
ตารางที่ 1 แสดงกำลังแบกทานปลอดภัยของดินกรณีไม่มีผลทดสอบฯตามกฎกระทรวง
ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2527
ประเภทดิน
|
กำลังแบกทานปลอดภัย
ตัน/ตารางเมตร
|
ดินอ่อนหรือดินถมไว้แน่นตัวเต็มที่
|
2
|
ดินปานกลางหรือทรายร่วน
|
5
|
ดินแน่นหรือทรายแน่น
|
10
|
กรวดหรือดินดาน
|
20
|
หินดินดาน
|
25
|
หินปูนหรือหินทราย
|
30
|
หินอัคนีที่ยังไม่แปรสภาพ
|
100
|
จากข้อมูลตามตารางดังกล่าว จะพบว่าดินในกรุงเทพฯนั้นเป็นดินชั้นอ่อนซึ่งมีความสามารถในการรับกำลังได้ น้อยมากจึงต้องมีเสาเข็มมาเป็นตัวช่วยในการรับกำลัง ส่วนต่างจังหวัดบางพื้นที่ดินนั้นเป็นดินแข็งจึงทำเป็นฐานรากแผ่โดยไม่ต้อง มีเสาเข็มได้
ดังนั้นการต่อเติมส่วนครัว
หรืออาคารอื่นๆที่มีอาคารเก่าอยู่จึงควรมีการแยกรอยต่อ (Joint) จากกันเพื่อป้องกันการทรุดตัวที่ไม่เท่ากันของอาคาร
ภาพแสดงรอยร้าวจากการทรุดเมื่อไม่ทำการแยกรอยต่อ (Joint)
สาเหตุรอยร้าว
รอยร้าวในกรณีนี้เกิดจาก
อาคารเดิมนั้นเป็นการก่อสร้างโดยมีการใช้เสาเข็มขนาดที่ ยาวปลายเสาเข็มนั้นจิกไปถึงชั้นดินที่แข็งแรง(End Bearing)และยังมีแรงฝืดของดิน(Skin Friction)ช่วยอีกจึงเกิดการทรุดตัวที่น้อย
แต่เมื่อทำการต่อเติมนั้นใช้เสาเข็มที่สั้นซึ่ง เสาเข็มสั้นนั้น
ใช้แรงฝืดของดินเป็นตัวพยุงจึงมีการทรุดตัวที่มากกว่า
จึงเกิดรอยร้าวจากการทรุดตัวที่ไม่เท่ากันของอาคาร
แนวทางการป้องกัน
แนวทางการป้องกันโดยการแยกรอยต่อโครงสร้างออกจากกันให้เป็นอิสระ ไม่มีกันเชื่อมต่อกันและทำการเว้นรอยต่อให้ห่างกัน 1-2 ซม. และใช้วัสดุที่มีการยืดหยุ่นได้ปิดกั้นระหว่างรอยต่ออาคารเช่น โฟม กระดาษชานอ้อย แล้วจึงยาวแนวปิดทับด้วยซิลิโคน เพียงเท่านี้อาคารหรือครัวของท่านก็จะไม่พบการรอยร้าวจากการทรุดตัว
ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : http://www.facebook.com/WhiteEngineer
2 ความคิดเห็น:
ฝากผลงานด้วยครับ ช่างหญ่ 0816662131
https://www.blogger.com/blogger.g?blogID=771003216681197580#editor/target=post;postID=8261786104773502517
ฝากผลงานด้วยครับ ช่างหญ่ 0816662131
https://www.blogger.com/blogger.g?blogID=771003216681197580#editor/target=post;postID=8261786104773502517
แสดงความคิดเห็น