หน้าเว็บ

อัพเดทความเสี่ยงอัคคีภัย


        เรื่องอัคคีภัยดูเหมือนจะเป็นเรื่องเก่า ที่ทุกคนก็ดูเหมือนจะเข้าใจกันว่ารู้อยู่แล้ว ทำแล้ว แต่ความเป็นจริงดูเหมือนจะยังไม่รู้และยังไม่ได้ทำนะครับ เพราะว่าการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยมันเกิดอยู่เสมอและเกิดเร็ว บางอย่างเหตุเก่าๆ เคยเกิดอยู่เกิดแล้ว ก็ยังไม่เรียนรู้ ยังเกิดซ้ำกันอยู่เลยครับ  ดูอย่างที่ เหตุจุดพลุ ในสถานบันเทิง ซานติก้าที่เกิดเหตุคนตายมีคนตายกว่าหกสิบคน เมื่อสิบห้าปีที่แล้วก็ยังมีคลิปวีดีโอที่เกิดเหตุไฟไหม้เพราะจุดพลุ ในสถานที่ปิดอยู่เหมือนเดิมครับ


ความเสี่ยงใหม่ที่เกิดจากอัคคีภัยมันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงไปของสี่สิ่งนี้ครับ


หนึ่ง จากสังคมผู้สูงอายุ ทำให้มีผู้สูงอายุอาศัยในคอนโดมิเนียม และอาคารสูงเพิ่มขึ้น ในขณะที่การออกแบบทางหนีไฟ ออกแบบไว้สำหรับลำเลียงคนหนีภัยที่เป็นคนทั่วๆไป


smoke detector อุปกรณ์ถังดับเพลิง และอื่นๆ ไว้ป้องกันเหตุ  สิ่งที่คนมักลืมคิดไปคือว่า ถ้าห้องเราเป็นต้นเพลิง เรามีความผิดตามกฎหมายอาญานะครับ จะโดนฟ้องได้ทั้งแพ่งและอาญา ตามมาตรา 220 ของกฎหมายอาญา มีโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปีและโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนสี่หมื่นบาทครับ


สอง ลักษณะการใช้อาคาร ก็ไม่เหมือนเดิม จากการที่คนค้าขายกันออนไลน์ ก็เกิดเป็น เทรน ในการเก็บของไว้ที่ห้อง หรือทำอาหารส่งกันที่ห้อง ทำให้เกิดความเสี่ยงในการเป็นต้นเพลิงของเจ้าของห้องเหล่านั้นเพิ่มขึ้น เจ้าของห้องเหล่านี้ต้องมีความเข้าใจเรื่องความเสี่ยงจากอัคคีภัยเพิ่มด้วย เขาจะได้จัด


สาม การเปลี่ยนแปลงไปของการสร้างอาคาร และวัสดุที่ใช้สร้างอาคาร กล่าวคืออาคารสมัยใหม่ เน้นการก่อสร้างเร็ว มีความเสี่ยงจากโครงสร้างที่อาจพังทลายลงได้เร็วขึ้นเมื่อเกิดไฟไหม้ รวมถึงวัสดุที่ใช้ ก็ลามไฟ และไหม้ไฟได้เร็วขึ้น


สี่ เครื่องมือเครื่องใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีแบตเตอรี่ เป็นส่วนประกอบ สามารถติดไฟได้เองโดยไม่ต้องใช้ออกซิเจน เรียกว่า Thermal runaway ดังนั้น ต้องเตรียมอุปกรณ์ในการดับไฟสำหรับเชื้อเพลงประเภทแบตเตอรี่ไว้ รวมถึงเวลานำแบตเตอรี่ไปกำจัด ก็ต้องแยกการทิ้งไว้ต่างหากด้วยครับ เพื่อป้องกันการไฟไหม้ในที่ทิ้งขยะครับ


สำหรับผู้ออกแบบ และเจ้าของอาคาร ก็ต้องตระหนักรู้และประเมินความเสี่ยงของการเกิดเหตุไฟไหม้ และการอบยพ เพราะกฎหมายให้ผู้ออกแบบใช้ดุลพิจนิจในการเลือกกำหนดระดับความเสี่ยง ทำให้ผู้ออกแบบต้องเข้าใจความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นเหล่านี้ 


