ไฟฟ้าเบื้องต้นสำหรับบ้านที่อยู่อาศัย ตอนที่ 5: ขนาดมิเตอร์ของการไฟฟ้า ที่ใช้งานทั่วไป
เขียนโดย ไม่ระบุชื่อ
เป็นที่ทราบกันดีว่า เราสามารถขอใช้บริการไฟฟ้าได้จากทางสำนักงานการไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ (แล้วแต่เขตพื้นที่ของบ้าน) โดยบ้านหลังนั้นจะต้องมีการขอบ้านเลขที่และมีทะเบียนบ้านเสียก่อน เราจึงไปดำเนินการยื่นหลักฐานเพื่อขอใช้บริการ เราจะต้องชำระค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขอใช้บริการ ซึ่งค่าธรรมเนียมทั้งหลายนี้จะสูงขึ้นตามปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ขอใช้ นั่นคือยิ่งขอใช้กระแสไฟฟ้ามากก็ต้องยิ่งเสียค่าใช้จ่ายมากนั่นเอง ฉะนั้นเราควรจะเลือกขนาดเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า(มิเตอร์)ที่เหมาะสมกับการใช้งานเพื่อที่เราจะได้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น
ป้ายกำกับ:
เกร็ดความรู้,
ช่างมันส์,
ไฟฟ้า
ไม่ว่าเศรษฐกิจ จะดีหรือไม่ดีอย่างไร แนวโน้มของราคาของอสังหาริมทรัพย์ก็มีแต่จะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ก็ดูหอมหวานทำให้เกิดผู้ประกอบการรายใหม่ๆ เข้ามาอย่างต่อเนื่อง
การพัฒนาการของกฎหมายที่มีไว้ใช้ดูแล สังคม และดูแลผู้บริโภคไม่ให้ถูก การเอารัดเอาเปรียบ จากการสร้างผลกำไร ของผู้ประกอบการ ก็มีการพัฒนาขึ้นตามลำดับ แต่ไม่ว่าการพัฒนาการจะเปลี่ยนไปอย่างไร แนวคิดของกฎหมายการจัดสรรที่ดินนั้น มีไว้เพื่อวัตถุประสงค์หลัก ดังต่อไปนี้คือ
หนึ่ง ในการจัดสรรที่ดินนั้น จะต้องไม่เป็นการรบกวนสาธารณะ ดังจะเห็นจากการกำหนด เรื่องการระบายน้ำ การขออนุญาต เรื่องสิ่งแวดล้อม การขออนุญาต ทางเข้าออก การจราจร เป็นต้น การกำหนดบริเวณที่อนุญาตให้ปลูกสร้างสิ่งปลูกสร้างชนิดต่างๆ เพื่อแบ่งแยกประเภทของสิ่งปลูกสร้าง รักษาสิ่งแวดล้อม และไม่ให้เป็นการแออัด เกินไป
สอง ในการจัดสรรที่ดินนั้น จะต้องไม่เป็นการเบียดเบียนผู้ซื้อ ผู้บริโภค เช่นการกำหนดเรื่องถนน การกำหนดกฎเกณฑ์เรื่องพื้นที่ส่วนกลาง เรื่องขนาดพื้นที่ ความกว้างของหน้าบ้าน ความกว้างถนน เป็นต้น
กลับมาถึงคำถามที่จั่วหัวไว้ ว่า แล้วพระราชบัญญัติการจัดสรร ที่ดินกำหนด ขนาดบ้านเดี่ยว บ้านแฝด และทาวเฮ้าส์ ไว้ทำไม
การพัฒนาการของพระราชบัญญัติจัดสรรนี้ มีมายาวนาน และในะระหว่างการพัฒนานั้นก็มีการอุดช่องว่าง ของกฎหมาย ที่ผู้ประกอบการใช้หลีกเลี่ยง เพื่อสร้างกำไรสูงสุด แก่โครงการนั้นๆ
