หน้าเว็บ

ไฟฟ้าเบื้องต้นสำหรับบ้านที่อยู่อาศัย ตอนที่ 6: ปัญหาเกี่ยวกับไฟฟ้าภายในบ้านที่พบบ่อย และการแก้ไขเบื้องต้น


ปัญหาเกี่ยวกับไฟฟ้า ภายในบ้านที่พบบ่อย และการแก้ไขเบื้องต้น

1. สาเหตุการเกิดไฟซ๊อต หรือไฟฟ้าลัดวงจร อาจเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ ดังนี้

         1.1 สายไฟฟ้าใช้งานมานานจนทำให้ฉนวนชำรุด หมดอายุการใช้งาน ฉนวนหุ้มตัวนำเปลือยขาดจนทำให้สายตัวนำไฟฟ้าระหว่างสายเส้นที่มีไฟ กับนิวทรัลสัมผัสกัน หรือ สายเส้นที่มีไฟ สัมผัสกับโลหะ เป็นต้น วิธีแก้ไขเพื่อความปลอดภัย คือ เปลี่ยนสายไฟที่ใช้งานมานานแล้วใหม่
ตัวอย่างสายไฟฉนวนหุ้มตัวนำเปลื่อยขาด
         1.2 ต่อสาย หรือเข้าสายอุปกรณ์ไฟฟ้า ไม่แน่น ไม่เรียบร้อย ทำให้เกิดความร้อน และอาจส่งผลให้เกิดไฟใหม้บ้านได้
เสียบปลั๊กไม่แน่น ไม่สนิท
         1.3 อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้งานขัดข้อง หรือชำรุด กรณีตรวจพบว่าอุปกรณ์ไฟฟ้าชำรุดให้ทำการแก้ไขให้เรียบร้อยก่อนใช้งาน
         1.4 เกิดจากการใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม เช่น ขณะใช้งานสายไฟอยู่ใกล้แหล่งที่มีความร้อนสูง เช่น เตาแก๊ส หรือสายไฟถูกของหนักกดทับจนฉนวนเสียหาย เป็นต้น
         1.5 สายไฟมีขนาดเล็กเกินไป ทำให้รับกระแสไฟฟ้าได้น้อยกว่าอุปกรณ์ป้องกัน


2. แนวทางป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรในบ้าน
         2.1 เลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสม เช่น ฟิวส์ (เมื่อฟิวส์ขาดต้องเปลี่ยน) หรือเซอร์กิตเบรกเกอร์ เป็นต้น
         2.2 หมั่นตรวจสอบ ดูแลรักษาและทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นประจำ เช่น ในแผงสวิตซ์ หรือตู้โหลดต่างๆ เนื่องจากอาจมีฝุ่นละอองไปเกาะ มีหนูหรือแมลงเข้าไปทำรังได้
มดทำรังในแผงสวิตซ์
         2.3 เลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีคุณภาพ ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน เช่น มอก.

3. ปลั๊กมีรอยไหม้ หรือเกิดการซ๊อดที่ปลั๊กบ่อยครั้ง อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ปลั๊กตัวผู้ กับปลั๊กตัวเมียเสียบกันไม่สนิทหรือไม่แน่นพอ ทำให้เกิดการสปาร์คและมีรอยไหม้เกิดขึ้นได้ หรือสายไฟที่มาจ่ายที่เต้ารับหรือปลั๊กตัวเมียติดตั้งไม่ดีหรือเข้าสายไม่แน่นพอ ซึ่งสาเหตุดังกล่าวมานี้อาจส่งผลร้ายแรงถึงขั้นไฟใหม้บ้านได้เลยที่เดียว ดังนั้ก่อนการใช้งาน ควรตรวจเช็คให้ละเอียด และแก้ไขให้เรียบร้อยเสียก่อน
ตัวอย่างปลั๊กไฟเกิดสปาร์คและมีรอยไหม้
4. อายุการใช้งานของโคมไฟ สั้นกว่าปกติ เช่น หลอดขาดง่าย บัลลาสต์เสียเร็วเกินไป สาเหตุเรื่องนี้เกิดขึ้นได้หลายอย่างเช่น ประสิทธิภาพของอุปกรณ์เองอาจไม่ดีพอ หรือ ตอนติดตั้งการต่อวงจรโคมไฟ การติดตั้งสวิทซ์ไฟอาจจะไปตัดต่อวงจรที่สายนิวทรัล ทำให้ยังมีไฟไปแช่หรือไหลผ่านดวงโคมตลอดเวลาถึงแม้จะปิดสวิทซ์แล้วก็ตาม การแก้ไขและป้องกันทำได้โดย  
         - ให้ช่างไฟตรวจเช็คและแก้ไข หรือตรวจเช็คเองเบื้องต้นได้โดยใช้ไขควงเช็คไฟตรวจสอบกระแสที่สวิทซ์ไฟเพื่อดูว่า กรณีปิดสวิทซ์แล้ว ยังมีไฟใหลผ่านดวงโคมอยู่หรือไม่
         - เลือกใช้อุปกรณ์ดวงโคมที่ได้รับมาตรฐาน เช่น มอก., IEC เป็นต้น

ตัวอย่างหลอดไฟได้รับการรับรอง มอก.
มีวันเดือนปี วันผลิตบอกอายุการใช้งาน

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น