ตัวอย่างรอยร้าวที่เกิดจากการรับน้ำหนักมากเกินไป ในคาน ในพื้น ในเสา
รอยแตกร้าวของคานที่รับน้ำหนักมากเกินไป จะเกิดตรงช่วงกลางคาน เป็นแนวดิ่งโดยรอยแตกอันตรงกลางคานมักจะกว้างและใหญ่กว่า รอยแตกตรงด้านข้าง และถ้ารอยแตกลุกลามออกด้านข้าง แสดงว่าคานแอ่นมากขึ้นเรื่อยๆ
รอยร้าวตรงช่วงกลางคาน |
รอยแตก ถ้าเกิด ที่ปลายคาน ช่วงคานที่ใกล้กับเสา รอยแตกนี้จะเกิดจากด้านบน แล้วร้าวลงด้านล่างของคาน ซึ่งอาจจะเห็นได้ทั้งแนวดิ่งและเฉียง และโดยทั่วไป ถ้าเกิดขึ้นที่คานด้านหนึ่งแล้ว มักจะเกิดขึ้นที่คานอีกด้านหนึ่งด้วยในลักษณะเดียวกัน
รอยร้าวที่พื้น เมื่อมองจากท้องพื้น พื้นที่เสริมเหล็กสองทาง แล้วรับน้ำหนักมากเกินไป จนแอ่นตัวจะมีรอยร้าวเป็นลักษณะเฉียงที่ท้องพื้น และรอยร้าวจะลามจากกึ่งกลางของพื้น เข้าหามุมทั้งสี่มุม
รอยร้าวที่พื้นรับน้ำหนักมากจนแอ่นตัว(ขอบคุณภาพจาก http://www.technologymedia.co.th ) |
ส่วนพื้นที่ เสริมเหล็กทางเดียว แล้วรับน้ำหนักมากเกินไป จะเกิดการแอ่นตัวและรอยแตก ไปในทิศทางที่ตั้งฉาก กับเหล็กเสริม
รอยร้าวที่พื้น เมื่อมองจากบนพื้น จะเห็นเป็นรอยร้าวเป็นทางยาวตามขอบคานทั้งสี่ด้าน และที่มุมเสา (แต่ถ้ารอยร้าวเป็นทางยาวแค่ด้านเดียว อาจไม่ได้เกิดจากการแอ่นตัวของพื้น)
รอยร้าวเป็นทางยาวตามขอบคานทั้ง4ด้าน และมุมเสา |
รอยร้าวที่เสา สำหรับเสาที่รับน้ำหนักมากเกินไป จนเกิดการโก่งเดาะ คอนกรีตช่วงกลางเสาจะระเบิดออก และเหล็กเสริมหักงอ ซึ่งการที่เสาหักงอนั้น อาจเกิดจากการที่เสามีความยาวชลูดมากเกินไป ส่วนถ้าระเบิดออกตรงกลาง อาจเกิดจากการที่รับน้ำหนักมากเกินไป หรือคอนกรีตเทไม่ต่อเนื่อง
รอยร้าวช่วงกลางเสา รับน้ำหนักมากไปจนโก่งเดาะ |
รอยร้าวที่ผนัง มักเกิดจากการที่ คานแอ่นตัวลงมาทับ และรอยร้าวจะเกิด เป็นรอยร้าวตรงๆแนวดิ่ง เพราะปกติผนังไม่ได้รับแรงจากด้านบน
รอยร้าวที่ผนังเกิดจากคานแอ่นตัวลงมาทับ |
ที่มาจาก อาจารย์ ธเนศ วีระศิริ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น