หน้าเว็บ

Series รอยร้าว : ตอนที่ 3 ลักษณะของรอยร้าวที่เกิดจาก โครงสร้างรับน้ำหนักบรรทุก เกินกำลัง


รอยร้าวแบบนี้เกิดจากโครงสร้างที่ออกแบบไว้เล็กเกินไปกว่าการใช้งาน หรือเกิดการใช้งานผิดประเภท จากการเปลี่ยนแปลงพื้นที่การใช้งาน โครงสร้างแอ่นตัวมากไป จนเกิดรอยร้าว

ตัวอย่างรอยร้าวที่เกิดจากการรับน้ำหนักมากเกินไป ในคาน ในพื้น ในเสา

       รอยแตกร้าวของคานที่รับน้ำหนักมากเกินไป จะเกิดตรงช่วงกลางคาน เป็นแนวดิ่งโดยรอยแตกอันตรงกลางคานมักจะกว้างและใหญ่กว่า รอยแตกตรงด้านข้าง และถ้ารอยแตกลุกลามออกด้านข้าง แสดงว่าคานแอ่นมากขึ้นเรื่อยๆ
รอยร้าวตรงช่วงกลางคาน

       รอยแตก ถ้าเกิด ที่ปลายคาน ช่วงคานที่ใกล้กับเสา รอยแตกนี้จะเกิดจากด้านบน แล้วร้าวลงด้านล่างของคาน ซึ่งอาจจะเห็นได้ทั้งแนวดิ่งและเฉียง  และโดยทั่วไป ถ้าเกิดขึ้นที่คานด้านหนึ่งแล้ว มักจะเกิดขึ้นที่คานอีกด้านหนึ่งด้วยในลักษณะเดียวกัน                                                                          
รอยแตกตรงปลายคานใกล้กับเสา
                    
       รอยร้าวที่พื้น เมื่อมองจากท้องพื้น พื้นที่เสริมเหล็กสองทาง แล้วรับน้ำหนักมากเกินไป จนแอ่นตัวจะมีรอยร้าวเป็นลักษณะเฉียงที่ท้องพื้น และรอยร้าวจะลามจากกึ่งกลางของพื้น เข้าหามุมทั้งสี่มุม   
รอยร้าวที่พื้นรับน้ำหนักมากจนแอ่นตัว(ขอบคุณภาพจาก http://www.technologymedia.co.th )

       ส่วนพื้นที่ เสริมเหล็กทางเดียว แล้วรับน้ำหนักมากเกินไป จะเกิดการแอ่นตัวและรอยแตก ไปในทิศทางที่ตั้งฉาก กับเหล็กเสริม


       รอยร้าวที่พื้น เมื่อมองจากบนพื้น จะเห็นเป็นรอยร้าวเป็นทางยาวตามขอบคานทั้งสี่ด้าน และที่มุมเสา  (แต่ถ้ารอยร้าวเป็นทางยาวแค่ด้านเดียว อาจไม่ได้เกิดจากการแอ่นตัวของพื้น)
รอยร้าวเป็นทางยาวตามขอบคานทั้ง4ด้าน และมุมเสา
                                          
       รอยร้าวที่เสา  สำหรับเสาที่รับน้ำหนักมากเกินไป จนเกิดการโก่งเดาะ คอนกรีตช่วงกลางเสาจะระเบิดออก และเหล็กเสริมหักงอ  ซึ่งการที่เสาหักงอนั้น อาจเกิดจากการที่เสามีความยาวชลูดมากเกินไป ส่วนถ้าระเบิดออกตรงกลาง อาจเกิดจากการที่รับน้ำหนักมากเกินไป หรือคอนกรีตเทไม่ต่อเนื่อง
รอยร้าวช่วงกลางเสา รับน้ำหนักมากไปจนโก่งเดาะ

       รอยร้าวที่ผนัง มักเกิดจากการที่ คานแอ่นตัวลงมาทับ  และรอยร้าวจะเกิด เป็นรอยร้าวตรงๆแนวดิ่ง เพราะปกติผนังไม่ได้รับแรงจากด้านบน
รอยร้าวที่ผนังเกิดจากคานแอ่นตัวลงมาทับ


ที่มาจาก อาจารย์ ธเนศ  วีระศิริ

Series รอยร้าว ตอนที่ 2: ลักษณะของรอยร้าวที่เกิดจาก วัสดุ เสื่อมสภาพ


รอยร้าวที่เกิดจากวัสดุเสื่อมสภาพ
รอยร้าวที่เกิดจากวัสดุเสื่อมสภาพ เกิดจากการเสื่อมสภาพของวัสดุ โดย มากมักจะเกิดจากเหล็กเสริม เป็นสนิมจากการใช้งาน เพราะโครงสร้างนั้น สัมผัสกับความชื้นในอากาศ หรือ สัมผัสกับน้ำโดยตรงเช่น พื้นของชั้นหลังคา  หรือ  โครงสร้างของคอนกรีตเสริมเหล็ก ที่สัมผัสกับสารเคมี หรือไอของน้ำทะเล
รอยร้าวแบบนี้ มักเกิดที่ผิวของคอนกรีต แต่ไม่ลึกถึงแกนกลาง ของโครงสร้าง และพอจำแนกได้ เป็นสองแบบตามความลึก


