์อื่นๆ ถึง 52%ทำให้น่าคิดไม่น้อยกับผลที่เกิดขึ้นในวันศุกร์ที่13

    เช่นกันในเมืองไทย วงการก่อสร้างไทยก็มีข่าวอุบัติเหตุใหญ่ๆสะเทือนขวัญและเกิดขึ้นในวันศุกร์ที่13 ย้อนรอยโศกนาฎกรรมของวงการก่อสร้างไทย ปีพุทธศักราช 2536 โรงแรมรอยัลพลาซ่า ปีพุทธศักราช 2536 จังหวัดนครราชสีมา ในฐานะประตูสู่ภาคอีสาน คลาคล่ำไปด้วยผู้คนที่หนีความวุ่นวายออกไปเสพสุขตามต่างจังหวัด โรงแรมต่าง ๆ ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด หนึ่งในนั้น "โรงแรม รอยัล พลาซ่า" หรือชื่อเดิม "โรงแรม เจ้าพระยาเมืองใหม่" ถือเป็นโรงแรมหรู 1 ใน 5 ของจังหวัด ภาพที่สวยหรูภายนอกกลับแฝงภัยเงียบที่ค่อย ๆ คืบคลาน จนกระทั่งกลืนชีวิตคน 137คน ในเวลาต่อมา เรื่องของ "ศุกร์ 13" จะเป็นแค่อาถรรพ์แบบฝรั่งหรือไม่

    วันที่ 13 สิงหาคม 2536 ตัวโรงแรมรอยัล พลาซ่า เกิดการทรุดตัวอย่างรุนแรง และถล่มลงมาทั้งอาคารในเวลาไล่เลี่ยกัน โดยตัวโรงแรมเริ่มทรุดตัวจากตอนกลางของอาคารก่อน จากนั้นปีกทั้งสองด้านข้างของอาคารก็พังซ้ำลงมาอีก การทรุดตัวอย่างรุนแรง และรวดเร็ว กองซากปรักหักพังกลบฝังร่างมนุษย์กว่า 500 ชีวิต ทั้งพนักงานโรงแรม และแขกที่เข้าพัก มีเพียงส่วนน้อยที่อยู่ชั้นล่าง และหนีออกมาทัน ได้อย่างหวุดหวิด จากนั้น ศพแล้วศพเล่าก็ถูกลำเลียงออกมา บางศพอยู่ในสภาพสมบูรณ์ บางศพกู้ได้เฉพาะอวัยวะที่มีชิ้นส่วนกระจัดกระจายจำเค้าเดิมแทบไม่ได้ โชคยังเข้าข้างที่มีผู้รอดชีวิตหลงเหลืออยู่บ้าง ทำให้ผู้ป่วย ที่เข้ารักษาในพื้นที่แน่นขนัดจนแทบล้นโรงพยาบาล  เจ้าหน้าที่เร่งหาผู้ที่รอดชีวิต จนเวลาล่วงเลยไป 6 วัน จึงยกเลิกการค้นหา ผลการค้นหาพบผู้เสียชีวิต 137 ราย และบาดเจ็บกว่า 300 คน

เหตุเกิดเพราะ อาถรรพ์ศุกร์ที่ 13 หรือไม่?

  ตำรวจสรุปสาเหตุของหายนะครั้งนั้นว่า เกิดจากความบกพร่อง ของเจ้าของอาคารที่มีการต่อเติมอาคผิดจากแบบเดิม มีการต่อเติมอาคารจากเดิม 3 ชั้น เป็น 6 ชั้น เพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจท่องเที่ยว จากนั้นโรงแรมแห่งนี้ก็มีการต่อเติม และขยายพื้นที่ของอาคารอย่างผิดหลักวิศวกรเรื่อยมา โดยไม่ใส่ใจถึงความปลอดภัยในชีวิตของพนักงาน และแขกที่เข้ามาพักในโรงแรม ทำให้อาคารไม่สามารถ รองรับน้ำหนักได้ จึงได้แจ้งข้อหาแก่ 6 ผู้บริหารโรงแรม รวมทั้งวิศวกรผู้ออกแบบ ในข้อหากระทำการประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นเสียชีวิต

    ผ่านมากว่า 10 ปี คดีในชั้นศาลจึงสิ้นสุดลง เมื่อศาลฎีกาตัดสินจำคุกนายบำเพ็ญ พันธุ์รัตนอิสระ วิศวกรผู้ออกแบบโรงแรม เป็นเวลา 20 ปี ส่วนผู้บริหารโรงแรมทั้ง 6 ศาลยกฟ้อง โดยวินิจฉัยว่า เจ้าของโรงแรมไม่มีความผิด เพราะไม่มีความรู้ด้านก่อสร้าง และทางโรงแรมได้ชดเชยเงินให้กับผู้เสียชีวิตรวม 5 ล้านบาท และเงินที่รับบริจาคอีก 5 แสนบาท เฉลี่ยแล้วผู้เสียชีวิตญาติได้รับเงินรายละ 80,000 บาท และผู้พิการได้รับรายละ 50,000 บาท

    ยังมีหลายเหตุโศกนาฏกรรมของวงการก่อสร้าง ที่ไม่ได้เกิดขึ้นหรือเกี่ยวข้อง ในวันศุกร์ที่ 13 หรือนี่จะเป็นเหตุผลที่เกี่ยวกับความประมาทและความไม่ตรงไปตรงมาในวิชาชีพของวิศวกร เพราะความเห็นแก่ได้ และอาจเพราะไม่มีความรู้มากพอ

    "วิศวกรควรยึดมั่นในวิชาชีพของตน ในเรื่องความปลอดภัยและในหลักของวิชาการ เพราะความปลอดภัยเป็นเรื่องที่ไม่สามารถประนีประนอมได้ เพราะมันหมายถึงชีวิตผู้คนมากมาย"
cr รูปภาพจาก ไทยรั


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น