หน้าเว็บ

เพราะว่า อิฐมวลเบา มีดีมากกว่าแค่เบา เกร็ดความรู้เรื่อง อิฐมวลเบา


ตอนที่แล้วเราได้พูดถึงเรื่องผนังชนิดต่างๆไปแล้ว  ในตอนนี้เราจะดูรายละเอียดของผนังก่อกันครับ

ผนังก่ออิฐฉาบปูน เป็นผนังชนิดที่มีความแข็งแรงน้ำหนักมาก จึงต้องการโครงสร้างมารองรับ  ผนังก่อที่ก่อด้วยอิฐบล็อกนั้น มักใช้ทำเป็นรั้วเป็นหลัก  ส่วนผนังที่ใช้ทำผนังภายในนั้น มักจะใช้อิฐมอญ และอิฐมวลเบา

สำหรับข้อแตกต่าง ของอิฐมวลเบา และ อิฐมอญ สามารถจำแนกได้ดังตารางต่อไปนี้

ตารางเปรียบเทียบข้อแตกต่าง ของอิฐมวลเบา และ อิฐมอญ


ผนังก่ออิฐมอญ ใช้จำนวนก้อนประมาณ 120-140  ก้อนต่อการก่อผนัง 1 ตารางเมตร

ผนังก่ออิฐมวลเบา  ใช้จำนวนก้อนในการก่อผนัง  8.33  ก้อน ต่อ 1 ตารางเมตร  เพราะก้อนใหญ่กว่า  และเมื่อใช้จำนวนก้อนที่น้อยกว่าทำให้ทำงานได้เร็วกว่า

ผนังก่ออิฐมอญ  ผนังที่ก่อด้วยอิฐมอญ มักจะมีความแข็งแรงมาก ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดจากการใช้ปูนก่อเยอะ

ผนังก่ออิฐมวลเบา  ผนังมีความแข็งแรงมากเพียงพอ โดยตัวก้อนอิฐมวลเบาเอง สามารถรับน้ำหนัก แรงกดได้ดีกว่าอิฐมอญ และใช้ปูนก่อน้อยมาก


ผนังก่ออิฐมอญ  ผนังที่ก่อด้วยอิฐมอญ สามารถก่อและฉาบด้วยปูนทั่วๆไปได้  รวมถึงใช้อุปกรณ์แบบที่ช่างมีความชำนาญอยู่แล้ว เพราะมีมานานกว่า

ผนังก่ออิฐมวลเบา  ผนังก่ออิฐมวลเบา ต้องใช้ปูนก่อและฉาบแบบเฉพาะ เนื่องจากมีความพรุนมากกว่า  ปูนที่ใช้จึงมีส่วนผสมให้ผนังมีความทึบน้ำมากกว่า รวมทั้งอุปกรณ์ที่ใช้ ต้องใช้คนละแบบกับที่ใช้ก่อผนังอิฐมอญ  ช่างที่ไม่เคยทำใช้เวลาเรียนรู้ได้ไม่ยาก ถ้าก่ออิฐมอญได้ อิฐมวลเบาก็สามารถทำได้สบาย

ผนังก่ออิฐมอญ  อมความร้อน และไม่เป็นฉนวนความร้อน

ผนังก่ออิฐมวลเบา  ไม่อมความร้อน และมีรูพรุน ทำให้มีอากาศอยู่ภายในเป็นฉนวน สามารถรักษาอุณหภูมิภายในให้เย็นได้ดีกว่า และยังได้ช่วยลดค่าไฟจากการใช้เครื่องปรับอากาศลงได้มากกว่า 15%


สำหรับเรื่องการทนไฟของผนังก่ออิฐมอญ และผนังก่ออิฐมวลเบานั้น มีปัจจัยเกี่ยวข้องเพิ่มเติมเรื่องของวิธีการก่อผนัง

ผนังก่ออิฐมอญ มีน้ำหนัก 180 กิโลกรัม ต่อตารางเมตร
ผนังก่ออิฐมวลเบา มีน้ำหนัก 90 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ทำให้สามารถประหยัดโครงสร้างได้  หรือถ้าไม่ลดโครงสร้าง ก็จะช่วยเพิ่ม safety factor ให้กับตัวอาคารได้

