หน้าเว็บ

พาไปดู Japan robot week 2016


พัฒนาการทางด้านหุ่นยนต์ของยุคนี้ มีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วครับ และในหลายๆประเทศทั่วโลกเลยละ  แต่การพัฒนาการด้านหุ่นยนต์ที่ประเทศญี่ปุ่นนั้น มีความพิเศษอย่างหนึ่ง คือประเทศญี่ปุ่นนี้มีวัฒนธรรม อะนิเมะ ( Anime) วัฒนธรรมที่มาจากการ์ตูนนั่นเองครับ ทำให้ประเทศญึ่ปุ่น ชอบพัฒนาหุ่นยนต์ที่เดินสองขาได้ และมีลักษณะเหมือนคน มากๆ เลยละ ด้านนี้ดูจะมีความน่าสนใจกว่าที่อื่นๆในโลกครับ

กันดั้มตัวนี้ไม่เกี่ยวกับงานหุ่นยนต์นะครับ แต่ผมคิดว่า คนญี่ปุ่นคงตั้งใจจะสร้างหุ่นยนต์ให้ได้แบบนี้แหละ จริงๆ
Gundum


งาน Japan robot week เป็นงานที่จัดเป็นครั้งที่เจ็ด จัดปีละครั้งครับ  รัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศกลยุทธด้านหุ่นยนต์ของประเทศตั้งแต่ปี 2015 โดยมีเป้าหมายให้ในปี 2020 มูลค่าทางการตลาดการค้าของหุ่นยนต์ ของญี่ปุ่นมีการขยายตัว เป็น ยี่สิบเท่า ของมูลค่าตลาดในปี 2015 ครับ

มาดูกันว่าในปี 2016 นั้นเขามีอะไรมาแสดงบ้าง

Japan robot week 2016

หุ่นยนต์ที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม เป็นหุ่นที่ดูเหมือนจะมีแต่แขน 
Japan robot week 2016

หุ่นยนต์สองขา Humanoid มีผลิตจำหน่ายเป็น Hobby แล้ว หรือจะเรียกว่าของเล่นก็ได้  จริงๆถ้าจำกันได้ เมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว ทาง ค่าย sony ก็เคยจำหน่ายหุ่นยนต์สุนัขที่เรียกว่า Aibo แล้ว  แต่ดูเหมือนว่าจะไม่ประสบความสำเร็จด้านการขายสักเท่าใด


Japan robot week 2016

หุ่นยนต์ Sota นี่ก็ จำหน่ายแล้วเหมือนกัน Sota จะสื่อสารกับเจ้าของได้ เป็นภาษาพูดเลย  แต่ดูเหมือนว่าจะพูดภาษาญี่ปุ่นเท่านั้น

Japan robot week 2016

Japan robot week 2016
 หุ่นยนต์ที่มาแรง ในปีนี้ น่าจะเป็นเจ้า Pepper ตัวนี้นั่นเอง  จากค่าย Softbank Mobile เปิดตัวตั้งแต่ปี 2014 ตอนนี้มียอดขายอยู่หลายพันตัว

เจ้า Pepper นี่ทำได้หลายอย่าง แต่ที่ใช้มากๆ ในงานเท่าที่เห็นคือ มันเป็นพนักงานขาย ที่สามารถให้ข้อมูลลูกค้าได้ แบบยืนไม่มีเหนื่อย  และเราก็มี ทางเลือกว่าจะซื้อหุ่น Pepper เลย หรือว่าจะจ้างเป็นรายเดือน เหมือนจ้างพนักงานก็ได้ครับ

Japan robot week 2016

Japan robot week 2016
ตัวนี้คือ Nao จาก softbank เหมือนกัน เป็นหุ่น Humanoid ตัวแรก ของค่าย 

Japan robot week 2016
Trend อีกประเภทคือหุ่นยนต์ที่ไม่ได้เป็นหุ่นทั้งตัว แต่เหมือนเป็นอุปกรณ์ในการเพิ่มพลัง ช่วยให้คนปกติทำงานได้สะดวกขึ้น และช่วยคนให้ที่มีความลำบากในการใช้ร่างกาย สามารถใช้ร่างกายได้ ดีขึ้นครับ


Japan robot week 2016

Japan robot week 2016

Japan robot week 2016
Japan robot week 2016
หุ่นอีกประเภทใช้ตรวจการในที่ที่คนเข้าไปไม่ได้ พวกประเภทโดรนเป็นต้น

Japan robot week 2016

Japan robot week 2016
ชีวิต คนทั่วๆไปอย่างพวกเราเข้าใกล้กับ หุ่นยนต์เหล่านี้ขึ้นทุกทีครับ อีกไม่นาน มันคงเข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวันจนเป็นเรื่องทั่วไปเหมือนมือถือ เลยละครับ