ส่วนผู้อยู่อาศัย ก็สังเกตุว่าเคยได้ยินเสียงสัญญาณเตือนไฟไหม้บ้างไหม สังเกตุว่าคอนโดของเราใช้ smoke detector หรือ heat detector กันแน่ เพราะ ต้ว heat detector ไม่ได้มีไว้ใช้เตือนอัคคีภัยครับ และก็เข้าร่วมการซ้อมหนีไฟของอาคารด้วยนะครับ


ส่วนใครสนใจข้อมูลเรื่องมาตรฐานป้องกันอัคคีภัย ลองไปซื้อเล่มของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยมาใช้อ้างอิงได้ครับ ชื่อนี้เลยครับ มาตรฐานป้องกันอัคคีภัย

รัฐบาลประกาศลดราคา รถไฟฟ้าสายสีแดง กับรถไฟฟ้าสายสีม่วง


รัฐบาลประกาศลดราคา รถไฟฟ้าสายสีแดง กับรถไฟฟ้าสายสีม่วง ลงเป็น สูงสุดราคา 20 บาท ตลอดสาย
ที่ลดราคาสองสายนี้ก่อนและทำได้เลย เพราะเป็นสองสายที่อยู่ภายใต้การดูแลของรัฐบาล

 

 

 

สายสีแดง เดินรถไฟโดยบริษัทลูกการรถไฟ SRT

สายสีม่วง เดินรถโดยบริษัท BEM  ในเครือกลุ่ม ช การช่าง ผู้ดูแลรถไฟฟ้าสีน้ำเงิน และทางพิเศษ หรือทางด่วน

 

สายสีแดง ระยะทางรวม 41 กิโลเมตร  เส้นทาง รังสิต  บางซื่อ ตลิ่ง ชัน ค่าบริการเดิม สายสีแดง อยู่ที่ 14-42 บาท  

 

รถไฟฟ้าสายสีม่วง  23 กิโลเมตร 16 สถานี วงแหวนตะวันตถ ถึงเตาปูน ค่าโดยสาร 14-42 บาท แต่เดิมมีแผนลดราคา 20บาท ต่อสายแต่เดิมจะเริ่มลด หนึ่ง ธค อยู่แล้ว เป็น BEM เป็นผู้เดินรถให้ รฟม รถไฟฟ้ามหานคร  



 

สายสีม่วงลดค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย ตอนนี้ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 23 บาท จะทำให้รายได้ลดลงประมาณ 190 ล้านบาท/ปี หรือ คิดเป็น 60 % ของรายได้เฉลี่ยปัจจุบัน โดยรฟม.จะใช้รายได้ที่นำส่งคลังปีละประมาณ 300-400 ล้านบาท   มาชดเชย กล่าวคือ จ่ายเข้าคลังน้อยลง

 

ปัจจุบันรฟม.มีรายได้จากส่วนแบ่งค่าตอบแทนรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน 15% โดยปี 67 ประเมินที่ 3,600 ล้านบาท ปี 68 ที่ 4,800 ล้านบาท มีรายได้ค่าโดยสารสายสีม่วง ประมาณ 500 ล้านบาท/ปี และรายได้อื่นๆ โดยนำส่งรายได้เข้าคลังจาก 20-25% ของกำไรสุทธิ ซึ่งปี 65 ส่งรายได้เข้าคลัง 311 ล้านบาท ส่วนปี 66 รอบ6 เดือนส่งไปแล้วสองร้อยกว่าบาท

 

 

 

ข้อดี
หนึ่ง ถ้า คนที่ไปขึ้นรถไฟไม่ได้ใช้รถอยู่แล้ว ก็จะทำให้ ลดคาร์บอนลงไปได้ คิดเป็นหลายร้อยล้านบาทต่อปี
สอง ทำให้คนมีความสุขมากขึ้น เดินทางเร็วขึ้น ราคาลดลงถ้าไปกลับ สี่สิบบาท ต่อวัน ก็อาจเปลี่ยนมาขึ้นรถไฟฟ้าได้ 

 

 

 

ความเสี่ยง  ถ้าจะให้เป็น 20 บาท ในทุกสี

หนึ่ง รายได้รัฐลดลง  หน่วยงานรัฐอย่าง srt มีโอกาสขาดทุนเพิ่ม
สอง  เอกชน อย่าง BEM หรือ ในอนาคต BTS เอาไปต่อรอง อย่างอื่นกับรัฐได้  
สาม  อาจต้องมีการลงทุนอุปกรณ์เพิ่ม ในการนั่งรถข้ามบริษัทกัน ถ้าเอกชนลงทุน ก็คงมาต่อรองกับรัฐ
สี่ ต้องมีกฎหมายรองรับ อย่าง พรบ ตั๋วร่วม  และกองทุนชดเชยส่วนต่าง สำหรับการเดินทางข้ามระบบ
หรือไม่งั้นใช้บัตร EMV

