ตีตราอาเซียนไทยหงอย เปิดโผ7อาชีพดาวรุ่งปี'59
โดย...ตะวัน
หวังเจริญวงศ์
ก่อนหน้านี้ ยังคงเป็นที่สงสัยของชาวไทยจำนวนหนึ่งด้วยว่า ประเทศอื่นในอาเซียนตื่นตัวกับเรื่องเออีซีเหมือนที่ไทยตื่นตัวจนจัดสัมมนาประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับเออีซีถี่ๆ หรือไม่ ข้อมูลล่าสุดจากหน่วยงานกลางระดับอาเซียนของแต่ละวิชาชีพดูจะสะท้อนชัดแล้วว่า ประเทศอื่นในอาเซียนนั้นตื่นตัว และอาจตื่นตัวกว่าไทยมากด้วยซ้ำ
เริ่มจากวิชาชีพแรกที่เปิดให้ขึ้นทะเบียนระดับอาเซียนมาก่อนใครเพื่อน คือ วิชาชีพสถาปนิก จากข้อมูลบนเว็บไซต์ของสภาสถาปนิกอาเซียน พบว่า ปัจจุบันมีผู้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสถาปนิกอาเซียน (AA)จากทั่วภูมิภาค 255 คน เป็นชาวอินโดนีเซียมากที่สุด จำนวน 73 คน ตามด้วยสิงคโปร์ 67 คน ขณะที่ไทยมีผู้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นอันดับ 7 หรือค่อนท้ายของตาราง มีผู้ที่ได้รับประกาศชื่อแล้ว 5 คน และรอประกาศชื่ออีก 1 คน รวม 6 คน
แม้ข้อมูลล่าสุดของสภาสถาปนิกไทย จะระบุว่า ปัจจุบันมีผู้ขึ้นทะเบียนของไทยเพิ่มขึ้นเป็น 11 คนแล้วก็ตาม แต่ก็ยังน้อยกว่าความสนใจระดับอาเซียนของสถาปนิกอีกหลายชาติ
ขณะเดียวกัน ข้อมูลของคณะกรรมการประสานงานด้านวิศวกรวิชาชีพอาเซียน (ACPECC) พบว่า ปัจจุบันมีผู้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นวิศวกรอาเซียน (ACPE) แล้วทั้งสิ้น 1,406 คน โดยอินโดนีเซียและสิงคโปร์ยังคงเป็น 2 ประเทศที่มีผู้สนใจขึ้นทะเบียนระดับอาเซียนมากที่สุดเช่นเดียวกับวิชาชีพสถาปนิก มีผู้ขึ้นทะเบียนแล้ว 579 คน และ 229 คน
สำหรับไทยเองมีผู้ขึ้นทะเบียนแล้ว 24 คน ครองอันดับ 7 ของภูมิภาคเช่นเดียวกับวิชาชีพสถาปนิก
อีกวิชาชีพหนึ่งที่เปิดให้ขึ้นทะเบียนระดับอาเซียนแล้ว คือ กลุ่มวิชาชีพท่องเที่ยว แม้จะยังไม่ได้เปิดให้ขึ้นทะเบียนครบทั้ง 6 แผนก 32 สาขา เนื่องจากติดขัดด้านการพัฒนาผู้ฝึกอบรมก่อนขึ้นทะเบียน แต่ก็มีบางแผนกที่ขึ้นทะเบียนกันมาสักพักแล้ว เช่น แผนกแม่บ้าน
ปัจจุบันแม้การจัดทำระบบทะเบียนผู้ประกอบวิชาชีพด้านการท่องเที่ยวของอาเซียน (ATPRS) จะยังไม่เสร็จสิ้น แต่จากข้อมูลเบื้องต้นยังคงพบว่า อินโดนีเซีย เป็นประเทศที่ตั้งเป้าหมายการขึ้นทะเบียนเอาไว้ค่อนข้างสูงตั้งแต่ปี 2557 ขณะที่ไทยนั้นขึ้นทะเบียนวิชาชีพแม่บ้านแล้วราว 3,500 คน
เวทีอาเซียนจึงยังดูไม่เป็นโอกาสที่โดดเด่นสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพต่างๆ ของไทยเท่าใดนัก โดยเฉพาะวิชาชีพที่จำเป็นต้องขึ้นทะเบียนล่วงหน้า หากไม่เร่งไปขึ้นทะเบียนก็อาจเสียโอกาสให้แก่ชาติอื่นที่ขึ้นทะเบียนพร้อมเคลื่อนย้ายกันแล้วจำนวนมาก
เมื่อวิชาชีพที่เปิดให้เคลื่อนย้ายเสรียังอาจไม่ใช่ดาวรุ่งของปี 2559 แล้ววิชาชีพที่มีแววเป็นดาวรุ่ง คือ อาชีพใด
สุธิดา กาญจนกันติกุล ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ประเทศไทย เปิดเผยว่า ในปี 2559 นี้ มีประมาณ 7 กลุ่มอาชีพ ที่ถือเป็นดาวรุ่ง