ขอจบด้วยหุ่นยนต์ ที่จับพู่กัน ได้นิ่มนวลมากๆ ตัวนี้ครับ

Japan robot week 2016

ซื้อบ้านฤดูน้ำท่วม โดย เมตตา ทับทิม จาก มติชนรายวัน


ขอสารภาพว่าอารมณ์ติดพันหลังจากจัดรายการสด “คุยอสังหาฯ กับประชาชาติ” เป็นรายการ live streaming บนเฟซบุ๊กประชาชาติธุรกิจ เรียนเชิญคุณแฟนเพจติดตามรับชมได้ทุกวันอังคาร เวลาประมาณ 15.00 น. โดยจัดร่วมกับกูรูข่าวอสังหาริมทรัพย์ “พี่แหม่ม-สมถวิล ลีลาสุวัฒน์” ผู้ช่วยบรรณาธิการ หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจค่ะ

ตามปกติ สำหรับผู้ประกอบการแทบทุกวงการ หน้าฝนหรือช่วงฤดูฝนซึ่งกินเวลาตั้งแต่ปลายเมษายน-ต้นพฤษภาคม ไปจนถึงโน่นเลย ปลายเดือนตุลาคม จนมีคำกล่าวกันว่าปลายฝน-ต้นหนาวมักจะหมายถึงช่วงเวลาปลายตุลาคมชนกับต้นเดือนพฤศจิกายน ช่วงฝนตกในแง่ฤดูการขายสินค้า-บริการ เขาเรียกว่าเป็นช่วงโลว์ซีซั่น

อาจเป็นเพราะหน้าฝน ตามท้องไร่ท้องนาเป็นช่วงเพาะปลูก ยังไม่ได้เก็บเกี่ยว สภาพคล่องหรือเงินในกระเป๋าร่อยหรอ ทำให้กำลังซื้อในต่างจังหวัดเบาบางลง ขณะเดียวกันการใช้ชีวิตในเขตเมืองก็เงียบๆ เหงาๆ ซึมๆ เซาๆ ยังไงก็ไม่รู้ ยิ่งสตรีทฟู้ดหรืออาหารรถเข็น โต้รุ่ง ตลาดนัด พ่อค้าแม่ค้าหน้านิ่วคิ้วขมวดไปตามๆ กันเพราะลูกค้าไม่ออกมาเดินช้อป ชิม กิน เที่ยว เนื่องจากไม่สะดวกนั่นเอง

หน้าฝนปีนี้มียังมีเรื่องให้ตื่นเต้นเพิ่มขึ้นไปอีกเมื่อโลกโซเชียลแชร์กันสนั่นถึงปัญหาน้ำท่วม-น้ำท่วมขัง มีรถยนต์จมน้ำ มีภาพการจราจรติดแหง็ก เดิมเลิกทำงาน 5 โมงเย็นใช้เวลา 1-1 ชั่วโมงครึ่งก็ถึงบ้าน แต่พอมีน้ำท่วมขังใช้เวลาปาเข้าไป 2-3 ชั่วโมง

ส่งผลกระทบต่อมู้ดผู้บริโภค แปลความหมายตรงตัวว่าอารมณ์จับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค ซึ่งถ้าผู้บริโภคเกิดอาการ “มู้ดดี้” ขึ้นมาเมื่อไหร่ ความหมายแปลได้ว่า รมณ์บ่จอย อารมณ์เสีย อารมณ์ไม่ดี อะไรประมาณนี้ ยอดขายสินค้าอุปโภคบริโภคจึงร่วงระนาว

กล่าวสำหรับวงการอสังหาริมทรัพย์ ถ้าลองคิดนอกกรอบกันสักนิดจะพบว่า ในมุมผู้บริโภคหรือผู้ซื้อเราสามารถแปรวิกฤตหน้าฝนให้เป็นโอกาสได้ เนื่องจากการซื้ออสังหาฯ ช่วงหน้าฝนมีคุณประโยชน์ที่เห็นได้ชัดอย่างน้อย 2 ข้อ นั่นคือการมองทำเลกับตรวจสอบสินค้า

ในเรื่องทำเล คำถามยอดฮิตถล่มทลายคือเลือกทำเลไหนดี หน้าฝนนี่แหละที่ทำให้ผู้บริโภคชั่งใจได้ด้วยตาเปล่า ทำเลไหนที่น้ำไม่ท่วมเวลาฝนตกหนักต้องให้คะแนนว่าเป็นสุดยอดทำเล (ขอแอบกระซิบเบาๆ ตรงนี้นะคะ ในเขตเมืองกรุงเจอน้ำท่วมขังทั้งนั้นแหละ อยู่ที่ว่าจะวิดน้ำให้แห้งช้าหรือเร็ว)