หนึ่ง คือรอยร้าวที่เกิดเฉพาะที่ผิวของคอนกรีต
เกิดเป็นรอยร้าวแตกลายงา จากการยืดหดตัวของคอนกรีต หรือเกิดเป็นรอยร้าวแตกลายงา รูปดาว หรือรูปใยแมงมุม รอยร้าวอาจเกิดเป็นบริเวณกว้างหรือ เป็นหย่อมๆ ก็ได้ โดยทั่วไปรอยร้าวแบบนี้มักไม่เกิดจนถึงแกนในของคอนกรีต ยกเว้นกรณี โดนสารเคมีกัดเซาะนาน จนกระทั่งคอนกรีตยุ่ย และร้าว ถึงด้านใน 
การที่บ่มคอนกรีตไม่ดี น้ำระเหยออกจากปูนเร็ว ก็ทำให้ปูนใหม่ๆ แตกลายงาได้เหมือนกัน
รูปคอนกรีตแตกลายงา

 สอง รอยร้าวลึกจนถึงเหล็กเสริม 
เกิดจากเหล็กเป็นสนิม  อาจเพราะมีคอนกรีตที่หุ้มเหล็กอยู่น้อยเกินไป หรือ อยู่ในพื้นที่ใกล้น้ำทะเล  หรือจากภาวะแห้งและเปียกสลับกัน บริเวณคอนกรีตที่สัมผัสน้ำขึ้นน้ำลง หรือมีน้ำไหลมาโดนโครงสร้างนั้นตลอด แบบมีท่อน้ำอยู่ด้านบนโครงสร้างนั้น
รอยร้าวนี้ มักพบที่มุมเสา ถ้าเห็นรอยร้าวเป็นแนวตรง ยาวขนาน กับเสา ก็มักเป็นระยะแรกของรอยร้าวประเภทนี้

รูปรอยแตกบนเสา
รอยแตกจากเหล็กเสริม ชั้นดาดฟ้าเป็นสนิม  เพราะน้ำระบายไม่ทัน มักเห็นรอยแตกเป็นแนวยาว ตามทิศทางของเหล็กเสริม  บางทีเหล็กเสริมเป็นสนิมมาก จนคอนกรีตหลุดร่อน จนเห็นเหล็กที่เป็นสนิมก็มี
 
รอยแตกที่ชั้นหลังคา
ตอนต่อไป จะอธิบายถึงรอย แตกที่เกิดจาก การรับน้ำหนักเกิน ของโครงสร้าง


ข้อมูลจาก อาจารย์ ธเนศ วีระศิริ

ไฟฟ้าลัดวงจร เกิดจากสาเหตุอะไร





ไฟฟ้าลัดวงจรคืออะไร

ในบ้านเราเมื่อเกิดเหตุไฟไหม้สิ่งแรกที่มักจะถูกสันนิษฐานว่าเป็นสาเหตุของการเกิดไฟไหม้นั่นก็คือ ไฟฟ้าลัดวงจร”   โดยสาเหตุไฟฟ้าลัดวงจรนี่เหมือนจะเป็นสาเหตุหลักที่ใช้นำมาอ้างเป็นสาเหตุต้นๆ ของเหตุไฟไหม้กันเลยทีเดียว

เพราะไฟไหม้ที่เกิดจากไฟฟ้าลัดวงจรนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ไกลตัวมากนักสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรนั้นเกิดได้อยู่หลายสาเหตุ เช่น เมื่อสายไฟถูกใช้ไปนานๆทำให้สายไฟเสื่อมสภาพ ปลอกสายไฟชำรุดเราก็จะเห็นสายนำไฟข้างใน เมื่อสายไฟมาสัมผัสกันก็จะเกิดไฟฟ้าลัดวงจร หรืออีกสาเหตุนึงอาจเกิดจากการเลือกใช้สายไฟไม่เหมาะกับปริมาณไฟฟ้าที่ต้องใช้  หรือมีการใช้ไฟฟ้า มากเกินไปกว่าที่ออกแบบเอาไว้ เช่นการเปลี่ยนวัตถุประสงค์การใช้งานของอาคารบ้านเรือน มาเป็นโรงงานหรืออาคาพาณิชย์  หรือการใช้ปลั๊กหลายๆ หัวมาต่อเครื่องใช้ไฟฟ้ารวมกันไว้ที่จุดเดียวมากเกินไป เป็นต้น

          
              
