ผมรู้ว่าผมเคยพูดเรื่องนี้ไปหลายครั้งแล้ว แต่วันนี้ก็จะพูดอีกที่ที่นี่ เรื่องค่าตอบแทนวิชาชีพของวิศวกรนี่แหละครับ
สมัยปี 2500 ช่วงที่ประเทศไทยเพิ่งเริ่มจะมีแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจฉบับต่างๆขึ้นมา สมัยนั้นวิศวกร เป็นอาชีพที่ขาดแคลนมากๆอาชีพหนึ่ง จากการที่ไม่เคยมีความต้องการทางด้านช่างมาก่อนในระบบเศรษฐกิจ ในช่วงนั้นเรามีโรงเรียน มีสถาบันที่ผลิตวิศวกรได้ เพียงไม่กี่แห่งในประเทศ ภายหลังยี่สิบปีต่อมา เราเพิ่งจะมี "ห้าเกียร์" คือ สถาบันการศึกษาที่ผลิตวิศวกรได้ มีเพียงห้าแห่งเท่านั้น ทำให้ในยุคนี้ วิศวกร จึงเป็น "ของหายาก" และมีค่าตอบแทนที่สูง จะเห็นว่า คนเก่งๆ ต่างหลั่งไหลไปเรียนวิศวกันหมด จนทำให้ ปัจจุบัน คนเก่งจากวงการต่างๆในประเทศไทยนั้น ล้วนมีพื้นฐานปริญญาตรีเป็น วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต
ค่าตอบแทนของวิชาชีพวิศวกรรม มันเหมาะสมกับ มูลค่างานที่วิศวกรทำได้หรือไม่
เขียนโดย Unknown
undefined
undefined
ป้ายกำกับ:
ข่าว,
พงศ์ธร ธาราไชย
![]() |
ความเสียหายของสิ่งปลูกสร้างจากแผ่นดินไหว |
เหตุที่แผ่นดินไหวครั้งนี้ เป็นแผ่นดินไหวที่มีผู้คนให้ความสนใจกันมาก เนื่องจากเป็นแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย ที่วัดได้ และเป็นแผ่นดินไหวที่มีจุดศูนย์กลาง ที่มีความลึกลงไปเพียง 7กิโลเมตร ที่นับว่าเป็นความลึกที่ไม่มากนัก และแผ่นดินไหวนี้ เกิดขึ้นมีจุดศูนย์กลางไม่ห่างจากใจกลางเมืองมากนัก คือมีสิ่งปลูกสร้างจำนวนมาก ที่ได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหวครั้งนี้ เนื่องจากอยู่ใกล้ศูนย์กลางของแผ่นดินไหว พอสมควร
เราสามารถสรุปข้อเท็จจริงจากเหตุการณ์ครั้งนี้ได้ดังนี้คือ
หนึ่ง แผ่นดินไหวครั้งนี้เกิดที่รอยเลื่อนพะเยา ซึ่งเป็นรอยเลื่อนที่ถูกจัดว่าเป็นรอยเลื่อนขนาดเล็ก ทั้งนี้การที่เราสามารถระบุได้ว่า แผ่นดินไหวเกิดจากรอยเลื่อนใด หมายถึงว่า เราได้คาดการณ์ล่วงหน้าไว้ได้ถูกต้องแล้ว ว่า ณ จุดดังกล่าว มีรอยเลื่อนอยู่ และก็เป็นรอยเลื่อนที่ยังมีพลัง คือสามารถเคลื่อนไหวจนทำให้เกิดแผ่นดินไหวได้
สอง แผ่นดินไหวดังกล่าวเป็นแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่สุดที่เกิดในเขตประเทศไทย ที่เคยมีการบันทึกไว้ได้ และเกิดขึ้นที่ความลึกไม่มาก โดยสถิติความรุนแรงที่เคยเกิด ขึ้นในประเทศไทย ครั้งก่อนหน้านี้ที่สามารถวัดได้ อยู่ที่ปลายอ่างศรีนครินทร์ เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2526 ซึ่งครั้งนั้น แรงสั่นสะเทือนสะเทือนถึงบ้านเรือนที่ กรุงเทพมหานคร เช่นเดียวกับครั้งล่าสุดนี้
ป้ายกำกับ:
ช่างมันส์,
แผ่นดินไหว,
วิชาการ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)