หน้าเว็บ

รู้จักกับปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก



ในการออกแบบโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กนั้น ตัวแปรหนึ่งที่จะถูกนำมาใช้คำนวณก็คือค่ากำลังอัดของคอนกรีต  เพื่อที่จะบอกว่าโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กนั้นรับน้ำหนักได้มากน้อยแค่ไหน ตามประเภทการใช้งาน
สำหรับผู้ออกแบบแล้ว การเลือกใช้กำลังอัดว่าเท่าใด ก็ค่อนข้างที่จะจบ ส่วนการเลือกใช้ปูนซีเมนต์ประเภทใดนั้น ก็ขึ้นกับสถานที่และสภาพแวดล้อมของโครงสร้างนั้น ว่าจะไปอยู่ที่ตรงไหน ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีแล้ว ว่าปูนซีเมนต์ปอร์ตแลน ตามมาตรฐาน มอก. 15-2555 (หรือมาตรฐานสากลอย่าง ASTM C150) นั้นก็มีห้าประเภท ตามการใช้งาน ลักษณะสำคัญของมาตรฐาน มอก. ฉบับนี้ ก็คือ จะมีการกำหนดคุณสมบัติทางเคมี และคุณสมบัติทางกายภาพ ไว้ด้วยกัน เพื่อให้แน่ใจว่าได้คอนกรีตที่มีคุณสมบัติดีจริงๆ  https://www.tisi.go.th/data/standard/fulltext/TIS-15-1-2555m.pdf


แต่ในช่วงหลังไม่กี่ปีมานี้ ผู้ผลิตได้หันมาใส่ใจกับปริมาณก๊าซ CO2 ที่ปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศจากกระบวนการผลิตปูนซีเมนต์ มาตรฐาน ASTM C150 เองก็อนุญาตให้ใช้ส่วนผสมของ limestone และสารอนินทรีย์อื่นๆ มากขึ้น เพื่อทำให้สามารถลดการปล่อยก๊าซ CO2 ลงได้


เมื่อผู้ผลิตหันมาใส่ใจผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การประหยัดพลังงาน และสุขภาพอนามัยที่เกี่ยวข้องจากการผลิตปูนซีเมนต์มากขึ้นและมากขึ้น ก็มีการวิจัยเปลี่ยนส่วนผสมทางเคมี ของซีเมนต์ เพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ทางสิ่งแวดล้อมและสังคมดังกล่าว  ทั้งนี้แน่นอนว่าการเปลี่ยนแปลงส่วนผสมทางเคมีนั้น ต้องไม่ทำให้คุณลักษณะทางกายภาพของ ผลิตภัณฑ์ปลายทางเปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือยังคงมีกำลังอัดที่เหมือนเดิม มีอัตราทึบน้ำ การขยายตัว เวลาก่อตัว และคุณสมบัติทางกายภาพอื่นๆ เทียบเท่ากับปูนซีเมนต์ที่มีส่วนผสมทางเคมีแบบเดิม


ซีเมนต์ที่ปล่อยคาร์บอนต่ำนี้ ได้รับการรับรองยอมรับให้ใช้งานได้และมีมาตรฐานรับรอง อย่าง ASTM C1157 ที่กำหนดคุณสมบัติทางกายภาพของ End product ไว้ แต่ไม่ได้กำหนดคุณสมบัติทางเคมีแต่อย่างใด สำหรับ มาตรฐาน มอก. บ้านเรานั้นก็มีการปรับรับไว้ใช้ ใน มอก. 2594-2556

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2556/E/065/5.PDF

การใช้วัสดุซีเมนต์ที่ปล่อยคาร์บอนต่ำเหล่านี้ สามารถนำไปใช้เป็นคะแนนเมื่อต้องการการรับรองอาคารเขียว หรือ Green building certification ที่เป็นสากลอย่าง Leed อีกด้วย

ในปัจจุบันหน่วยงานราชการหลายหน่วยงานมีการเปิดกว้างและยอมรับซีเมนต์ประเภทมีส่วนผสม ที่ทำให้ปล่อยก๊าซ CO2 ต่ำแล้ว แต่ก็ยังมีอีกหลายหน่วยงานที่ยังไม่ยอมรับและเปิดให้ใช้

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น