หน้าเว็บ

ความแตกต่างและประโยชน์ของการป้องกันอัคคีภัยเชิงรุก และเชิงรับ โดยคุณสุเมธ เกียรติเมธา


      จากความเจริญเติบโตของประเทศ ทำให้เกิดการขยายตัวโดยเฉพาะอาคารสาธารณะ อาคารสูง อาคารขนาดใหญ่ และอาคารที่มีผู้ใช้จำนวนมาก เช่น โรงพยาบาล คอนโดมิเนียม ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น การให้ความสำคัญกับความปลอดภัยความมั่นคงของอาคารจึงมีความสำคัญมาก ในทุกส่วนขององค์ประกอบของอาคารทุกๆ อาคาร สิ่งสำคัญคือ ผู้เกี่ยวข้องกับอาคารในประเทศยังขาดความรู้ความเข้าใจถึง การป้องกันอัคคีภัยที่ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นการป้องกันอัคคีภัยเชิงรุก (Active Fire protection) และโดยเฉพาะการป้องกันอัคคีภัยในเชิงรับ (Passive Fire protection) วันนี้เรามาทำความเข้าใจกับการป้องกันอัคคีภัยทั้ง 2 แบบกันเลยดีกว่าค่ะ










1. การป้องกันอัคคีภัยเชิงรุก (Active Fire Safety) เป็นการป้องกันอัคคีภัยในขณะที่เกิดเพลิงไหม้ขึ้นมาแล้วทำให้จำเป็นต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์การเฝ้าระวัง เพื่อป้องกันการลุกลามของไฟ รวมถึงการติดตั้งอุปกรณ์สำหรับการควบคุมควันไฟซึ่งมีระบบป้องกันอัคคีภัย ดังนี้
    1)  ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ มีส่วนประกอบหลักๆที่สำคัญคือ อุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้, ตู้ควบคุมระบบ และอุปกรณ์เตือนภัย โดยแต่ละส่วนเชื่อมต่อกันด้วยสายสัญญาณไฟฟ้า ซึ่งระบบจะทำงานตรวจจับเพลิงไหม้และส่งสัญญาณเตือนภัย เพื่อให้ผู้อยู่ภายในอาคารอพยพออกไปนอกอาคาร หรืออพยพไปยังพื้นที่ที่ปลอดภัย                                                              

อุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้
ตู้ควบคุมสัญญาณระบบไฟไหม้
 
    2)  ระบบดับเพลิงอัตโนมัติ เช่น ระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิงอัตโนมัติ (Automatic Sprinkler System) หรือระบบอื่นที่เทียบเท่าให้ครอบคลุมพื้นที่
    3)  ระบบควบคุมควัน ซึ่งการควบคุมควัน (Smoke Control) มีหลักการพื้นฐานอยู่ 2 ประการคือ การควบคุมควันด้วยการไหลของอากาศภายในอาคารเอง และ การควบคุมควันด้วยระบบอากาศ

อุปกรณ์ตรวจจับควัน

ระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิงอัตโนมัติ








2. การป้องกันอัคคีภัยเชิงรับ (Passive Fire Safety) เป็นการป้องกันในส่วนที่สำคัญของอาคารที่จะได้รับผลกระทบจากไฟและควันลาม โดยจะเน้นที่การจำกัดหรือควบคุม ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้าง อาคาร พื้น ผนัง รวมถึงจุดเชื่อมต่อของอาคาร เป็นต้น โดยการกั๊กแยกส่วนที่สำคัญของอาคารอย่างชัดเจน เพื่อความปลอดภัยของผู้ที่อาศัยในอาคารนั้น และเพื่อพนักงานดับเพลิงสามารถปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัยจากห้องหรือพื้นที่หนึ่งไปยังพื้นที่อื่นๆ โดยเฉพาะ ทางเดินหนีไฟ และบันไดหนีไฟ เป็นต้น


    2.1 การป้องกันการลามไฟและควันในขณะที่มีการอพยพหนีไฟให้เป็นไปอย่างปลอดภัยโดยที่ผนังปิดล้อมพื้นที่ต้องมีอัตราทนไฟ 2 ชั่วโมง และมีระบบอัดอากาศเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเข้ามาในพื้นที่ปิดล้อมมีความดันขณะใช้งานไม่น้อยกว่า 38.6 ปาสคาล (ตามมาตรฐานกรมโยธาธิการและผังเมืองมาตรฐานว่าด้วยวัสดุและผลิตภัณฑ์ด้านอัคคีภัย พศ. ๒๕๕๒ ชุดที่ 1 ชุดมาตรฐานการออกแบบ) และผนังพื้นที่ปิดล้อมทางเดินำปสู่บันไดหนีไฟ ซึ่งจำเป็นต้องอุดปิดช่องเปิดทั้งหมดสำหรับผนังปิดล้อม


        2.2 ควบคุมการกระจายตัวของควันไฟในขณะเกิดเพลิงไหม้ และเพื่อระบายควันไฟออกไปให้มากที่สุดป้องกันการแพร่กระจายของควันไฟ โดยมีการออกแบบและติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมการกระจายตัวของควันไฟ

        2.3 กำหนดให้มีการใช้วัสดุประเภทไม่ลามไฟหรือสร้างความเสถียรภาพของโครงสร้างเป็นวัสดุประเภทป้องกันโครงสร้างอาคารให้มีโครงสร้างทนไฟตั้งแต่เริ่มการออกแบบ จำเป็นต้องมีข้อกำหนดในแบบถึงการป้องกันรอยต่อต่างๆ ที่สำคัญของอาคาร เช่น ผนังบันไดหนีไฟ ระหว่างรอยต่อผนังกับท้องพื้นที่เป็นผนังอิฐ ต้องใช้วัสดุป้องกันไฟและควันลามปิดแนวรอยต่อทั้งสองด้าน (ด้านนอกและด้านใน) ตามภาพ และได้รับการรับรองอย่างเป็นระบบ ที่ระบุชัดเจนถึงอัตราการทนไฟ (UL Systems report)

    ดังนั้นถ้าหากอาคารสำนักงานต่างๆ มีระบบควบคุมควันไฟที่ดีมีประสิทธิภาพ ก็จะสามารถป้องกันและลดอันตรายจากการเสียชีวิตของพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ที่เกิดจากควันไฟในกรณีของการเกิดเหตุอัคคีภัยลงได้ แต่ถ้าหากระบบควบคุมการถ่ายเทควันหรือระบบควบคุมควันไม่มีประสิทธิภาพ จะทำให้ผู้อยู่ในเหตุการณ์การเกิดอัคคีภัยเกิดการสำลักควันจนเสียชีวิตก็เป็นได้


    Cr.  คุณสุเมธ เกียรติเมธา ผู้จัดการฝ่ายข้อกำหนดและมาตรฐาน บริษัท ฮิลติ (ไทยแลนด์) จำกัด

    0 ความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น