พัฒนาการทางด้านหุ่นยนต์ของยุคนี้ มีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วครับ และในหลายๆประเทศทั่วโลกเลยละ แต่การพัฒนาการด้านหุ่นยนต์ที่ประเทศญี่ปุ่นนั้น มีความพิเศษอย่างหนึ่ง คือประเทศญี่ปุ่นนี้มีวัฒนธรรม อะนิเมะ ( Anime) วัฒนธรรมที่มาจากการ์ตูนนั่นเองครับ ทำให้ประเทศญึ่ปุ่น ชอบพัฒนาหุ่นยนต์ที่เดินสองขาได้ และมีลักษณะเหมือนคน มากๆ เลยละ ด้านนี้ดูจะมีความน่าสนใจกว่าที่อื่นๆในโลกครับ
กันดั้มตัวนี้ไม่เกี่ยวกับงานหุ่นยนต์นะครับ แต่ผมคิดว่า คนญี่ปุ่นคงตั้งใจจะสร้างหุ่นยนต์ให้ได้แบบนี้แหละ จริงๆ
|
Gundum |
งาน Japan robot week เป็นงานที่จัดเป็นครั้งที่เจ็ด จัดปีละครั้งครับ รัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศกลยุทธด้านหุ่นยนต์ของประเทศตั้งแต่ปี 2015 โดยมีเป้าหมายให้ในปี 2020 มูลค่าทางการตลาดการค้าของหุ่นยนต์ ของญี่ปุ่นมีการขยายตัว เป็น ยี่สิบเท่า ของมูลค่าตลาดในปี 2015 ครับ
มาดูกันว่าในปี 2016 นั้นเขามีอะไรมาแสดงบ้าง
|
Japan robot week 2016
หุ่นยนต์ที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม เป็นหุ่นที่ดูเหมือนจะมีแต่แขน
|
|
Japan robot week 2016 |
หุ่นยนต์สองขา Humanoid มีผลิตจำหน่ายเป็น Hobby แล้ว หรือจะเรียกว่าของเล่นก็ได้ จริงๆถ้าจำกันได้ เมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว ทาง ค่าย sony ก็เคยจำหน่ายหุ่นยนต์สุนัขที่เรียกว่า Aibo แล้ว แต่ดูเหมือนว่าจะไม่ประสบความสำเร็จด้านการขายสักเท่าใด
|
Japan robot week 2016 |
หุ่นยนต์ Sota นี่ก็ จำหน่ายแล้วเหมือนกัน Sota จะสื่อสารกับเจ้าของได้ เป็นภาษาพูดเลย แต่ดูเหมือนว่าจะพูดภาษาญี่ปุ่นเท่านั้น
|
Japan robot week 2016 |
|
Japan robot week 2016 |
หุ่นยนต์ที่มาแรง ในปีนี้ น่าจะเป็นเจ้า Pepper ตัวนี้นั่นเอง จากค่าย Softbank Mobile เปิดตัวตั้งแต่ปี 2014 ตอนนี้มียอดขายอยู่หลายพันตัว
เจ้า Pepper นี่ทำได้หลายอย่าง แต่ที่ใช้มากๆ ในงานเท่าที่เห็นคือ มันเป็นพนักงานขาย ที่สามารถให้ข้อมูลลูกค้าได้ แบบยืนไม่มีเหนื่อย และเราก็มี ทางเลือกว่าจะซื้อหุ่น Pepper เลย หรือว่าจะจ้างเป็นรายเดือน เหมือนจ้างพนักงานก็ได้ครับ
|
Japan robot week 2016 |
|
Japan robot week 2016 |
ตัวนี้คือ Nao จาก softbank เหมือนกัน เป็นหุ่น Humanoid ตัวแรก ของค่าย
|
Japan robot week 2016 |
Trend อีกประเภทคือหุ่นยนต์ที่ไม่ได้เป็นหุ่นทั้งตัว แต่เหมือนเป็นอุปกรณ์ในการเพิ่มพลัง ช่วยให้คนปกติทำงานได้สะดวกขึ้น และช่วยคนให้ที่มีความลำบากในการใช้ร่างกาย สามารถใช้ร่างกายได้ ดีขึ้นครับ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น