สำหรับการกำหนดขนาดของสิ่งปลูกสร้างนั้น เกิดจากการเอากรอบต่างๆ ที่ต้องมี มาคิด และคำนวณออกมาเป็นขนาดพื้นที่ และความกว้างที่น้อยที่สุดที่เป็นไปได้ ในการสร้างที่อยู่อาศัย ที่ยังมีความปลอดภัย ไม่แออัด แก่ผู้อยู่อาศัย
โดยเริ่มจาก การกำหนด ระยะถอยร่นไว้สองเมตร จากแนวคิดว่า เสียง กลิ่น ไม่รบกวนค้างเคียง และ ยังมีเรื่องความปลอดภัยจากอัคคีภัยอีกด้วย
จากระยะร่น ก็กำหนด ความกว้างความยาว ให้จอดรถได้ และไม่มีท้ายที่ยื่นออกไปในที่สาธารณะ จึงได้ เป็นความกว้าง และขนาดพื่นที่ ของ บ้านเดี่ยว และทาวเฮ้าส์ ออกมา
แต่เดิมนั้นกฎหมายไม่ได้กำหนด คำนิยามของบ้านแฝดเอาไว้ แต่เกิดจากการที่ผู้ประกอบการใช้ช่องว่างของกฎหมาย ในการผลิตสินค้าชนิดนี้ขึ้นมา ที่เป็นสินค้าตรงกลางระหว่าง บ้านเดี่ยว กับ ทาวเฮ้าส์ คือราคาถูกกว่า บ้านเดี่ยว แต่ก็โฆษณา เหมือนขายบ้านเดี่ยว จนเกิดการร้องเรียนจากผู้บริโภค และทำให้ กฎหมายมีการพัฒนาไป จนมีการกำหนดขนาด และความยาวของบ้านแฝด ขึ้นมาภายหลังนั่นเอง
การพัฒนาการของกฎหมายที่มีไว้ใช้ดูแล สังคม และดูแลผู้บริโภคไม่ให้ถูก การเอารัดเอาเปรียบ จากการสร้างผลกำไร ของผู้ประกอบการ ก็มีการพัฒนาขึ้นตามลำดับ แต่ไม่ว่าการพัฒนาการจะเปลี่ยนไปอย่างไร แนวคิดของกฎหมายการจัดสรรที่ดินนั้น มีไว้เพื่อวัตถุประสงค์หลัก ดังต่อไปนี้คือ
หนึ่ง ในการจัดสรรที่ดินนั้น จะต้องไม่เป็นการรบกวนสาธารณะ ดังจะเห็นจากการกำหนด เรื่องการระบายน้ำ การขออนุญาต เรื่องสิ่งแวดล้อม การขออนุญาต ทางเข้าออก การจราจร เป็นต้น การกำหนดบริเวณที่อนุญาตให้ปลูกสร้างสิ่งปลูกสร้างชนิดต่างๆ เพื่อแบ่งแยกประเภทของสิ่งปลูกสร้าง รักษาสิ่งแวดล้อม และไม่ให้เป็นการแออัด เกินไป
สอง ในการจัดสรรที่ดินนั้น จะต้องไม่เป็นการเบียดเบียนผู้ซื้อ ผู้บริโภค เช่นการกำหนดเรื่องถนน การกำหนดกฎเกณฑ์เรื่องพื้นที่ส่วนกลาง เรื่องขนาดพื้นที่ ความกว้างของหน้าบ้าน ความกว้างถนน เป็นต้น
แนวคิดหลักของกฎมายจัดสรรที่ดิน |
กลับมาถึงคำถามที่จั่วหัวไว้ ว่า แล้วพระราชบัญญัติการจัดสรร ที่ดินกำหนด ขนาดบ้านเดี่ยว บ้านแฝด และทาวเฮ้าส์ ไว้ทำไม
การพัฒนาการของพระราชบัญญัติจัดสรรนี้ มีมายาวนาน และในะระหว่างการพัฒนานั้นก็มีการอุดช่องว่าง ของกฎหมาย ที่ผู้ประกอบการใช้หลีกเลี่ยง เพื่อสร้างกำไรสูงสุด แก่โครงการนั้นๆ
