หน้าเว็บ

บ้านสำหรับผู้ที่ไม่สามารถใช้ร่างกายได้อย่างคล่องแคล่ว ผู้สูงอายุ


เมื่อตอนที่ร่างกายของเรายังแข็งแรงดีอยู่ เรามักไม่ค่อยเข้าใจ หรือใส่ใจ ว่า หากสิ่งที่ยังดีๆ อยู่นี้ วันหนึ่ง มันไม่เป็นเหมือนเดิมอีกต่อไป แล้วเราจะอยู่อย่างไร  หรือหลายครั้งเลย ที่เราเสียสิ่งเหล่านั้นไปแล้ว ก็อาจเป็นการเสียไปตลอดไป

ในการออกแบบบ้านเรื่อนที่อยู่อาศัยนั้น เรามักออกแบบสำหรับผู้ใช้ที่ร่างกายปกติดี แข็งแรง เดินได้ สายตามองเห็น การทรงตัวดี   แต่หากถ้าผู้อยู่อาศัยนั้น เป็นผู้ป่วยที่ขามีอาการบาดเจ็บ  ผู้ป่วยทางสายตา หรือผู้สูงอายุ ผู้ที่มีความทดถอยทางสมรรถภาพของร่างกาย แล้วละก็  บ้านที่สำหรับคนปกติอยู่อาศัยได้ดีนั้น อาจเป็นบ้านที่มีความอันตรายมาก สำหรับ บุคคลเหล่านั้นทีเดียว

จากสถิติพบกว่า ในแต่ละปี มีคนไทยเสียชีวิตจากการหกล้ม ปีละถึงเกือบสองพันคน ถือเป็นจำนวนการเสียชีวิตจากการไม่ตั้งใจ มากเป็นอันดับสองรองจากอุบัติเหตุ   ซึ่งการหกล้มนั้นหลายครั้งแม้จะไม่ทำให้เสียชีวิต แต่ก็ทำให้กระดูกแตก หรืออาจพิการได้

สำหรับวิธี ง่ายๆ ที่จะเปลี่ยนบ้านที่อาศัยอยู่แล้ว ให้มีความปลอดภัยจากการ หกล้ม มากขึ้น สามารถทำได้ดังนี้

หนึ่ง  เพิ่มราวจับ แม้บันใดจะเตี้ยๆ ขั้นน้อยๆ ก็ควรมีราวจับ

สอง  เพิ่มราวจับที่ใกล้ๆ สุขภัณฑ์ ในที่อาบน้ำ เปลี่ยนมาใช้ฝักบัวอาบน้ำ และให้มีเก้าอี้สำหรับนั่งอาบ พื้นห้องน้ำ ที่มีต่างระดับเพื่อการระบายน้ำ  ถ้าเป็นไปได้ให้เปลี่ยนการระบายน้ำ เป็นการระบายน้ำโดยใช้ร่องน้ำ

สาม  ถ้ามีต่างระดับที่จำเป็นต้องมี ให้เปลี่ยนสีของพื้นที่ต่างระดับกันนั้น ให้เป็นสีที่ต่างกันอย่างชัดเจน จะได้ มองเห็นรู้ได้ว่าเป็นต่างระดับ

สี่  ห้องครัว อย่าทำเป็นพื้นมัน  เก้าอี้นั่งให้ใช้เป็นเก้าอี้ที่ไม่มีล้อ  และให้อุปกรณ์ เครื่องปรุง และอื่นๆ อยู่ในตำแหน่งที่หยิบได้สะดวก

ห้า  ห้องนอน ให้มีไฟแสงสว่างที่ใกล้หัวเตียง สามารถเปิดไฟได้สะดวก  หรือใช้ไฟติดหัวปลั๊ก เพื่อไม่ทำให้ห้องนอนมืดเกินไป  ควรมีแสงสว่างตลอดเวลา

เป็นต้น

บ้านสำหรับผู้สูงอายุ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น