การป้องกันอัคคีภัยเชิงรับ (Passive Fire Safety) เป็นการป้องกันในส่วนที่สำคัญของอาคารที่จะได้รับผลกระทบจากไฟและควันลาม โดยจะเน้นที่การจำกัดหรือควบคุม ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้าง อาคาร พื้น ผนัง รวมถึงจุดเชื่อมต่อของอาคารและช่องเปิดต่าง ๆ
การกั้นแยกส่วนพื้นที่ เป็นการกำหนดไว้ตั้งแต่ในขั้นตอนการออกแบบเพื่อเตรียมอาคารเพื่อจำกัดพื้นที่และควบคุมไม่ให้เปลวไฟและควันจากจุดต้นเพลิงขยายตัวออกไปในพื้นที่ข้างเคียง หรือขยายไปยังพื้นที่บริเวณอื่นช้าลง ซึ่งไฟและควันนั้นสามารถลุกลามได้ทั้งในแนวดิ่งและแนวราบ ถือว่าในทุกๆ อาคาร การป้องกันอัคคีภัย “เชิงรับ” (Passive Fire Protection) มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการรักษาชีวิตและทรัพย์สินของผู้ที่อาศัยหรือใช้อาคารนั้น
จุดเสี่ยงที่ต้องทำการกั้นแยกพื้นที่ (compartmentation) สามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. ช่องเปิดในแนวดิ่ง และในแนวราบ
2. รอยต่อของอาคาร คือ จุดที่ชิ้นส่วนของอาคารมาเชื่อมต่อกัน ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างสองชิ้นส่วนนั้น ไฟและควันจะสามารถผ่านช่องว่างเหล่านั้นไปยังส่วนอื่นๆของอาคารได้อย่างรวดเร็ว ตามรูปต่อไปนี้
1) รอยต่อที่เปลือกอาคาร
ตัวอย่าง อาคารที่มีความเสี่ยงจากไฟและควันที่จะสามารถทะลุผ่านจากชั้นที่เกิดเหตุไปสู่ชั้นอื่นๆ
ด้านบน (ช่องเปิดในแนวดิ่ง) ที่เปลือกอาคาร
• โครงกระจกผนังนอกอาคาร หรือวัสดุหุ้มอาคาร: (ขณะไฟไหม้จะมีการโก่งตัวออกเนื่องจากความร้อน)
• วัสดุหนุน : (จะตกลงมาเนื่องจากโครงกระจกโกงตัวออก ทำให้ควันและเปลวไฟสามารถลุกลามข้ามชั้นได้อย่างรวดเร็ว)
• แผ่น Aluminum, Steel plate : (โกงตัวขึ้นและทำให้เกิดช่องว่างโดยรอบของ “เปลือกอาคาร” และทำให้ควันและไฟสามารถลุกลามข้ามชั้นได้อย่างรวดเร็ว)
การป้องกันที่ถูกต้องที่เปลือกอาคาร :
สิ่งสำคัญที่ควรทราบ และกำหนดในขั้นตอนการออกแบบ รวมถึงระหว่างการก่อสร้าง :
1. ผ่านการทดสอบ การผ่านได้ของน้ำ, % การยืดหยุ่นหรือการยืดตัว, การป้องกันเสียงรบกวน, การป้องกันอากาศผ่าน, อายุการใช้งาน เป็นต้น
2. ผ่านการทดสอบโดยการจำลองการติดตั้งตามขั้นตอนตามมาตรฐานสากล เช่น ASTM, UL เป็นต้น
3. ติดตั้งโดยยึดตามผลการทดสอบตามมาตรฐานสากลในทุกรายละเอียด เช่น ขนากช่องเปิด ความหนาของวัสดุป้องกันไฟและควันลาม เป็นต้น
4. การตรวจสอบการติดตั้งให้เป็นไปตามผลการทดสอบ “การทดสอบตาม UL test Report”
ภาพการเปรียบเทียบผลที่เกิดขึ้นจากการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟและควันลาม ไม่ถูกต้อง และถูกต้องที่เปลือกอาคาร : |
ภาพการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟและควันลามที่ถูกต้อง ที่เปลือกอาคาร : |
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น