 

 

 

EV ติดบ้าน ควรรู้อะไรบ้าง


        ตลาดรถยนต์ไฟฟ้า มาแรงมากในปีนี้นะครับ และจำนวนรถยนต์ก็เพิ่มขึ้นเป็น เกือบห้าหมื่นคันแล้วที่จดทะเบียน หรือมากกว่านั้นแล้วก็ไม่ทราบ และคิดว่า เพื่อนๆ ของท่านคงมีคนใช้อีวีกันแล้ว เพราะจริงๆแล้วตอนนี้ราคารถ อีวีถูกกว่ารถ ICE internal combustion engine เสียอีกครับ จากมาตราการสนับสนุนของรัฐด้วย และจากราคาน้ำมันที่พุ่งสูงด้วย


        ทีนี้ การใช้รถ อีวี ก็มาคู่กับการชาร์จ ก็ต้องติดที่ชาร์จ ไม่งั้นก็ไปชาร์จที่ปั้ม บางทีเราก็ได้แถมที่ชาร์จมา ซึ่งตัวที่ชาร์จเนี่ย มันไม่เหมือนกับที่ชาร์จ ไอโฟน ที่ชาร์จโทรศัพท์ ขนาดที่ชาร์จโทรศัพท์ ที่ไม่ได้มาตรฐานใช้แล้วยังไฟไหม้ได้เลยครับ ที่ชาร์จอีวี หรือ EV charger ก็เหมือนกัน  มันต้องมีมาตรฐาน ก็เหมือนกับอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ ในบ้านนั่นแหละ


ตอนนี้ ทางการไฟฟ้านครหลวง ก็มีมาตรฐานการติดตั้งออกมา ทั้งแบบสถานีและแบบ ติดที่บ้าน ตามรูป 



ข้อมูลจาก : เว็บไซต์การไฟฟ้านครหลวง


หรือแม้มาตรฐานของ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคก็มีนะครับ พวกขึ้นทะเบียนเครื่องชาร์จ ก็เพิ่งแก้มาตรฐานไปเมื่อเดือนกันยายน 2566 นี้เองครับ


ข้อมูลจาก : เว็บไซต์การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค


ไปหาดูข้อมูลพวกนี้เพิ่มเติมได้ สำหรับท่านที่เป็นช่าง หรือเป็นวิศวกรนะครับ


สำหรับชาวบ้านอย่างเรา ที่มีคนมาทำ อีวีชาร์เจอร์ ให้ที่บ้าน เราก็ต้องพอมีความรู้เบื้องต้นไว้บ้างก็ดี จะได้ปลอดภัย ครบถ้วน ไม่เสียเงิน หรือเกิดอุบัติเหตุไฟฟ้าครับ ดูดังนี้ครับ


หนึ่ง เราควรตรวจสุขภาพระบบไฟฟ้าในบ้านเราก่อน ว่าดังนี้
    ก.ไฟกี่เฟส หนึ่งหรือสาม
    ข. meter เท่าไหร่ ส่วนใหญ่ใช้ 15/45
    ค. เช็คโหลดไฟในบ้านเราในช่วงเวลาต่างๆ พวกไฟที่เป็นสามเฟส เช็คว่า กระแสไฟเข้าในแต่ละเฟสเข้าพอๆ กันหรือเปล่า เพราะถ้าต่างกันมากจะทำให้สิ้นเปลืองพลังงานมากโดยไม่จำเป็น
    ง.ขนาดสายไฟที่บ้านเราใช้ เพราะสายไฟอีวี ต้องเป็นขนาดเดียวกัน
    ฉ.หลักดิน ขั้นต่อดิน


สอง เมื่อช่างมาติดตั้ง ควรถามเขา หรือขอดูว่า เขามีใบรับรองช่างไฟฟ้าภายในอาคารหรือเปล่า หรือมีวิศวกรไฟฟ้า ระดับภาคี ควบคุมหรือเปล่า

