
ซึ่งปัจจุบันมีการแบ่งระบบกันซึมออกเป็น 3 ประเภทดังนี้
1. ระบบกันซึมชนิดซีเมนต์
คือ ระบบกันซึมที่มีส่วนผสมของซีเมนต์ แบ่งเป็นชนิดที่ความยืดหยุ่นทั่วไปจนถึงมีความยืดหยุ่นสูง ไม่เป็นพิษ เหมาะสำหรับ บ่อเก็บน้ำ ห้องน้ำ สระว่ายน้ำ และซีเมนต์ที่ทำปฏิกิริยาตกผลึกที่สามารถใช้กับงานพื้นผนังชั้นใต้ดินภายนอก และงานบ่อน้ำเสียได้
2. ระบบกันซึมชนิดทา หรือพ่น
คือ ระบบกันซึมมีลักษณะเป็นของเหลวใช้ทาหรือพ่น จุดเด่นคือไม่มีรอยต่อ มีความยืดหยุ่นสูง ทนต่อรังสี UV เช่น กันซึมชนิด อคริลิกโพลิเมอร์ โพลียูรีเทน และโพลียูเรีย
3. ระบบกันซึมชนิดแผ่น (Sheet Applied Waterproofing)
คือ ระบบกันซึมสำเร็จรูปเหมาะแก่การใช้กับงานเกี่ยวกับฐานราก พื้นและผนังโครงสร้างชั้นใต้ดินภายนอก หลังคาหรือระเบียง

การเลือกใช้วัสดุป้องกันการรั่วซึมนั้น ควรเลือกตามตำแหน่งของโครงสร้าง ที่จะทำการป้องกัน ดังนี้
1. ส่วนที่อยู่ต่ำกว่าระดับดิน ได้แก่ ส่วนที่เป็นห้องใต้ดิน อุโมงค์ จะนิยมใช้การกันซึม ด้วยแผ่นกันซึมชนิดแผ่นมีกาวในตัว เพราะผิวที่เป็นพลาสติกจะทำหน้าที่ยึดเกาะกับใต้ผิวพื้นคอนกรีตหล่อได้ดี ในขณะที่ ระบบทาเคลือบใช้กับงานผิวคอนกรีตหยาบ ซึ่งก็ต้อง เทคอนกรีตหยาบลงในชั้นแรกก่อนการเทคอนกรีตพื้นจริงทับ เมื่อคอนกรีตหยาบแตกร้าว ระบบทาเคลือบนี้ก็จะเสียหายตามไปด้วย
2. ผนัง - เหนือระดับดิน ระบบ CEMENT BASE จะเหมาะกับผิวผนังที่เปียกชื้น ไม่สามารถทำให้แห้งได้ มักเกิดในที่ที่ฝนตกชุก แต่หากเป็นที่แห้งจะได้ใช้ทั้ง ระบบทาเคลือบชนิดอื่นๆ และระบบแผ่นสำเร็จรูป โดยเฉพาะชนิดแผ่นมีกาวในตัว จะสะดวกในการติดตั้ง โอกาสผิดพลาดน้อย อายุการใช้งานในดินจะยาวกว่า ระบบแผ่นชนิดอื่น
3. หลังคาคอนกรีต นิยมใช้การปูแผ่นสำเร็จรูป
แต่!!! ทั้งนี้ทั้งนั้นหัวใจหลักของการติดตั้งระบบกันซึมให้มีประสิทธิภาพ คือทำตามข้อกำหนดของบริษัทที่กำหนดมา และ การเลือกใช้ควรเลือกใช้ตามความเหมาะสมตามอาการรั่วซึมของอาคาร ถ้าเลือกใช้งานผิดประเภท ก็จะไม่สามารถกันซึมได้ 100% เช่น กันซึมบางประเภทไม่ทนสารเคมี ไม่ทนแสงยูวี ถ้าเรานำมาใช้งานกลางแจ้งก็จะเกิดการแตกและหลุดร่อนได้
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น