ตัวอย่างแผงโซลาเซลล์บนหลังคาบ้านพักอาศัย |
โซลาร์รูฟท็อปเป็นระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาบ้านที่อยู่อาศัย โดยมีวัตถุประสงค์ที่สามารถผลิตไฟฟ้าใช้เองได้ หรือส่งขายไฟฟ้าให้กับหน่วยงานของรัฐโดยหลักการทำงานของโซลาร์รูฟท็อปนั้น ในเวลากลางวันแผงเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Module) คอยรับพลังงานจากแสงอาทิตย์ แล้วแปรเปลี่ยนให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรง เพื่อส่งต่อไปยังเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า (Inverter) โดยจะผลิตไฟฟ้า และขายไฟฟ้าที่ผลิตได้ทั้งหมดให้แก่การไฟฟ้าฯ แต่ที่สำคัญ เมื่อติดแผงโซล่าร์เซลล์แล้ว จะต้องมี “มิเตอร์ขายไฟ” เพิ่มขึ้นมาอีก 1 ตัว เพื่อรับไฟจากบ้านเราคืนกลับไปยังการไฟฟ้า สรุปบ้านเราก็จะมีทั้ง “มิเตอร์ขายไฟ” และ “มิเตอร์ซื้อไฟ” (มิเตอร์เดิม)
ในส่วนของการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปนั้นก็สามารถติดตั้งได้กับหลังคาเกือบทุกประเภท เช่น หลังคากระเบื้องซีแพคโมเนีย หลังคาลอนคู่ หลังคาคอนกรีต หลังคาเมทัลชีท เนื่องจากแผงโซลาร์เซลล์จะตกอยู่ที่ประมาณ 13 กิโลกรัมต่อตารางเมตร แต่หลังคา CPAC สามารถรับน้ำหนักได้ถึง 40 กิโลกรัมต่อตารางเมตรเลยทีเดียว แต่ถ้าเป็นหลังคาที่ใช้โครงไม้ หรือหลังคาสังกะสีจะไม่แนะนำให้ติด
มาถึงเรื่องความคุ้มค่าปัจจุบันการไฟฟ้าจำหน่ายกระแสไฟฟ้าให้ประชาขนทั่วไปอยู่ที่ 3-4 บาทแต่รับซื้อไฟจากเราที่อัตราหน่วยละ 6.85 บาท ซึ่งจะทำให้ผู้ลงทุนมีจุดคุ้มทุนที่สั้นมาก
ยกตัวอย่างเช่น ติดแผงโซลาเซลล์ขนาด 10 กิโลวัตต์ x 5 ชั่วโมง/วัน = 50 หน่วย/วัน (เฉลี่ยแสงแดด 5 ชั่วโมงต่อวัน)
1 เดือนผลิตได้ 1500 หน่วย
การไฟฟ้ารับซื้อที่หน่วยละ 6.85 บาท = 1500 x 6.85 = 10,275 บาท
ในเดือนนึงเราจะได้เงินจากกายขายไฟฟ้าให้การไฟฟ้าถึงหนึ่งหมื่นบาทเลยทีเดียว
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น