ข้อมูลจาก : เว็บไซต์ บริษัท ปิ่นทองกรุ๊ป แมนเนจเม้นท์ แอนด์ คอนซัลแตนท์ จำกัด


สาม ขอให้เขาส่งแบบติดตั้งและ BOQ มาให้เราด้วย เพราะถึงดูไม่เข้าใจ อย่างน้อย ก็เก็บไว้เผื่อมีเหตุ หรือเอาไว้ให้วิศวกรตรวจสอบความถูกต้องได้

 

กระแสไฟเป็นสิ่งที่มองไม่เห็นดังนั้น เราต้องปลอดภัยไว้ก่อน เพื่อป้องกันเหตุที่เกิดแก่ชีวิตและทรัพย์สินของเราได้ครับ






ปี2566 น้ำจะท่วมหรือไม่


ปี2566 น้ำจะท่วมหรือไม่

ตอบคือ ไม่ท่วม กรุงเทพแน่นอน และจะน้ำแล้งมากด้วยในปีหน้า เพราะอะไร 


หนึ่ง ปีนี้ มีเหตุ El nino และจะเกิดขึ้นถึงเดือนมีนาคมปีหน้า ถึงจะเข้าภาวะปกติ


El nino คืออะไร El nin คือภาวะที่ อุณหภูมิน้ำทะเลพื้นผิวที่เส้นศูนย์สูตร ในทะเลแปซิฟิก สูงกว่าค่าเฉลี่ย เกิน 0.5 องศาเซลเซียสเป็นระยะเวลาต่อเนื่องกันนานพอสมควรจนเกิดกระแสลมและกระแสน้ำไหลกลับด้าน

 

ผลก็คือ จะเกิด ภาวะ ฝนน้อย และน้ำ น้อย ในประเทศไทย หรือในทางกลับกัน ถ้าอุณหูมิน้ำทะเลพื้นผิวที่กลางทะเลและทะเลแปซิฟิกตะวันออก ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย เกินกว่า 0.5 องศาเซียส เกิดน้ำฝนเยอะและน้ำเยอะในประเทศไทย


ฝนที่ตกในประเทศไทย ปกติเป็นฝนที่เกิดจากลมมรสุมที่เกิดในประเทศอยู่แล้ว ผ่านความชื้นที่พัดมาจากทะเล อันดามัน ผ่านอ่าวไทย และมาตกตามร่องความกดอากาศต่ำ

 

ซึ่งทุกปี ร่องความกดอากาศต่ำจะพาดผ่านประเทศไทยตอนบน ค่อยๆ ถูกความกดอากาศสูงไล่ลงมาเรื่อยๆ จากเหนือสุด ถึงใต้สุดของประเทศไทย อยู่ในช่วง สิงหาคม ถึงธันวาคม หรือวันแม่และวันพ่อของทุกปี


 

สถานะปีปัจจุบัน ร่องฝนอยู่แถวๆ จังหวัดแพร่ สุโขทัยแล้ว ซึ่งผ่านเขื่อนสิริกิตและเขื่อนภูมิพลมาแล้ว ขณะที่ปริมาณน้ำ ในเขื่อนทั้งสองเขื่อนนั้น มียังไม่ถึงครึ่งของปริมาณกักเก็บน้ำ ที่เก็บได้เมื่อปีก่อน

 

ผลคือคาดการณ์ว่า ปีหน้าทำหน้าปรังได้เพียง สองล้านไร่ จากปีที่แล้วทำได้ สิบล้านไร่

 

ส่วนน้ำที่ท่วมสุโขทัยเป็นน้ำที่เกิดจาก ความไม่มีสภาพเป็นทางน้ำไหลของน้ำยม คือตื้นเขินและไม่มีเขื่อน ก็จะท่วมทุกปี นอกจากจะไปทำเขื่อนหรือทำขุดลอกน้ำยม


ส่วนกทม น้ำไม่ท่วมแน่นอน เพราะปีนี้น้ำแล้ง และปัจจุบัน อัตราน้ำไหล ที่  2000/3500 msl คือยังสามารถรองรับน้ำได้อีกมาก

 

สรุปปีนี้น้ำไม่ท่วมกทม แน่นอน และปีหน้า แล้งแน่นอน  และราคาข้าวก็แพงแน่นอน แต่ปริมาณข้าวก็จะน้อยแน่นอน

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : คุณชวลิต จันทรรัตน์ วิศวกรแหล่งน้ำชื่อดัง ประธานกรรมการบริหารทีมกรุ๊ป