เริ่มจาก 1.กลุ่มอาชีพที่เกี่ยวข้องกับงานขายและการพัฒนาธุรกิจ ทั้งในกลุ่มค้าปลีก กลุ่มพนักงานขายทางโทรศัพท์ โดยหากเป็นผู้ที่มีทักษะครบถ้วน ทั้งทักษะภาษารับยุคเออีซีและความสามารถในการบริหารจัดการงานหลายอย่างได้พร้อมกัน (Multi-Tasking Skill) จะมีโอกาสมากเป็นพิเศษ
2.กลุ่มอาชีพด้านไอที โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับอี-คอมเมิร์ซและดิจิทัล มาร์เก็ตติ้ง เนื่องจากเป็นแนวโน้มของภาคธุรกิจที่หันมาขยายช่องทางธุรกิจผ่านช่องทางออนไลน์และสื่อดิจิทัลมากขึ้น3.วิศวกรโยธา วิศวกรเครื่องกล และวิศวกรขนส่งทางราง กลุ่มนี้จะเติบโตตามความต้องการการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของไทย รวมถึงความชัดเจนในการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายต่างๆ ที่
เพิ่มขึ้น
4.นักการเงิน นักบัญชี กลุ่มนี้จะมีโอกาสสูงเป็นพิเศษ หากมีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง เข้าใจในธุรกิจที่ทำ สามารถวางแผนวิเคราะห์การเงิน การลงทุน ทักษะการใช้โปรแกรม เช่น SAP ERP Oracle หรือเป็นผู้ชำนาญด้านภาษีที่มีใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA)
5.อาชีพบริการทางการแพทย์และธุรกิจสุขภาพ กลุ่มนี้จะมีโอกาสเติบโตตามทิศทางการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่มีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น 6.บุคลากรสายวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับพลังงานทางเลือก เหมืองแร่ ซึ่งเป็นกลุ่มที่กำลังเติบโต และ 7.อาชีพที่เกี่ยวข้องกับซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ กลุ่มนี้เป็นอีกกลุ่มที่จะเติบโตจากความพยายามสร้างความเชื่อมโยง (คอนเนกทิวิตี้) ของอาเซียน อัตราการได้งานทำสูงเกือบ 100%
อย่างไรก็ดี ปีนี้มี 1 กลุ่มอาชีพที่มีแนวโน้มความต้องการชะลอตัว คือ กลุ่มอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการภายในออฟฟิศ (Office Management) เนื่องจากปัจจุบันมีระบบและเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาช่วยบริหารจัดการงานภายในออฟฟิศมากขึ้น ความต้องการบุคลากรตั้งแต่ระดับเจ้าหน้าที่ถึงผู้บริหารระดับกลางของกลุ่มนี้จึงชะลอตัวลง
สุธิดา ระบุด้วยว่า ปีนี้ยังเป็นปีที่ผู้ประกอบการมีแนวโน้มจะแข่งขันกันสรรหาผู้มีความสามารถโดดเด่น (Talent) มาทำงานตำแหน่งระดับกลาง เช่น Management Trainee ขณะเดียวกันยังแข่งขันกันรับเด็กจบใหม่ที่มีคุณสมบัติดี ตั้งแต่พื้นฐานการศึกษา ทักษะภาษาอังกฤษ ไปจนถึงทักษะอ่อน (Soft Skills) เช่น ทักษะที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสาร
สำหรับแรงงานไทยนั้น ยังมีโอกาสจากกรณีนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนเพิ่มเติมรับการเข้าสู่เออีซีอย่างเป็นทางการด้วย
