รัฐบาลประกาศลดราคา รถไฟฟ้าสายสีแดง กับรถไฟฟ้าสายสีม่วง ลงเป็น สูงสุดราคา 20 บาท ตลอดสาย
ที่ลดราคาสองสายนี้ก่อนและทำได้เลย เพราะเป็นสองสายที่อยู่ภายใต้การดูแลของรัฐบาล
สายสีแดง เดินรถไฟโดยบริษัทลูกการรถไฟ SRT
สายสีม่วง เดินรถโดยบริษัท BEM ในเครือกลุ่ม ช การช่าง ผู้ดูแลรถไฟฟ้าสีน้ำเงิน และทางพิเศษ หรือทางด่วน
สายสีแดง ระยะทางรวม 41 กิโลเมตร เส้นทาง รังสิต บางซื่อ ตลิ่ง ชัน ค่าบริการเดิม สายสีแดง อยู่ที่ 14-42 บาท
รถไฟฟ้าสายสีม่วง 23 กิโลเมตร 16 สถานี วงแหวนตะวันตถ ถึงเตาปูน ค่าโดยสาร 14-42 บาท แต่เดิมมีแผนลดราคา 20บาท ต่อสายแต่เดิมจะเริ่มลด หนึ่ง ธค อยู่แล้ว เป็น BEM เป็นผู้เดินรถให้ รฟม รถไฟฟ้ามหานคร
สายสีม่วงลดค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย ตอนนี้ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 23 บาท จะทำให้รายได้ลดลงประมาณ 190 ล้านบาท/ปี หรือ คิดเป็น 60 % ของรายได้เฉลี่ยปัจจุบัน โดยรฟม.จะใช้รายได้ที่นำส่งคลังปีละประมาณ 300-400 ล้านบาท มาชดเชย กล่าวคือ จ่ายเข้าคลังน้อยลง
ปัจจุบันรฟม.มีรายได้จากส่วนแบ่งค่าตอบแทนรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน 15% โดยปี 67 ประเมินที่ 3,600 ล้านบาท ปี 68 ที่ 4,800 ล้านบาท มีรายได้ค่าโดยสารสายสีม่วง ประมาณ 500 ล้านบาท/ปี และรายได้อื่นๆ โดยนำส่งรายได้เข้าคลังจาก 20-25% ของกำไรสุทธิ ซึ่งปี 65 ส่งรายได้เข้าคลัง 311 ล้านบาท ส่วนปี 66 รอบ6 เดือนส่งไปแล้วสองร้อยกว่าบาท
ข้อดี
หนึ่ง ถ้า คนที่ไปขึ้นรถไฟไม่ได้ใช้รถอยู่แล้ว ก็จะทำให้ ลดคาร์บอนลงไปได้ คิดเป็นหลายร้อยล้านบาทต่อปี
สอง ทำให้คนมีความสุขมากขึ้น เดินทางเร็วขึ้น ราคาลดลงถ้าไปกลับ สี่สิบบาท ต่อวัน ก็อาจเปลี่ยนมาขึ้นรถไฟฟ้าได้
ความเสี่ยง ถ้าจะให้เป็น 20 บาท ในทุกสี
สอง เอกชน อย่าง BEM หรือ ในอนาคต BTS เอาไปต่อรอง อย่างอื่นกับรัฐได้
สาม อาจต้องมีการลงทุนอุปกรณ์เพิ่ม ในการนั่งรถข้ามบริษัทกัน ถ้าเอกชนลงทุน ก็คงมาต่อรองกับรัฐ
สี่ ต้องมีกฎหมายรองรับ อย่าง พรบ ตั๋วร่วม และกองทุนชดเชยส่วนต่าง สำหรับการเดินทางข้ามระบบ
หรือไม่งั้นใช้บัตร EMV
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น