หน้าเว็บ

Series รอยร้าว : ตอนที่ 4 ลักษณะของรอยร้าวของโครงสร้าง ที่เกิดจากฐานรากทรุดตัว


ดังที่ทราบในตอนก่อนๆแล้ว ว่า รอยร้าวของโครงสร้าง  อาจเกิดได้จาก ความเสื่อมโทรมของวัสดุเอง  หรือเกิด จากการที่โครงสร้างรับน้ำหนักมากเกินไป  ในตอนนี้ เราจะพูดถึง รอยร้าวของโครงสร้าง ที่เกิดขึ้น จากการที่โครงสร้างรับน้ำหนักมากเกินไป กว่าที่ออกแบบไว้ เช่นกัน  แต่เป็นการับน้ำหนักมากเกินไปจากการเคลื่อนตัวของโครงสร้างเอง โดยเกิดจากฐานรากที่ทรุดตัว ทำให้รอยร้าวที่เกิดจากสาเหตุนี้ มี รูปแบบ เฉพาะ

โดยทั่วไปโครงสร้าง ไม่ว่าจะวางอยู่บนฐานรากชนิดใด จะต้องมีการทรุดตัวเสมอ จากการใช้งาน ด้วยน้ำหนักตัวโครงสร้างเอง แต่การทรุดตัวนั้นจะต้องเกิดในปริมาณที่ไม่มากนัก 
การทรุดตัวที่ทำให้ฐานรากร้าว มักมีสองแบบคือ

       ฐานรากทรุดตัวไม่เท่ากัน 
การที่ฐานรากทรุดตัวไม่เท่ากัน จะเกิดรอยแตกที่โครงสร้างด้านบน เป็นรอยเฉียงที่ผนัง บางครั้งที่ไม่เกิดที่ผนัง ก็อาจไปเกิดรอยร้าวบริเวณขอบเสา ซึ่งรอยร้าวด้านบน จะอ้ามากกว่ารอยร้าวด้านล่าง

รอยแตกร้าวในผนังในรูปแสดงว่าฐานรากขวามือทรุดตัว
ส่วนการแตกร้าวที่คาน ในกรณีที่แตกร้าวจากฐานรากทรุดตัวไม่เท่ากัน จะเกิดคานแตกร้าวในแนวดิ่ง แตกที่ปลายคานทั้งสองข้าง  ด้านที่ฐานรากทรุดตัวมากกว่า จะเกิดรอยร้าวจากล่างขึ้นบน ส่วนคานด้านที่ฐานรากเกิดการทรุดตัวน้อยกว่า จะเกิดรอยร้าวจากด้านบนลงด้านล่าง

รอยแตกร้าวที่คาน แสดงให้เห็นฐานรากด้านซ้ายและด้านขวาทรุดตัว
ส่วนรอยแตกที่พื้น จะเห็นเป็นรอยยาว ขนานกับคาน และเกิดขึ้นเพียงด้านเดียว ของพื้น ที่อยู่ด้านตรงข้ามกับ เข็มที่มีการทรุดตัว
รอยแตกของพื้นขนานขอบคาน เกิดจากฐานรากที่อยู่ตรงขัามกับรอยแตกเกิดการทรุดตัว
การแตกร้าวที่เสา จะเห็นจากการโก่งงอ และแตกเป็นปล้องๆ โดยด้านที่แตก จะเป็นด้านที่ตรงข้ามกับฐานรากด้านที่มีการทรุดตัวมาก
เมื่อฐานรากตรงตำแหน่งลูกศรทรุดตัวจะดึงรั้งให้เสาหมายเลข 1,2 โก่งงอและแตกร้าว
       การทรุดเอียงของฐานราก อาจเกิดจากเข็มอยู่เยื้องศูนย์กับตำแหน่งของเสาอาคาร โดยอาคารที่เกิดการทรุดเอียงนี้ จะไม่ค่อยพบรอยแตกร้าวที่โครงสร้างด้านบน นอกจากรอยแตกร้าวบริเวณคานคอดิน

ตัวอย่างอาคารขวามือเกิดการทรุดเอียงของฐานราก
(ขอบคุณภาพจาก http://www.patrolnews.net )


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น