 |
พระพุทธเมตตาประชาไทยฯ |
โครงการจัดสร้าง พระพุทธเมตตาประชาไทย ไตรโลกนาถคันธาราราฐอนุสรณ์ ที่จังหวัดกาญจนบุรี (
http://www.phrabuddhametta.com/) เป็นโครงการที่ริเริ่มโดยสมเด็จพระมหาธีราจารย์ ที่ทรงคิดสร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงพระพุทธรูปแห่งบามิยัน ณ ประเทศอัฟกานิสถานที่ถูกระเบิดทำลายไป เมื่อปี 2544 ซึ่งองค์พระองค์นี้สร้างในราวศตวรรษที่ 10 ตามรูปแบบของรูปเคารพของกรีก โบราณ
วัตถุประสงค์ในการสร้างพระพุทธเมตตาประชาไทยฯ นี้ นอกจากจะสร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึง พระพุทธรูปแห่งเมืองบามิยัน ดังกล่าวแล้ว ยังสร้างขึ้นเพื่อทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และให้เป็นที่พึ่งของ 3 โลก อันได้แก่ โลกสวรรค์ โลกมนุษย์ และยมโลก
และก็ให้เป็นที่พึ่งของชาวไทย นอกจากนี้องค์สมเด็กพระราชินีนาถฯ ท่านได้ทรงรับโครงการนี้ไว้ในพระบรมราชินูปถัมภ์อีกด้วย โดยโครงการนี้เริ่มก่อสร้างในปี 2555 ซึ่งเป็นปีที่ครบรอบ 2600 ปีของการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า โดยมีกำหนดแล้วเสร็จปลายปี 2557
โครงการนี้เป็นโครงการที่มีความน่าสนใจทางวิศวกรรม สถาปัตยกรรม ทางเทคนิคช่างศิลป์ของไทยอยู่หลายประการ เนื่องจากเป็นองค์พระพุทธสำริด องค์ยืน ที่สูง 32 เมตร เมื่อสร้างเสร็จแล้ว พระพุทธเมตตาประชาไทย จะเป็นองค์พระยืนที่สร้างด้วยสำริด ที่สูงที่สุดในประเทศไทย และตามดำริของ สมเด็จพระมหาธีราจารย์ การที่สร้างองค์พระในบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี ที่เป็นที่แล้ง องค์พระที่จะสร้างนั้น หากไม่ เป็นปางขอฝน ก็ต้องเป็นปางคันธาราราฐ ซึ่งเป็นศิลปะที่ได้อิทธิพลการสร้างองค์พระมาจากรูปปั้นของกรีกโบราณอีกด้วย
 |
พระพุทธเมตตาประชาไทยฯ |
ในการออกแบบนั้น ตั้งใจจะให้องค์พระ สามารถอยู่คู่โลกไปได้นับพันปี จึงได้มีการคำนวณออกแบบให้รับแรงลมและแรงแผ่นดินไหวได้ โดยมีการคำนวณจากแบบจำลอง และทดสอบในอุโมงค์ลมเพื่อการดังกล่าว
 |
พระพุทธเมตตาประชาไทยฯ |
โครงสร้างประกอบด้วยโครงสร้างหลัก ที่ทำด้วยโลหะกันสนิม และโครงสร้างรอง ที่เป็นโลหะสัมฤทธิ์ โดยทำการติดตั้งโครงสร้างหลักก่อน และในระหว่างการก่อสร้างนั้น มีการสร้างพระเศียรชั่วคราว ติดไว้ก่อน เพื่อให้ระหว่างการก่อสร้าง องค์พระไม่เป็นองค์ที่ไร้พระเศียร
 |
พระพุทธเมตตาประชาไทยฯ |
ส่วนสำริดภายนอกนั้น ต้องทำการหล่อที่โรงหล่อ โดยช่างศิลป์ผู้มีความชำนาญ การหล่อพระจะหล่อจากองค์พระองค์เล็กที่สูง 1.92 เมตร จากนั้นใช้อุปกรณ์วัดขนาดองค์พระเล็ก และนำเข้าคอมพิวเตอร์ เพื่อสร้างองค์พระขนาดองค์จริง ที่สูง 32 เมตร
ขั้นตอนจะทำเป็นโฟมก่อน โดยแบ่งโฟมชิ้นส่วนออกเป็น 6 ส่วน
 |
พระพุทธเมตตาประชาไทยฯ |
แบบหล่อชิ้นส่วนนิ้ว
 |
พระพุทธเมตตาประชาไทยฯ |
จากโฟม นำมาทำแบบหล่อ จากแบบหล่อ ก็เทสำริดลงในแบบ และทดลองประกอบโดยไม่มีโครง ที่โรงงาน
 |
พระพุทธเมตตาประชาไทยฯ |
ชิ้นส่วนโฟม เพื่อใช้ในการหล่อพระเศียร
 |
พระพุทธเมตตาประชาไทยฯ |
 |
พระพุทธเมตตาประชาไทยฯ |
 |
พระพุทธเมตตาประชาไทยฯ |
จุดที่ต้องแข็งแรงที่สุดขององค์พระอยู่ที่พระบาท เนื่องจากองค์พระมีความสูงถึง 32 เมตร และน้ำหนักทั้งหมด ลงที่ส่วนพระบาททั้งสองเท่านั้น จึงต้องมีการเสริมกำลัง เป็นพิเศษ จากการที่องค์พระไม่ได้ตั้งอยู่บนเสาเข็ม แต่วางอยู่บนฐานแผ่ ที่มีดินรับน้ำหนักองค์พระอยู่
ในส่วนพระบาท จึงมีการเสริม bolt อัดแรง ลงดินลึก 4 เมตร เพื่อเสริมกำลัง
 |
พระพุทธเมตตาประชาไทยฯ |
เมื่อหล่อโครงสร้างภายนอกเสร็จจากโรงหล่อแล้ว และลองประกอบดูในโรงหล่อ เมื่อใช้ได้แล้ว ก็ทำการแยกชิ้นส่วน และขนไปยังสถานที่ก่อสร้าง จากนั้นก็ใช้ crane ยกขึ้นประกอบ
 |
พระพุทธเมตตาประชาไทยฯ |
เมื่อยกขึ้นแล้ว ก็ต้องทำการ ปรับให้เข้ากับโครงสร้างหลักให้ได้ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ต้องใช้ฝีมือมากเช่นกัน
 |
พระพุทธเมตตาประชาไทยฯ |
 |
พระพุทธเมตตาประชาไทยฯ |
 |
พระพุทธเมตตาประชาไทยฯ |
Time lapse การยกชิ้นส่วนองค์พระ
จนถึงปัจจุบัน โครงการยังไม่แล้วเสร็จ คาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จภายในปี 2557 นี้ครับ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น