การเลือกสายให้เหมาะสมเลือกยังไง

สายไฟที่เราใช้ต่อกับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆนั้น จะใช้สายประมาณ
1.5 sq.mm., 2.5 sq.mm. หรือ 4 sq.mm. ตามที่พักอาศัยทั่วไปจะใช้อยู่ 3 ขนาดนี้ซะเป็นส่วนใหญ่ โดยสายไฟแต่ละขนาดก็จะมีกำหนดไว้ว่าสายไฟขนาดนี้รับกระแสไฟฟ้าได้เท่าไหร่   ถ้าเรานำอุปกรณ์ไฟฟ้ามาต่อแล้วมันเกินกว่าที่สายจะรับได้ คุณภาพของสายไฟก็จะเสื่อมเร็วโอกาสเกิดไฟฟ้าลัดวงจรก็สูงขึ้น ซึ่งการที่จะดูว่าอุปการณ์ไฟฟ้านั้นๆใช้ไฟเท่าไหร่ก็ให้ดูที่จำนวน วัตต์อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดไม่ว่าจะเป็น พัดลม ทีวี ตู้เย็น จะมีกำหนดไว้อยู่แล้วว่ากินไฟกี่วัตต์ 



หมั่นตรวจสอบอุปกรณ์


นอกจากการเลือกสายไฟให้เหมาะกับปริมาณไฟฟ้าที่ต้องใช้แล้ว ควรหมั่นตรวจสอบสายไฟฟ้าที่อยู่ทั้งภายในบ้าน และนอกบ้านเมื่อสายไฟเกิดชำรุดควรรีบเปลี่ยนสายไฟ จริงๆแล้วการเปลี่ยนสายไฟควรเปลี่ยนทุกๆ 20-25 ปี   เพราะสายไฟฟ้าที่มีอายุการใช้งานเยอะ ย่อมมีโอกาสเสื่อมสภาพ และเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้ 

การเปลี่ยนสายนั้น ถ้าเป็นบ้านสมัยก่อนเราจะใช้สายที่เรียกว่าสาย VAF ซึ่งเป็นสายฉนวนสีขาว (ฉนวนหุ้ม 2 ชั้น) แล้วใช้วิธีตีกิ๊บ ถ้าจะเปลี่ยนสายไฟต้องทำการดึงกิ๊บพวกนั้นออกมาก่อนแล้วจึงเปลี่ยนใหม่โดยจะตีกิ๊บเข้าใหม่ ซึ่งการเปลี่ยนสายพวกนี้ มักทำได้ไม่ยากนัก

การเดินสายอีกแบบหนึ่งจะใช้วิธีซ่อนท่อก็ได้ซึ่งจะเป็นวิธีเดียวกับบ้านสมัยใหม่ใช้กัน  โดยใช้ท่อเดินซ่อนในกำแพงแล้วทำการเดินสายไฟไว้ในท่อ ในอนาคตถ้าต้องการจะเปลี่ยนสายไฟใหม่ก็สามารถทำได้ง่ายๆ เพียงแค่ดึงสายไฟออกจากท่อแล้วเปลี่ยนใหม่ได้เลย

Series รอยร้าว: ตอนที่ 1 รอยร้าวของโครงสร้างคอนกรีต เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง?





รอยร้าวของโครงสร้างคอนกรีตเกิดจากสาเหตุหลัก สาม สาเหตุ ได้แก่

หนึ่ง รอยร้าวที่เกิดจากวัสดุเสื่อมสภาพ วัสดุอาจเสื่อมสภาพจากการใช้งาน วัสดุที่อยู่ในสิ่งแวดล้อม เช่นมีความชื้น หรือสารเคมี อุณหภูมิ วัสดุจะเสื่อมสภาพได้  โดยทั่วไปจะพบเหล็กเป็นสนิม และบางครั้งเป็นสนิมจนทำให้คอนกรีตที่หุ้มอยู่ร้าว จนกระเทาะออกมา

รู้จักผ้าม่าน รู้ไว้ เทียบราคาไม่ผิด


  
       ผ้าม่านนั้น ถือเป็นเฟอร์นิเจอร์ที่มีประโยชน์อีกชิ้นหนึ่งของบ้านเลยทีเดียว เพราะนอกจากจะช่วยตกแต่งบ้านให้ดูสวยงามน่าอยู่แล้ว ผ้าม่านยังมีประโยชน์อื่นๆอีกไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการป้องกันความร้อน ลดความสว่างของแสงแดด การใช้ผ้าม่านในการสร้างความเป็นส่วนตัว กรองสายตาบุคคลภายนอก

ซึ่งผ้าม่านในบ้านเรานั้นก็จะมีอยู่หลายชนิดให้เลือกเช่น ผ้าม่าน Sunscreen เป็นผ้าม่านที่สามารถมองเห็นวิวภายนอกได้ แสงสามารถลอดผ่านได้ 50-70 %, ผ้าม่าน Dimout เป็นม่านที่แสงสามารถลอดผ่านเข้ามาได้ประมาณ 30-40% และผ้าม่าน Blackout เป็นผ้าม่านทึบแสง