หน้าเว็บ

เติมไฟวิศวกร


               วิศวกรเป็นอาชีพหนึ่งที่สามารถเคลื่อนย้ายเสรีหลังเปิดเสรีอาเซียนเต็มรูปแบบ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในบางประเทศของอาเซียนตอนนี้ คือ บัณฑิตวิศวะจำนวนไม่น้อยกลับทิ้งอาชีพที่เคยใฝ่ฝันไป หลังทำงานได้แค่ไม่กี่ปี
             
                มาร์คัส ฉู บอกกับหนังสือพิมพ์สเตรทส์ ไทม์ส ว่า เมื่อ 10 กว่าปีก่อน เขาเคยคิดว่าวิศวกรเป็นอาชีพที่น่าสนใจมาก แต่พอเรียนจบและได้ทำงานด้านนี้จริงๆ ราว 4 ปี ก็พบว่า ความเจิดจรัสของอาชีพก็หายไป เพราะไม่ว่าเขาจะทำงานหนักแค่ไหน ก็จะได้ปรับเงินเดือนแค่ปีละ 50 ดอลลาร์สิงคโปร์ สุดท้ายจึงทิ้งอาชีพในดวงใจมาเป็นข้าราชการดูแลการรับรองคุณภาพการฝึกอบรมในปัจจุบัน ซึ่งคล้ายๆกับเพื่อนๆวิศวกรของเราอีกราวๆ ครึ่งหนึ่งหันไปประกอบอาชีพอื่นเหมือนกัน


                 ว่ากันว่า วิศวกรซึ่งเป็นพลังสำคัญของเศรษฐกิจสิงคโปร์มายาวนานได้สูญเสียชื่อเสียงในสายตาของคนรุ่นใหม่มานานกว่าทศวรรษ และคนที่เรียนจบด้านนี้จำนวนมากหันเหไปทำงานภาคธนาคารและการเงินแทน

                เมื่อปีที่แล้ว กระทรวงทรัพยากรมนุษย์ ระบุว่า งานด้านวิศวะติดอันดับวิชาชีพที่มีตำแหน่งงานว่างมากที่สุดติดต่อกัน 3 ปีซ้อน

                 นอกจากค่าจ้างที่แย่แล้ว หลายคนคิดว่างานวิศวกรหนักและน่าเบื่อ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะไม่มีคนยกย่องงานวิศวกรที่ทำ

                 ภาวะขาดแคลนคนมีความสามารถ จึงทำให้แทนที่จะได้วิศวกรที่มีประสบการ์ณทำงานมาร่วมด้วย หลายๆบริษัท ในสิงคโปร์จึงจำเป็นต้องฝึกฝนวิศวกรใหม่ตั้งแต่เริ่มต้น และหากคนเหล้านี้ทำงานกับบริษัทแค่ 1-3 ปี ก็เท่ากับว่าความทุ่มเททั้งหมดต้องสูญเปล่าไปด้วย

                 เพื่อแก้ปัญหาสมองไหลจากวงการ บริษัทและภาคอุตสาหกรรมพยายามทำให้นักศึกษาเห็นว่าวิศวกรเป็นอาชีพที่เจ๋งและน่าสนใจ เช่น ใช้วิชาหุ่นยนต์ปลุกความสนใจนักศึกษา แจกทุนการศึกษาให้เด็กปริญญาตรี จัดโครงการผู้นำให้วิสวกรรุ่นใหม่ เพื่อให้เห็นเป้าหมายต่อไปในอาชึพ

                 ส่วนเรื่องรายได้ ชง คี เซิน ประธานสถาบันวิศวกรรมสิงคโปร์ มองว่า นายจ้างต้องทบทวนอัตราค่าจ้างวิศวกรระดับกลาง พร้อมดูเรื่องความก้าวหน้าทางอาชีพ เพื่อให้วิศวกรเห็นอนาคตตัวเอง เขาคาดว่า วิศวกรที่มีประสบการณ์ิอย่างน้อย 5 ปี น่าจะมีรายได้ประมาณ 5000-7000 ดอลลาร์สิงคโปร์/เดือน

                วิศวกรโยธารายหนึ่ง แนะนำว่า ภาครัฐจ้างวิศวกรไปเป็นผู้นำของกระทรวงหรือหน่วยงานต่างๆที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญด้านนี้ เพื่อให้วิศวกรรู้ว่าสามารถก้าวไปสู่จุดสูงสุดของอาชีพได้เช่นกัน

 Cr. สมหทัย โมสิกะ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น