อิฐมวลเบา มีขนาดและมิติที่แน่นอน และจำนวนชิ้นในการก่อผนังต่อตารางเมตรที่น้อยกว่าทำให้ สามารถ ทำงานได้ง่ายกว่า ได้ดิ่งได้ฉากได้ง่ายกว่า และตัววัสดุมีความยืดหดตัวน้อยกว่าทำให้เกิดปัญหาการแตกร้าวน้อยกว่า

แต่ข้อควรระวังในการใช้อิฐมวลเบาก็อาจมีบ้าง ได้แก่ การดูดน้ำที่มากขึ้นแต่การก่อที่ต้องปรับฐานก็ลดปัญหาดังกล่าวลงไม่ได้ ไม่น่ากลัวใดๆ ในส่วนของห้องน้ำที่มีงานระบบ ก็สามารถตัดได้ แต่บางโครงการอาจใช้อิฐประเภทอื่นเข้าร่วมก็ทำได้

อิญมวลเบาที่ดี ดูยังไง

1. ดูที่ชั้นคุณภาพ  อิฐมวลเบา โดยวัดตามกำลังและความหนาแน่น ของอิฐมวลเบา  ในประเทศไทย มีมาตรฐาน ที่ได้มอก. 1505-2541 คือชั้นคุณภาพ G2 G4  และ G6   ซึ่งชั้นคุณภาพ ที่มีตัวเลขมากกว่า หมายถึง ว่า อิฐมวลเบานั้นที กำลังและความหนาแน่นมากกว่า  ทำให้กันเสียงและทนไฟ ไม่แตกหักง่าย และสามารถยึดเจาะติดได้ดีกว่า ซึ่งความหนาแน่นที่มากกว่า ทำให้อิฐมวลเบามีรูพรุนน้อยกว่าและมีน้ำหนักมากกว่า


ข้อดีของอิฐมวลเบาที่มีรูพรุนมากกว่าก็มี ก็คือสามารถ เป็นฉนวนกันความร้อนได้ดีกว่า

2. ดูที่ความหนา ของอิฐมวลเบา ตามมาตรฐาน มอก. อิฐมวลเบาจะมีขนาดความกว้างคูณยาวคือ 20 เซนติเมตร คูณ 60 เซนติเมตร  แต่จะมีความหนาต่างๆ กัน โดยมีความหนาที่ขนาดบางสุด คือ 7.5 เซนติเมตร  และความหนา 10  12.5 15 และ 20 เซนติเมตรตามลำดับ ตามมาตรฐาน มอก.

ในตลาดมีขนาดความหนา 7 เซนติเมตร ด้วย แต่ไม่มีอยู่ในมาตรฐาน มอก. ความหนาขนาดนี้เหมาะกับใช้งานที่ไม่ได้มาตรฐาน วงกบ หรือการรีโนเวต การกั้นห้องเพิ่ม เพราะเสียงอาจลอดผ่านมากกว่าปกติ
ความหนาของอิฐมวลเบาที่มากกว่า จะช่วยกันเสียง และเก็บอุณหภูมิได้มากกว่า และก็กันไฟได้นานกว่าด้วย
โดยขนาดที่อยากแนะนำให้ใช้สำหรับงานทั่วไป คือขนาดความหนา 10 เซนติเมตร


ปัญหาการแตกร้าวของการก่ออิฐมวลเบาที่พบบ่อยเกิดจากอะไร

1. ก่อไม่ได้ความเยื้องตามมาตรฐานกำหนด การก่อควรให้มีเยื้องไม่น้อยกว่า สิบห้าเซนติเมตร
2. ป้ายปูนไม่เต็ม มีช่องแสงผ่าน
3. ใช้ปูนก่อปูนฉาบ ผิดประเภท ใช้เครื่องมือผิดประเภท เพราะติดความเคยชินของการก่ออิฐมอญ
4. ติดเหล็กหนวดกุ้ง ทุกช่วงความสูงของอิฐมวลเบา จะช่วยลดรอยแตกร้าวจากการสะเทือน และการขยายตัวของอิฐมวลเบาได้

1 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

ขอบคุณสำหรับความรู้ เรื่อง #อิฐมวลเบา ครับ www.facebook.com/materialairblock

แสดงความคิดเห็น