ซีรี่ส์ถอดรหัสบริหารโครงการ โดย คุณประสงค์ ธาราไชย ในตอนที่ 6 นี้ จะมาพูดถึงภาพรวมในการบริหารโครงการค่ะ โดยในการบริหารโครงการให้บรรลุเป้าหมายได้มี 4 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 คิดโครงการ
|
ขั้นตอนที่ 1 คิดโครงการ |
เส้นทางสู่เป้าหมาย ต้องผ่านขั้นตอนแรก คือ คิดโครงการ เมื่อเจ้าของโครงการคิดจะทำโครงการ ก็ต้องคิดว่าจะทำอะไร เป้าหมายเป็นอย่างไร
หลักง่ายๆ คือ จะต้องพิจารณาคุณภาพงานว่า จะทำในระดับใด มีขนาดกี่ดาว ราคาต้นทุนที่ กำหนดไว้ในใจเท่าไร เวลาจะให้เสร็จเมื่อใด เพราะอะไร แล้วจึงศึกษาวิเคราะห์ความเป็นไปได้ ผลตอบแทน จุดคุ้มทุนเชิงธุรกิจ เป็นต้น ถ้าหากวิเคราะห์แล้วไม่คุ้มทุนก็ไม่ทำ ถ้าคุ้มค่อยทำ นั่นคือไปสู่ขั้นตอนที่ 2
ขั้นตอนที่ 2 ตัดสินใจทำโครงการ
|
ขั้นตอนที่ 2 ตัดสินใจทำโครงการ |
เมื่อตัดสินใจทำโครงการแล้ว ก็ต้องหาผู้บริหารโครงการ (PM) มาช่วยแบ่งเบาภาระด้านการบริหารโครงการที่เป็นกิจกรรมด้านที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างทั้งหมด เช่น การวางแผนโครงการ การจัดระบบบริหาร การจัดแบ่งระยะต่างของโครงการ เป็นต้น โดยผู้บริหารโครงการจะช่วยแนะนำในการจัดหาผู้ออกแบบ มาช่วยให้ตรงกับความประสงค์ต่อไปในขั้นตอนที่ 3
ขั้นตอนที่ 3 จัดหาผู้ออกแบบ
|
ขั้นตอนที่ 3 จัดหาผู้ออกแบบ |
PM จะต้องเข้าใจความประสงค์ของเจ้าของโครงการ เกี่ยวกับ Program ความต้องการใช้ และประโยชน์ใช้สอยของอาคารในโครงการให้เป็นที่ชัดเจนก่อน เพื่อถ่ายทอดความต้องการนี้ไปยังผู้ออกแบบแทนเจ้าของโครงการ
ถ้าโครงการนั้นเป็นโครงการประเภทที่ต้องมี Operator มาบริหารโครงการต่อ เมื่อโครงการแล้วเสร็จก็จะต้องทำความเข้าใจกับ Operator ให้ดี เพื่อถ่ายทอดความต้องการนี้ไปยังผู้ออกแบบเพื่อให้ออกแบบได้ถูกต้องตามความประสงค์ของเจ้าของโครงการ
โดยไม่ไปแย่งงานออกแบบมาทำเสียเอง เพื่อผู้ออกแบบจะได้ทำงานอย่างเต็มที่
ขั้นตอนที่ 4 จัดหาผู้ดำเนินการก่อสร้าง
แบบที่ 1 ใช้ผู้ดำเนินการก่อสร้างรายเดียว
|
แบบที่ 1 ใช้ผู้ก่อสร้างรายเดียว |
เมื่อสรุปแบบ Scheme ต่างๆ ได้แล้วก็ทำแบบให้เสร็จ แล้วประมูลงานให้ผู้ดำเนินการก่อสร้างรายเดียวทำทั้งหมด นี่คือรูปแบบที่ใช้ผู้ดำเนินการก่อสร้างรายเดียวเข้ามาทำ ระบบนี้หากต้องการผู้ดำเนินการก่อสร้างงานระบบประกอบอาคารที่เจ้าของโครงการคุ้นเคย อาจทำในรูป Vender List ได้ เช่นเดียวกับการกำหนดวัสดุ
แบบที่ 2 Fast Track
|
แบบที่ 2 Fast Track |
ถ้าเป็นงานที่มีเวลาจำกัด ควรใช้ระบบ Fast Track คือออกแบบไปก่อสร้างไป เป็นการดำเนินการก่อสร้างแบบแยกส่วนงาน ยกตัวอย่าง เช่น ให้งานเสาเข็มและงานระบบประกอบอาคารดำเนินการโดยผู้รับดำเนินการก่อสร้างงานระบบนั้นๆ
ถ้าใช้ระบบนี้จะต้องมีผู้ประสานงาน และต้องกำหนดหน้าที่ในการประสานงานให้ชัดเจน มิฉะนั้นจะทำให้งานล่าช้า มีปัญหาเรียกร้องสิทธิ์ไม่มีที่สิ้นสุด ระบบนี้เปรียบเสมือนเจ้าของเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างเอง
ถอดรหัสบริหารโครงการ ตอน ภาพรวมบริหารโครงการ โดย คุณประสงค์ ธาราไชย
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น