ภายใต้แผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี บลูพรินต์) ประเด็นหนึ่งเป็นที่จับตาของคนไทยคือการเคลื่อนย้ายแรงงานวิชาชีพเสรี 7 วิชาชีพ และ 1 กลุ่มวิชาชีพ แม้ท้ายที่สุดอาเซียนจะไม่สามารถจัดทำข้อตกลงยอมรับร่วมคุณสมบัตินักวิชาชีพ (เอ็มอาร์เอ) ของวิชาชีพนักสำรวจได้ทัน ทำให้เริ่มเคลื่อนย้ายได้จริงในปี 2559 นี้เพียง 6 วิชาชีพ และ 1 กลุ่มวิชาชีพ แต่โอกาสของการเคลื่อนย้ายในวิชาชีพที่เหลือก็ยังคงน่าสนใจ
ก่อนหน้านี้ ยังคงเป็นที่สงสัยของชาวไทยจำนวนหนึ่งด้วยว่า ประเทศอื่นในอาเซียนตื่นตัวกับเรื่องเออีซีเหมือนที่ไทยตื่นตัวจนจัดสัมมนาประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับเออีซีถี่ๆ หรือไม่ ข้อมูลล่าสุดจากหน่วยงานกลางระดับอาเซียนของแต่ละวิชาชีพดูจะสะท้อนชัดแล้วว่า ประเทศอื่นในอาเซียนนั้นตื่นตัว และอาจตื่นตัวกว่าไทยมากด้วยซ้ำ
เริ่มจากวิชาชีพแรกที่เปิดให้ขึ้นทะเบียนระดับอาเซียนมาก่อนใครเพื่อน คือ วิชาชีพสถาปนิก จากข้อมูลบนเว็บไซต์ของสภาสถาปนิกอาเซียน พบว่า ปัจจุบันมีผู้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสถาปนิกอาเซียน (AA)จากทั่วภูมิภาค 255 คน เป็นชาวอินโดนีเซียมากที่สุด จำนวน 73 คน ตามด้วยสิงคโปร์ 67 คน ขณะที่ไทยมีผู้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นอันดับ 7 หรือค่อนท้ายของตาราง มีผู้ที่ได้รับประกาศชื่อแล้ว 5 คน และรอประกาศชื่ออีก 1 คน รวม 6 คน
แม้ข้อมูลล่าสุดของสภาสถาปนิกไทย จะระบุว่า ปัจจุบันมีผู้ขึ้นทะเบียนของไทยเพิ่มขึ้นเป็น 11 คนแล้วก็ตาม แต่ก็ยังน้อยกว่าความสนใจระดับอาเซียนของสถาปนิกอีกหลายชาติ
ขณะเดียวกัน ข้อมูลของคณะกรรมการประสานงานด้านวิศวกรวิชาชีพอาเซียน (ACPECC) พบว่า ปัจจุบันมีผู้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นวิศวกรอาเซียน (ACPE) แล้วทั้งสิ้น 1,406 คน โดยอินโดนีเซียและสิงคโปร์ยังคงเป็น 2 ประเทศที่มีผู้สนใจขึ้นทะเบียนระดับอาเซียนมากที่สุดเช่นเดียวกับวิชาชีพสถาปนิก มีผู้ขึ้นทะเบียนแล้ว 579 คน และ 229 คน
สำหรับไทยเองมีผู้ขึ้นทะเบียนแล้ว 24 คน ครองอันดับ 7 ของภูมิภาคเช่นเดียวกับวิชาชีพสถาปนิก
อีกวิชาชีพหนึ่งที่เปิดให้ขึ้นทะเบียนระดับอาเซียนแล้ว คือ กลุ่มวิชาชีพท่องเที่ยว แม้จะยังไม่ได้เปิดให้ขึ้นทะเบียนครบทั้ง 6 แผนก 32 สาขา เนื่องจากติดขัดด้านการพัฒนาผู้ฝึกอบรมก่อนขึ้นทะเบียน แต่ก็มีบางแผนกที่ขึ้นทะเบียนกันมาสักพักแล้ว เช่น แผนกแม่บ้าน
ปัจจุบันแม้การจัดทำระบบทะเบียนผู้ประกอบวิชาชีพด้านการท่องเที่ยวของอาเซียน (ATPRS) จะยังไม่เสร็จสิ้น แต่จากข้อมูลเบื้องต้นยังคงพบว่า อินโดนีเซีย เป็นประเทศที่ตั้งเป้าหมายการขึ้นทะเบียนเอาไว้ค่อนข้างสูงตั้งแต่ปี 2557 ขณะที่ไทยนั้นขึ้นทะเบียนวิชาชีพแม่บ้านแล้วราว 3,500 คน
เวทีอาเซียนจึงยังดูไม่เป็นโอกาสที่โดดเด่นสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพต่างๆ ของไทยเท่าใดนัก โดยเฉพาะวิชาชีพที่จำเป็นต้องขึ้นทะเบียนล่วงหน้า หากไม่เร่งไปขึ้นทะเบียนก็อาจเสียโอกาสให้แก่ชาติอื่นที่ขึ้นทะเบียนพร้อมเคลื่อนย้ายกันแล้วจำนวนมาก
เมื่อวิชาชีพที่เปิดให้เคลื่อนย้ายเสรียังอาจไม่ใช่ดาวรุ่งของปี 2559 แล้ววิชาชีพที่มีแววเป็นดาวรุ่ง คือ อาชีพใด
