หน้าเว็บ

ความรู้เบื้องต้นเรื่องเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ


ความรู้เบื้องต้นเรื่องเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ


ช่วงฤดูหน้าฝนอย่างนี้ทุกปีประเทศของเรามักมีข่าวเรื่องน้ำท่วมเสมอๆและเป็นหนักขึ้นทุกปี และทุกครั้งจะเป็นโอกาสให้คนไทยได้แสดงน้ำใจต่อกัน แต่จะดีมากแค่ไหนที่เหตุการณ์เหล่านั้นไม่ต้อ
เกิดแต่เราป้องกันล่วงหน้า หรืออย่างน้อยๆก็เตือนภัยไม่ให้ทรัพย์สินและชีวิตต้องสูญเสียไป

ที่จริงแล้วเรื่องเขื่อนและอ่างเก็บน้ำไม่ใช่เรื่องใหม่ มนุษย์เราเรียนรู้วิธีการปรับสภาพธรรมชาติให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิตของเผ่าพันธุ์ของตนเองมานานแล้ว เราสามารถพบหลักฐานการสร้างเขื่อนได้ในอดีตเก่าถึงหลายพันปี และในประเทศไทยเองเราก็มีการสร้างอ่างเก็บน้ำ และเขื่อนกันมาหลายร้อยปีแล้ว และบางแห่งก็ยังถูกปรับปรุงให้ใช้ได้อยู่ครับ

พูดถึงเรื่องอ่างเก็บน้ำ ก็หมายถึงพื้นที่ที่ใช้เก็บน้ำ โดยมีเขื่อนไว้กั้นน้ำ และควบคุมการไหลเข้าออกของน้ำผ่านประตูควบคุม ทั้งนี้ชื่อเรียกของเขื่อนและอ่างเก็บน้ำอาจจะมีขื่อเรียกต่างๆกันไปขึ้นกับขนาด และชนิดของลำธารหรือสายน้ำได้ครับ แต่เนื่องจากบทความจองผมไม่มีวัตถุประสงค์จะมาอธิบายคำศัพท์กัน ดังนั้นจึงมีแค่อ่างเก็บน้ำ กับเขื่อนครับ

ดังนั้น function หรือหน้าที่ของอ่างเก็บน้ำและเขื่อนก็คือมันใช้ในการบริหารจัดการน้ำ ให้มีน้ำใช้ ช่วงที่ธรรมชาติมีน้ำน้อย และลดรวมถึงเก็บน้ำ ไม่ให้เกิดอุทกภัย ในช่วงที่น้ำเยอะเกินไป ส่วนเขื่อน ก็จะสามารถจัดการเก็บน้ำกั้นน้ำและปล่อยน้ำได้ตามต้อาการกล่าวคือควบคุมปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำได้นั่นเอง

ผมขอเรียกรวมทำนบ ฝาย รวมกับเขื่อนเลยในบทความนี้นะครับ

โดยทั้งไปเขื่อนทำจากวัสดุที่หาได้ในบริเวณที่จะสร้างเขื่อน เพราะวิศวกรคงไม่ขนสัสดุกก่อสร้างไปจากที่ไกลๆเพื่อสร้างเขื่อนหรอก เราจึงพบกว่าเขื่อนส่วนมากที่สร้างในโลกนี้จึงเป็นเขื่อนดิน รวมถึงเขื่อนที่สร้างกันมานานแล้วในโลกและเขื่อนที่ใช้งานอยู่ปัจจุบันในไทยด้วยครับ

เขื่อนที่สร้างจากวัสดุธรรมชาติอื่นๆก็เช่นเขื่อนหิน ส่วนเขื่อนที่เป็นคอนกรีตก็มี อย่างเช่นเขื่อนภูมิพลที่จังหวัดตากในประเทศไทยไงครับ ข้อดีของเขื่อนดินก็คือมีราคาที่ถูกกว่าเขื่อนคอนกรีตเยอะ แต่ข้อเสียคือใช้เวลาก่อสร้างนานกว่า เพราะต้องใช้เวลาบดอัดเป็นชั้นๆ ทำให้ไม่สามารถก่อสร้างได้ในเวลาฤดูฝน ส่วนเขื่อนคอนกรีตสามารถสร้างได้รวดเร็ว แต่ราคาก่อสร้างก็สูงกว่า เหตุผลที่สร้างเขื่อนคอนกรีตโดยมากก็จะเป็นกรณีที่เขื่อนนั้นมีการผลิตกระแสไฟฟ้า การสร้างเสร็จได้เร็วย่อมหมายถึงการจ่ายไฟได้เร็วและคืนทุนได้เร็วกว่าครับ ส่วนความแข็งแรงของเขื่อนทั้งสองแบบนี้ก็ไม่แตกต่างกันขึ้นกับการบำรุงรักษา และการใช้งานด้วยครับ

