
1. เสาเข็มตอก
ในการตอกเสาเข็มนั้น ต้องใช้ปั้นจั่นในการตอกลงไปในดิน โดยช่วงสุดท้ายซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการ ตอกเสาเข็ม จะต้องมีการตรวจสอบอัตราการทรุดตัวของการตอก 10 ครั้งสุดท้าย (Last Ten Blow) ว่ามีค่าเป็นไปตามที่กำหนดไว้หรือไม่? ถ้าหากทรุดตัวมากเกินกว่าค่าที่กำหนดไว้แสดงว่ายังไม่สามารถรับน้ำหนักได้ดีพอ ซึ่งเสาเข็มตอกก็จะแบ่งประเภทตามวัสดุ ดังนี้
- เสาเข็มไม้ (Timber pile) เป็นเสาเข็มที่มีน้ำหนักเบา ราคาถูก แต่ความสามารถในการ
รับน้ำหนักค่อนข้างต่ำ
- เสาเข็มคอนกรีต (Concrete pile) จะแบ่งย่อยเป็น
o เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก (Reinforce concrete pile) ส่วนมากจะเป็นเสาเข็มที่หล่อใน
หน่วยงาน โดยจะต้องออกแบบเสริมเหล็กให้เพียงพอเพื่อรับโมเมนต์ดัดจากการ
เคลื่อนย้ายและการตอก เหมาะสำหรับพื้นที่ที่ขนส่งเข็มลำบาก
o เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง (Prestressed concrete pile) เป็นเสาเข็มที่อาศัยเทคนิคการดึงลวด
รับแรงดึงแล้วเทคอนกรีตลงในแบบ เมื่อคอนกรีตแข็งจนได้กำลังจึงทำการตัดลวดรับแรงดึง
ทำให้เกิดแรงอัดในเสาเข็ม การผลิตจากโรงงานทำให้สามารถควบคุมคุณภาพได้ดี และลดต้น
ทุนค่าผลิต
- เสาเข็มเหล็ก (Steel pile) เป็นเสาเข็มที่ทำจากเหล็ก สามารถรับน้ำหนักได้สูงกว่าเสาเข็ม
คอนกรีตและไม้ แต่ราคาก็จะแพงตามไปด้วย และข้อเสียของเสาเข็มเหล็กคือเกิดการผุกร่อน
ง่ายจากสนิม ต้องมีการทาสีเพื่อป้องกันการเกิดสนิม
ในปัจจุบันนั้นจะนิยมใช้เสาเข็มคอนกรีตเนื่องจากแข็งแรง ทนทานกว่าเสาเข็มไม้ และถูกกว่าเสาเข็มเหล็ก แต่ข้อเสียของการใช้เสาเข็มตอกนั้นจะไม่เหมาะกับไซต์งานขนาดเล็ก มีพื้นที่จำกัด เนื่องจากจะเกิดปัญหาเรื่องการขนส่งและ ผลกระทบกับอาคารข้างเคียง
2. เสาเข็มเจาะ
เป็นเสาเข็มที่เข้ามาแก้ปัญหาเสาเข็มแบบตอก ให้สามารถทำงานได้ในสถานที่ที่มีพื้นที่จำกัด ซึ่งสามารถแบ่งแยกย่อยออกดังนี้

เป็นการทำเสาเข็มแบบหล่อในที่ มีรูปร่างหน้าตาเป็นวงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 40-60 เซนติเมตร สามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ราว ๆ 25-60 ตันต่อต้น ความยาวประมาณ 20–30 เมตร
วิธีการทำเสาเข็มเจาะแบบแห้ง
สามารถเจาะโดยใช้ขาตั้ง 3 ขา แล้วใช้ลูกตุ้มเหล็กหรือกระบะตักดินกระแทกลงไปในดินลึกประมาณ 1 เมตร หลังจากนั้นนำปลอกเหล็กตอกลงไปในหลุมเจาะ โดยปกติจะลงไปลึกประมาณ 15-19 เมตร ซึ่งระดับความลึกระดับนี้จะเป็นชั้นดินเหนียวอ่อน หลังจากนั้นทำการเจาะดินโดยทิ้งกระบะตักดินลงไปในปลอกเหล็ก แล้วตักขึ้นมาทิ้งบริเวณปากหลุม การเจาะดินจะทำการเจาะไปถึงชั้นทรายแล้วจึงหยุดเจาะ เนื่องจากชั้นทรายจะมีน้ำไหลซึมออกมาตลอดซึ่งจะทำให้ก้นหลุมพัง หลังจากนั้นใส่เหล็กเสริมลงไปในปลอกเหล็ก แล้วเทคอนกรีตลงไปในปลอกเหล็ก หลังจากเทเสร็จให้รีบดึงปลอกเหล็กขึ้นทันที ข้อดี ของเสาเข็มเจาะชนิดนี้คือเข้าทำงานในที่แคบ ๆ ได้ แต่ข้อเสียคือรับน้ำหนักได้ค่อนข้างน้อย

เสาเข็มเจาะแบบเปียก มีทั้งเสาเข็มกลม (Bore Pile) และเสาเข็มเจาะแบบสี่เหลี่ยม (Barrette Pile) โดยขั้นตอนการทำเสาเข็มเจาะเปียกจะมีขั้นตอนการทำคล้ายเสาเข็มเจาะแห้ง แต่เวลาขุดดินจะขุดลึก ๆ แล้วใส่สารละลาย BENTONITE-POLYMER SLURRY ลงไปเคลือบผิวหลุมดิน ที่เจาะ โดยสารเคมีตัวนี้จะทำหน้าที่เป็นตัวยึดประสานดินและดันดินไม่ให้พังทลายลงเวลาเจาะลึก ๆ แล้วจึงเทคอนกรีตลงในหลุมเจาะผ่านท่อ ซึ่งเสาเข็มเจาะแบบเปียกจะสามารถเจาะได้ลึกกว่า 70 เมตร ข้อดี ของเสาเข็มเจาะระบบเปียกคือสามารถรับน้ำหนักได้มากกว่าเสาเข็มเจาะระบบแห้งและยังเกิดมลภาวะน้อยอีกด้วย
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น