ในเรื่องการตรวจสินค้า อย่าลืมว่าการซื้ออสังหาฯ จะต้องโอนกรรมสิทธิ์ ขั้นตอนก่อนโอนคือการตรวจรับมอบสินค้า ซึ่งแน่นอนว่ากรณีเป็นสินค้าคอนโดฯ อย่าลืมตรวจสอบพื้นที่ส่วนกลางให้เยอะๆ โดยเฉพาะที่จอดรถ (อยู่ใต้ดินหรือเปล่า) กับห้องเครื่องหรือห้องระบบ

ถ้าเป็นโครงการเก่ามักจะวางห้องเครื่องไว้ชั้น 1 หรือชั้นใต้ดิน ตอนน้ำท่วมใหญ่ปี 54 เห็นผู้ประกอบการหลายรายออกมาให้ข่าวว่าการออกแบบตึกใหม่ๆ จะยกห้องเครื่องไปวางไว้ชั้น 2 ชั้น 3 …จริงหรือเปล่าก็ไม่รู้ (ฮา)

กรณีเป็นสินค้าบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ หลังเบ้อเริ่มเลยเรารู้ได้อย่างไรว่าหลังคารั่วหรือเปล่า ขอบประตูหน้าต่างบานเกล็ดทั้งหลายมีจุดอ่อนน้ำซึมผ่านไหม ท่อระบายน้ำหน้าบ้านมีปัญหาอย่างไร ไหนจะกันสาด-ชายคายื่นมากยื่นน้อยคุ้มแดดคุ้มฝนพอหรือยัง ระเบียงที่ให้มาสร้างไว้เท่ๆ หรือโดนฝนสาดจนวางเฟอร์นิเจอร์ไม่ได้ …โอ๊ย จิปาถะบันเทิงค่ะ

สรุปว่าถ้าหากซื้ออสังหาฯ ตอนหน้าหนาว-หน้าร้อน เราก็ต้องรอหน้าฝนให้เทวดานางฟ้าช่วยคอนเฟิร์มอยู่ดีว่าคุณภาพงานก่อสร้างเขาโอเค-ไม่โอเค อยู่ที่ว่าอยากรู้ก่อนหรือรู้ทีหลังรับโอนมาแล้ว

ข้อแนะนำจึงมีอยู่ว่าการเลือกซื้อบ้าน-คอนโดฯ ช่วงหน้าฝนถือเป็นออปชั่นที่น่าสนใจด้วยประการฉะนี้ โชคดีทุกท่านค่ะ

ผู้เขียน: เมตตา ทับทิม
ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน

สำรวจชั้นดินนั้นสำคัญไฉน?


เวลาเราพูดถึงปัญหาบ้านทรุดกันนั้น หลายครั้งเรามักพุ่งตรงไปที่ปัญหาของโครงสร้างก่อนเลย เช่นว่าเสาเข็มไม่เท่ากัน เข็มสั้นเกินไป เกิดปัญหาดินไหล ออกไปเป็นต้น ซึ่งก็อีกหลายครั้งเช่นกัน ปัญหา เกิดขึ้นจากการที่ไม่ทำการสำรวจชั้นดินให้แน่ใจว่า มีลักษณะเป็นอย่างไร รับกำลังได้มากน้อยแค่ไหน ก่อนที่จะทำการสร้างสิ่งปลูกสร้างลงไปครับ

การสำรวจชั้นดินนั้น มีความจำเป็นที่ต้องทำในทุกการก่อสร้าง เนื่องจากดินมีลักษณะต่างๆกันไปได้ตลอดเวลา แม้จะอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน  โดยมากการสำรวจชั้นดินนั้น ผู้ที่ได้ข้อมูลนี้ไปจะเป็นผู้ออกแบบ ซึ่งจำนำข้อมูลไปคำนวณชนิดของฐานราก ชนิด จำนวน และความลึกของเสาเข็ม หากจำเป็นต้องใช้  เจ้าของบ้านเอง ไม่ค่อยทราบหรอกครับ ว่ามีการสำรวจชั้นดินกันหรือเปล่า  ถ้าอย่างเป็นบ้านพักอาศัย ก็จะมีการสำรวจกันสักสองหลุ่ม แทยงมุม เป็นต้น  ส่วนค่าสำรวจก็ตกประมาณ สองหมื่นบาทถึงสามหมื่นบาทต่อหลุมสำรวจ

ดังนั้นผู้ที่จะคิดสร้างบ้านใหม่ อย่าลืมตั้งงบประมาณเผื่อไว้สำหรับการสำรวจดินด้วยครับ  เผื่อเห็นผู้รับเหมาเสนอราคามา จะได้ไม่ตัดตรงนี้ออก  มันสำคัญครับ

การสำรวจดิน

การสำรวจดิน