ในส่วนการเสียหายของเขื่อนหรือการพัง การแตก ที่เรียกว่าเขื่อนแตก เราสามารถเข้าใจได้ง่ายๆดังนี้ครับ

ความเสียหายของเขื่อน แบ่งง่ายๆสองแบบคือ

หนึ่ง เขื่อนเสียหายเล็กน้อย เช่นมีรูรั่ว มีรอย crack รอยแตก ซึ่งปกติเขื่อนเกือบทุกเขื่อนมีความเสียหายแบบนี้อยู่เสมอครับ แต่ก็ยังสามารถใช้งานต่อไปได้เพราะยังควบคุมการไหลเข้าและออกของน้ำได้

สอง คือ เขื่อนไม่สามารถกักเก็บน้ำไว้ได้ เขื่อนเสียหายมาก ไม่ function แล้ว อย่างนี้ควรเรียกว่าเขื่อนแตก เขื่อนพังนั่นแหละครับ ไม่ต้องแตกดังโพล๊ะเหมือนตุ่มหรอก ก็เรียกว่าเขื่อนแตกได้แล้วละครับ  ซึ่งถ้าเขื่อนพัง ก็จะเกิดความเสียหายกับพื้นที่ใต้เขื่อนเพราะเก็บน้ำไว้ไม่ได้แล้วนั่นเองครับ ส่วนการที่ไม่สามารถเก็บน้ำไว้ได้แล้วก็อาจเกิดจากการที่มีปริมาณน้ำมากกว่าที่ออกแบบเอาไว้ ก็จะควบคุมน้ำไหลเข้าออกไม่ได้ เกิดน้ำล้นข้าม หรือเกิดจากเหตุภัยพิบัติเช่นแผ่นดินไหวก็เป็นได้ที่ทำให้ตัวเขื่อนหรือฐานเขื่อนมีความเสียหายครับ

เขื่อนไม่เหมือนโครงสร้างทางวิศวกรรมอย่างอื่นที่จะมีโอกาสวิบัติเมื่อใช้งานไปนานแล้วแต่เขื่อนมีโอกาสวิบัติสูงในช่วงแรกๆของอายุการใช้งาน ดังนั้นจึงมีการใส่น้ำให้เต็มเพื่อทดสอบในช่วงห้าปีแรก

ในส่วนการบริหาจัดการเขื่อนที่ดีก็ต้องมีการบำรุงรักษา มีแผนปฎิบัติการฉุกเฉิน  เช่น EAP Emergency Action plan และแผนเตรียมพร้อม EPP Emergency Preparedness Plan มีการซักซ้อมแผนเหล่านั้นครับ

อ้อ สำหรับเขื่อนและอ่างเก็บน้ำในไทยที่มีอยู่หลายพันเขื่อนและอ่างเก็บน้ำในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ยังไม่มีแผนจัดการกับเหตุการณ์เหล่านี้อย่างเป็นรูปธรรมครับ ซึ่งควรจัดเตรียมขึ้นมา ดีกว่ามาอธิบายทีหลังว่าเขื่อนแตกหรือไม่แตกครับ

ปลูกต้นไม้ชิดตัวบ้านอันตรายหรือไม่?


 

การปลูกต้นไม้ใหญ่ชิดกับตัวบ้านนั้น มีอยู่หลายสิ่งหลายเรื่องที่ต้องต้องคำนึงถึงหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น ราก ของต้นไม้ใหญ่จะดันโครงสร้างใต้ดินของตัวบ้าน อาจทำให้โครงสร้างแตกร้าวและพังทลายได้, ต้นไม้ใหญ่อาจล้มทับตัวบ้าน, หากต้นไม้ใหญ่ที่สามารถปีนป่ายได้ อาจเป็นเส้นทางการเข้าบ้านของขโมย แล้วถ้าเราอยากจะปลูกล่ะ ควรกะระยะห่างจากตัวบ้านเท่าไหร่ดี?

คิดจะ “สร้างบ้าน” หน้าฝน ต้องสนใจอะไรบ้าง


สำหรับเราอาจจะชอบฤดูฝนเพราะอากาศเย็นสบาย แต่ถ้าเป็นเรื่องการสร้างบ้านในหน้าฝนล่ะ อาจไม่ได้หมูหรือชิลอย่างที่เราคิดก็ได้ ลองมาดูกันไหมว่าถ้าเราต้องสร้างบ้านหน้าฝนมีเรื่องอะไรที่เราต้องคิดและคำนึงถึงบ้าง

1. ส่วนที่อยู่ใต้ดิน : ฝนตก น้ำจะไปไหน ก็ไหลลงดินไปนั่นเอง น้ำพวกนี้จะส่งผลกระทบต่องานก่อสร้างที่อยู่ใต้ดิน เช่น งานทำฐานราก หรือถังเก็บน้ำใต้ดิน