สุธิดา กาญจนกันติกุล ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ประเทศไทย เปิดเผยว่า ในปี 2559 นี้ มีประมาณ 7 กลุ่มอาชีพ ที่ถือเป็นดาวรุ่ง
เริ่มจาก 1.กลุ่มอาชีพที่เกี่ยวข้องกับงานขายและการพัฒนาธุรกิจ ทั้งในกลุ่มค้าปลีก กลุ่มพนักงานขายทางโทรศัพท์ โดยหากเป็นผู้ที่มีทักษะครบถ้วน ทั้งทักษะภาษารับยุคเออีซีและความสามารถในการบริหารจัดการงานหลายอย่างได้พร้อมกัน (Multi-Tasking Skill) จะมีโอกาสมากเป็นพิเศษ
2.กลุ่มอาชีพด้านไอที โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับอี-คอมเมิร์ซและดิจิทัล มาร์เก็ตติ้ง เนื่องจากเป็นแนวโน้มของภาคธุรกิจที่หันมาขยายช่องทางธุรกิจผ่านช่องทางออนไลน์และสื่อดิจิทัลมากขึ้น3.วิศวกรโยธา วิศวกรเครื่องกล และวิศวกรขนส่งทางราง กลุ่มนี้จะเติบโตตามความต้องการการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของไทย รวมถึงความชัดเจนในการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายต่างๆ ที่
เพิ่มขึ้น
4.นักการเงิน นักบัญชี กลุ่มนี้จะมีโอกาสสูงเป็นพิเศษ หากมีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง เข้าใจในธุรกิจที่ทำ สามารถวางแผนวิเคราะห์การเงิน การลงทุน ทักษะการใช้โปรแกรม เช่น SAP ERP Oracle หรือเป็นผู้ชำนาญด้านภาษีที่มีใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA)
5.อาชีพบริการทางการแพทย์และธุรกิจสุขภาพ กลุ่มนี้จะมีโอกาสเติบโตตามทิศทางการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่มีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น 6.บุคลากรสายวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับพลังงานทางเลือก เหมืองแร่ ซึ่งเป็นกลุ่มที่กำลังเติบโต และ 7.อาชีพที่เกี่ยวข้องกับซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ กลุ่มนี้เป็นอีกกลุ่มที่จะเติบโตจากความพยายามสร้างความเชื่อมโยง (คอนเนกทิวิตี้) ของอาเซียน อัตราการได้งานทำสูงเกือบ 100%
อย่างไรก็ดี ปีนี้มี 1 กลุ่มอาชีพที่มีแนวโน้มความต้องการชะลอตัว คือ กลุ่มอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการภายในออฟฟิศ (Office Management) เนื่องจากปัจจุบันมีระบบและเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาช่วยบริหารจัดการงานภายในออฟฟิศมากขึ้น ความต้องการบุคลากรตั้งแต่ระดับเจ้าหน้าที่ถึงผู้บริหารระดับกลางของกลุ่มนี้จึงชะลอตัวลง
สุธิดา ระบุด้วยว่า ปีนี้ยังเป็นปีที่ผู้ประกอบการมีแนวโน้มจะแข่งขันกันสรรหาผู้มีความสามารถโดดเด่น (Talent) มาทำงานตำแหน่งระดับกลาง เช่น Management Trainee ขณะเดียวกันยังแข่งขันกันรับเด็กจบใหม่ที่มีคุณสมบัติดี ตั้งแต่พื้นฐานการศึกษา ทักษะภาษาอังกฤษ ไปจนถึงทักษะอ่อน (Soft Skills) เช่น ทักษะที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสาร
สำหรับแรงงานไทยนั้น ยังมีโอกาสจากกรณีนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนเพิ่มเติมรับการเข้าสู่เออีซีอย่างเป็นทางการด้วย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก