

แผ่นเมทัลชีทคือ แผ่นเหล็กรีดลอน สามารถรีดเป็นแผ่นยาวได้ เคลือบสังกะสีหรือ อลูซิงค์ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ในหลายส่วนของตัวอาคาร เช่น หลังคาเมทัลชีท, ผนังเมทัลชีท (Siding), แผ่นปิดครอบ (Flashing) หรือ แผ่นบานเกร็ด (Louver) แต่ที่นิยมนำมาใช้กันคือมุงหลังคาขนาดใหญ่เพราะสามารถดัดโค้งได้สะดวก และด้วยความที่สามารถรีดเป็นแผ่นยาวได้ จึงทำให้มีรอยต่อน้อย จึงช่วยลดเรื่องปัญหาการรั่วซึม
ความแตกต่างระหว่างหลังคาเมทัลชีท กับ หลังคากระเบื้อง
หลังคาเมทัลชีท
|
หลังคากระเบื้อง
|
|
วัสดุ
|
แผ่นเหล็กรีดลอนเคลือบสังกะสี หรือ
อลูซิงค์
|
กระเบื้องคอนกรีต/ กระเบื้องซีเมนต์ใยหิน
|
น้ำหนัก/ แผ่น
|
มีน้ำหนักเบา
|
กระเบื้องลอนคู่หนักประมาณ 6-7 kg/ แผ่น
|
การติดตั้งสามารถทำได้อย่างไร?
ในการติดตั้งแผ่นเมทัลชีทนั้นสามารถทำได้อยู่ 2 วิธีคือ
1. ใช้ระบบยิงสกูล (Bolt System) โดยติดตั้งแผ่นหลังคากับโครงหลังคาโดยการยึดด้วยน็อต ส่วนใหญ่ระบบยิงสกูลจะใช้ในงานโรงงานหรืองานที่ไม่ต้องกังวลเรื่องการรั่วซึมมากนัก เพราะการใช้น็อตยึดกับคานทำให้เกิดรู ซึ่งมีโอกาสเกิดการรั่วซึม เช่น หลังคาที่จอดรถ
2. ระบบกดล็อก (Boltless System) การติดตั้งคือติดตั้งแผ่นหลังคากับโครงหลังคา ด้วย Klip Lok ซึ่งจะใช้ในงานอาคารหรือห้างสรรพสินค้าที่ต้องการป้องกันการรั่วซึมเป็นอย่างดี

ข้อดี/ ข้อเสียของการใช้แผ่นเมทัลชีท
ข้อดี
|
ข้อเสีย
|
ตัวแผ่นมีน้ำหนักเบา
ทำให้ช่วยลดขนาดของโครงหลังคา ประหยัดโครงสร้าง
|
อายุการใช้งานน้อยกว่าหลังคากระเบื้อง
ส่วนใหญ่ metal sheet roof อายุการใช้งานประมาณ
10 ปี
|
ติดตั้งได้ง่าย
สะดวก รวดเร็ว
|
เมื่อฝนตก
เสียงดังมากกว่าหลังคากระเบื้อง
|
การรั่วซึมของหลังคาน้อยกว่า
หลังคากระเบื้อง เนื่องจากรอยต่อแผ่นน้อยกว่า
|
กันความร้อนได้น้อยกว่าหลังคากระเบื้อง
ต้องติดตั้งฉนวนกันความร้อนใต้หลังคา
|
ส่วนเรื่องของราคานั้นถ้าคิดกันเฉพาะตัวกระเบื้อง กระเบื้องลอนคู่จะถูกกว่าเมทัลชีท แต่เนื่องจากกระเบื้องคอนกรีตมีน้ำหนักมากกว่า จึงต้องใช้โครงหลังคาที่สามารถรับน้ำหนักได้ ต่างจากแผ่นเมทัลชีทที่มีน้ำหนักเบา จึงประหยัดเรื่องโครงสร้างหลังคามากกว่า ดังนั้นเมื่อเทียบเหมารวมทั้งค่าวัสดุและโครงสร้างแล้วจะถือว่าราคาพอๆ กันค่ะ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น