หน้าเว็บ

Series รอยร้าว ตอนที่ 2: ลักษณะของรอยร้าวที่เกิดจาก วัสดุ เสื่อมสภาพ


รอยร้าวที่เกิดจากวัสดุเสื่อมสภาพ
รอยร้าวที่เกิดจากวัสดุเสื่อมสภาพ เกิดจากการเสื่อมสภาพของวัสดุ โดย มากมักจะเกิดจากเหล็กเสริม เป็นสนิมจากการใช้งาน เพราะโครงสร้างนั้น สัมผัสกับความชื้นในอากาศ หรือ สัมผัสกับน้ำโดยตรงเช่น พื้นของชั้นหลังคา  หรือ  โครงสร้างของคอนกรีตเสริมเหล็ก ที่สัมผัสกับสารเคมี หรือไอของน้ำทะเล
รอยร้าวแบบนี้ มักเกิดที่ผิวของคอนกรีต แต่ไม่ลึกถึงแกนกลาง ของโครงสร้าง และพอจำแนกได้ เป็นสองแบบตามความลึก


หนึ่ง คือรอยร้าวที่เกิดเฉพาะที่ผิวของคอนกรีต
เกิดเป็นรอยร้าวแตกลายงา จากการยืดหดตัวของคอนกรีต หรือเกิดเป็นรอยร้าวแตกลายงา รูปดาว หรือรูปใยแมงมุม รอยร้าวอาจเกิดเป็นบริเวณกว้างหรือ เป็นหย่อมๆ ก็ได้ โดยทั่วไปรอยร้าวแบบนี้มักไม่เกิดจนถึงแกนในของคอนกรีต ยกเว้นกรณี โดนสารเคมีกัดเซาะนาน จนกระทั่งคอนกรีตยุ่ย และร้าว ถึงด้านใน 
การที่บ่มคอนกรีตไม่ดี น้ำระเหยออกจากปูนเร็ว ก็ทำให้ปูนใหม่ๆ แตกลายงาได้เหมือนกัน
รูปคอนกรีตแตกลายงา

 สอง รอยร้าวลึกจนถึงเหล็กเสริม 
เกิดจากเหล็กเป็นสนิม  อาจเพราะมีคอนกรีตที่หุ้มเหล็กอยู่น้อยเกินไป หรือ อยู่ในพื้นที่ใกล้น้ำทะเล  หรือจากภาวะแห้งและเปียกสลับกัน บริเวณคอนกรีตที่สัมผัสน้ำขึ้นน้ำลง หรือมีน้ำไหลมาโดนโครงสร้างนั้นตลอด แบบมีท่อน้ำอยู่ด้านบนโครงสร้างนั้น
รอยร้าวนี้ มักพบที่มุมเสา ถ้าเห็นรอยร้าวเป็นแนวตรง ยาวขนาน กับเสา ก็มักเป็นระยะแรกของรอยร้าวประเภทนี้

รูปรอยแตกบนเสา
รอยแตกจากเหล็กเสริม ชั้นดาดฟ้าเป็นสนิม  เพราะน้ำระบายไม่ทัน มักเห็นรอยแตกเป็นแนวยาว ตามทิศทางของเหล็กเสริม  บางทีเหล็กเสริมเป็นสนิมมาก จนคอนกรีตหลุดร่อน จนเห็นเหล็กที่เป็นสนิมก็มี
 
รอยแตกที่ชั้นหลังคา
ตอนต่อไป จะอธิบายถึงรอย แตกที่เกิดจาก การรับน้ำหนักเกิน ของโครงสร้าง


ข้อมูลจาก อาจารย์ ธเนศ วีระศิริ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น