สำหรับการกำหนดขนาดของสิ่งปลูกสร้างนั้น เกิดจากการเอากรอบต่างๆ ที่ต้องมี มาคิด และคำนวณออกมาเป็นขนาดพื้นที่ และความกว้างที่น้อยที่สุดที่เป็นไปได้ ในการสร้างที่อยู่อาศัย ที่ยังมีความปลอดภัย ไม่แออัด แก่ผู้อยู่อาศัย
โดยเริ่มจาก การกำหนด ระยะถอยร่นไว้สองเมตร จากแนวคิดว่า เสียง กลิ่น ไม่รบกวนค้างเคียง และ ยังมีเรื่องความปลอดภัยจากอัคคีภัยอีกด้วย
จากระยะร่น ก็กำหนด ความกว้างความยาว ให้จอดรถได้ และไม่มีท้ายที่ยื่นออกไปในที่สาธารณะ จึงได้ เป็นความกว้าง และขนาดพื่นที่ ของ บ้านเดี่ยว และทาวเฮ้าส์ ออกมา
ขนาดพื้นที่ ระยะร่น ความกว้าง ตามกฎหมายจัดสรรที่ดินบัญญัต |
แต่เดิมนั้นกฎหมายไม่ได้กำหนด คำนิยามของบ้านแฝดเอาไว้ แต่เกิดจากการที่ผู้ประกอบการใช้ช่องว่างของกฎหมาย ในการผลิตสินค้าชนิดนี้ขึ้นมา ที่เป็นสินค้าตรงกลางระหว่าง บ้านเดี่ยว กับ ทาวเฮ้าส์ คือราคาถูกกว่า บ้านเดี่ยว แต่ก็โฆษณา เหมือนขายบ้านเดี่ยว จนเกิดการร้องเรียนจากผู้บริโภค และทำให้ กฎหมายมีการพัฒนาไป จนมีการกำหนดขนาด และความยาวของบ้านแฝด ขึ้นมาภายหลังนั่นเอง
ปัญหาประจำฤดูฝนอย่างหลังคารั่วซึมจนน้ำหยดไหลเข้าบ้านนั้น เป็นเรื่องน่าหนักใจมิใช่น้อย แม้แต่การหาต้นต่อจุดรั่วซึมบางครั้งก็เป็นเรื่องยาก วิธีหลีกเลี่ยงปัญหานี้ควรเริ่มต้นด้วยการทำความเข้าใจถึงจุดเสี่ยงรั่วซึมบริเวณ “รอยต่อหลังคา” และ “บนผืนหลังคา” โดยก่อนอื่นขอเริ่มต้นที่จุดเสี่ยงรอยต่อหลังคาเป็นอันดับแรกสำหรับหลังคาบ้านที่มีความสลับซับซ้อนมาก มีรอยต่อมาก ย่อยเสี่ยงที่จะรั่วซึมได้มากตามจุดต่างๆ ดังนี้
มักจะมีคำถามจากแฟนคลับของคลีนิคช่างว่า ที่บ้านบางครั้งเกิดเสียงดังขึ้นเอง เกิดเป็นช่วง ๆ เกิดได้ทั้งกลางวันและกลางคืน โดยไม่ทราบสาเหตุ บางท่านก็กลัวว่าจะเป็นเรื่องของสิ่งลี้ลับ ผมจึงลองรวบรวมสาเหตุที่ทำให้เกิดเสียงประหลาดในบ้าน เพื่อเป็นแนวทางในการตรวจสอบและแก้ไข ดังนี้
1. เสียงหลังคาลั่น มักจะเกิดกับบ้านใหม่ เสียงมีหลายแบบ เช่น เสียงดังตึ้งเป็นช่วง ๆ เหมือนกับมีคนเอาเหล็กไปฟาดกับโครงหลังคา บางครั้งรู้สึกถึงแรงสั่นได้เลย หรือบางครั้งเป็นเสียงดังเป้งๆ แปะๆ เสียงดังกล่าวจะมาจากเหนือฝ้าชั้นบน ซึ่งเกิดจากการสะสมความร้อนที่ผิวหลังคา โครงหลังคามักจะเป็นเหล็ก ส่วนวัสดุมุงจะมีทั้งกระเบื้องลอน หรือกระเบื้องคอนกรีต เมื่อเกิดความร้อนสะสมขึ้น วัสดุมีอัตราการยืดหดตัวที่ต่างกัน จึงเกิดการรั้งของวัสดุ ดึงกันจนเสียงดัง บ้านบางหลังอาจจะเกิดรอยแตกร้าวบริเวณผนังรอบยอดเสาชั้นบนด้วย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)