  • ฐานราก ขณะก่อสร้างช่วงฝนตกจะมีน้ำขังก็ต้องสูบน้ำออกไปทิ้ง การขุดดินเพื่อทำฐานรากก็ต้องเผื่อความกว้างไว้รอบตัวอย่างน้อย 50 เซนติเมตร และต้องทำบ่อซับไว้ด้วย เพื่อรองรับน้ำฝนที่ไหลมาจากฐานราก แล้วจึงใช้เครื่องสูบน้ำมาสูบน้ำออกไป

  • ถังเก็บน้ำใต้ดิน เมื่อฝนตกหนักมากมีโอกาสที่จะทำให้ดินที่ขุดไว้พังทลายได้ เราต้องป้องกันเสียแต่เนิ่น ๆ เช่น ถ้าต้องขุดดินที่มีระดับความลึกมากกว่า 2 เมตรขึ้นไป ต้องมีการลงแผงเหล็กกันดินเพื่อป้องกันดินถล่มด้วย

2. ส่วนที่อยู่รอบๆ ไซต์งาน : ไม่ใช่แค่เรื่องสกปรกเท่านั้น แต่รวมถึงความยากลำบากในการขนส่ง การระบายน้ำ ซึ่งมีผลต่อการทำงานด้วย

   • การถมดิน ช่วงฤดูฝนมีปัญหาแน่นอนเพราะขนส่งได้ลำบาก เช่น รถติดหล่มมีผลทำให้งานก่อสร้างล่าช้า ฯลฯ

   • ถนนสกปรก รถบรรทุกดินหรือรถขนวัสดุก่อสร้างก่อนที่จะออกไปจากไซต์งานจะต้องล้างสิ่งสกปรกต่าง ๆ ที่ติดมากับล้อรถออกให้หมดฉะนั้นจึงควรเตรียมสถานที่ไว้สำหรับล้างรถโดยเฉพาะ เพื่อไม่ให้น้ำเจิ่งนอง

   • การระบายน้ำ เตรียมระบบระบายน้ำให้ดีเพื่อป้องกันการอุดตัน เช่น ต้องปิดฝาท่อระบายน้ำเพื่อไม่ให้เศษวัสดุก่อสร้างตกลงไป แต่ถ้าเกิดการอุดตันขึ้นจริง ๆ ต้องเตรียมคนงานมาช่วยจัดการลอกท่อ

3. ความปลอดภัยจากไฟฟ้า :

   • คัตเอาต์หรือแผงสวิตช์ไฟ ที่ใช้ในงานก่อสร้างต้องอยู่ในบริเวณที่ฝนสาดไม่ถึง หรือมีอุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันฝนสาด


   • สายไฟ ห้ามอยู่ติดกับพื้นดิน ควรมีเสาสูงมารองรับสายไฟ เพื่อช่วยป้องกันอันตรายจากกระแสไฟฟ้า

4. การจัดเก็บวัสดุ :

   • ปูน ห้ามโดนน้ำเด็ดขาด! ควรมีห้องเก็บที่ไม่เปียกฝน และมีการยกพื้นให้สูงขึ้นรอบตัวอีกอย่างน้อย 20 เซนติเมตร หรือเลือกใช้บริการคอนกรีตผสมเสร็จจากรถโม่

   • หิน มีน้ำหนักมาก ไม่ต้องห่วง เพราะไม่ไหลไปกับน้ำง่าย ๆ

   • ทราย อาจมีการไหลบ้าง ถ้ามีพื้นที่กว้างก็ไม่ต้องกังวลจนเกินเหตุ แม้ทรายจะจมไปกับพื้นก็โกยขึ้นมาใช้ใหม่ได้ แต่อย่าให้ไหลไปปนกับดิน! ส่วนกรณีพื้นที่แคบ ต้องตีบล็อกกันเพื่อไม่ให้ไหลไปกับน้ำ

5. งานทาสี :

   • สีน้ำพลาสติก ให้ดูวันที่แดดดี ๆ เพราะทาประมาณครึ่งวันก็แห้งแล้ว

   • สีเคลือบเงา ถ้าอากาศไม่ดีก็ควรหลีกเลี่ยง เพราะงานที่ได้ออกมาจะไม่ประณีต ต้องเสียเวลาแก้ไข

6. ราคาค่าก่อสร้าง :

   • มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นบ้าง เพราะผู้รับเหมาทำงานได้ลำบากในช่วงนี้โดยเฉพาะการทำฐานราก เนื่องจากต้องเตรียมเครื่องมือและคนงานให้พร้อมเพื่อรับมือกับฝน.