หน้าเว็บ

ไฟฟ้าเบื้องต้นสำหรับบ้านที่อยู่อาศัย ตอนที่ 5: ขนาดมิเตอร์ของการไฟฟ้า ที่ใช้งานทั่วไป



         เป็นที่ทราบกันดีว่า เราสามารถขอใช้บริการไฟฟ้าได้จากทางสำนักงานการไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ (แล้วแต่เขตพื้นที่ของบ้าน) โดยบ้านหลังนั้นจะต้องมีการขอบ้านเลขที่และมีทะเบียนบ้านเสียก่อน เราจึงไปดำเนินการยื่นหลักฐานเพื่อขอใช้บริการ เราจะต้องชำระค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขอใช้บริการ ซึ่งค่าธรรมเนียมทั้งหลายนี้จะสูงขึ้นตามปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ขอใช้ นั่นคือยิ่งขอใช้กระแสไฟฟ้ามากก็ต้องยิ่งเสียค่าใช้จ่ายมากนั่นเอง ฉะนั้นเราควรจะเลือกขนาดเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า(มิเตอร์)ที่เหมาะสมกับการใช้งานเพื่อที่เราจะได้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น


       

  

         โดยทั่วไปเวลาไปยื่นขอใช้ไฟกับการไฟฟ้าถ้าบ้านเราใช้ไฟไม่เยอะ เช่น ในบ้านมีเครื่องใช้ไฟฟ้าพื้นฐานทั่วไป ตู้เย็น เตารีด ทีวี แอร์ในห้องนอนไม่เกิน 3 เครื่อง เป็นต้น มิเตอร์ไฟที่เราใช้ จะเป็นขนาดแอมป์ไม่เกิน 15 (45) เอกสารในการยื่น คือ บัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน และใบคำร้องขอใช้ไฟซึ่งขอได้ที่การไฟฟ้าใกล้บ้านท่าน
         ขนาดของสายไฟฟ้าต้องเลือกให้เหมาะสมกับแรงดันไฟฟ้าและปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ใช้งาน และสอดคล้องกับขนาดของฟิวส์หรือสวิตช์อัตโนมัติ (เบรกเกอร์) ที่ใช้ สำหรับขนาดสายเมนและสายต่อหลักดินนั้นก็ต้องสอดคล้องกับขนาดของเมนสวิตช์และขนาดของเครื่องวัดฯ ด้วย ตามตารางต่อไปนี้

ตารางที่ 1 

ตารางที่ 2

หมายเหตุ: 1.สำหรับตัวนำประธานภายในอาคารให้ใช้สายทองแดง
                       2.ขนาดสายในตารางนี้สำหรับวิธีการเดินสายลอยในอากาศวัสดุฉนวนภายนอกอาคาร หากวิธีเดินสายแบบอื่น ให้พิจารณาขนาดตัวนำประธานในหนังสือมาตรฐานการติดตั้งระบบไฟฟ้า วสท. ในบทที่ 5 แต่ทั้งนี้ ตัวนำประธานต้องรับกระแสได้ไม่น้อยกว่า 1.25 เท่าของโหลดที่คำนวณตามตาราง
                     3.ตัวเลขที่ระบุขนาดของมิเตอรืไฟฟ้า เช่น มิเตอร์ไฟฟ้าขนาด 30(100) ตัวเลข (100) หมายถึง ขนาดกระแสไฟฟ้าสูงสุดที่ผ่านมิเตอร์ได้โดยมิเตอร์ไม่เกิดความเสียหาย

         
         ถ้ากรณีบ้านเราใช้ไฟเยอะตั้งแต่ 1P,100 แอม(ไฟ 220 V) หรือ 3P,30 แอม(ไฟ 380 V) ขึ้นไปอาจต้องแนบแบบ Single line หรือรายการคำนวณเป็นตารางโหลด พร้อมกับเอกสารบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน และใบคำร้องขอใช้ไฟแนบไปด้วยเพื่อความรวดเร็วในการพิจารณาของการไฟฟ้า

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น