หน้าเว็บ

แนวทางในการแก้ไข พระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. 2542 เรียบเรียงโดยพงศ์ธร ธาราไชย


เดิมทีประเทศไทยมีการเปิดสอนวิชาวิศวกรรมศาสตร์เพียงแค่ที่มหาวิทยาลัยเดียว คือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เท่านั้น ทำให้สมาคมวิชาชีพทางวิศวกรรมของประเทศไทยที่เกิดขึ้น ซึ่งก็คือ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์นั้น ก็มีที่ตั้งที่แรกอยู่ภายในรั้วของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเช่นกัน   แต่สมาคมวิชาชีพทางวิศวกรรมแห่งนี้ ทำหน้าที่ส่งเสริมเพิ่มเติมความรู้ให้วิศวกร จัดทำมาตรฐาน และจัดอบรม แต่ก็มิได้เข้าไปควบคุมการทำงานของวิศวกร ผ่านการให้ใบอนุญาต แต่อย่างใด

และ เนื่องจากวิชาชีพวิศวกรรม เป็นลักษณะงานที่กระทบต่อทรัพย์สิน สวัสดิภาพ และชีวิตของประชาชนโดยตรง  ทางรัฐจึงได้ออกกฎหมายควบคุมวิชาชีพวิศวกร ฉบับแรกขึ้นเรียกว่า พระราชบัญญัติ วิชาชีพวิศวกรรม พ.ศ. 2505 ซึ่ง ภายใต้กฎหมายฉบับนั้น วิศวกรถูกควบคุมดูและโดยกระทรวงมหาดไทย

จนกระทั่งปี พ.ศ. 2542 จึงเกิด พระราชบัญญัติ วิศวกร ขึ้น ซึ่งพระราชบัญญัติฉบับนี้ทำให้ สภาวิศวกรถือกำเนิดขึ้น และเป็นองค์กรที่ดูแลวิชาชีพวิศวกรรม จนถึงปัจจุบันนี้

พระราชบัญญัติ วิศวกร พ.ศ. 2542


แต่เนื่องจาก พระราชบัญญัติฉบับนี้ มีการใช้มาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว และในปัจจุบันสภาพสังคมและเทคโนโลยีทางวิชาชีพวิศวกร นั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงไปพอสมควร จึงอาจถึงเวลา ที่ต้องมาปรับปรุง พระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. 2542


โดย อาจมีประเด็นต่างๆ ที่ต้องพิจารณาหลายประเด็นเช่น

หนึ่ง   องค์ประกอบของกรรมการ สภาวิศวกร ที่ปัจจุบัน ประกอบด้วยกรรมการ 20 คน มาจากการเลือกตั้งจากสมาชิกสภาวิศวกร 15 คน และมาจาก การแต่งตั้งโดยกระทรวงมหาดไทยอีก 5 คน  โดยกรรมการที่มาจากการเลือกตั้งนั้น
เลือกมาจาก

  • วิศวกรผู้ประกอบวิชาชีพ ห้าสาขา ของวิศวกรรมควบคุม สาขาละสองท่าน  
  • วิศวกรผู้ประกอบอาชีพเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย ในสาขาวิศวกรรมควบคุมห้าสาขา สาขาละ หนึ่งท่าน

จะเห็นได้ว่า แต่เดิมวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม มี สาขาควบคุมเพียงแค่ห้าสาขา นั่นก็คือ สาขาวิศวกรรมโยธา ไฟฟ้า เหมืองแร่ อุตสาหการ และเครื่องกล  ซึ่ง ในปัจจุบันมีสาขาวิศวกรรมที่เพิ่มขึ้น  แม้แต่ในสภาวิศวกรเอง ปัจจุบัน สาขาวิศวกรรมควบคุมก็มีถึง เจ็ดสาขาแล้ว เป็นต้น

จึงอาจต้องพิจารณาในองค์ประกอบของกรรมการสภาวิศวกรกันอีกครั้ง ว่ายังเหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบันหรือไม่

สอง  ประเด็นเรื่องผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาวิศวกร ซึ่งปัจจุบันจำนวนสมาชิกสภาวิศวกรมีจำวนเป็นแสนๆคน แต่จำนวนผู้มาออกเสียง กลับเป็นสัดส่วนที่น้อย เมื่อเทียบกับจำนวนทั้งหมด  อีกทั้งยังมีสมาชิกสภาวิศวกรจำนวนมาก ที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพแล้ว แต่ยังมีใบประกอบวิชาชีพอยู่ เราควรให้ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมจริงๆเท่านั้น มีใบประกอบวิชาชีพ หรือไม่ เรื่องนี้ยังเป็นคำถาม

จากการที่มีวิศวกรศึกษาจบเพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้จำนวนสมาชิกสภาวิศวกรเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก และมากจนทำให้การประชุมที่จะให้สมาชิกมาพร้อมกันหมดแทบเป็นไปไม่ได้ 

เหล่านี้ เป็นเรื่อง ควรพิจารณา ปรับปรุงหรือไม่ ถึงจำนวนขั้นต่ำของผู้ใช้สิทธิ หรือต้องปรับเกณฑ์ในการถือใบอนุญาต ประกอบวิชาชีพหรือไม่อย่างไร 

สองข้อที่พูดมาเป็นแค่ส่วนหนึ่ง ของ หลายๆ เรื่อง และยังไม่ได้พูดถึง ปัญหาในการทำงานของสภาวิศวกรเอง ว่าทำงานได้มีประสิทธิภาพ มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในเรื่องใดบ้างอย่างไร ในช่วงตลอดเวลา กว่า สิบห้าปีที่ผ่านมา
ดร. พงศ์ธร ธาราไชย

สำหรับทัศนะ ในเรื่องนี้ของอาจารย์ท่านต่างๆ ผู้เคยมีส่วนร่วมในการผลักดันพระราชบัญญัติฉบับนี้ให้เกิด และเคยเป็นผู้ดำรงค์ตำแหน่งสมาชิกสภาวิศวกรนั้น ว่าแต่ละท่านมีความเห็นเป็นอย่างไร สามารถ ติดตามได้ใน สกู๊ป พิเศษ เรื่อง แนวทางการปฎิรูป พระราชบัญญัติวิศวกร พ. ศ. 2542 ตาม Link  นี้

ดร.พงศ์ธร ธาราไชย ผู้เขียน 


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น